ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #42 : ฮิโรชิมา มหาระเบิดปรมาณูสะท้านโลก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.21K
      3
      15 ธ.ค. 49


    ฮิโรชิมา  มหาระเบิดปรมาณูสะท้านโลก

     

                    เรื่องราวของการใช้อาวุธทำลายล้างมวลชนครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป้าหมายคือจักรวรรดิญี่ปุ่น วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ระเบิดที่ไม่เหมือนลูกไหนๆ ได้หล่นลงมาจากท้องฟ้าเหนือเมืองฮิโรชิมา  ระเบิดลูกนี้ได้รับการออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดของโลกและการนำมันมาใช้คือการตัดสินใจทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก  เรื่องราวของลูกเรือบนเครื่องบินที่ปฏิบัติภารกิจลับในการทิ้งระเบิดที่ทำให้เมืองฮิโรชิมาทั้งเมืองต้องพังพินาศภายในไม่กี่วินาที  ระเบิดลูกนั้นช่วยยุติสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นจุดเริ่มต้นบทใหม่ของประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ

                    ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ที่ศูนย์วิจัยลับสุดยอดในลอส-อลามอส รัฐนิวเม็กซิโก ระเบิดชนิดใหม่ถูกนำไปใส่ในรถบรรทุกติดอาวุธเต็มอัตราศึก นี่คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางซึ่งจะไปสิ้นสุดลงที่ฮิโรชิมา ระเบิดลูกนี้เป็นผลผลิตจากการวิจัยเป็นเวลาสามปี และใช้เงินในการพัฒนาไปถึงสองพันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังไม่เคยมีการทดสอบเลยแม้แต่ครั้งเดียว

                    16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ที่อลามากอร์โด รัฐนิวเม็กซิโก

                    การทดสอบก็มาถึง กลางทะเลทรายของรัฐนิวเม็กซิโก บรรดานักวิทยาศาสตร์และทหารในโครงการแมนฮัตตันได้มารวมตัวกันเพื่อทดสอบการระเบิดของระเบิดปรมาณูเป็นครั้งแรก การระเบิดครั้งนี้ทำให้หอคอยสเตนเลสสตีลที่รองรับลูกระเบิดถึงกับระเหยกลายเป็นไอ ความร้อนอันแรงกล้าทำให้ทรายในทะเลทรายหลอมละลาย กลายเป็นแก้วปกคลุมไปทั่วบริเวณ

                    แรงระเบิดประมาณได้ว่ารุนแรงเท่าระเบิดไดนาไมต์ 67 ล้านแท่ง เดิมทีอเมริกาตั้งใจจะใช้ระเบิดนี้กับนาซีเยอรมัน แต่เวลานี้ผู้ทำระเบิดมีเป้าหมายอื่นอยู่ในใจ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 สงครามในยุโรปสิ้นสุดลงแล้ว นาซีเยอรมันพ่ายแพ้ไปแล้ว แต่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก สงครามกับญี่ปุ่นยังคงดำเนินไปอย่างดุเดือด

                    หลังจากการโจมตีแบบไม่ทันให้ตั้งตัวที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองกำลังอเมริกาก็ได้ต่อสู้ฟันฝ่าเพื่อชิงดินแดนในแถบแปซิฟิกคืนทีละเกาะๆ แต่ทัพหลักของญี่ปุ่นยังคงไม่บุบสลายและไม่เคยแพ้ อเมริกาเคยลองใช้ระเบิดเพลิงเพื่อทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ เมืองแล้วเมืองเล่ากลายเป็นซากปรักหักพัง แต่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ยังไม่ยอมจำนน

                    ดังนั้น เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงมีแนวโน้มที่จะต้องบุกอย่างเต็มอัตรา โดยที่บางคนประมาณการว่าพวกเขาอาจต้องเผชิญกับความสูญเสียมากมาย ทหารอาจบาดเจ็บล้มตายถึงหนึ่งล้านนาย และฝ่ายญี่ปุ่นก็ต้องสูญเสียมากกว่านั้นเยอะ

                    ญี่ปุ่นสมัยนั้น จักรพรรดิคือประมุขของประเทศ และยังเป็นเทพที่มีชีวิต แต่อำนาจอยู่ที่คณะที่ปรึกษาพิเศษซึ่งกำกับกิจการสงคราม นายกรัฐมนตรีซูซูกิและรัฐมนตรีต่างประเทศโทโกกำลังพิจารณาว่าจะยุติสงครามตามที่มีการเจรจาต่อรอง แต่รัฐมนตรีกองทัพ นายพลโคเรชิกะ อานามิ ยังมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อไป แผนของอานามิคือการสู้รบขั้นแตกหักเต็มอัตราศึก

                    อเมริกาได้ถอดรหัสลับของญี่ปุ่น จึงทราบดีว่า การเรียกร้องให้ยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงโดยไม่มีเงื่อนไขจะถูกฝ่ายญี่ปุ่นมองว่าเป็นการคุกคามองค์จักรพรรดิ ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และเสนอทางออกแก่ฝ่ายญี่ปุ่น

                    วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945

                    คำขาดที่ผ่านการแก้ไขแล้วได้ถูกส่งไปยังญี่ปุ่นทางคลื่นวิทยุ แต่ดูเหมือนเงื่อนไขการยอมจำนนที่อ่อนลงนี้จะก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม นายกรัฐมนตรีซูซูกิประกาศว่ารัฐบาลของเขาจะไม่สนใจแถลงการพ็อทสแดม เขาใช้คำว่า "โมกุซัทสึ" ซึ่งแปลว่าการฆ่าโดยไม่แยแส และนับจากวินาทีนั้น การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

                    ระเบิดเดินทางจากซานฟรานซิสโกโดยเรือ ยูเอสเอส อินเดียนาโปลิส ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเวลาสิบวัน จนไปถึงเกาะทิเนียน จากจุดนั้นจะใช้เวลาบินไปถึงญี่ปุ่นเพียงหกชั่วโมงเท่านั้น

                    เกาะทิเนียน คือฐานทัพอากาศใหญ่ที่สุดในโลก มีรันเวย์ขนาดใหญ่ 4 รันเวย์ เป็นที่เก็บเครื่องบิน บี-29 ซูเปอร์ฟอร์ทเตรส กว่า 500 ลำ และยังเป็นที่มั่นของหน่วยผสมที่ 509 กลุ่มคนที่จะทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ญี่ปุ่น หัวหน้าหน่วยแห่งนี้คือ นาวาเอกพอล ทิบเบ็ตส์ ซึ่งมีประสบการณ์โชกโชนในการทิ้งระเบิดต่อสู้กับเยอรมัน เขามีลูกเรือคนสำคัญสองคนคือพลเล็งเป้า ทอม เฟอเรอบี และต้นหน ดัทช์ ฟาน เคิร์ค

                    เย็นวันที่ 4 สิงหาคม 1945 พอล ทิบเบ็ตส์เรียกคนของเขามาประชุมกัน ภารกิจการทิ้งระเบิดถูกกำหนดไว้สำหรับคืนต่อไป วันที่เมฆเหนือประเทศญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะปลอดโปร่ง แต่เช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นบรรดาลูกเรือบนเกาะทิเนียนต้องตื่นขึ้นมาเพราะเสียงดังสนั่น เครื่องบินบี-29 ตกที่รันเวย์อีกครั้ง เครื่องบินตกครั้งนี้ทำให้ พอล ทิบเบ็ตส์ ในฐานะผู้บัญชาการ ตัดสินใจที่จะขับเครื่องบินโจมตีลำนี้เอง และเขาเลือกชื่อของเครื่องบินตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา

                    คืนนั้น ในช่วงนาทีสุดท้ายก่อนออกเดินทาง มีการสรุปภารกิจให้ลูกเรือทุกคนที่กำลังจะมุ่งหน้าไปฮิโรชิมาฟังเป็นครั้งสุดท้าย ภารกิจนี้เป็นความลับมาก ทิบเบ็ตส์ได้รับยาเม็ดฆ่าตัวตายไว้ใช้ในกรณีที่พวกเขาถูกฝ่ายญี่ปุ่นจับได้ เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ได้รับคำสั่งให้บันทึกภารกิจประวัติศาสตร์ครั้งนี้

                    ระเบิดลูกนี้หนักกว่าสี่ตัน ทำให้การทะยานขึ้นมีอันตรายมากกว่าปกติ หลังจากทะยานขึ้นไป 15 นาที ขณะที่เครื่องบินยังอยู่ในระดับต่ำ พาร์สันส์ก็พร้อมแล้วที่จะประกอบระเบิด พวกเขารู้ว่าความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจทำให้ภารกิจทั้งหมดล้มเหลวได้ สองชั่วโมงต่อมา เครื่องบิน อีโนล่า เกย์ สมทบกับเครื่องบินบันทึกภาพและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เวลานี้เครื่องบินทั้งหมดอยู่ห่างจากฮิโรชิมาราวสามชั่วโมง

     

                    6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เมืองฮิโรชิมา

                    เครื่องบินบี 29 อีกลำหนึ่งได้บินอยู่เหนือเมืองฮิโรชิมาเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศ ทำให้ประชาชนตื่นกลัวและหลบอยู่ในที่กำบัง เครื่องบินตรวจสอบสภาพอากาศรายงานผลไปยัง อีโนล่า เกย์ และเมื่อเครื่องบินตรวจสอบอากาศบินเลยไปโดยไม่มีการโจมตี ช่วงนั้นดูเหมือนภัยคุกคามจะผ่านไปแล้ว

                    แต่ต่อมาไม่นานเครื่องบิน อีโนล่า เกย์ ก็บินอยู่เหนือน่านฟ้าฮิโรชิมา ระเบิดลูกประวัติศาสตร์ถูกปล่อยออกมา หลังจากหล่นลงมา 43 วินาที กลไกที่ทำงานตามเวลาและแรงดันอากาศก็เริ่มกระบวนการจุดระเบิด กระสุนยูเรเนียมถูกยิงไปตามลำกล้องเข้าใส่ยูเรเนียมที่เป็นเป้าหมาย ยูเรเนียมทั้งสองเริ่มทำปฏิกิริยาลูกโซ่ อณูของแข็งเริ่มแตกตัวและปล่อยพลังงานออกมาในปริมาณมหาศาล

                    ระเบิดปล่อยอานุภาพทำลายล้างออกมาทีละขั้น ประกายไฟที่ออกมาจากลูกไฟยักษ์ที่กว้างถึง 300 เมตร ทำให้อุณหภูมิที่อยู่ด้านล่างลูกไฟนั้นสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส รังสีความร้อนหลอมละลายทุกอย่างที่อยู่ในที่โล่งถ้าไม่ระเหยกลายเป็นไอ ก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปในทันที ปฏิบัติการของทหารอเมริกันครั้งนั้นคร่าชีวิตคนไปราว 200,000 คน และเป็นการยุติสงครามโดยสิ้นเชิง

                    วันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปี ที่เมืองฮิโรชิมาจะมีพิธีรำลึกสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ถูกลืมและไม่เกิดขึ้นซ้ำสอง และเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เทียนนับพันๆ เล่มจะถูกจุดขึ้น และปล่อยให้ลอยไปตามสายน้ำ เทียนแต่ละเล่มแทนดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจากระเบิดปรมาณูลูกนี้

     

    http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=mythboard&No=4374

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×