ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #73 : ทฤษฏีบทสุดท้ายของ Fermat โจทย์คณิตที่ยากที่สุดในโลก

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.79K
      6
      18 ม.ค. 50



    ทฤษฏีบทสุดท้ายของ Fermat โจทย์คณิตที่ยากที่สุดในโลก


                   
    เย้ในที่สุดก็มีเรื่องมาแทนตอนก่อนแล้ว

                    Andrew Wiles ผู้พิชิตทฤษฏีบทสุดท้ายของ Fermat โจทย์คณิตศาสตร์ที่(เคย)ยากที่สุดในโลก

                    Piere de Fermat เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีจำนวน (Number Theory) อันเป็นวิชาว่าด้วยตัวเลขจำนวนต่าง ๆ (เลขจำนวนเต็มได้แก่ 2,6.9,…)เขาถือกำเนิดเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2144 ที่เมือง Beaument de Lomagne ประเทศฝรั่งเศส เขาทำงานเป็นทนายความและนักคณิตศาสตร์สมัครเล่น เขามีบทบาทในการพัฒนาการด้านสถิติและทฤษฎีความเป็นไปได้ (Probability theory) จนถึงระดับที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้วางรากฐานวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ให้ Issac Newton นำไปใช้ในการสร้างวิชาแคลคูลัสในระยะเวลาต่อมาอีกด้วย

                    ปี พ.ศ. 2180 เขาได้ตั้งโจทย์คณิตศาสตร์ขึ้นมาโจทย์หนึ่ง ซึ่งคนปัจจุบันรู้จักในนาม "ทฤษฎีบทสุดท้ายของ Fermat" หรือ "Fermat's Last Theorem" เขาได้ความคิดในการตั้งโจทย์ปัญหานี้จากการอ่านตำรา Arithmetica ของ Diophantus แห่งเมือง Alexandria ในอียิปต์ ซึ่งได้กล่าวถึงสมการของ Pythagoras แถลงว่า ถ้า a²+b²=c² โดย a และ b เป็นความยาวของด้านที่ประกอบมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉาก และ c เป็นความยาวของด้านที่ตรงข้ามมุมฉาก เราจะพบว่าสมการนี้มีคำตอบสำหรับค่า a , bและ c เป็นเลขจำนวนเต็มนับไม่ถ้วน ทฤษฎีบทสุดท้ายของ Fermat จึงได้สยบสมองของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ของทุกคนที่ผ่านมา แต่แล้วในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2536 นั้นเอง Andrew Wiles แห่ง มหาวิทยาลัย Princeton สหรัฐอเมริกา ก็ได้แถลงว่าเขาได้ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของ Fermat แล้วข่าวมโหฬารนี้ถึงกับทำให้หนังสือพิมพ์ The New York Times พาดหัวตัวโตด้วยคำว่า "Euraka" เพื่อสดุดีความสำเร็จของ Wiles เลยทีเดียว แต่เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินวิธพิสูจน์ของ Wiles และพบจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่ เขารู้สึกเสมือนว่าข้อตำหนิที่ได้รับเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ได้เคยทำลายชีวิตของนักคณิตศาสตร์มาแล้วนับไม่ถ้วน มาบัดนี้ชีวิตการทำงานของเขาก็ได้สิ้นสุดลงเช่นกัน Wiles รู้สึกหดหู่และท้อแท้มาก แต่ก็ได้รวบรวมพลังความคิดและกำลังใจกับลูกศิษย์ที่ชื่อ R.Taylor ฮึดสู้กับปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งและแล้วในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2537 Wiles และ Taylor ก็ประสบผลสำเร็จ ผลงานได้ตีพิมพ์ลงวารสาร Annals of Mathematics ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538

    ทฤษฏีบทสุดท้ายของ Fermat โจทย์คณิตที่ยากที่สุดในโลก นิดนึงครับ

                  
                   
    คือ คนคนนี้เขาเป็นคนตั้งทฤษฎีออกมาว่า จะมีเพียงแค่ a^2 + b^2 = c^2 เท่านั้น เลขที่ไม่ใช่2 ยกเว้น 1 ให้ยกกำลังให้ตายไปข้างนึง จับมาบวกกันก็ไม่ได้ เท่ากับ อีกจำนวนยกกำลังเลขนั้นหรอก

                    อย่างเช่น a^1000+b^1000 ไม่มีทางที่จะหาเลข c^1000 ได้

                    งงป่าวครับ  ขนาดคนเอามายังงงเลย

                    อย่าง 3^2 + 4^2 = 5^2

                    แต่ท่าเลขชุดนี้ยกกำลังอย่างอื่น(ยกเว้นเลข1) ก็จะไม่มีทางเท่ากัน

                    เฟเมอร์ตั้งทฤษฎีนี้ขึ้นมา แต่เวลาผ่านไปเป็นหลาย 10 ปี ก็ไม่มีใครพิสูจน์ได้

                    จนถึงกับมีนักคณิตศาสตร์คนนึงบอกว่า

                    ตั้งโจทย์ให้คนอื่นคิดยากๆ ตัวเขาเองก็ทำได้วะ

                    มีอีกคนพิสูจน์ได้แล้ว แต่พอเอาไปให้ที่ประชุมดู กลับพบว่ามีข้อผิดพลาดเยอะ จนต้องนำกลับไปแก้ใหม่

                    และในที่สุดก็มีคนพิสูจน์ได้ แค่ทฤษฎีบนนี้ พิสูจน์ได้เป็นหนังสือ1เล่นที่มีขนาดเป็น100หน้าเลยละ

     
                   
    จนบัดนี้ นักคณิตศาสตร์สมัยนี้ทั้งโลก ยังมีไม่ถึง10คนที่จะเข้าใจการพิสูจน์ของเขา อ่านรยละเอียดที่นี้ได้น่ะครับ http://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/fermat.pdf

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×