ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #474 : (ระลึกชาติ) Mashin Eiyuden Wataru เทพบุตรสองโลก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.38K
      1
      14 ก.พ. 61

                    บทความนี้มาย้อนอดีตกับการ์ตูนที่ผมชอบกันบ้าง หากใครอ่านบทความย้อนอดีตการ์ตูนเก่านี้ส่วนใหญ่ผมมักเขียนเชิงประชดประชันมากกว่า  เพราะสมัยก่อนพวกอนิเมะไม่ค่อยสร้างความประทับใจผมสักเท่าไหร่    กว่าจะเจออนิเมะที่ประทับใจ ชอบ ก็ตอนอนิเมะสมัยผมหัวหงอกนี้แหละ

                    แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีการ์ตูนอนิเมะเรื่องหนึ่ง-สองเรื่องที่ผมติดมาก ติดแบบว่ายอมตื่นนอนตอนตี 5 เพื่อรอด (แม้ว่า ตัวอนิเมะมันฉาย 5-7 โมงก็เถอะ) ซึ่งมีอยู่สองเรื่อง คือ เซนกิ และวาตารุ   (เซนกินี้เป็นอนิเมะเรื่องแรกๆ เลย ที่ผมดูจนครบหมดทุกตอน )  และในบทความนี้ผมจะเขียนถึงวาตารุสักหน่อยว่าผมประทับใจอะไรในการ์ตูนเรื่องนี้

     


    จะว่าไปก็นึกขำอยู่ เพราะตอนผมรู้จักการ์ตูนเรื่องนี้ ผมดูภาคสอง ไม่ได้ดูภาคแรกมาก่อน แต่ก็บ้าจี้พอเข้าใจเรื่องราวซะงั้น (แม้ตัวละครบางตัวผมก็ งง ที่มาที่ไปของมันอยู่) แต่ด้วยเนื้อหามันเน้นกลุ่มเด็กเยาวชน เข้าใจง่าย ช่วงแรกๆ จบในตอน ก็ทำให้ผมได้รับความบันเทิง แม้ว่าจะไม่เข้าใจเนื้อเรื่องมาก่อน

    Mashin Eiyuden Wataru  หรือ Mashin Hero Wataru  หรือชื่อไทย วาตารุ เทพบุตรสองโลก เป็นชื่ออนิเมะแฟนตาซี แนวขับหุ่นยนต์  ผลิตโดย สตูดิโอ Sunrise มีทั้งหมด ภาคแรก 15 เมษายน 1988 – 31 มีนาคม 1989 (45 ตอน) / ภาคสอง 3 มีนาคม 1990 – 8 มีนาคม 1991  (46 ตอน) / ภาคสาม 2 ตุลาคม 1997 – 24 กันยายน 1998 (51 ตอน)

                    นอกเรื่องหน่อยความจริงแล้วแนวหุ่นยนต์ถูกแยกประเภทอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแนวขับหุ่นนั้นคือ Mecha เป็นศัพท์ที่เรียกแนวที่เน้นเรื่องของการขับหุ่นยนต์ หรือขับเครื่องจักรเคลื่อนที่ โดยเครื่องจักรเหล่านี้จะมีรูปร่างแตกต่างกันไปทั้งขนาดและรูปร่าง บ้างก็เหมือนยานพาหนะ หรือเหมือนมนุษย์

                    แนวขับหุ่นในอนิเมะก็ถูกแยกมาอีกคือแนว ซูเปอร์โรบอต (ไม่ได้เน้นวิทยาศาสตร์  เน้นบ้าพลัง อาจมีเวทย์มนต์เป็นส่วนประกอบ พลังงานที่ขับหุ่นก็แปลกๆ เช่น พลังจิตใจ ออกแนวผู้กล้า บางเรื่องออกไปทางแฟนตาซีหน่อย)  กับเรียล โรบอต  (ออกไปทางสมจริง เนื้อหาเน้นสงครามอวกาศ)

                    หากถามว่าประเภทแนวขับหุ่น มาก่อน ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะหุ่นยนต์ยักษ์ตัวแรกที่ปรากฏในมังงะและอนิเมะคือไทสึจิน (Tetsujin 28-Go) ที่สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การบังคับใช้รีโมทคอนโทรล ส่วนแนวขับหุ่นยนต์ที่ขับจากห้องในตัวหุ่นปรากฏในมังงะและอนิเมะมาชิก้า Z Mazinger Z โดย Go Nagai ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกใน 1972 ซึ่งเปิดตำนานแนวขับหุ่นอย่างแท้จริง เป็นที่ชื่นชอบของคนสมัยนั้น เพราะมันเท่ มันเป็นความฝัน (แต่สมัยเด็กผมกลับมาว่า ขับแล้วไม่เมาบ้างเหรอฟ่ะ)

                    กลับมาเรื่องของวาตารุก่อน อย่างที่บอกว่าวาตารุมี 3 ภาค แต่ถึงอย่างนั้นทุกภาคแนวเรื่องเหมือนกัน คือเป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มวาตารุออกผจญภัยในดินแดนต่างๆ เพื่อกู้โลกแฟนตาซี

    ภาคแรกเริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของพระเอกชื่อ  อิคุซาเบะ วาตารุด็กนักเรียนชั้น ป.5 ที่เหมือนเด็กผู้ชายทั่วๆไป มีจิตใจดีงาม ยุติธรรม (ตามสูตรเด็กดี) วันหนึ่งได้ไปเจอกับพบสร้อยคอสีแดง ตกอยู่กลางสะพานบ่อน้ำของศาลเจ้าเทพมังกร จนถูกพามายัง โซไคซังดินแดนแฟนตาซีที่มีหุบเขา 7 สายรุ้ง  วาตารุได้รับเลือกเป็นผู้กล้าในตำนาน  และยังเป็นคนที่สามารถอัญเชิญหุ่นยนต์เทพเจ้ามังกรริวจินมารุออกมาได้ด้วย

     

     


    เป้าหมายของวาตารุก็คือปราบจอมมารผู้ชั่วร้าย “โดคุเดอร์ที่รุกรานโลกแห่งนี้  อีกทั้งต้องนำสายรุ้ง 7 สีที่เป็นสิ่งที่ทำให้โลกนี้อยู่ได้เอาคืนมาให้ได้ ซึ่งมันเป็นหนทางเดียวที่วาตารุจะกลับไปยังโลกเดิมของตน

    แน่นอนว่ามันไม่ง่ายแน่นอน เพราะโดคุเตอร์มีลูกสมุนมากมาย ลูกสมุนแต่ละคนเป็นเจ้าแคว้น และเจ้าเมืองปกครองเมืองต่างๆ ในเส้นทางที่วาตารุผ่าน ลูกสมุนเหล่านี้ได้ใช้พลังอำนาจของตนเองปกครองเมืองอย่างโหดร้าย ออกกฎแปลกๆ สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ชาวบ้านก็ไม่สามารถต่อกรด้วย เพราะลูกสมุนทุกตัวมีหุ่นยนต์ยักษ์ประจำตัวพร้อมบดขยี้คนที่ต่อต้าน

    อย่างไรก็ตาม วาตารุก็มีตัวช่วยเหลือมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาวุธวิเศษมากมาย, การเรียกหุ่นยนต์เทพเจ้ามังกรริวจินมารุ มาช่วยต่อกรหุ่นยนต์ของศัตรู และเพื่อนร่วมทางเป็นต้นว่า ซึรุงิเบะ ชิบาระกุนักดาบวัย 35 ที่สอนวาตารุในเรื่องต่างๆ จนเป็นอาจารย์ มีหุ่นประจำตัวชื่อ เซนจินมารุ” (แต่ไม่เคยปราบพวกบอสได้เลย) และนางเอก ชินนิเบะ ฮิมิโกะ นินจาสาวสติหลุดประจำเรื่อง (หรือตัวฮ่านั้นเอง) ที่สนุกสนานไปกับทุกๆเรื่องในโลก ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใดๆ  (ยกเว้น โลกที่ไร้ผู้คน)  มีหุ่นประจำตัวคือ เก็นจิมารุ (ไม่ปรากฏมาบ่อยนัก)  และโทระโอ เด็กหนุ่มลูกครึ่งอสูร ที่กลายมาเป็นเพื่อนร่วมทางของวาตารุในเวลาต่อมา

    นอกจากนี้แต่ละภาคก็ปรากฏตัวละครลับ ที่โผล่มาทั้งป็นศัตรู, หรือแอบติดตามอย่างลับๆ ซึ่งตอนหลังจะมีบทเด่นอยู่บ้าง

    จุดเด่นของวาตารุทุกภาค คือ จบในตอน แต่ละตอนจะเป็นตอนวาตารุเดินทางไปเจอเมือง และพบว่าเมืองนั้นถูกปกครองด้วยลูกน้องของจอมมารและทำเรื่องแย่ๆ ออกกติกาแปลกๆ ให้ชาวเมืองเดือดร้อน เป็นต้นว่า บางเมืองให้ทุกคนกินชีสทุกวันจนอ้วนกลม บางเมืองจัดงานแข่งขันวิ่งหมูใครแพ้ก็โดนลงโทษ บางเมืองก็มีเจ้าเมืองเกิดเบื่อไปสร้างความเสียหายบางเรือนอีกต่างหาก

    แน่นอนตามสูตรพระเอกจิตใจดีงาม มีคุณธรรม วาตารุได้ยินเรื่องเดือดร้อนของชาวเมือง ก็ต้องช่วยเหลือธรรมดา ก็มีการแข่งขันประลองกับเจ้าเมือง หรือไม่ก็บุกไปหาเจ้าเมือง และหากเจ้าเมืองใกล้แพ้ เจ้าเมืองก็เรียกหุ่นยนต์มาสู้ และวาตารุก็เรียกหุ่นริวจินมารุและขึ้นไปขับ แม้ว่าหุ่นของเจ้าเมืองจะมีลูกเล่นมากมาย แต่สุดท้ายด้วยพลังใจที่ไม่ยอมแพ้ของวาตารุก็สามารถจัดการเจ้าเมืองได้ ทำให้เมืองรอดพ้นภัยคุกคามในที่สุด

    ในตอนท้ายหากวาตารุจัดการผู้ปกครองแคว้น (หรือบอสด่าน, ภาคสองเป็นผู้ปกครองดาว, ภาคสามเป็นผู้ปกครองประจำชั้น) ทุกเมืองที่ผ่านมาจะกลับมาเป็นปกติ รวมไปถึงเจ้าเมืองที่ชั่วร้ายของชั้นนั้นจะกลับเป็นคนดีด้วย ทั้งหมดนี้คือมุกส่วนใหญ่ของวาตารุทั้งสามภาค

    ระหว่างที่วาตารุผจญภัยก็จะมีอีเวนส์เกี่ยวกับเนื้อเรื่องหลักเล็กน้อย เช่นตัวละครลับที่ยังไม่บอกที่มาที่ไป ก่อนที่จะเฉลยภายหลัง รวมไปถึงตอนท้ายก็เริ่มเข้าสู่การต่อสู้กับโดคุเตอร์ บอสใหญ่ของทุกภาค

    สำหรับภาค 2 ก็มีเนื้อเรื่องหลังจากที่กำจัดปีศาจโดคุเดอร์ลงได้  วาตารุก็กลับสู่โลกเดิมของตนได้  ไม่กี่ปีต่อมา (ความจริงโลกของวาตารุก็ไม่ได้ยาวนานแต่อย่างใด เพราะระหว่างที่ว่าตารุอยู่โลกแฟนตาซี เวลาของโลกแทบไม่เดินเลย และวาตารุก็แทบไม่อายุเพิ่มด้วย)  วาตารุได้ถูกอัญเชิญมาต่างโลก โดย ริวจินมารุอีกครั้ง โดยบอกว่าที่โลก ถูกบุกรุกโดยจอมมารโดไคเดอร์ น้องชายของโดคุเดอร์ (ถ้าผมจำไม่ผิด ตัวโดคุเดอร์จริงๆ เลยไม่ใช่น้องชาย) ทำให้ วาตารุและเพื่อนต้องผจญภัยฝ่าฟันอีกครั้ง โดยคราวนี้พวกเขาจะเดินทางไปยังหุบเขาสายรุ้ง 7 ชั้นไปยัง หุบเขา 7 ดาว เพื่อ ช่วยปลดปล่อยดาว 7 ดวงที่ลอยเหนือหุบเขา7สายรุ้ง และปราบปีศาจร้ายให้จงได้

    ภาคนี้พยายามเพิ่มอะไรจากภาคแรก เช่น เพิ่มอาวุธของวาตารุ (แต่ช่วงกลางๆ อาวุธเหล่านี้ก็หายอยู่ดี)  ส่วนตัวละครยังอยู่ครบ เพิ่มเติมตัวละครแสริมใหม่เข้าไป (ซึ่งก็ไม่ได้น่าจดจำมาก เท่าก๊วนวาตารุ) ส่วนเนื้อหายังเหมือนเดิม คือไปยังเมืองต่างๆ แล้วเจอวายร้ายยกครอง สู้กับวายร้าย  เรียนหุ่นมาต่อสู้กัน จบ ไปเมืองถัดไปต่อ  เอาง่ายๆ เหมือนภาคแรก  เพียงแต่สิ่งที่เพิ่มเติมก็คือ โลกและเมืองที่วาตารุไปนั้นมีเอกลักษณ์ขึ้น เช่นโลกกรีก-โรมัน  เมืองแต่ละเมืองและพวกเจ้าเมืองมาส่วนผสมของกรีก-โรมันเข้าไป (การแต่งกาย, บ้านเรือน) และมีวัฒนธรรมยุโรปอย่าง กังหันลมฮอลแลนด์, กระทิง, ชีส เป็นตัน หรือจะเป็นโลกทะเลทรายอียิปต์โบราณ, โลกทะเลแบบชาวเกาะ หรือโลกแบบวัฒนธรรมจีน หริอแม้แต่หุ่นของพวกเจ้าเมืองก็ออกแบบเข้ากับบุคลิกของเจ้าเมืองเด่นชัดกว่าภาคแรก เป็นต้น

     



    สำหรับภาค 3 เป็นภาคที่ผมค่อนข้างชอบ มาภาคนี้จอมมารโดไคเดอร์ที่ถูกวาตารุกำจัด แล้ว ตั่มนก็ยังคืนชีพ (หน้าด้านพอๆ กับไวลี่)  คราวนี้ยัง ขโมยความกล้าหาญของวาตารุ ทำให้วาตารุกลายเป็นเด็กนิสัยไม่ดี กลายเป็นเหมือนยากูซ่าในโรงเรียน  รวมไปถึงความทรงจำของผู้กล้าที่กอบกู้โลกก็ถูกลืมเลือน ส่งผลทำให้ภาคนี้วาตารุจะมีด้านมืดนิดหน่อย (แต่นิสัยชอบช่วยเหลือคนยังเหมือนเดิม)   

    ต่อมาฮิมิโกะ และ ชิบารากุ พรรคพวกของวาตารุได้นำเขามายังต่างโลกอีกครั้ง  ที่นั่นวาตารุเริ่มนึกถึงเรื่องราวในอดีตได้ทีละน้อย  และเมื่อช่วยสัตว์ตัวเล็กๆที่จะโดนต้นไม้ ที่ศัตรูโจมตีมาทับ วาตารุก็สามารถเรียกริวจินมารุออกมาได้  ซึ่งทำให้ วาตารุก็นึกเรื่องออกว่าตัวคือผู้กล้าจึงทำให้บังคับริวจินมารุได้ และทำลายศัตรูตัวแรกได้ พร้อมตัดสินใจกอบกู้โลกอีกครั้ง

    เนื้อหาภาค 3 ห่างจากภาคสามค่อนข้างมาก ทำให้มีการตัดตัวละครในอดีตบางคนออก และพยายามปรับเนื้อหาให้คนไม่เคยดูภาคก่อนๆ เข้าใจ (แต่ก็ต้องไปดูภาคก่อนอยู่ดี ว่ามันเป็นมายังไง)  พร้อมกับลายเส้นที่วาตารุดูแบ๊วขึ้น  ส่วนเนื้อหาก็ยังคงเดิม เพียงแต่ริวจินมารุร่างอัฟที่ผ่านมาหายหมด

    สำหรับภาค 3 นี้น่าจะเป็นภาคที่ผมชอบที่สุด (แต่ในขณะเดียวกันก็ดูไม่จบ) สาเหตุเพราะลายเส้นภาคสามดูสดใส แบ๊วดี ลายเส้นภาคหนึ่งและสองให้อารมณ์การ์ตูนเก่าๆ ไปหน่อย และวาตารุภาคสามนั้นให้อารมณ์ของความเป็นมนุษย์มากกว่า ในขณะที่ภาคแรกและภาคสองแบบผู้กล้า

     



                    นอกจากนี้วาตารุก็มีมังงะอยู่หลายเวอร์ชั่น (มีเวอร์ชั่นที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องหลักด้วย) หลายคนก็คงได้เห็นบ้าง เพราะเคยตีพิมพ์เป็นไพเรทสมัยก่อน แต่เนื้อหาค่อนข้างรวบรัด ก็อย่าหวังอะไรมาก

                    แน่นอนว่าหากใครทีผ่านการ์ตูนแนวขับหุ่นแนวเดียวกันในปัจจุบัน มาดูวาตารุ ก็คงรู้สึกเชยกับเนื้อหาของมัน เรื่องลายเส้นก็เรื่องหนึ่ง แต่เนื้อหาค่อนข้างทุ่งลาเวนเดอร์ (มองโลกแง่ดี) มากถึงมาก พระเอกโครตคุณธรรม พวกศัตรูมีมิติเดียว คือเลวแบบบ้าบอ ปราบเสร็จช่วยเหลือเมืองได้ เมืองมีแต่คนดี ทั้งๆ ที่เมืองที่พวกเจ้าเมืองยึดครองตอนแรก น่าจะเป็นเมืองในโลกแห่งความจริง ปกติของมนุษย์เสียมากกว่า บ้านเมืองจะต้องวุ่นวายแบบนี้แหละถึงจะดีประมาณนั้น

                    อย่างไรก็ตาม วาตารุนี้กลายเป็นการ์ตูนในความทรงจำของผมซะงั้น

                    อย่างที่บอกเอาไว้ว่าสมัยก่อนทางเลือกดูการ์ตูนมันไม่มีมาก หนึ่งทางเลือกก็คือการดูโทรทัศน์ โทนของการ์ตูนแนวขับหุ่นยนต์หลายเรื่องเวลานั้น เน้นไปกลุ่มเด็กประถม เนื้อหาสนุก สบายใจแล้วสบายใจ จบในตอน ไม่ได้เหมือนแนวขับหุ่นสมัยนี้ที่ ขายความโหดร้ายของสงคราม หุ่นยนต์คืออาวุธ  ดราม่า ฆ่าตัวละครหลักของเรื่อง ให้พระเอกสู่ด้านมืด บลาฯลฯ

                    การ์ตูนแนวขับหุ่นดังๆ สมัยก่อนที่ฉายในทีวีจอแก้วบ้านเรา ก็มี ไรจินโอ, มาครอสเซเว่น, รามูเนะ, สามเหมียวยอดนินจา (ช่วงท้ายๆ มีขับหุ่นสู้กัน) การ์ตูนพวกนี้ก็โทนไม่ค่อยมีคนตายมากนัก ไม่ได้ขายดราม่า เนื้อหาเน้นจบในตอน (ยกเว้นมาครอสเซเว่น ผมดูไม่รู้เรื่อง ยกเว้นชอบชุดนางเอก)  พระเอกปราบความชั่วร้าย แม้ว่าช่วงหลังๆ จะมีพวกซีรีย์กัมดั้ม (ฮิตสุดคือภาคที่ฮีโร่เป็นพระเอก) แต่ผมไม่ค่อยจดจำมากสักเท่าไหร่ เพราะสมัยเด็กการติดตามการ์ตูนต่อเนื่องมันยากมาก (เพราะทีวีมีเครื่องเดียว แต่คนในบ้านมีหลายคน)

                    ดังนั้นผมจึงดูการ์ตูนแนวขับหุ่นที่เนื้อหาไม่ดราม่ามากกว่า

                    ผมก็ไม่ได้ตั้งแง่แนวขับหุ่นดราม่าสมัยนี้นะ คือมันออกมาเกือบทุกซีซั่น แม้จะเป็นเรื่องดัง แต่มันก็เป็นแนวที่ต้องใช้พลังมหาศาลในการดู มานั่งลุ้นอะไรหลายอย่าง จนถึงที่สุดมันก็เริ่มเหนื่อย ถึงจุดที่อยากดูแนวขับหุ่นที่ดูแล้วสบายใจ ดูแล้วสนุกสนาน มากกว่ามานั่งกังวลว่าตัวละครคนไหนจะตาย คนไหนจะได้พระเอก (เห็นแต่จบวิน ไม่ก็ซ้ำใจ)   จะจบดีไหม พอดีปัจจุบันมันหาแนวขับหุ่นที่ดูแล้วยาก ในขณะเดียวกันก็ต้องมีจุดเด่น ลูกบ้าอะไรด้วย

                    ความจริง แนวขับหุ่นที่ไม่ดราม่าก็มีเหมือนกัน เพียงแต่เน้นกลุ่มเด็กประถม (ไม่แน่ใจว่าขายของเล่นมากกว่า) กับกราฟฟิกก็ไม่กระตุ้นอยากดูนัก (แถมไม่มีซับไทยอีก)

                    มีหลายเหตุผลที่ผมชอบวาตารุ ด้วยความเป็นเด็กก็มีความชอบหุ่นยนต์  ยิ่งตัวเอกเป็นเด็กด้วยกัน ออกผจญภัย เป็นผู้กล้า ก็เป็นความฝันของเด็กอยู่แล้ว

                    จะว่าไปการออกแบบหุ่นยนต์ของการ์ตูนเรื่องนี้ ก็มีจุดเด่นมาก คือ ขนาดตัวเตี้ย ป้อม กลม หัวใหญ่ตรงกลาง ไม่มีลำตัว (เหมือนหุ่นเล็กๆ ในกุเร็นลากัน) ความจริงแนวคิดการออกแบบหุ่นแบบนี้ไม่ใช่เจ้าแรก เพราะก้อนหน้านั้นก็มีแนวหุ่นเรื่อง Choriki Robo Galatt มาแล้ว

                    แต่หุ่นยนตร์วาตารุมันต่างกัน คือมันมีหลายตัว (แต่ฟิกเกอร์ออกแค่พวกตัวเอกมั้ง พวกตัวร้ายไม่ค่อยมี) การออกแบบก็แสนจะโดดเด่น สื่อได้ชัดเจนก่อน สมัยก่อนนี้ผมแทบไม่สนใจเนื้อหาด้วยซ้ำ ดูว่าหุ่นศัตรูออกใหม่ที่ออกมาตอนท้ายตอนจะเป็นตัวอะไร จะเท่ไหม เท่านั้นเอง (และผมก็ชอบหุ่นพวกตัวโกงด้วยสิ ดูแล้วมันเท่ ลูกเล่นเยอะกว่าหุ่นพระเอกเสียอีก)

                    เนื้อหาของวาตารุมันย่อยง่าย เข้าใจง่าย สำหรับเด็กแล้วมันเป็นการ์ตูนที่ไม่ต้องทำความเข้าใจอะไรมากก็สามารถสนุกได้ ได้เห็นฉากต่อสู้ หุ่นต่อสู้ก็คุ้มแล้ว แม้ว่าโตมัน ผมก็ยังชอบอยู่เลย

                    ส่วนเรื่องตัวละคร แน่นอนว่าแม้ว่าวาตารุจะเป็นตัวละครเด่น แต่ผมพึ่งมาชอบตัววาตารุในภาคที่ 3 เพราะลายเส้นมันน่ารัก ดูแบ๊วกว่าภาคแรกและภาคสอง และนิสัยวาตารุภาคสามดูจะร้ายนิดๆ ส่วนตัวละครอื่นๆ ผมชอบแม่สายนินจานินจามากกว่า จะว่าไปเธอเก่งกว่าวาตารุด้วยซ้ำ เพราะทุกสถานการณ์เธอโครตไม่กลัวอะไรเลย แถมสุดยอดปรับตัวอีกต่างหาก

                    และที่น่าแปลกใจคือ ไม่มีความรักของวาตารุมากนัก ก็แปลกใจเหมือนกัน ความจริงการ์ตูนพวกนี้ก้มี แม้ตัวเอกจะเป็นเด็ก แต่ก็ต้องมีความรักแบบเด็กๆ บ้างแหละ เพื่อนสมัยเด็กอะไรแบบนี้ ทำให้

    ความสำเร็จของ วาตารุ  ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น จากนั้นก็ไปที่ไต้หวัน  จีนแผ่นดินใหญ่  และฮ่องกง   มีการแปลภาษาจีน และกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดในจีนในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990

    นอกจากนี้วาตารุยังทำให้มีอนิเมะหลายเรื่อง ทำหุ่นยนตร์ทรงแบบวาตารุ ที่เด่นชุดสุดคือ  อนิเมะเรื่อง Mado King Granzort ของซันไรส์ปี 1989 ที่ตัวละครและเนื้อหามีกลิ่นอายของวาตารุ และก็เป็นอนิเมะที่บ้านเรารู้จักพอสมควร

    อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นอนิเมะแนววาตารุก็หายไปจากวงการอนิเมะญี่ปุ่น สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือแนวขับหุ่นที่สื่อความโหดร้ายของสงคราม เนื้อหาดราม่า ได้แต่ต้องทำใจ

    ทุกวันนี้ผมก็อยากดูแนยวขับหุ่นที่ให้อารมณ์แบบวาตารุอยู่.... ไม่รู้จะมีมาไหม

                   

                    รู้หรือไม่ว่า มีนิสัยเรื่องหนึ่งชื่อ  Brave Story เป็น นวนิยายที่ มีก่อนวาตารุ แต่ตัวละครชื่อวาตารุเหมือนกัน แถมต่างโลกแฟนตาซี  อย่างไรก็ตามนิยายเรื่องนี้ไม่ส่วนเกี่ยวข้องกับอนิเมะวาตารุแต่อย่างใด

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×