ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #15 : มังกรทะเลแห่งอันดามัน (Sea Serpents)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.19K
      8
      31 ม.ค. 51



    มังกรทะเลแห่งอันดามัน
    (Sea Serpents)

     

    เดือนพฤษภาคม 1996 ขณะที่เรือประมงมาเลเซียกำลังลากอวนหาปลาแถวน่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะลังกาวี ในระดับน้ำลึก 53 เมตร อยู่นั้น จู่ๆ ก็มีอะไรบางอย่างติดมากับอวน พวกลูกเรือต้องใช้เวสลากว่าครึ่งชั่วโมงกว่าจะยกมันขึ้นเรือได้ ปรากฏว่ามันเป็นซากสัตว์ทะเลยาวประมาณ 7 เมตรครึ่ง เมื่อนำมาขึ้นที่ท่าเรอผู้คนต่างมุงดูเจ้านี้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผู้ใดรู้ว่ามันเป็นตัวอะไร

                    ไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อน เจ้าหน้าที่กรมประมงมาเลเซียออกความเห็น

                   
                   
    จากข่าวภายหลังมีการนำเนื้อเยื่อไปวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์มาเลเซียตอบว่านี้คือปลาวาฬเพชฌฆาต แต่อย่างไรก็ดีชาวประมงแย้งว่ามันคือ มังกรทะเล และด้วยความถือโชคลาง พวกเขากลัวว่าเจ้าซากสัตว์ทะเลนี้จะนำความโชคร้ายมาสู่พวกตน ชาวประมงเหล่านี้เลยเอาซากนี้โยนทิ้งทะเลไป เป็นอีกครั้งที่นักวิทยาศาสตร์หมดโอกาสพิสูจน์ว่า แท้จริงแล้ว มังกรทะเล คืออะไรกันแน่..........

                   

                    ในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีเรื่องราวลี้ลับอีกมากที่เราไม่รู้จัก โดยเฉพาะสัตว์ลึกลับที่ดุร้ายที่ทำร้ายเรือที่แล่นผ่านหรือทำร้ายคน โดยมังกรทะเล (Sea Serpents)ก็คือหนึ่งในนั้น จากการศึกษาจากตำนานและคำบอกเล่า พบว่า มันมีหลายรูปร่างมาก แตกต่างกันออกไปแต่ละท้องถิ่น และชื่อที่เรียกแตกต่างกันออกไปอีก ส่วนมากพบในทะเลอันดามันอาจรวมถึงไทย  แต่รูปร่างหลักๆ คือมันคล้ายงู ขนาดยักษ์ ผิวเรียบมัน เป็นปล่องๆ หัวเหมือนสัตว์เลี้ยงคลาน มีฟันแหลมคม

                   

                    เมื่อลองย้อนเกี่ยวกับบันทึกเก่าๆ เกี่ยวกับมังกรทะเล ที่ไม่ใช้ตำนานและคำบอกเล่าของชาวพื้นเมือง พบว่า วันที่ 25 พฤศจิกายน นายเรือเอก ดับเบิว.ฟอเลย์ นายทหารฝ่ายข่าวของราชนาวีอังกฤษได้เขียนถึงวารสาร เอเชียติก โซไซตี้ ออฟ เบงกอล เล่าเรื่องประหลาดที่เขาพบในอ่าวเบงกอลไว้ดังต่อไปนี้

                    ในการเดินทางไปมัทราส(เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา) ข้าพเจ้าได้เห็นปลาประหลาดที่สุดเท่าที่ไม่เคยพบมาก่อน ตัวมันขนาดเท่าปลาวาฬแต่รูปร่างต่างจากปลาวาฬ มีจุดคล้ายเสือดาวดูสวยงาม มันเข้าไปใกล้ท้ายเรือ ระหว่างนั้นท้องทะเลเรียบสงบ เราจึงมีโอกาสเห็นมันชัดเจน มันมีครีบหลังใหญ่มาก มันขยับตัวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกทำให้โกรธเมื่อเราโยนก้อนหินใส่มัน ดูแล้วมันคงมีกำลังพอที่จะพังหางเสือเรือได้ นอกจากนี้มีปลาขนาดใหญ่หลายตัว(ส่วนมากเป็นฉลามหนู) ยาวราวศอกหนึ่งและกว่านั้นว่ายไปมาอยู่รอบเจ้ายักษ์ใหญ่ บ้างก็เข้าปากมันอย่างสบายใจและก็ว่ายกลับออกไปใหม่

                    ที่จะบอกต่อไปนี้อาจจะช่วยให้ท่านนึกถึงรูปร่างของมันออก ปากมันใหญ่มาก ครีบหลังเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม หางก็เช่นกัน ลำตัวเต็มไปด้วยจุดสีน้ำตาลเหมือนเสือดาว หัวมันเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มันอาจไม่ใช้เปลซิโอซอรัส หรือปลาที่เรารู้จักในน่านน้ำทะเลแห่งนี้

                   

                    หลัง นายเรือเอก ดับเบิว.ฟอเลย์ นายทหารฝ่ายข่าวของราชนาวีอังกฤษได้เขียนถึงวารสาร เอเชียติก โซไซตี้ ออฟ เบงกอล ได้ไม่นาน เอช.พิดดังตัน นักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่นจากกัลกัตตาก็เขียนถึงในวารสารฉบับเดียวกันนี้ว่าเขาเคยเห็นมังกรทะเลเหมือนกันที่อ่าวมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เดือนธันวาคม 1816 ตอนนั้นเขาเป็นกับตันคุมเรือใบสเปนอยู่ ปลาตัวนั้นยาวอย่างน้อย 70 หรือ 80 ฟุต (20 กว่าเมตร) พวกกะลาสีชาวฟิลิปปินส์รู้จักกันดีในนาม ชาคอน(Chacon) คนพวกคนที่นี้กลัวมีนมาก เพราะมันชอบโจมตีเรือหาปลาเล็กๆ อยู่เนื่องๆ ครั้งหนึ่งมันเคยกลืนชายผู้หฯงเข้าไปในท้อง เพราะถูกคนอื่นเบียดเสียดเพราะดูมันจนเสียหลักพลัดตกน้ำ

                    พวกนั้นบอกเขาอีกว่า เมื่อปี 1920 มีนายทหารจากเรืออเมริกันและกะลาสีอีกสองสามคนขณะกรรเชียงเรือเลกข้ามอ่าวมนิลาก็ได้ชื่อสัตว์ยักษ์ลายจุดนี้อย่างปัจจุบันทันด่วน พวกกะลาสีตกใจทิ้งพาย ส่วนตัวนายหันไปเห็นปากใหญ่มันเกือบจะงับเขาอยู่แล้ว แต่เขามีสติทันที่จะคันคัดหางเสือโยนเข้าไปในปากมัน มันงับขากรรไกรลงอย่างรุนแรง และมันก็ดำและหนีหายไป..

                    เราไม่อยากเล่าเรื่องนี้กับตันเรืออเมริกันลำนั้นบอก

                    เพราะกลัวถูกหัวเราะเยาะ แต่นายทหารของผมเชื่อถือได้ที่เดียว และผมก็ได้เรียนรู้ว่ายังมีปลาใหญ่แปลกๆ ที่เป็นอันตรายใหญ่หลวงกับเรือของเรา

                   

                    นอกจากนี้ยังมีรายงานพบมังกรทะเลอยู่เนื่องๆ ในรูปลักษณ์ที่แปลกออกไป..

     

                    วันที่ 18 กันยายน 1876 เรือเดินทะเลเนสเตอร์ของสายการเดินเรือแลมปอร์ตและโฮลต์แห่งลิเวอร์พูล เมื่อท่าเรือลำนี้จอดที่ที่เซี่ยงไฮ้ มีรายงานว่าหมอประจำเรือชื่อ ดร.เจมส์ แอนเดอร์สัน และผู้โดยสารคนหนึ่งเห็นสัตว์ขนาดใหญ่ในตอนที่แล่นระหว่างมะละกากับปีนัง กัปตันจอห์น เค.เว็บสเตอร์ ก็ยืนยันเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องจริง ดร.เจมส์ แอนเดอร์สัน เล่าว่า....

                   

                    เมื่อวันที่ 11 กันยายน เวลา 10.30 น. อยู่ห่างจากประภาคารนอร์ธแซนด์ ในช่องแคบมะละกา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือสิบห้าไมล์ อากาศดี ทะเลเรียบ กัปตันได้เห็นสิ่งหนึ่งที่นายเรือที่สามชี้ให้ดู มันเป็น สันดอน ที่น่าประหลาดที่ไม่เห็นมาก่อน ข้าพเจ้าเฝ้าดูสิ่งนั้น แล้วพบว่ามันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเท่ากับความเร็วของเรือ รูปร่างของมันคล้ายลูกอ๊อดยักษ์ หัวยาวราวยี่สิบฟุตสีออกเหลื่องอ่อน ส่วนที่เป็นกระหม่อมโผล่พ้นน้ำขึ้นมาหกฟุต ข้าพเจ้าพยายามมองหาตาและปากมันแต่ไร้ผล มันอาจอยู่ใต้น้ำก็ได้ ไม่มีร่องรอยของคอให้เห็น ลำตัวยาวประมาณสี่€สิบห้าหรือห้าสิบฟุต และเป็นรูปไข่ เรียบสนิท แต่อาจมีสันเล็กๆ ไปตามแนวหลังพ้นน้ำขึ้นมาราวห้าฟุตเลยที่เดียว ยกสูงขึ้นจากน้ำหลายนิ้ว ส่วนหางนี้ข้าพเจ้าเห็นได้ชัด จากที่มันต่อกับลำตัวไปจนถึงปลายสุด ดูจะเป็นทรงกระบอกปลายเรียวเล็กน้อย ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางสักสี่ฟุต ลำตัวและหางมีแถบลายสีดำสลับเหลื่องอ่อนลายที่ว่าเห็นได้ชัดเจน ตอนปลายสุดของหาง ข้าพเจ้าบอกไม่สามารถตอบได้ว่าที่ปลายหางมีครีบหรือไม่ เท่าที่เห็นสัตว์ตัวนี้ไม่มีครีบหรือใบพาย ไม่สามารถตอบได้ว่ามีขาหรือไม่ ดูว่ามันเคลื่อนที่ด้วยการโบกหางตามแนวตั้ง(ว่ายขึ้นๆ ลงๆ)

                    กับตันเว็บเตอร์เล่าต่อไปว่า

                    สัตว์หรืออะไรสักอย่างตัวนั้น ดูเหมือนมันไม่สนใจว่าเราอยู่ใกล้ๆ มันยังคงว่ายอยู่กราบขวาของราวอยู่ราวหกนาที ในที่สุดมันก็เลี้ยวอ้อมมาทางกราบซ้าย และมันยังอยู่ให้เราทุกคนในเรือได้เห็นราวครึ่งชั่วโมง

                    ริชาร์ด เอ. พร็อคเตอร์ โหรชาวอังกฤษสนใจมังกรทะเลมาก และได้กล่าวเสริมเรื่องนี้ไว้ในหนังสือเอ็คโค่ ฉบับวันที่ 15 มกราคม 1877 ว่า

                    มร. แอนเดอร์สัน ศัลยแพทย์ยืนยันเรื่องที่กัปตันเล่าทุกประการ เขาคิดว่าสัตว์ตัวนั้นคือซาลามานเดอร์ทะเลตัวมหึมา มันดูเหมือนทำจากวุ่น(นุ่มนิ่ม) แม้ว่ามันจะตามมันทันเราด้วยอัตราความเร็วเกือบสิบน็อตต่อชั่วโมง แต่การเคลื่อนไหวของมันดูเชื่องๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นขาหรือครีบ แต่ข้าพเจ้าแน่ใจว่ามันไม่พ่นน้ำเหมือนอย่างปลาวาฬ มันไม่ใช้งูด้วย รูปร่างมันเปรียบเหมือนสัตว์จำพวกกบมากกว่า

     

                    21 พฤษภาคม 1877 มีการพบมังกรทะเลในบริเวณตะวันตกของเกาะสุมาตรา ลูกเรือจอร์จีน่าได้เห็นสัตว์หนึ่ง พวกเขาบอกว่า เป็นงูขนาดใหญ่ยาวราวสี่สิบหรือห้าสิบฟุต สีเทาและเหลือง และลำตัวหนาราวสิบหรือสิบเอ็ดนิ้ว

                

                    มังกรทะเลปรากฏอีกครั้ง ในฤดูร้อนปี 1907 ชาวอังกฤษหลายคนที่ทำการค้าขายในสุราบายาบนเกาะชวาได้พากันไปล่องเรือไปล่าจระเข้แถวปากแม่น้ำกาลีมิรง พวกเขาเห็นอะไรบางอย่างเหมือนคอหงส์อะไรยาวๆ โผล่พ้นน้ำที่ชายฝั่งด้านตะวันออกของปากแม่น้ำ ที่แรกคิดว่าเป็นลำต้นที่บิดงอของต้นไม่ที่ตายแล้ว แต่เมื่อส่องกล้องดูเห็นว่าปลายคอมีปากอ้าๆ หุบๆ เผยให้เห็นฟันของมัน และทันใดนั้นเองนายท้ายสังเกตเห็นว่ากราบขวาของเรือมีอะไรบางอย่างขนาดโค้งขาโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลมโผล่พ้นน้ำขึ้นมา ดูท่าจะเป็นส่วนหางของสัตว์ โดยรวมแล้วจากสัตว์ตัวนี้ต้องยาวไม่ต่ำกว่า 30 ฟุต พวกเขายิงปืนใส่มัน สัตว์ตัวนั้นก็ค่อยๆ จมและหายตัวไป จากการสอบถามชาวประมงที่อยู่แถวนั้นพบว่ามันเป็นสัตว์ที่ไม่มีอันตราย พวกเขาเลยไม่ไล่ล่ามัน พวกเขาเรียกมันว่า ซีกังซา Zeegangsa น่ามาจากคำว่า ซีกันส์ Zeegans ในภาษาดัทช์ แปลว่า ห่านทะเล

     

                    รายงานสุดท้ายที่เล่าเป็นของ เจ.อาร์.เอสวาน ต้นหนของเรือกลไฟเบงกาลิส โดยกัปตันเรือชื่อ เจ.เอฟ.สตาเคนบรูก ร่วมลงนามรับรอง

                    เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1928 เวลา 13 น. ขณะที่เรือเบงกานีสกำลังแล่นอยู่บริเวณตะวันตกของเกาะสุมาตรา ได้สังเกตเห็นอะไรอย่างหนึ่งอยู่ห่างจากหัวเรือไปทางขวาประมาณ 400 หลา รูปร่างมันคล้ายขอนไม้มีบางส่วนพ้นผิวน้ำขึ้นมา มีน้ำปั่นป่วนอยู่เหมือนกับว่ามีฝูงปลาว่ายอยู่รอบๆ ตัวมัน แต่เมื่อเรือแล่นเข้าไปใกล้...

                    เราส่องกล้องดูพบว่ามนไม่ใช้ขอนไม้ แต่เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งว่ายน้ำอยู่ และลำตัว(อาจเป็นหลัง) โผล่พ้นน้ำขึ้นเป็นส่วนๆ ส่วนที่เห็นดูไม่เหมือนครีบปลา มันสะท้อนแสงแดดมันเกลี้ยงและโค้งไม่มาก และสีของมันเหมือนของแมวน้ำ

                    มีลูกเรือคนหนึ่งร้องบอกว่า บารา มาคลี แปลว่า ปลาใหญ่

                     

                    แท้จริงแล้วมังกรทะเลคืออะไรกันแน่ !??

     

                    ซาลามานเดอร๋

                    อย่างที่บอก จากสัตว์ตัวนี้คล้ายซาลามานเดอร์ คนไทยเรียกมันว่า กระท้างน้ำ จิ้งจกน้ำ หรือ หมาน้ำ เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกแบบกบ รูปร่างมันก็เหมือนรูปกบในระยะเป็นลูกอ๊อดมีแขนขาและหาง แต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ขนาดใหญ่เท่ามังกรทะเลไม่เคยมีการพบเห็นมาก่อน

     

                    ปลากระเบน

                    อาจเป็นไปได้ว่ามังกรทะเลอาจเกี่ยวดองกับปลากระเบนขนาดมหึมา ไม่มีเงี่ยงและนัยน์ตาเล็ก ปากและเหงือกของปลกระเบนอยู่ซีกท้องหรือด้านล่าง และครีบหางก็มักเล็กมาก แต่ปลากระเบนที่มีขนาดใหญ่สองร้อยฟุตนี้ยังเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน

     

                    ฉลามวาฬ

                    ที่อ่าวเทเบิลเบย์ อาฟริกาใต้ มีการค้นพบฉลามวาฬ Whale-Shark ชื่อวิชาการ Rhineodon typus ซึ่งขนาดและลักษณะของฉลามตัวนี้คล้ายมังกรทะเลที่พบเห็น เพราะหัวมันคล้ายซาลามานเดอร์ ครีบหลังต่ำจนบอกได้ว่าเป็นแค่สันเล็กๆ

    เพียงแต่ว่าฉลามวาฬที่พบเห็นมันขนาดใหญ่ก็จริงแต่ไม่เคยมีการค้นพบฉลามวาฬที่มีความยาวถึง 200 ฟุต(60 เมตร) มาก่อนเว้นแต่ครีบหางของมันที่ยาวไปข้างหลังอาจจะทิ้งรอยร่องคลื่นเอาไว้จนดูเหมือนมีหางยาวกว่าความจริง อีกทั้งฉลามวาฬเป็นสัตว์รักสงบ ชอบกินแพลงค์ตอนเป็นอาหาร เรื่องการโจมตีเรือนั้นเป็นไปไม่ได้ เว้นแต่มันว่ายไปชนเรือลำเล็กๆ เข้า

                   

                    ปลาวาฬ

                    กลับมาที่การพบซากที่เรือประมงมาเลเซีย ลากได้ที่แถวน่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะลังกาวี ตอนต้นเรื่อง มีผู้ถ่ายรูปไว้ และนำรูปนี้ไปให้นักสัตว์ลึกลับวิทยาวิเคราะห์

                    ดูจากโครงกระดูกสันหลังและฟันน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตำแหน่งครีบมือที่อยู่ชิดไปทางหัวน่าจะเป็นปลาวาฬ แต่เป็นปลาวาฬที่มีปากใหญ่กว่าปกติธรรมดา เป็นไปได้มากที่เดียวว่าเป็นพันธุ์ใหม่ที่ใครไม่รู้จักกันมาก่อน

     

    เปลซิโอซอรัส

                    ไดโนเสาร์คอยาวที่สูญพันธุ์ไปหลายร้อยปีมาแล้ว

                    

                    ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในรายงานการพบเห็นมังกรทะเลแถบอันดามันเท่านั้นครับ  ไม่นับรวมตำนานและซากที่ค้นพบ และดูเหมือนว่า เจ้ามังกรทะเลนี้อาจไม่มีอยู่เพียงชนิดเดียว อาจเป็นชื่อเรียกรวมๆ ของสัตว์หลายชนิด มันอาจมีจริง เพียงแต่ไม่รู้ว่ามันเป็นสัตว์ชนิดใดเท่านั้น

    ต่วยตูนพิเศษ 309 พฤศจิกายน 2543 + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×