ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The Diary: จุดเริ่มต้นของชีวิตเด็กอินเตอร์

    ลำดับตอนที่ #7 : Chapter 7: ชีวิตหลังแลกเปลี่ยน ต้องปรับตัวยังไงนะ?

    • อัปเดตล่าสุด 1 ส.ค. 56


     


    แท่นแท๊น~ ตอนนี้จะมาอัพเรื่องชีวิตหลังจากกลับจากแลกเปลี่ยนกันนะจ้ะ

    (คนอ่าน: อ่าว เฮ้ย แล้วชีวิตแลกเปลี่ยนมันหายไปไหน่ละ!?!)

    ไม่ได้ลืมม แต่เห็นว่ามีนักเขียนน่ารักๆคนอื่นเล่ามาเยอะแล้วไง เราเลยคิดว่ามาเล่าเรื่องชีวิตหลังไปแลกเปลี่ยนกันมั่งดีกว่า ว่ามันต่างไปเยอะแค่ไหน อะไรที่ต่าง แล้วเรารับมือกับมันยังไง

    ส่วนตัวเราคิดว่า การไปอยู่ต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวตลอด ไม่ว่าจะเป็นก่อนไป (อันนี้เตรียมเยอะ) ระหว่างที่อยู่นู่น(เรื่องเรียน เพื่อน ภาษา กิจกรรม ฯลฯ) 
    พอกลับมา ก็ต้องเตรียมปรับตัวเข้าสู่ชีวิต วัฒนธรรมไทยแบบเดิมๆ ชีวิตการเรียนแบบเดิมๆ
    หลายๆคนที่ไม่ได้เตรียมใจไว้ ปรับตัวกันไม่ได้ก็มี
    ก็เลยเป็นที่มาของบทนี้ไงล่ะจ้า
    (เห็นมั้ยว่ามีตรรกะ เค้าไม่ได้แถนะเอ้อ~)


    ปรับ 1:  ปรับอากาศ

    หลังจากไปเป็นหมีขั้วโลกกันมานาน
    บ้างไปอเมริกา บางคนไปแคนาดาอยู่อากาศหนาวมาตลอดปี
    ลงจากเครื่องที่สุวรรณภูมิปุ๊บกลายเป็นหมูตกมัน
    เหงื่อแตกพลั่ก ญาติที่มารอรับตกใจ
    เปิดแอร์ยี่สิบห้า ทำไมอินี่รู้สึกยังกะห้าสิบ
    ไม่สบาย นอนอยู่ห้องนิ่งๆสามวัน
    อยู่บ้านนอก เจอแต่อากาศบริสุทธิ์
    กลับมาเดินไปซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าปากซอย ทำไมควันมันเยอะขนาดนี้
    นึกถึงอากาศที่แคนาดาจับจิต Y.Y

    อันนี้ แก้ไขอะไรไม่ได้ ต้องให้ร่างกายชินไปเอง
    ทนร้อนหน่อย คว้าเอาชุดระบาย สายเดี่ยวที่ซื้อมาจากเมืองนอก
    ที่เค้าใส่กันหน้าร้อน น้องก็หาว่าบ้า ทำยังกะฝรั่งมาเที่ยววัดพระแก้วไปได้
    แหม่~ ทำไมกฎเกณฑ์แต่งตัวมันเยอะจัง จะแต่งตามใจเหมือนอยู่เมืองนอกก็บ่ได้นิ


    ปรับ 2: ปรับน้ำหนักให้เข้าที่

    เคยฟาดเนื้อสเต็กกลางวัน ขนมปังพีนัทบัตเตอร์ยามดึก มันฝรั่งอบชีสมาตลอดหนึ่งปีเต็ม
    เหนียงจากหนึง กลายเป็นสอง
    กางเกงยีนส์ไม่ต้องพูดถึง เปลี่ยนหมด
    (แม้จะพยายามหลอกตัวเองว่าเครื่องอบผ้าทำมันหด)
    กลับมาน้องสาวจำแทบไม่ได้ แต่ที่ได้ดีกลับมาคือ

    ความขาว (เหมือนหมูอมชมพู)

    เด็กนอกกลุ้ม คนที่ดีใจคือ อากงอาม่า
    (อาม่า: "อีขาวๆ อวบๆ เป็นแม่พันธุ์ที่ดี")
    บ้ะ~ คนนะ บ่ใช่หมู - -

    เวลาออกไปกินข้าว ทำไมก๋วยเตี๋ยวสามสิบบาท ชามเดียวมันไม่อิ่ม
    เคยกินอาหารจานใหญ่ อยู่ดีๆจานมาเล็กลง กินไม่พอ ต้องขอเบิ้ล
    ตอนนั้นกลับจากแคนาดา อ้วนขึ้นมาห้าโล
    ลดอยู่ซักเดือนสองเดือน ก็เข้าที่เข้าทาง
    กลับมากินก๋วยเตี๋ยวท่าพระจันทร์ชามเดียวอิ่มเหมือนเดิม
    เพื่อนบางคนขึ้นมาแปดโล สิบโล อันนี้ลำบากหน่อย
    ลดอยู่เป็นเทอมทีเดียว

    ส่วนเรื่องอื่นๆ
    บางคนไปแอลเอ แดดแรง แทนที่ไปเมืองนอกจะขาว
    ดำกลับมา ทำเอาคนไทยงง
    ส่วนเรา ตอนอยู่แคนาดา 
    เพื่อนเกาชวนออกไปกินร้านอาหารเกาหลีอยู่หลายครั้ง
    ระหว่างกลับมาไทย ก็แวะเกาหลี เอากิมจิกลับมา
    กินที่บ้านกับข้าวต้มเมื้อเช้าอย่างอร่อย พ่องง

    "นี่เราส่งลูกไปเรียนแคนาดา หรือเกาหลีวะเนี่ย!?

    เพราะไปเข้าชมรมเกาหลี เลยได้ภาษาเกาหลีกลับมาอีกด้วย แฮ่~
    (เป็นที่มาของการไปเรียนต่อเกาหลีในบทถัดๆไป)


    ปรับ 3: ระเบี๊ยบระเบียบ

    ก่อนไป เป็นคนไร้ระเบียบ
    แต่งหน้าแล้ว ก็วางอายไลน์เนอร์ แป้ง พัฟกระจุยกระจาย
    โต๊ะเครื่องแป้งไม่เคยจัด
    ผ้าก็พับชุ่ย สะกิดนิดเดียว กองผ้าถล่ม
    พอไปถึงนู่น อยู่คนเดียว เสมือนห้องเป็นบ้านที่ชั้นซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง
    จัดตลอดเวลา ผ้าพับเรียบร้อย กินปุ๊บล้างจานปั๊บ เพราะต้องนอนห้องเดียวกับกินข้าว
    บวกกับทัพเพอร์แวร์ซื้อมาแค่อันสองอัน ถ้าไม่ล้าง เวลากินจะไม่มีใช้

    กลับมาเลย หงุดหงิดใจ ถ้าต้องทิ้งจานไว้ ไม่ได้ล้าง
    อดไม่ได้ กินปุ๊บ ล้างทันที ทั้งแก้วพ่อ จานกับข้าว เหยือกน้ำส้ม ฯลฯ
    พ่อดีใจ ไม่เสียแรงที่ส่งไปเมืองนอก กลายเป็นเด็กมีระเบียบขึ้นมา
    หารู้ไม่ว่า อยู่ได้ไม่ถึงเดือน

    กลับมาเป็นเหมือนเดิม แฮ่~

    แหม อยู่บ้านกันสี่ห้าคน ล้างคนเดียวก็ไม่ไหวนะเฟ้ยย
    ซักพัก แรงขยัน ไม่สู้ แรงขี้เกียดที่คนอื่นทิ้งไว้
    ป๊าดด ล้างแล้ว เดี๋ยวจานใครกินไว้ก็มาอีกละ
    ไม่ล้งไม่ล้างมันแล้ว 
    ดูทีวีดีก่า -o-
     แล้วความซกมกก็กลับมา ฟิ้วววว~~~ 


    ปรับ 4: ปรับการใช้ตังค์


    กางเกงยีนส์ ห้าร้อย ถูกโคด กาแฟ แก้วละเจ็ดสิบห้าเอง 
    อยู่แคนาดา กางเกงตัวละสองพัน ยังไม่สวยเท่านี้
    กาแฟใต้ห้องสมุดมหาลัยธรรมดาๆ แก้วละร้อยหกสิบ
    กลับมาไทยใหม่ๆ เลยปลื้มใจ อารมณ์เหมือนแม่บ้านเจอของเซลล์
    (ทั้งที่ๆจริงๆ มันก็ขายราคานี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว = = แพงด้วยซ้ำ)
    แต่หน้ามืดตามัว ต้องให้น้องสาวเตือนเป็นระยะๆ
    แต่ก็เป็นอยู่ไม่นาน หลังจากฟินกะการช๊อปปิ้ง กินของที่อยากกินมานานแล้ว
    อาการนี้ก็จะค่อยๆหายไปเอง 

    ปรับ 5: โรคติดทิป

    อยู่เมืองนอก เวลาไปร้านอาหาร
    ขึ้นแท็กซี่ หรือรับบริการต่างๆ เราจะต้องทิป 10% ของบริการหรือค่าอาหารที่เราจ่าย
    เช่น กินสเต็กไป 30 ดอล ก็ต้องทิปอีก 3 คิดเป็นเงินไทย บางทีก็ร่วมร้อยบาท
    บางที่รวมไว้แล้วเสร็จสรรพในบิล แต่บางที่ไม่ได้รวม เราต้องคำนวณในใจแล้วจ่ายเอง
    เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้

    พอกลับมาเมืองไทย จากที่เคยจ่าย กลับไม่ต้องจ่าย
    รู้สึกผิด ทำไมเราจ่ายให้ฝรั่งหัวทอง แต่กับคนชาติเราเอง
    ขับสามล้อ พนักงานเสริฟอาหาร ที่ได้
    ค่าแรงชั่วโมงละไม่ถึงสี่สิบบาท
    เรากลับไม่ได้ให้ 
    กลับมาเลยชอบให้ทิป ถ้าได้รับเซอร์วิสที่ดีจริงๆ
    เจอขอทานก็ให้ รู้สึกว่าเราควรจะช่วยกันดันคนที่เค้าไม่ได้รับโอกาส
    ให้มีแรงลุกขึ้นมา มาช่วยกันพัฒนาประเทศ ให้ตามชาติที่เจริญแล้วอย่างที่เราไปแลกเปลี่ยนมาเหมือนกัน
    จนถึงทุกวันนี้แล้ว ก็ยังเป็นอยู่

    แต่ในขณะเดียวกัน ก็ติดโรครักความยุติธรรมมา
    ถ้าคนไหนหน้าเหม็นใส่ หรือเซอร์วิสกับลูกค้าไม่ดี ก็จะพูดออกมาเลยเหมือนกัน
    หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินกรณีกาแฟแมคโดนัลด์ที่ต่างประเทศ
    ที่มีลูกค้าสั่งกาแฟแล้วถูกลวก ฟ้องแมคโดนัลด์ที่ทำกาแฟร้อนเกินไป
    สรุปลูกค้าก็เป็นฝ่ายชนะ ได้ค่าเสียหายไปเยอะอยู่ 
    ส่วนแมคโดนัลด์เป็นฝ่ายผิด โทษฐานที่ประมาท
    แรกๆพอกลับมาไทย ถ้าสั่งอาหารแล้วมีข้อผิดพลาดก็จะอยากเรียกพนักงาน
    แต่พ่อกะน้องก็จะ หยวนๆไปเหอะน่า กินๆไปเหอะ
    แรกๆก็ฮึดฮัด หลังๆก็พยายามเข้าใจ ว่าเราอยู่สังคมไทยนี่นะ 
    ไม่ใช่ว่าเจอเส้นผม
    ในร้านข้าวต้มอากิมลุ้ย แล้วก็จะไปฟ้องร้องได้แบบเมืองนอกนี่เนอะ - -^"


    ***************************************
    ว่าเตรียมตัวก่อนไปลำบากแล้ว ปรับตัวหลังกลับมาก็ยากไม่แพ้กันเลยน้อ
    น้องๆว่าข้อไหนยากสุดกันบ้างนะ?~
    มาแชร์กันได้นะจ้ะ^^ 


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×