ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #90 : ผู้ชนะความตาย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.22K
      3
      5 ก.พ. 50



    ผู้ชนะความตาย

                    ทำไมคนเราถึงต้องตาย เป็นทั้งปริศนาและสัจธรรม บางคนไม่เคยคิดว่ามันอยู่ใกล้ตัวเรามากจนกลมกลืน บางคนเรียนรู้ที่จะรับมือกับมันได้อย่างสงบ ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ว่ากันตามวิทยาศาสตร์และอายุขัย เราทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมพรักด้วยอวัยวะที่เป็นประดุจเครื่องมือที่จะต่อสู้กับโรคร้ายภยันตรายต่าง ๆ  แน่นอนทุกอย่างย่อมมีวันหมดอายุ เมื่อถึงวันหนึ่งวันนั้น ร่างกายจะปรับสภาพแปรเปลี่ยนไปตามการใช้งาน หากเรารักษามันได้อย่างดี ก็จะสามารถคงอายุการใช้งานไว้ได้ตามกำหนด ทว่าหากใช้งานหนักเกินรับไหว ก็เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วไปตามการใช้งานเช่นกัน คงคิดไม่ผิด ถ้าจะบอกว่าความตายก็คือร่างกายเราหมดอายุแล้วนั่นเอง

                    นักวิทยาศาสตร์เคยค้นคว้าเรื่องการชุบชีวิตคนตาย ด้วยการแช่แข็งร่างที่ตายแล้ว ให้กลับฟื้นคืนชีพ ด้วยการแช่แข็งศพไว้ที่อุณหภูมิ -320 องศาเซลเซียส กับไนโตรเจน  เพราะเชื่อว่าศพที่ถูกแช่น้ำแข็ง เมื่อละลายแล้วจะสามารถฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ ทว่าการทดลองนี้เป็นอันต้องตกไป เพราะถ้าเมื่อศพไม่ละลายตามอุณหภูมิที่เหมาะสม เซลล์จะกลายเป็นน้ำแข็ง และแตกละเอียดไม่มีเหลือ ฉะนั้นไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ต่อให้มีเงินมากมายมหาศาลขนาดไหน ก็ต่อยอดลมหายใจใหม่อีกครั้งไม่ได้

                    แต่บุคคลต่อไปนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในร้อยหรือพันล้าน เพราะเขาและเธอคือบุคคลที่ความตายก็ไม่สามารถเอาชีวิตมาได้


                   
    ชายที่รอดจากการแขวนคอ

                     
                  
    ปี ค.ศ.1803 ที่นิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตเลีย มีการฆาตกรรมเกิดขึ้น ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นฆาตกรถูกจับชื่อ นาบโจเซ็ฟ แซมมวลล์ มีการสอบสวนอย่างหนักเพื่อให้แซมมวลล์ยอมรับว่าเป็นฆาตกร แต่แซมมวลล์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหายืนยันว่าเขาไม่เกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมที่เกิดขึ้น แต่ทว่ามีพยานบอกว่าเขาอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ

                    การสืบสวนสอบสวนในสมัยนั้นไม่ได้หาหลักฐานที่ละเอียดรอบคอบ หากมีน้ำหนักเชื่อว่าผู้กระทำความผิดจริงศาลก็จะมักพิจารณาไปตามหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ทำสำนวนฟ้องขึ้นไป ในกรณีของโจเซ็ฟเช่นกัน ศาลมีคำพิพากษาให้ประหารชีวิตแซมมวลล์ด้วยการแขวนคอ แม้ว่าแซมมวลล์จะยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลแต่ก็ไม่เกิดผลอะไร

                    วันประหารชีวิต ขณะที่แซมมวลถูกนำตัวอยู่ที่ตะแลงแกง(ที่ประหาร) เขาก็ยังประกาศยืนยันว่าตนบริสุทธิต่อหน้าพยานที่มาดูการประหารชีวิต คราบกระทั้งเพชฌฆาตนำบ่วงเชือกมาคล้องคอแล้วกระดานที่เหยียบอยู่ถูกเลื่อนออกไป ร่างของแซมมวลล์หล่นไปตามช่องนั้น

                    แต่แล้ว.................แทนที่แซมมวลล์จะห้อยแขวนอยู่บนปลายเชือก เชือกที่ใช้แขวนคอของแซมมวล์เกิดขาดผึง ร่างของเขาหล่นกระแทกพื้นโดยไม่ได้รับอันตรายใดๆ ผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตเลียซึ่งมาเป็นประธานในการประหารชีวิตตวาดเพชฌฆาตด้วยความฉุนเฉียวที่ใช้เชือกเปือยเก่ามาใช้ แต่ในสายตาทุกคนที่มาดูการประหารกลับเห็นว่าเชือกที่ใช้ในการประหารนั้นไม่ใช้เชือกเก่า มันมีสภาพใหม่เอี่ยม ไม่มีร่องรอยฉีดขาดเลยแหละ

                    แซมมวลล์ถูกลากขึ้นไปบนตะแลงแกงอีกครั้ง คราวนี้เพชฌฆาตนำเส้นเชือกแขวนคอใหม่มาเปลี่ยน เมื่อทุกอย่างพร้อม กระดานถูกดึงขึ้นไป ร่างของแซมมวลล์หล่นวูบลง ทันใดนั้นก็เกิดเรื่องอัศจรรค์ขึ้น นั้นคือเชือกที่ใช้ในการแขวนคอของแซมมวลล์เกิดยืดและยาวออกไปเสมือนยางยืด ทำให้แซมมวลล์ตกลงบนพื้นพอดิบพอดี

                    แซมมวลล์เกิดพลังใจมหาศาล เขาเชื่อว่ามีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นเพราะไม่อยากให้เขาตาย เขาจึงยืนประท้วงต่อหน้า ผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตเลีย ว่าตนบริสุทธิ์และควรปล่อยตัวเขา และได้ผลแซมมวลล์ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ โดยไม่ต้องให้ศาลพิจารณา เนื่องจากการประหารชีวิตไม่เป็นผล

                    อีกไม่นานต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจจับฆาตกรตัวจริงได้ และรับให้กรรมด้วยการประหารชีวิตในที่สุด


                   
    John Lee ชายที่รอดจากการแขวนคอ

                  
                   
    บางครั้งคนทำผิดก็รอดพ้นจากการประหารได้

                    กลางดึกคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน 1884 แม่ม่ายชื่อ เอมม่า คีส ถูกฆ่าตายที่ท่าเรือแบบบาคอมเบใกล้กับทอร์คีย์ คอของเธอถูกปาดเป็นแผลเหวอะหวะ มีร่องรอยว่าถูกกระหน่ำทุบที่ศีรษะหลายครั้ง จากสภาพศพอันยับเยิน ตำรวจจึงสันนิษฐานว่าการฆาตกรรมนี้น่าจะมีแรงจูงใจจากความแค้น

                    บ้านของเอมม่าซึ่งเป็นสถานที่พบศพไม่มีร่องรอยการบุกรุกจากภายนอก และมีดซึ่งเป็นอาวุธที่ใช้ในการฆาตกรรมก็เป็นของภายในบ้านนั่นเอง การสืบสวนจึงดำเนินไปโดยมุ่งไปที่บุคคลภายใน ซึ่งผู้อาศัยในบ้านนั้น นอกจากเอมม่ากับสาวใช้ 2 คนแล้วก็มีชายคนใช้อยู่อีกคน และชายคนนี้เองก็คือ จอห์น ลี

                    ยิ่งทำการสืบสวน ตำรวจก็ยิ่งสงสัยในตัวจอห์น เขาเคยมีประวัติขโมยของในบ้านและถูกจับได้มาก่อน แต่ที่เอมม่ายังจ้างจอห์นเอาไว้ก็เพราะอาศัยจุดอ่อนนั้นมากดเงินเดือนของเขานั่นเอง จอห์นได้รับเงินเดือนเพียงครึ่งหนึ่งของราคาตลาด และในที่สุดก็ถูกหักเงินเดือนจนเหลือเพียง 6 เพนส์มาอย่างหมาดๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะมีความแค้นต่อเอมม่า

                    ในไม่ช้าก็มีการตรวจพบเสื้อผ้าเปื้อนเลือดจากห้องของจอห์น คณะลูกขุนใช้เวลาในการหารือเพียง 40 นาทีเพื่อส่งเขาไปยังแท่นแขวนคอ

                    นั่นเป็นเพียงเนื้อหาของคดีโดยทั่วไป สิ่งที่ทำให้ชื่อของจอห์น ลีกลายมาเป็นที่จดจำเริ่มขึ้นบนแท่นประหารของเขานั่นเอง

                    แล้วกำหนดวันประหารก็มาถึง เมื่อเจมส์ เบอร์รี่ซึ่งเป็นเพชรฆาตหักคันโยกลง ไม่รู้ว่าด้วยสาเหตุอะไร พื้นที่ควรจะเปิดออกและปล่อยจอห์นให้ตกลงไปถูกเชือกรัดคอจนตาย กลับนิ่งสนิทไม่มีการเคลื่อนไหว เจมส์ตกใจและหักคันโยกขึ้นลงหลายครั้ง จนกระทั่งใช้เท้ากระทืบแผ่นกระดานพื้นแล้ว พื้นก็ยังไม่เปิด

                    ผู้คุมจึงพาจอห์นลงจากแท่นประหาร และเมื่อทดลองหักคันโยก พื้นก็เปิดออกอย่างไม่มีปัญหา แต่เมื่อส่งจอห์นกลับไปบนแท่นอีกครั้ง ไม่ว่าจะทำยังไง พื้นก็ไม่ยอมขยับเสียที เจมส์หักคันโยกครั้งแล้วครั้งเล่าจนคันหักพังไปเสียจริงๆ

                    จอห์นถูกส่งกลับไปยังห้องขังของเขา แล้วเจมส์ก็ตรวจเช็คแท่นแขวนคอ หากก็ไม่พบตรงไหนที่เสีย จอห์นถูกพากลับมาอีกครั้ง และราวกับเรื่องล้อเล่น พื้นยังคงไม่เปิดอยู่ดีเมื่อมีจอห์นยืนอยู่ข้างบน

                    บาทหลวงซึ่งอยู่ในที่นั้นทนดูไม่ได้และร้องขอความเมตตาให้กับจอห์น เซอร์วิลเลี่ยม ฮาร์คอร์ทเห็นด้วยและใช้สิทธิ์พิเศษลดโทษของจอห์นมาเป็นคุมขังอย่างไม่มีกำหนดแทน

                    22 ปีให้หลัง จอห์นพ้นโทษและเดินทางไปอเมริกา เขาแต่งงานอยู่กินที่นั่น รายละเอียดหลังจากนี้ไม่มีบันทึกไว้ รู้เพียงว่าจอห์นเสียชีวิตเมื่ออายุ 68 ปีในปี 1933

                    สาเหตุที่พื้นแท่นประหารไม่เปิดออกยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนทุกวันนี้ ตัวเจมส์เองกล่าวในบันทึกว่า เป็นไปได้ว่าโครงของพื้นกลไกอาจจะเบาเกินไป มีบางคนสันนิษฐานว่าอาจจะมีใครแอบเอาลิ่มมาเสียบไว้ก็เป็นได้

                    ทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดกล่าวว่า อาจจะเป็นเพราะการขยายตัวของเนื้อไม้เนื่องจากฝนที่ตกในวันก่อนกซึ่งพอมีน้ำหนักทับลงมาก็ทำให้แผ่นกระดานแน่นจนเปิดไม่ออกก็ได้

                    แถมอีกนิด เจมส์ เบอร์รี่ยังทำพลาดในการประหารอีกหลายเดือนให้หลังอีกครั้ง คราวนี้เขาปล่อยเชือกยาวเกินไป ทำให้แทนที่เชือกจะรัดคอนักโทษ กลับตัดคอนักโทษจนขาดไปเสีย จะแขวนคอคนก็ต้องอาศัยฝีมือเหมือนกัน


                   
    ตายแล้วฟื้น

                   
                   
    สก็อตแลนด์ ค.ศ.
    1728 มาร์การเร็ต ดิ๊กสัน แห่งเมืองมัสเซลกระทำความผิดอย่างร้ายแรง จนถูกศาสให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ จนเธอเสียชีวิต ศพของเธอได้นำมาใส่ลงในโลงและจะนำไปฝังที่สุสาน

                    ขณะที่สามีของมาร์กาเร็ตและญาคิพี่น้องกำลังเดินตามโลงศพด้วยความเศร้าสลด ทุกคนก็ถึงกับช็อกด้วยความตกใจเมื่อมาร์กาเร็ตดันผ่าโรงออก แล้วปีนด้วยสีหน้างงงวยพอๆ กับทุกคนที่เห็นเหตุการณ์

                    กฎหมายของสก็อตแลนด์ได้กำหนดว่าคนที่ถูกประหารชีวิตคือผู้ที่ได้รับโทษจนถึงสิ้นสุดแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อนางมาร์กาเร็ตคืนชีพขึ้นมาใหม่จึงกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ต่อมานางมาร์กาเร็ตได้แต่งงานใหม่และใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขเลยมา

     

                    ชายที่รอดจากการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า

                   
                   
    ในปี ค.ศ.
    1932 เจ้าหน้าที่ได้จับกุมอาชญากรตัวร้ายนาม บุลเลน ศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าในคุกซิงกิง เพชฌฆาตนำตัวบุลเลนนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า มัดตรึงเขาไว้ โกนผมตรงกลางศีรษะเพื่อคลอบโลหะสำหรับเป็นสื่อให้กระแสไฟฟ้าแรงสูงวิ่งผ่าน หลังจากนั้นเพชฌฆาตปล่อยกระแสไฟฟ้าสู่ร่างบุลเลนกระทั้งสิ้นใจตาย แพทย์ได้ตรวจอีกครั้งแล้วยืนยันวาเสียชีวิตแล้ว เจ้าหน้าที่จึงหามศพเพื่อฝังในป่าช้า

                    ระหว่างใกล้ถึงป่าช้า เจ้าหน้าหามศพรู้สึกว่าศพของบุลเลนมีการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ทันใดนั้นฝาโลงก็เปิดกระเด็นออกมาตกลงบนพื้น บุลเลนซึ่งตายแล้วกลับคืนชีพเขากระโดดออกมาจากโลง และวิ่งหนีเข้าที่รกพงหายไป

                    เจ้าหน้าที่หามศพตื่นตระหนกสุดขีด เพราะคิดว่าบุลเลนกลายเป็นผีดิบคืนชีพ กว่าจะได้สติ บุลเลนก็หนีไปไม่กลับมาอีกแล้ว

                    มีการคาดเดาปาฏิหาริย์นี้ง่ายๆ ว่า กระแสไฟฟ้าแรงสูงอาจทำให้บุลเลนสลบไปเท่านั้น ไม่ถึงกลับตาย และพอดีดันตื่นขึ้นตอนนอนอยู่ในโลงนั้นแหละ

                   
    + + จากหนังสือแปลก
    SPECIAL MAGAZINE  26 มกราคม 2550

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×