ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #445 : แนวฮาเร็มกลายเป็นแพะรับบาปไปซะแล้ว!???

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.08K
      38
      1 มิ.ย. 60

    หากใครที่ชอบเล่นเฟซบุ๊ค ติดตามข่าวสาร เว็บบอร์ด  บทความ และชอบอ่านคอมเมนต์ เรามักเห็นหัวข้อที่โครตยอดฮิตว่า “อนิเมะแนวไหนโครตน่าเบื่อ”, “สตูดิโอญี่ปุ่นหลายแห่งขาดทุนมโหราฬ” แล้วไลองปอ่านคอมเมนต์คนอื่นๆ  คุณเชื่อไหมว่าความเห็นประเภทใดมีเยอะที่สุด

    “อนิเมะแนวฮาเร็ม เซอร์วิสน่าเบื่อ”

    “ไม่แปลกใจเลย ที่สตูดิโอจะเจ๊ง (เขาบอกแค่ขาดทุนเพ่ ไม่ได้เจ๊ง) เพราะอนิเมะเดี๋ยวนี้”

    แนวฮาเร็มกลายเป็นแนวรับบาปไปซะแล้ว

    แทบไม่ต้องเดา เพราะเชื่อเถอะ เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผม (ที่อายุ 32 ปี) เจอความคิดเห็นประเภทนี้โครตเยอะ โครตบ่อย และไม่เพียงเท่านี้ เพราะมี กระทู้ที่ตั้งบ่อยๆ ว่า “ทำไมอนิเมะเดี๋ยวนี้มีแต่แนวฮาเร็มเยอะ” ด้วย

    จนอดไม่ไหว จึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา ให้หลายคนเข้าใจกันกับเรื่องของอนิเมะ ทั้งเรื่องอนิเมะแนวฮาเร็มไม่ได้เยอะ, กลายเป็นแพะรับบาป,  ทำไมอนิเมะถึงไม่มีจำนวนตอน 20+ เหมือนเมื่อก่อน, ทำไมสตูดิโอถึงขาดทุน (เพราะมันมีหลายปัจจัยไม่ใช่แนวฮาเร็มโหล),  อนิเมะแนวฮาเร็มมันยังขายได้  หลายเรื่องเป็นตำนาน (อย่างฮาเร็มหงอนไก่นั้นไง) และที่อดเขียนถึงไม่ได้คือคำว่า “อนิเมะสมัยก่อน” ซึ่งอดไม่ได้จริงๆ ว่าสมัยก่อนนี้มันนานกี่ปีกันแน่?  (ซึ่งผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องพวกนี้ อาศัยจากการอ่านบทความ ความคิดเห็นของบางคนเอานะครับ)

     

    อนิเมะการ์ตูนแนวไหนซ้ำซากน่าเบื่อก็แนวฮาเร็มไงละ

    ก่อนที่จะพูดถึงหัวข้อนี้ ออกตัวก่อนว่าบทความนี้จะเน้นเรื่องอนิเมะ ซึ่งประสบการณ์การดูอนิเมะ ผมก็ไม่ได้แข็งแกร่งแต่อย่างใด ผมติดอนิเมะในช่วงมหาวิทยาลัย  และอนิเมะที่ดูก็ไม่ได้มากมายอะไร ผมไม่ดู โค้ดกีกัส, เอวาเกเลี่ยน, มาโดกะ  แต่เสียสายตาให้กุเร็นลากันน์ แต่ถึงอย่างนั้นก็เข้าใจการ์ตูนเนื้อเรื่องอนิเมะเหล่านี้ดี (มั้ง)

    เอาละ เริ่มกันเลย........เชื่อเถอะครับ หากคุณเล่นบอร์ดการ์ตูน หรือเว็บไซด์การ์ตูนอะไรก็ตามแต่ หนึ่งในกระทู้ประเภทสอบถามคนทั่วไปที่เราเห็นบ่อยมาก ตั้งซ้ำซากที่สุด (และตอบเหมือนกันหมด) ที่สุด หนึ่งในนั้นก็คือคำถามประเภทว่า “อนิเมะการ์ตูนแนวไหนซ้ำซากน่าเบื่อ” ไม่เชื่อไปค้นดูกูเกิล จะพบว่าพันทิปถามเยอะที่สุด)

    และก็เชื่ออีก คำตอบ “อนิเมะการ์ตูนแนวไหนซ้ำซากน่าเบื่อ” ก็มักจะได้คำตอบว่า แนวฮาเร็ม เซอร์วิส ซ้ำซากน่าเบื่อ (ส่วนเหตุผลหลักๆ ก็เหมือนๆ เดิมแหละ เป็นต้นว่า พวกผู้หญิงรักพระเอกไมมีเหตุผล, พระเอกกาก, เนื้อเรื่องวนๆ อยู่แต่เรื่องเดิมๆ บลา ฯลฯ)

    นอกจากนี้คำถาม “อนิเมะการ์ตูนแนวไหนซ้ำซากน่าเบื่อ”  แล้วอีกหนึ่งคำถามที่คล้าย “ทำไมเดี๋ยวนี้มีอนิเมะแนวฮาเร็ม (ชายรักหญิงหลายคน) เยอะจัง” (ประเภทหาแนวร่วมไม่ชอบแนวฮาเร็ม)  

    แนวฮาเร็มมันผิดอะไรเนี้ย

    ไม่ถนอมจิตใจคนชอบแนวฮาเร็มเลย ราวกับว่าเราเป็นคนกลุ่มน้อย ที่ใครจะรังแกยังไงก็ได้อย่างงั้นแหละ

    ทำไมทุกคนพร้อมใจแนวฮาเร็มถึงโดนต่อว่าว่ามันน่าเบื่อ ทั้งๆ ที่แนวการ์ตูนก็มีเยอะพอๆ กัน สูตรสำเร็จก็เหมือนกัน ฮาเร็มไปให้คนจงเกลียดจงชังได้ยังไง ทำไมต้องหาแนวร่วม ทำไมไม่มีใครตั้งว่าเกลียดแนวแอ็คชั่น, เกลียดยูริ, เกลียดยาโอยบ้าง

    ฮาเร็มไม่ใช่ซ้ำซากแนวเดียวสักหน่อย

     (ความจริงต้องไม่ใช่แนว เขาเรียกว่าพล็อต เพราะแนวเป็นตัวบ่บอกลักษณะของเรื่องขึ้นมาจากองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน เช่น การ์ตูนเรื่องหนึ่งประกอบด้วย ฮาเร็ม, คอเมดี้, โรแมนติก หรือ ฮาเร็ม, ดราม่า, โรแมนติก ส่วนพล็อตนั้นรายละเอียดกว่าเรื่องย่อขึ้นมานิดหนึ่ง เป็นการเล่าเรื่องภาพรวมว่ามีเนื้อหาเป็นยังไง ใครเป็นตัวเอก ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

    ส่วนอีกอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดคือ มุก “สูตรสำเร็จ”  ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของฉาก ไม่ได้เป็นพล็อตของเรื่อง อย่างเช่น พระเอกชนนางเอกแล้วไปเห็นกางเกงในนั้นเรียกว่ามุกสูตรสำเร็จ)

    ทั้งหมดนี้ พื้นฐานมาจากความเกลียดฮาเร็ม  กับเบื่อ แต่เบื่อยังดีหน่อย เพราะเบื่ออย่างน้อยจะต้องผ่านการดูการ์ตูนแนวนี้หลายเรื่อง ดูอะไรซ้ำซากมากเกินไป จนเกิดคำว่าเบื่อ ขาดแรงจูงใจ ขาดสิ่งเร้า ขาดแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดความไม่พอใจ ไป จนทำให้เกิดความรู้สึกว่าแนวอนิเมะแนวนี้ซ้ำซากน่าเบื่อ ดังนั้นคนที่บอกว่าเบื่อจะต้องดูแนวนี้ซ้ำซากจนขาดแรงจูงใจที่จะดูแล้ว นั่นแหละคือเบื่อแท้จริง แต่ปัญหาคือคนที่ออกมาพูดว่าเกลียดแนวหรือเบื่อฮาเร็ม นั้นได้ติดตาม หรือดูอนิเมะแนวฮาเร็มจนจบหรือไม่ จบกี่เรื่อง ถ้าเกิดดูแล้วไม่ชอบ ก็คือเกลียด ไม่ใช่เบื่อ

    เมื่อความเกลียดบังตา ความอคติก็บังเกิด นั้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกระทู้ “แนวการ์ตูนไหนซ้ำซากมากที่สุด”,

                    สาเหตุที่เกลียดก็เรื่องเดิมๆ สงครามอวย (ผิดหวังกับวิน), พระเอกกาก (ความจริงพระเอกฮาเร็มถือว่าเป็นพระเอกธรรมดาสามัญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเรามากกว่า), พระเอกกินหญ้า, เนื้อหามันไม่มีแอ็คชั่น บลาๆ ทำให้ความเกลียดกลายเป็นความอคติ เหนือเหตุผลไป  

                    นอกจากนี้ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่นิยายโรงเรียนไซไฟ-แฟนตาซีออกมาเกลื่อนตลาดมาก (ทั้งญี่ปุ่น และไทย) และได้รับความนิยมอย่างสูง หลายเรื่องก็ทำออกมาเป็นอนิเมะ หากแต่ส่วนมากคุณภาพอนิเมะแนวนี้ค่อนข้างต่ำ ทำให้หลายคนมองว่าเป็นอนิเมะแนวซ้ำซากที่ ฉายเพื่อโฆษณาตัวนิยายมากกว่า และมีอยู่ช่วงที่มีอนิเมะประเภทนี้ออกมาเกือบทุกซีซั่นติดกันด้วยซ้ำ จนทำให้บางคนเกิดความรู้สึกว่าอนิเมะแนวฮาเร็มซ้ำซาก  ทั้งๆ ที่อนิเมะแนวนี้ไม่ได้เยอะขนาดนี้ (เพียงแค่ออกติดกับทุกซีซั่นมากกว่า)

                    จนถึงปัจจุบันนิยายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือนิยายเน็ต ที่มีพล็อตไปต่างโลกฮาเร็ม ซึ่งเป็นฮาเร็มที่เน้นปริมาณ มากกว่าคุณภาพ และมีอยู่ช่วงที่เว็บเด็กดี มีแนวประเภทนี้เยอะมาก และเนื้อหาก็แทบไม่แตกต่างกัน คือพระเอกไปต่างโลก มีฮาเร็ม แต่เป็นการปักธงแบบกลวงๆ ไม่ได้มีเหตุผลอะไรรองรับมากมายนัก ทำให้หลายคนมองฮาเร็มน่าเบื่อ ทั้งๆ ที่แนวฮาเร็มดีๆ ที่แท้จริง คือการสร้าง

                    แม้ว่านิยายต่างโลกจะได้รับความนิยม (จนงานประกอบนิยายหน้าใหม่มีการออกกฎเลยว่า ห้าม แต่งนิยายต่างโลกเข้าประกวด) แต่ในวงการอนิเมะถือว่าน้อยมาก (แม้จะมีมานานแล้วก็ตาม) หากแต่หลังจากที่อนิเมะยัยนางฟ้าไม่ได้เรื่อง ได้รับความนิยมเข้ามา ทำให้มีอนิเมะที่หยิบแนวต่างโลกฮาเร็มเรื่องออกๆ มาทำ ออกฉายด้วย อย่างมือถือต่างโลก  Isekai wa Smartphone to Tomoni ก็จะฉายในซีซั่นเดือนหน้า  ซึ่งมือถือต่างโลกนี้เนื้อหาออกไปทางเรื่อยๆ เปื่อย ผจญภัยมากกว่า ทำให้ฝรั่งดราม่าว่า “ฮาเร็มแบบนี้อีกแล้วเหรอ” ทั้งๆ ที่ซีซั่นหน้าก็มีอนิเมะหลายเรื่อง หากไม่ชอบก็ดูเรื่องอื่นเอาก็ได้

                    ซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่าแนวอนิเมะแนวฮาเร็มต่างโลกเรื่อยเปื่อยจะตอบรับดีหรือไม่

     

    อนิเมะสมัยนี้มีแต่แนวฮาเร็ม

                    “อนิเมะสมัยนี้มีแต่แนวฮาเร็ม” หนึ่งในกระทู้และความคิดเห็นที่พบเห็นบ่อย จนชาชิน แน่นอนคือ คำตอบคือผิดแน่นอน เพราะหากไปนับดูว่าอนิเมะซีซั่นไหนก็ได้ ว่าซีซั่นนี้มีแนวฮาเร็มกี่เรื่อง แนวอะไรเยอะที่สุด และเรื่องไหนฮิต

                    ยกตัวอย่าง  Spring 2017 คุณจะพบว่าแนวฮาเร็มนั้นมีน้อยมาก ถ้าหากนับจริงๆ มีเพียงแค่สอง-สามเรื่องเท่านั้น (ถือว่าเป็นปริมาณเฉลี่ยของแต่ละซีซั่น) และส่วนมากเป็นฮาเร็มจากนิยาย ไม่ก็มังงะ ออริจินอลแนวฮาเร็มนั้นสูญพันธุ์ไปนานแล้ว

                    สาเหตุที่หลายคนคิดแบบนี้อาจเป็นเพราะว่าทุกซีซั่นจะต้องมีแนวฮาเร็มสักสอง สามเรื่อง ทำให้ดูเหมือนเยอะ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว อนิเมะส่วนใหญ่จะเป็นแนว อนิเมะชายล้วน กีฬา แนวโมเอะ (ที่มีแต่ผู้หญิง) แนวเหล่านี้มีทุกซีซั่น แต่หลายคนไม่เคยนำมาพูดถึงเลยแม้แต่น้อย

                    ถ้าถามว่าอนิเมะแนวไหนเยอะกว่า อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ แต่ช่วงนี้อนิเมะชายล้วนนั้นดูเหมือนจะได้รับประสบความสำเร็จมากที่สุด ตั้งแต่ หนุ่มว่ายน้ำ หนุ่มนักปั่น หนุ่มสเก็ตน้ำแข็ง ซึ่งได้ผลตอบรับกับพวกสาวๆ ที่มีกำลังซื้อสูงกว่าผู้ชายไปแล้ว

                    ที่น่าสังเกตคืออนิเมะสมัยนี้เริ่มจะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น อนิเมะที่ดูได้ทุกวัย และใหนทั่วไปดูได้นั้น เริ่มหายยาก อย่างอนิเมะแนวสาวน้อยสาวล้วนเอาก็เจาะกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ชายที่ชื่นชอบโมเอะมากกว่า หรืออนิเมะหนุ่มล้วนก็เน้นผู้หญิงจิ้นวาย เป็นหลัก และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองว่าอนิเมะสมัยนี้ไม่สนุกเหมือนเคย และโทษว่ามีแต่แนวฮาเร็ม (เป็นงั้นไป)

                    กลับกัน คนที่ว่าแนวฮาเร็มเกลื่อนนั้น แท้จริงแล้ว มันลดน้อยถอยลงต่างหาก ลดน้อยยังไม่พอ ช่วงหลังๆ คุณภาพอนิเมะแนวฮาเร็มลดต่ำลง ไม่ว่าจะเป็นสายมืดและสว่าง  ทั้งภาพสุดเผา การเคลื่อนไหวสุดกาก มันไม่มีคุณภาพ อนิเมะจากนิยายก็ทำแบบขอไปที่เหมือนไล่ให้คนอ่านนิยาย (แทนที่จะโฆษณาให้คนสนใจ กลับกันอนิเมะทำให้คนหมดความสนใจซะงั้น) ส่วนอนิเมะฮาเร็มออริจินอลก็ไม่มี และอนิเมะจากเกมจีบสาวก็ไม่ได้พูดถึงนานๆ จะดีสักเรื่อง (คือจบแบบรับได้ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ไม่ใช่วินจบกับตัวละครที่ไม่มีเหตุผลรองรับ และหลายคนไม่อวยกัน)

                    น่าเสียดายที่ความจริงมีฮาเร็มเยอะที่น่าสนใจ แต่นิยายกลับไปเน้นโรงเรียนแฟนตาซี เพราะอย่างน้อยแอ็คชั่น ตื่นเต้น ก็ช่วยดึงให้คนสนใจได้  ส่วนนิยายสายเรียลที่ฉากหลังเป็นโรงเรียนมัธยมปลายก็ไม่ได้เป็นแนวที่ผมดูมากนัก (แม้ซีซั่นนี้จะมี หน้าบ้านๆ เป็นนางเอก แต่ผมก็ไม่ได้ติดตาม) และนอกจากนี้อนิเมะจากนิยายต่างโลกฮาเร็มก็มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ และมีเนื้อหาดีๆ อย่างเรื่อง แต่เรื่องมือถือต่างโลกที่มีเนื้อหาเรื่อยเปื่อยแทน ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันจะออกมาดีหรือไม่

                    อนิเมะแนวฮาเร็มควรมีพล็อตหลากหลายมากกว่านี้.......


                    สมัยก่อน มันสมัยไหน

                   

                  หนึ่งในสิ่งที่ผมอยากสวน คนที่ออกมาให้ความคิดเห็นว่า “อนิเมะสมัยนี้สู้อนิเมะสมัยก่อนไม่ได้” “อนิเมะสมัยก่อนดีอย่างโน้นอย่างนี้”

                    จนผมอยากสวนว่า “อนิเมะสมัยก่อนมันสมัยไหน?

                    ตามความเข้าใจผม คำว่าสมัยก่อน ตามความเข้าใจของหลายคน  คือ

    -ยุคทองของช่อง 9 การ์ตูน ที่ดราก้อนบอล, เซเลอร์มูน, โปเกมอน, ดิจิมอน  ดังสุดขีด ซึ่งเป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตบ้านเรายังไม่เจริญ และช่อง 3 (ชินจัง, มาริโกะ),ช่อง 7 (มาครอส 7),  ช่อง 9 การ์ตูนจึงเป็นทางเลือกเท่านั้น ซึ่งน่าจะนานสัก 20-30 ปีมาแล้ว ถือว่าเป็นที่ผมลืมตาดูโลกละมั้ง......

    -แต่ยุคที่หลายคนคิดว่าเป็นสมัยก่อน ก็คือยุคที่ฮารุฮิ, โค้ดกีกีส โด่งดังสุดขีด ซึ่งเป็นยุคอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาแล้ว และเริ่มมีบอร์ดพูดคุยการ์ตูน แฟนคลับ อวยการ์ตูน ซึ่งย้อนลงไปประมาณ 10 ปีกว่า

                    อย่างไรก็ตาม จากความคิดเห็นส่วนใหญ่ คนที่ว่าอนิเมะสมัยก่อน มันก็แค่ไม่กี่สิบปีเอง ในขณะที่บางคนที่เป็นผู้ใหญ่มาอ่านความคิดเห็นนี้ ต่างหัวเราะชอบใจ เพราะว่าอนิเมะสมัยก่อนของหลายคน มันเก่ากว่านี้ และเคยดูอนิเมะที่โครตเก่า (แต่ดี) กว่านี้อีก มันจึงขำๆ ว่าแค่ 10 ปีก็เป็นสมัยก่อนแล้ว แล้วการ์ตูนที่เก่ากว่านี้จะเรียกอะไรดีละ โครตโบราณดีไหม

    แต่ถ้าเอาตามความรู้สึกผม เราสามารถแบ่งอนิเมะสมัยก่อน สามารแบ่งได้ คือ ตามยุค, ตามลายเส้น

    -ยุคอนิเมะ เริ่มตั้งแต่โชวะ (1926-1989) สมัยนั้นเริ่มยุคเริ่มต้นของญี่ปุ่นที่ทำอนิเมะ (ความจริงมีเก่ากว่านั้นอีก คือยุคช่วงสงครามโ,กครั้งที่ 2 แต่อนิเมะยังไม่ได้เชิงอุตสาหกรรม) ที่ส่วนใหญ่เนื้อหาจะเป็นการ์ตูนสั้นที่มีแรงบันดาลใจจากตะวันตกนิดๆ ก่อนที่ปี 1963เจ้าหนูปรมาณูที่เป็นอนิเมะเรื่องแรกที่ดัดแปลงมาจากมังงะออกมาฉายและโด่งดัง ตามด้วยแม่มดแซลลี่, กำเนิดมาชินก้า ซึ่งเน้นกลุ่มคนดูที่เป็นเด็ก (เนื้อหาจึงไม่โหดร้าย อย่างมาชินก้า ต้นฉบับโครตโหด ฆ่าเด็กกับผู้หญิงอย่างกับผักปลา พอมาเป็นอนิเมะดร็อปความโหดร้ายออก) ต่อมาก็เริ่ม เริ่มมีอนิเมะเจาะกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ใหญ่ เริ่มเปิดศักราชการ์ตูนแนวอวกาศ (หากใครทัน จะพบว่ามีหลายเรื่องดังๆ ก็รถด่วนกาแล็คซี่ แต่ส่วนใหญ่ในบอร์ดไม่ค่อยเอามาพูดถึงกัน) ก่อนที่ช่วงท้ายของโชวะการ์ตูนอนิเมะดัดแปลงจากจัมป์เริ่มเป็นที่นิยม

    ต่อมาก็มาถึงยุคเฮเซ (ค.ศ. 1989 –ปัจจุบัน และกำลังจะสิ้นสุดในยุค 2019) หรือก็คือยุคอนิเมะปัจจุบันนั้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ที่คนบอกว่าอนิเมะสมัยก่อน ก็ไม่พ้นยุคเฮเซสักเท่าไหร่ ไม่มีใครมาบอกว่า อังปังแมนสุดยอด, รถด่วนกาแล็คซี่โครตมัน, แมชินก้าโครตเท่เลยสักคน ส่วนมากยกตัวอย่างการ์ตูนอนิเมะยุคเฮเซ การ์ตูนจัมป์ทั้งนั้น

    ต่อมาก็ยุคลายเส้น อันนี้ ก็ไม่เชิงเป็นมาตรฐาน เพราะอนิเมะทุกเรื่องลายเส้นก็แตกต่างกันออกไป มันอยู่ตรงช่วงเวลามากกว่าว่าช่วงไหนลายเส้นโดดเด่น หรือเป็นกระแสได้รับความนิยมกัน อย่างช่วงแรกที่เริ่มต้นอนิเมะลายเส้นก็ออกไปทางการ์ตูนเด็ก ตัวละครเป็นตัวละครเด็ก ใบหน้าสมจริง และมีพื้นฐานจากการ์ตูนตะวันตก ต่อมาลายเส้นก็เริ่มมีเอกลักษณ์ขึ้นแต่หลักๆ ตัวละครส่วนใหญ่จะอ้วนๆ แบนๆ พระเอกคิ้วหนา เข้ม

    จากนั้นก็อนิเมะการ์ตูนผู้หญิงเริ่มดัง ตัวละครตาโตเท่าไข่ห่าน ต่อมาก็ถึงยุคที่ผมอยู่ประถมได้ว่าช่วงนั้นญี่ปุ่นกำลังฮิต Slayers (แต่บ้านเราฮิตดราก้อนบอล, โคนัน)  ที่ตัวละครตาโดต หน้าตาบิดเบี้ยวแบบแหลกๆ ซึ่งก็มีช่วงหนึ่งที่อนิเมะหลายเรื่องลายเส้นตัวละครเป็นแบบนี้ด้วย  (เช่น Saber Marionette J เป็นต้น)

    จนกระทั่งปัจจุบัน ลายเส้นอนิเมะทำออกมาสวยงามขึ้น ลายเส้นอนิเมะทำออกมาสบายตา หลายเรื่องมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองขึ้น เพียงแต่อนาคตหากใช้คอมพิวเตอร์วาด GC ทั้งฉาก องค์ประกอบ และตัวละครมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน ทำให้หลายครั้งขาดจิตวิญญาณ ดูออกแข็งๆ ค่อนข้างมาก

    ดังนั้น อนิเมะสมัยนี้สู้อนิเมะสมัยก่อนไม่ได้ สำหรับผมแล้วมันช่างไม่ได้เรื่องเลน เพราะสมัยก่อนนี่มันสมัยไหน จะเป็นยุคเริ่มต้นที่ตัวการ์ตูนเน้นกลุ่มเด็ก นิทานสอนใจใช่หรือเปล่า หรือจะเป็นยุคเจ้าหนูอะตอม กับมาชินก้าใช่หรือไม่ คำตอบก็คือผิด เพราะอนิเมะสมัยนี้ตามความคิดของคนทั่วไปก็คือดราก้อนบอล, ฮารุฮิ, โค้ดกีกัส ซึ่งมันไม่ได้นานมากนัก หากเทียบกับผู้ใหญ่ที่ดูการ์ตูนมาทั้งชีวิต


    อนิเมะนี้ไม่ดีเท่าอนิเมะสมัยก่อน

    การเอาสมัยก่อน กับสมัยนี้มาเทียบกัน  หากมองเป็นกลางจริงๆ มันก็มีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกันออกไป ไม่มีใครแพ้หรือชนะ มันขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนต่างหาก

    ส่วนที่หลายคนฝังหัวฮารุ โค้ดกีกีส อะไรดังทั้งหลายแหละ ก็มันเป็นกระแส นานๆ จะมาอนิเมะที่ฉายแล้วดัง จนเป็นตำนานพูดถึง ซึ่งก็แล้วแต่กระแสคนดูแหละว่าจะมีอนิเมะเรื่องไหนที่มีศักยภาพเหล่านี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีอนิเมะที่เป็นตำนานหลายเรื่อง แต่คนไม่เอามาพูดถึงมากกว่า เพราะรสนิยมของคนแตกต่างกัน

    ส่วนที่หลายคนมักคิดว่าสมัยก่อนอนิเมะมีแต่เรื่องสนุก ก็สาเหตุ สมัยที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต  ช่อง 9 และช่อง 3 ก็คงเลือกอนิเมะเก่าๆ แต่ดังกัน มาให้คนรับชม ทำให้หลายเรื่องเกิดความประทับใจ ไม่เหมือนสมัยนี้ที่เราเจอนิเมะหลายร้อยเรื่อง และส่วน อนิเมะที่เป็นแนวฮาเร็มไม่ค่อยนำมาฉายในไทยมากนัก ซึ่ง 9 และ 3 ก็ไม่ฉายอนิเมะแนวฮาเร็มมากนัก ทำให้หลายคนมีความคิดว่าสมัยก่อนไม่มีอนิเมะแนวฮาเร็ม ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอนิเมะแนวฮาเร็มมีมานานแล้ว และหลายเรื่องโด่งดังในโคนันบ้านเรากำลังดัง อย่าง ตำนานเก็นจิ (ช่อง 3 -9 เคยเอามาฉาย) และ Saber Marionette J ที่โครตฮาเร็มและเซอร์วิส เพียงแต่เราไม่เอามาพูดถึงเท่านั้น (เอาเป็นว่าอาจเขียน 10 ฮาเร็มอนิเมะ-นานมาแล้วไว้บทความหน้าละกัน)

    (ขอย้อนอดีตหน่อย ตอนสมัยก่อนที่ผมเป็นเด็ก ผมมาดู Saber Marionette J ผมตกใจฉากที่พระเอกนอนกับผู้หญิงสามคน แถมทั้งสามใส่แต่กางเกงใน ผมโครตตกใจมากเลยแหละ มันจึงกลายเป็นการ์ตูนคลาสสิกน่าจดจำไปซะงั้น)

    ความหลายหลายของซีซั่นอนิเมะสมัยก่อน ท่าเทียบกับปัจจุบัน ก็พอๆ กัน เพราะมันก็มีแนวฮาเร็ม มีแนวแอ็ชั่น ขับหุ่นยนต์ การ์ตูนเด็ก การ์ตูนสาวล้วน  การ์ตูนสาวน้อยจอมเวทย์เหมือนกัน (บางครั้งผมคิดว่าอนิเมะสวมัยก่อนไม่หลากหลายท่าสมัยนี้ด้วยซ้ำ)  เพียงแต่เรื่องไหนดัง แนวไหนได้รับความนิยม มีกระแส ก็จะพูดถึง โดดเด่นเป็นพิเศษเท่านั้นเอง เพียงแต่สมัยนี้อนิเมะหลายเรื่องเฉาพะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งหลายเรื่องก็ไม่เหมาะกับคนดูที่เป็นคนไทยส่วนใหญ่สักเท่าไหร่ แต่ก็จะมีแฟนบางคนหยิบอนิเมะที่หลายคนไม่พูดถึงกันพูดกันในบอร์ดเฉพาะมากกว่า


    อุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่นกำลังขาดทุน (แล้วโทษฮาเร็ม)


    ก็มาถึงหัวข้อสุดท้าย กับหนึ่งกระทู้ที่โทษฮาเร็มเป็นตัวการ นั้นคือบทความประเภทว่าอนิเมะญี่ปุ่นทำร้ายได้น้อยลง กับอุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่นเริ่มขาดทุน ซึ่งหากมีบทความนี้เมื่อไหร่ ก็จะมีเม้นประเภทว่า “เพราะอนิเมะซ้ำซาก มีแต่แนวฮเร็ม เซอร์วิสนั่นแหละ” บ่อยมาก บ่อยจนผมอดไม่ได้ที่จะเถียง

    ช่วงนี้มีข่าวไม่สู้ดีเกี่ยวกับวงการอุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่นนัก ไล่ตั้งแต่อนิเมะญี่ปุ่นเริ่มทำรายได้น้อยลง  แม้ว่าตลาดอนิเมะจะเริ่มขยายไปต่างประเทศมากเรื่อยๆ หากแต่ในช่วงระหว่างปี 2011-2014 นั้น ประมาณ 20%  (อย่างน้อย ๆ 1 ใน 4) ของสตูดิโอผู้ผลิตอนิเมในประเทศญี่ปุ่น ได้ประสบภาวะขาดทุน (หรือบัญชีติดตัวแดง) และส่งผลให้ค่าแรงในอุตสาหกรรมนี้ลดถอยลงตามไปด้วย ทำให้ภาพอดีตที่ว่าวงการอนิเมะเป็นอาชีพได้กำไรเป็นหน้าเป็นตาของญี่ปุ่นแตกต่างกันออกไป

    แน่นอนถ้าเอาหัวข้อนี้ ไปคุยในบอร์ดต่างๆ ความคิดก็จะบอกว่าเพราะปัจจุบันอนิเมะออกมาซ้ำซาก มีแต่แนวฮาเร็ม เซอร์วิสนั่นแหละ

    แน่นอนว่ามันเป็นความคิดเห็นผิด

    อย่างที่เขียนเอาไว้ตอนแรก ปัจจุบันอนิเมะไม่ได้ออกมาซ้ำซาก เพราะมีทุกแนว ทั้งแนวสาวล้วน ชายล้วน กีฬา จัมป์ แนวฮาเร็มมีไม่กี่เรื่อง และหลายคนอาจไม่รู้ว่าคือยังมีอนิเมะที่นอกสายตาที่เน้นกลุ่มเด็กเล็กอีกหลายเรื่อง ซึ่งก็แทบไม่แตกต่างจากเมื่อก่อน เพียงแต่มันเป็นที่กระแสว่าเรื่องไหนโดดเด่นเท่านั้น และหลายเรื่องเน้นไปที่กลุ่มหลักรสนิยมของคนดูมากเกินไป

    ส่วนอีกข้อคือ อนิเมะแนวฮาเร็มไม่ได้เป็นทำให้ผู้ผลิตขาดทุน กลับกันมันสร้างกำไร หากเรื่องนั้นมีคุณภาพ หรือทำออกมาถูกใจคนดู ยกตัวอย่าง Monster Musume no Iru Nichijou และ To Love-Ru Darkness  ยอดขายดีมาก  (หากผมจำไม่ผิดหากยอดขาย BD แค่หมื่นเดียวก็ถือว่ากำไร เพราะยังต้องขายสินค้าอื่นๆ อีก)

    กลับกันอนิเมะที่ไม่ใช่แนวฮาเร็มก็ใช่ว่าจะได้รับความนิยมเสมอไป หากเนื้อเรื่องไม่น่าสนใจพอ ไม่มีคุณภาพพอ ต่อให้เนื้อหาดีเพียงใดแต่ถ้าคนดูไม่ชอบ ก็จะทำให้ผู้ผลิตขาดทุนด้วย

                    ความจริงแล้ว สาเหตุที่อุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่นกำลังขาดทุนมีหลายสาเหตุ  ส่วนหนึ่งก็มาจากยอดขาย BD ลดลง อันเนื่องจากการมาของเทคโนโลยีดิจิตอลที่สะดวกสบายกว่า จากอินเตอร์เน็ตที่นับวันจะมีความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรับชมวิดีโอในโลกออนไลน์ (ไม่ว่าจะทั้งถูกลิขสิทธิ์หรือไม่) ได้อย่างสะดวกสบายกว่า ทำให้การซื้อแผ่น BD เริ่มลดลง หากอนิเมะเรื่องนั้นไม่ดีจริง

                  อย่างที่ทราบกันว่าอุตสาหกรรมอนิเมะเริ่มขาดแคลนรายงาน โดยเฉพาะอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ สาเหตุเพราะว่าเงินเดือนน้อยมาก รายได้เฉลี่ยต่อเดือนราว ๆ 60,000 เยน (ประมาณ 20,000 บาทไทย) เท่านั้น (เทียบเป็นเงินบาทอาจจะเยอะ แต่ถ้าเทียบกับค่าครองชีพในญี่ปุ่นนั้นถือว่าน้อยมาก) อีกทั้งงานหนักมาก

                    นอกจากนี้ อย่าลืมว่าสตูดิโอที่ทำอนิเมะนั้นไม่ได้เป็นมีเพียงแค่สิบบริษัท แต้มีหลักหลายร้อย ก็ไม่แปลกที่จะมีข่าวบริษัทปิดตัว หรือได้รับผลกระทบ จากการแข่งขันค่อนข้างสูงปัจจุบันด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่การปรับตัวของบริษัทว่าจะไปรอดหรือเปล่า

                    อ้างอิง http://akibatan.com/2017/05/one-in-four-anime-studios-in-the-red-chart/

    อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนไม่เข้าใจ คือทำไมเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีอนิเมะประเภทมี 22 – 26 ตอนจบ ไม่เหมือนในอดีต ที่อนิเมะบางเรื่องมากกว่า 50 ตอน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวอนิเมะมากกว่า ว่าเป็นอนิเมะแนวไหน ปกติที่เราเห็นอนิเมะที่มีตอนเยอะๆ จะเป็นอนิเมะการ์ตูนจัมป์ อนิเมะออริจินอลที่คนทำตั้งใจว่าจะดัง ซีรีย์ดังๆ อย่างกัมดั้ม, ไพ่ยูกิ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นอนิเมะที่เด็กดูมากกว่า ทำให้หลายคนมักเข้าใจผิดว่าอนิเมะสมัยก่อน (สมัยไหน) มีแต่ตอนยาวๆ ทั้งๆ ที่จริงแล้วเขาคัดมาทั้งนั้น และนอกจากเพราะจำนวนตอนมากมันเสี่ยงขาดทุนเพราะมันเท่ากับว่าต้องจ้างคนประจำ จำนวนทำงานไม่หยุด ทำให้คุณภาพงานลดลง (ไม่แปลกเราจะเห็นการเผาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในอนิเมะที่ตอนยาวๆ )  การลงทุนมาก ที่อาจจะเจ็งได้ อย่างที่เห็นก็กัมดั้มก็เจ๊งบ้าง ดีบ้าง นั้นจึงเป็นสาเหตุที่อนิเมะสมัยนี้เน้น 12-13 มากกว่าเพื่อลดต้นทุน

     

    สรุปว่า- แนวฮาเร็มซ้ำซากนั้น ไม่ได้เป็นต้นเหตุทำให้อุตสาหกรรมอนิเมะขาดทุน ไม่เป็นความจริง อนิเมะแนวฮาเร็มมีแต่น้อยลง แต่ที่ยอมรับคือมันมีคุณภาพน้อยลง ทั้งๆ ที่มีวัตถุดิบฮาเร็มเยอะ และมันก็แสดงให้เห็นว่ามันขายได้ แต่ผู้ผลิตเลือกที่จะทำแบบขอไปที่ เพื่อขายนิยายให้มากขึ้นมากกว่า

     ทุกแนวล้วนซ้ำซากของมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแฟนตาซี แอ็คชั่นต่อสู้ ก็มีสูตรสำเร็จของมันอยู่ และแนวฮาเร็มเช่นกัน ความซ้ำซากไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี เพราะผมเองมือจะดูแนวฮาเร็มหลายเรื่อง ผมก็ไม่เคยเบื่อ (ถ้าจะเบื่อก็คือ วิน อย่างเดียวนี้แหละ)  ซึ่งหลายคนก็ชอบความซ้ำซาก พล็อตโหลๆ เพราะดูแล้วมันสบายใจ เข้าใจง่าย การที่จะทำเนื้อเรื่องให้อินดี้ ทำแหวกแนว แปลกใหม่ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

    ทุกอย่างล้ววนมีข้อด้อย ข้อเสีย

    คนเรามีรสนิยมแตกต่างกันออกไป

    นอกจากนี้การเอาอนิเมะใหม่ มาเปรียบเทียบอนิเมะมันเป็นสิ่งที่ชวนหัวมากกว่า อนิเมะสมัยก่อนมันสมัยไหน ถ้าสมมุติจับเด็กสมัยนี้มาดูอนิเมะสมัยเก่าๆ อย่างมาชินก้า, แม่มดน้อยโมโมะ, อังปังแมน ฯลฯ ที่ดังในยุคก่อน จะดูแล้วสนุก หรือไม่ หากเป็นเด็กก็พอดูสนุกอยู่ แต่ถ้าวัยรุ่นอายุ 10-15 นี่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะประทับใจการ์ตูนสมัยก่อน (สัก20-30 ปีก่อน) มากขนาดไหน  สมัยนี้อาจดูธรรมดา แต่สมัยก่อนถือว่าอนิเมะเหล่านี้มันโครตตำนาน มันไม่เกี่ยวกับพล็อตแปลกใหม่ หลากหลายอะไรหรอก มันเกี่ยวต้องที่ขีดจำกัดในการดู และความสนุกในยุคสมัยของคนๆ นั้นมากกว่า  (กลับกันถ้าจับคนแก่ๆ แบบผมไปดูอนิเมะสมัยก่อนนี้ ผมอยากส่ายหัว อย่างสามเหมียวยอดนินจา พวกการ์ตูนช่อง 7 นี้ผมดูซ้ำบ่อยมากจนไม่อยากดูอีกแล้วก็มี)

    อีกหนึ่งที่เราควรตระหนัก แม้ว่าอนิเมะจะเป็นสิ่งสากล ที่ทั่วโลกต่างดู และรู้จัก แต่เอาเข้าจริงแก่นของมันส่วนมากก็คืออนิเมะส่วนมากทำขึ้นเพื่อให้คนญี่ปุ่นดู ดังนั้นมันก็มีอะไรบางอย่างที่คนไทยไม่เข้าใจ โดยเฉพาะฮาเร็ม  

     

    สุดท้าย น้อยมากที่เราไม่ได้ช่วยเหลือวงการอนิเมะ เพียงแค่ดูแฟนซับฟรีเฉยๆ  ก็ไม่ได้ช่วยเหลือวงการอนิเมะญี่ปุ่นเลยแม้แต่น้อย หากจะดีจริงต้องซื้อแผ่นแท้ แฟ่น BD ซึ่งเท่ากับว่าเราสนับสนุนแนวนั้นๆ ผู้ผลิตก็จะได้รู้ว่าควรผลิตแบบไหนถึงจะประสบความสำเร็จและทำให้เราได้ดูอนิเมะที่ชอบไปที่ยาวๆ





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×