ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #67 : สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.37K
      5
      11 ม.ค. 50



    จับผิดสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า


                   
    กล่าวขวัญถึงกันมากเหลือเกิน สำหรับสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เชื่อว่าเราๆท่านๆคงคุ้นเคยชื่อนี้กันทุกคนนะครับ

                    ผมเลยเอาประวัติย่อๆ ของมันก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลักก่อนน่ะครับ


                   
    อาณาบริเวณของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

                   
                    
    สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าเป็นการลากเส้นสมมุติ เพื่อกำหนดอาณาบริเวณในน่านน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติค โดยการลากเส้นจากฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา สู่เกาะเบอร์มิวด้า สู่เปอร์โตริโก แล้วก็วกกลับมาที่ฟลอริด้าอีกทีนึงเป็นรูปสามเหลี่ยมพอดี และไอ้เจ้าบริเวณที่ว่านี้แหละครับ ที่ถือเป็นปริศนาแห่งศตวรรษที่ 20 โดยแท้

                     อาณาบริเวณนี้กินกว้างจากฟลอริด้า-เปอร์โต ริโก-เกาะเบอร์มิวด้า มันกินพื้นที่ตั้งห้าแสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการจะค้นหาอะไรๆจากสามเหลี่ยมเอบอร์มิวด้าจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงกระนั้น ทั้งองค์กรของรัฐ เอกชน ต่างก็ควานหากันอย่างสุดเหวี่ยง เผื่อจะเจอเงื่อนงำอะไรที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนมรณะนี้ได้


                   
    ที่มาของชื่อ

                    ศัพท์คำว่า "สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า" หรือ "Bermuda Triangle" นี้ มีที่มาจากบทความของ ชื่อ Vincent H. Gaddis แห่งนิตยสารอาร์กอสซี่ครับ เขานำเสนอเรื่องราวของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างลึกลับโดยปราศจากคำอธิบายในนิตยสารดังกล่าว เมื่อปี 1964 ทว่า แกดดิสมิได้เป็นคนแรกหรอกครับที่สังเกตเรื่องนี้ เมื่อหลายปีก่อน (1952) ก็มีคนเสนอเรื่องทำนองนี้เช่นกันในนิตยสาร Fate เนื้อหากล่าวถึงปริมาณของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างผิดปกติในบริเวณน่านน้ำดังกล่าว ซึ่งยอดสูญหายนี้มันมากเกินไปที่จะใช้คำว่าอุบัติเหตุมาอธิบาย คนเขียนบทความเค้าชื่อ George X. Sands

                    ถัดมาในปี 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า "Limbo of the Lost" ถัดจากนั้นก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลับดำมืดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ก็ขายดิบขายดีแทบทุกเล่มครับ ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า "The Devil's Triangle" ตีพิมพ์ในปี 1974 ครับ เป็นที่น่าสังเกตคือ แทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้ มาจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น ส่วนจะมาจากมนุษย์ต่างดาว หรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างคนก็หาหลักฐานงัดทฤษฎีมาโต้กันสุดฤทธิ์ สนุกกันใหญ่ทั้งคนอ่านคนเขียน

                    แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีคำอธิบายใดที่น่าพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ..

                    ทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าก็มีแตกต่างกันไป บางคนก็โทษว่าเป็นฝีมือของวิญญาณ หรือ สัตว์ลึกลับไปโน่นเลย เนื่องจากไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นได้ การที่เครื่องบินและเรือเดินสมุทรเกิดหายไปอย่างฉับพลันในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า โดยปราศจากร่องรอยอยู่เสมอนั้น จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของมนุษย์ที่สุด ในการที่จะแก้ปมปริศนาตรงนี้ นักวิชาการต่างเสนอทฤษฎีต่างๆกันไป บ้างก็ว่าเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน บ้างก็ว่าเกิดจากความผิดปกติของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า บ้างก็ว่าเกิดจากอำนาจของสิ่งบินลึกลับ หรือ UFOs บางคนว่าเกิดจากแหล่งพลังงานลึกลับใต้มหาสมุทร รวมไปถึงทฤษฎีการแตกหักของโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้มหาสมุทร เป็นเวลาเนิ่นนานนับสิบๆปีแล้วครับ ที่ผู้คนวิพากษ์ถกเถียงกันเรื่องสามเหลี่ยมเจ้ากรรมนี้ คำร่ำลือเกี่ยวกับความน่าสะพรึงกลัวของมันขจรขจายไปทั่วโลก ในฐานะของดินแดนมรณะที่จะดูดกลืนชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่สัญจรผ่านบริเวณนั้น


                   
    แต่ทฤษฏีที่ร้ายที่สุดคือมันเป็นเรื่องโกหก


                   
    จับผิด

                    เรื่องของเรื่องคือหนังสือชื่อว่า The Bermuda Triangle ของชาร์ลส เบอร์ลิซ ซึ่งตีพิมพ์ในช่วงปี 1950 เป็นตัวจุดชนวนนำชื่อของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาโด่งดังไปทั่วโลก มีการนำเรื่องในหนังสือแนะนำผ่านสื่อต่างๆทั้งโทรทัศน์และนิตยสาร ทั้งยังมีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์อีกด้วย  ....แต่ในภายหลัง เมื่อนักวิจัยได้ทำการตรวจสอบเรื่องที่เขียนอยู่ในหนังสือก็พบว่าหนังสือเล่มดังกล่าวเขียนขึ้นโดยประกอบด้วยความเท็จ การบิดเบือนและการประโคมเรื่องเป็นจำนวนมากจนยากที่จะเรียกได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง

                    และนี่เป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับคดีและข้อค้านเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา


                   
    คดีเรือแมรี่เซเลสเต้

                   
                   
    คดีของแมรี่เซเลสเต้เป็นคดีที่เรืออยู่แต่คนไม่อยู่นี้แหละครับ มีร่องรอยข้าวของเครื่องใช้อยู่พร้อมเพียง แต่มีการจับผิดว่าเกิดเหตุดันอยู่ที่อ่าวโปรตุเกสซึ่งอยู่ห่างจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามากกว่า 3000 กิโลเมตรเลยทีเดียว


                   
    คดีเรือเฟรย่า

                    ตุลาคมปี 1902 เรือเฟรย่าออกเดินทางจากแมนซานีโจ้ ประเทศคิวบา เพื่อไปยังพุนดาอานาเลส ประเทศชิลี ภายหลังถูกพบอับปางที่มาซาโทรัน โดยที่ลูกเรือทั้งหมดหายตัวไป แต่ในความจริงแล้ว เรือเฟรย่าออกจากท่าแมนซานีโจ้ ประเทศเม็กซิโกต่างหากล่ะ และแล่นเรืออยู่ในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งระหว่างเดินเรือได้พบกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลในเขตน่านน้ำของเม็กซิโก จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจเจอคลื่นยักษ์มาซัดเอาลูกเรือไปก็เป็นได้มากกว่า


                   
    คดีเครื่องบินอังกฤษหายสาปสูญ

                   
                   
    กุมภาพันธ์ปี 1953 เครื่องบินโดยสารของอังกฤษซึ่งบรรทุกพลทหารจำนวน 39 คนหายสาปสูญไม่พบร่องรอย แต่จากการตรวจสอบ จุดที่เครื่องบินดังกล่าวหายไปอยู่ห่างไปทางเหนือจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาถึง 1400 กิโลเมตร มีสภาพอากาศขณะที่หายไปก็มีฝนหนักและลมแรงไม่แปลกที่เครื่องบินจะตก


                   
    คดีเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยน

                    พฤษภาคมปี 1968 เรือดำน้ำพลังงานปรมาณูสกอร์เปี้ยนพร้อมลูกเรือ 99 คนอัปปางลงในน่านน้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะอาโซเลส มีการสำรวจแล้วแต่ไม่สามารถค้นพบซากเรือ แต่.......ในความจริงนั้น 5 เดือนให้หลังจากการอัปปาง เรือสำรวจก้นสมุทรไมเซอร์พบซากเรือสกอร์เปี้ยนที่ก้นทะเลซึ่งอยู่ห่างจากหมู่เกาะอาโซเลสไปทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทางประมาณ 640 กิโลเมตรในสภาพถูกทำลายยับเยิน การตรวจสอบพบว่าถูกยิงด้วยมิสไซล์ และน่านน้ำตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะอาโซเลสก็อยู่ห่างจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาถึง 1000 กิโลเมตร


                   
    คดีเรือเอเลนออสติน

                    ปี 1881 ระหว่างที่เรือเอเลนออสตินสัญชาติอังกฤษกำลังแล่นเรืออยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้พบกับเรือสคูเนอร์ (เรือที่มี 2 เสากระโดง) ลอยลำอยู่โดยไม่มีลูกเรือ กัปตันจึงแบ่งลูกเรือ 2-3 คนขึ้นเรือลำดังกล่าวเพื่อนำเรือเข้าเทียบท่าเซนต์จอห์นด้วยกัน หากระหว่างนั้นก็พบกับพายุฝนและหมอกจนพลัดหลงจากกัน เมื่อพายุสงบและพบเรือสคูเนอร์อีกครั้ง ลูกเรือที่อยู่บนเรือก็หายสาปสูญไปอีกเสียแล้วกัปตันเรือเอเลนออสตินจึงแบ่งลูกเรือขึ้นเรือลำดังกล่าวอีกครั้ง หากระหว่างทางก้พบกับพายุฝนอีก และคราวนี้ พวกเขาก็ไม่ได้พบเรือลำนั้นอีกเลย

                    แต่มีการตรวจสอบย้อนหลังถึงที่มาของคดีนี้ หากนอกจากที่บันทึกอยู่ในหนังสือ"เรื่องเล่าของนักฝัน"ของลูเพิร์ต กูลด์ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1944 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรื่องนี้บันทึกอยู่ในเอกสารหรือหนังสือพิมพ์ใดๆเลย จึงมีความเป็นไปได้สูงว่านี่เป็นเรื่องที่กูลด์แต่งขึ้นเอง และในหนังสือของกูลด์ เรือสกูเนอร์หายไปเพียงครั้งเดียว แต่เมื่อมีการแปลและตีพิมพ์หลายครั้งก็ถูกเพิ่มกลายมาเป็น 2 ครั้ง


                   
    คดีกองเครื่องบินรบที่ 19 หายสาปสูญ

                    
                   
    เป็นคดีที่มีชื่อเสียงที่สุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

                    วันที่ 5 ธันวาคม 1945 เครื่องบินจู่โจมแอดเวนเชอร์จำนวน 5 ลำบินออกจากฐานทัพกองทัพอากาศในฟลอริด้าเพื่อลาดตระเวณพื้นที่ฝั่งทะเลทางตะวันออกของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เครื่องบินทั้ง 5 ลำถูกตรวจเช็คก่อนออกตัวอย่างละเอียดว่าไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งนักบินต่างก็มีประสบการณ์ในระดับผู้เชี่ยวชาญ สภาพอากาศในวันนั้นแจ่มใส และมีกำหนดการว่าการลาดตระเวณจะเสร็จสิ้นใน 2 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงครึ่งหลังจากนั้นในเวลา 15.45น. นักบินแจ้งมาว่ากองเครื่องบินหลงจากคอสที่กำหนดไว้ และพวกเขามองไม่เห็นแผ่นดิน ศูนย์บังคับการออกคำสั่งให้นักบินหันหัวเครื่องไปทางทิศตะวันตก หากนักบินก็ตอบว่าพวกเขาไม่สามารถรู้ได้ว่าทิศไหนคือทิศตะวันตก ผู้บังคับการสันนิษฐานว่าอุปกรณ์นำทางอาจจะเสียหาย นักบินจึงหาเส้นทางบินไม่เจอ แต่หากในเวลานี้ ถ้าบินหันหัวไปตามดวงอาทิตย์ก็จะพบฝั่งในเวลาไม่ช้า แต่จากคำพูดของนักบินแล้ว ฟังราวกับว่าพวกเขามองไม่เห็นกระทั่งดวงอาทิตย์ในไม่ช้า การติดต่อจากนักบินก็ขาดตอนไป ศูนย์จึงส่งเครื่องบินมาร์ตินมารีเนอร์ไปเพื่อค้นหาและช่วยเหลือ แต่เครื่องบินช่วยเหลือก็หายสาปสูญไปเช่นกัน

                    แต่เรื่องข้างบนกล่าวว่า นักบินทั้ง 5 คนเป็นผู้มีประสบการณ์ก็จริง แต่ในความเป็นจริงนั้น นอกจากชารล์ส แครอล เทย์เลอร์ซึ่งเป็นหัวหน้ากองบินและผู้ช่วยอีกคนแล้ว นักบินอีก 3 คนยังเป็นเพียงนักเรียนฝึกหัดการบินอยู่ หนำซ้ำตัวเทย์เลอร์เองก็เพิ่งจะย้ายมายังฟลอริด้าเพียง 2 อาทิตย์ก่อนที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นจึงยังไม่มีความชำนาญด้านเส้นทางบินนักในด้านสภาพอากาศนั้น จริงอยู่ที่ขณะที่ออกเครื่องไป ท้องฟ้ายังแจ่มใสและมองเห็นพระอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน แต่หลังจากนั้นสภาพอากาศก็แย่ลงอย่างกะทันหันและในตอนค่ำก็มีลมแรงถึง 16 เมตร

                    เป็นความจริงที่อุปกรณ์การนำทางเสียหาย หากโดยการตรวจสอบภายหลัง เทย์เล่อร์บินอยู่ในเส้นทางการบินที่ถูกต้องแล้วอยู่แล้ว แต่เนื่องจากสับสนกับเข็มทิศที่พัง พวกเขาจึงเข้าใจผิดว่าตนเองหลุดออกมานอกเส้นทาง และมีการหันหัวเปลี่ยนทิศทางหลายครั้งจนเกิดอาการสับสนทิศขึ้นมาจริงๆพวกเขาบินเปะปะไปมาอย่างไม่รู้เหนือใต้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมงก่อนที่น้ำมันจะหมดและต้องลงจอดบนทะเลด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ต้องสงสัยว่าตัวเลขนี้มีความหมายเดียวกับคำว่าตายนั่นเอง

                    ส่วนเครื่องบินมาร์ตินมารีเนอร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีว่าไม่ได้มาตราฐานและมีน้ำมันรั่วบ่อยๆ ซึ่งถ้านักบินเผลอจุดบุหรี่สูบเมื่อไหร่ก็จะเกิดการระเบิดได้ง่ายๆ ซึ่งในความจริงนั้น กล่าวว่ามีผู้เห็นการระเบิดกลางอากาศใรทิศทางที่มาร์ตินมารีเนอร์บินไปหลังจากออกจากฐานไปได้ไม่นานนัก


    http://members.thai.net/myth/bermuda/tri_idx.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×