ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #51 : "วานูอาตู" ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.51K
      1
      25 ธ.ค. 49



    "วานูอาตู" ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก

     

                    "วานูอาตู"หมู่เกาะกลาง"แปซิฟิก"ได้รับเลือกเป็นประเทศที่มีความสุขในโลก เผยผู้คนไม่เห่อตามกระแสบริโภคนิยม มีความหวังดีต่อกัน ไทยติดอันดับ 32 สิงคโปร์รั้งท้าย มีสุขน้อยที่สุดในเอเชีย

                    สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพีรายงาน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ว่า มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (เอ็นอีเอฟ) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความสุขในประเทศต่างๆ 178 ประเทศทั่วโลก พบว่า ประเทศวานูอาตู หมู่เกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้มีความสุขที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังมีโคลัมเบีย คอสตาริกา โดมินิกัน และปานามา ที่ติด 5 อันดับแรกของประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ในขณะที่บรรดาประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีดัชนีความสุขไม่มาก

                    เอ็นอีเอฟใช้มาตรฐานความเป็นอยู่และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นตัววัดความสุขของประชาชน อีกทั้งยังวัดจากความพอใจในการมีชีวิต ความคาดหวังในชีวิต และปริมาณการใช้สภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต หมายถึงปริมาณของที่ดินที่เหมาะสมสำหรับจำนวนประชากรและการบริโภคพลังงาน

                    การมีความสุขของจำนวนชาววานูอาตูไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าประเทศนี้มีประชากรเท่าไหร่ หากแต่เป็นเพราะประชาชนมีความพึงพอใจกับสิ่งเล็กน้อย ไม่ใช่สังคมที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภค แต่อยู่กันเป็นชุมชนและครอบครัว มีความหวังดีต่อกัน เป็นสถานที่ที่ไม่ต้องกังวลอะไรมาก สิ่งเดียวที่กลัวกันคือพายุไซโคลนหรือแผ่นดินไหว

                    สำหรับประเทศที่มีดัชนีความสุขน้อยที่สุด คือประเทศซิมบับเว อยู่ในอันดับสุดท้าย คือ 178 ตามมาด้วยสวาซิแลนด์ บุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและยูเครน ส่วนกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม หรือจี 8 กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีดัชนีความสุขน้อยเช่นกัน อิตาลีอยู่อันดับที่ 66, เยอรมนี 81, ญี่ปุ่น 95, อังกฤษ 108, แคนาดา 111, ฝรั่งเศส 129, สหรัฐอเมริกา 150 และรัสเซียอยู่อันดับที่ 172

                    ขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 131 กลายเป็นประเทศในเอเชียที่มีดัชนีความสุขน้อยที่สุด ส่วนเวียดนามมากที่สุดคืออยู่อันดับที่ 12 ตามมาด้วยภูฏาน ประเทศไทยถูกจัดอยู่อันดับที่ 32, ฟิลิปปินส์ 17, อินโดนีเซีย 23, จีน 31, มาเลเซีย 44, อินเดีย 62, ไอซ์แลนด์ 64, เนเธอร์แลนด์ 70, สเปน 87, ฮ่องกง 88, ซาอุดีอาระเบีย 89, เดนมาร์ก 99, ปากีสถาน 112, นอร์เวย์ 115, สวีเดน 119, ฟินแลนด์ 123, ออสเตรเลีย 139, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 154, แอฟริกาใต้ 156, คูเวต 159 และกาตาร์ 166

                   

                    
                   
    วานูอาตู (
    Vanuatu) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐวานูอาตู (Republic of Vanuatu) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย 1,750 กม. และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนิวแคลิโดเนีย ทางทิศตะวันตกของประเทศฟิจิ และทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน 500 กม. ชื่อของประเทศนี้ในยุคอาณานิคม คือ นิวเฮอร์ไบรดส์

     

                    ประวัติศาสตร์

                    
                   
    เกาะจำนวนมากของวานูอาตูมีผู้อาศัยมานานนับพัน ๆ ปี หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด พบว่ามีอายุย้อนไปถึงประมาณ 2
    ,000 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อ ค.ศ. 1606 นักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร เฟร์นันเดซ เด กีโรส (Pedro Fernández de Quirós) ก็นับเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงหมู่เกาะนี้ ชาวยุโรปเริ่มตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะดังกล่าวในปลายศตวรรษที่ 18 หลังจากกัปตันเจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษได้เดินทางมายังหมู่เกาะแห่งนี้ เมื่อระหว่างการเดินทางครั้งที่ 2 ของเขา

    เมื่อ ค.ศ. 1906 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะปกครองดินแดนนี้ร่วมกัน โดยเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่า "นิวเฮอร์ไบรดส์" ครั้นถึงทศวรรษ 1960 ประชากรชาววานูอาตูเริ่มกดดันเพื่อก่อตั้งรัฐบาลของตนเอง และภายหลังก็เรียกร้องเอกราชคืน และในที่สุดอังกฤษและฝรั่งเศสก็ยอมคืนอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์สู่เจ้าของพื้นที่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523)

    ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 วานูอาตูประสบความผันผวนทางการเมือง และในที่สุดก็นำไปสู่รัฐบาลแบบกระจายอำนาจมากขึ้น

     

                    การเมือง

                    รัฐสภาของวานูอาตูเป็นแบบสภานิติบัญญัติสภาเดียว มีสมาชิก 52 คน สมาชิกเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี จากการลงคะแนนเสียง ผู้นำพรรคหลักในรัฐสภา มักจะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้นำคณะรัฐบาล สำหรับประมุขของรัฐ คือประธานาธิบดี ได้รับเลือกคราวละ 5 ปี จากรัฐสภาและประธานรัฐบาลท้องถิ่น 6 จังหวัด อย่างไรก็ตามการจัดตั้งรัฐบาลนั้นยังปรากฏปัญหาหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องมาจากแตกแยกระหว่างผู้พูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส

     

                    เศรษฐกิจ

                    เศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่จะอิงกับเศรษฐกิจแบบเลี้ยงชีพ หรือเกษตรกรรมขนาดเล็ก ซึ่งเลี้ยงชีพประชากรราว 65% สำหรับการประมง บริการการเงินนอกประเทศ และการท่องเที่ยว (เมื่อปี ค.ศ. 1997 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 50,000 คน) เป็นเศรษฐกิจหลักอันดับรองลงมา นอกจากนี้ก็ยังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก รายได้จากการเก็บภาษีส่วนใหญ่มาจากภาษีนำเข้า และ 12.5% เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการ

                    การเติบโตของเศรษฐกิจนั้นต้องชะลอลงอันเนื่องจากส่วนใหญ่ต้องอาศัยสินค้านำเข้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน การประสบภัยธรรมชาติ และระยะทางที่ยาวไกลจากตลาดหลักและระหว่างเกาะน้อยใหญ่ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 และตามด้วยสึนามิ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเกาะทางตอนเหนือ ทำให้ประชากรหลายพันคนไร้ที่อยู่อาศัยแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2002 ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ในเมืองหลวง และพื้นที่โดยรอบ ทั้งยังประสบภัยจากสึนามิในเวลาต่อมาด้วย

                    ค่าจีดีพีของวานูอาตูเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ถึง 3% ในทศวรรษ 1990 และตอบสนองความสนใจจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้สัญญาที่จะเข้มงวดกับระเบียบด้านการเงินนอกประเทศ เมื่อกลางปี 2005 รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามที่จะเร่งตลาดท่องเที่ยว ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็น           ผู้สนับสนุนหลักจากต่างประเทศของวานูอาตู เป็นเมืองปลอดภาษี ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลบัญชีแก่รัฐบาลใดๆ และหน่วยงานควบคุมกฎหมาย ในวานูอาตูนั้น ไม่มีภาษีเงินได้ ไม่มีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา บริษัทต่างๆ เลือกที่จะลงทุนในวานูอาตู เพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบ และการกระทำผิดกฎหมาย

     

                    ประชากร

                    
                   
    ประชากร
     : 202,609 คน (กรกฎาคม 2547)

                    ประชากรส่วนใหญ่ของวานูอาตูเป็นชาวเมลานีเซียพื้นเมือง หรือนีวานูอาตู ส่วนที่เหลือประกอบด้วยชาวยุโรป เอเชีย และชาวหมู่เกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

                    ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีด้วยกัน 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาบิสลามา อันเป็นภาษาลูกผสมแบบหนึ่ง ที่มีรากฐานจากภาษาอังกฤษ นอกจากนี้แล้วยังมีภาษาถิ่นต่างๆ อีกกว่า 100 ภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่เกาะนี้ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของภาษาสูงที่สุดในภูมิภาคใดๆ ของโลก (โดยเฉลี่ยมีผู้พูดเพียง 2,000 คนต่อ 1 ภาษา) พื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันก็คือ ปาปัวนิวกินี

                    ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ประชากรนับถือมากที่สุดในวานูอาตู มีหลายคณะนิกายด้วยกัน สำหรับ Presbyterian เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุด นั่นคือมีผู้นับถืออยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด

                    สำหรับลัทธิคาร์โก (Cargo) ก็ได้รับความนิยมนับถือจากผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง

     

                    วัฒนธรรม

                    วานูอาตูยังคงมีความหลากหลายของวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมในท้องถิ่น และได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ วัฒนธรรมของวานูอาตูอาจแบ่งได้ตามภูมิภาคหลักๆ 3 ภาคดังนี้

                    ภาคเหนือ ความมั่งคั่งจะพิจารณาได้จากว่าผู้คนสามารถให้ทรัพย์สินได้มากเท่าใด (โดยเฉพาะสุกร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้)

                    ภาคกลาง ถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมโปลีนีเซียแบบดั้งเดิมมากกว่า

                    ภาคใต้ มีวัฒนธรรมการมอบตำแหน่งที่เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ

                    นอกจากนี้ชายหนุ่มจะมีพิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เพื่อการเริ่มต้นชีวิตวัยผู้ใหญ่

                   

                                    http://th.wikipedia.org/

                    http://www.ped.si.mahidol.ac.th/mdbtemplate/mytemplate/template.php?component=view_article&read=1&qid=145&n_answer=5

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×