ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #411 : (เฮ้ย! จริงหรือ!!) บัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.7K
      5
      9 ก.ย. 59

    วันก่อนได้ดูการ์ตูนมังงะโหด Dead Tube  (การ์ตูนเรื่องนี้ผู้ดูควรอายุ + 18 เพราะเนื้อหาเต็มไปด้วยความรุนแรง เซ็กต์ และฉากล่อแหลม)  ซึ่งเป็นผลงานของ Author(s) Yamaguchi Mikoto และ Artist(s)  Kitakawa Touta ตัวเอกได้พูดเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ  จนผมต้องเอามาเขียนในบทความนี้

    เรื่องมีอยู่ว่าตอนหนึ่งตัวเอกและพรรคพวกได้รับภารกิจ ถ่ายภาพยนตร์เจ็บจริงฆ่าจริง "นัฟฟิล์ม"  (Snuff Film)   บนเกาะร้างโดดเดี่ยวแห่งหนึ่ง และพบคนอื่นๆ บนเกาะ และพบฆาตกรต่อเนื่องฆ่าคน รายแล้วรายเล่า

    เมื่อใกล้ถึงจุดไคเม็กซ์ พวกตัวเอกได้เผชิญหน้ากับฆาตกรต่อเนื่อง  และฆาตกรต่อเนื่องได้ท้าพระเอกว่า “ฉันเป็นใคร” ซึ่งเจ้าพระเอกก็สารยายเกี่ยวกับ กฎภาพยนตร์สยองขวัญว่า ฆาตกรต่อเนื่องไม่ได้ฆ่าคนแบบบ้าๆ แต่มันทำตามกฎของภาพยนตร์สยองขวัญที่ฆ่าเฉพาะเวลาที่คนในเรื่องมี “เซ็กต์” และฆ่าผู้หญิงที่ไม่บริสุทธิ์

    แต่ที่น่าสนใจคือตัวเอกได้พูดถึง “บัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์” (KNOX’s Ten Command Ments Of Deduction)  แต่ผมเรียกว่า “10 กฎเหล็กนิยายนักสืบ” มาอธิบายในการชี้ตัวฆาตกรในเรื่องนี้ด้วย

     

    Ronald Knox.jpg 

    โรนัลด์ น็อกซ์ (Ronald Knox)

     

    ในช่วงยุคทองของนวนิยายนักสืบ “แนวลึกลับ” (Clueless Mystery) ซึ่งเนื้อหานิยายก็อารมณ์แบบว่า “ใครเป็นคนทำ” ซึ่งฆาตกรจะฆ่าคนในเรื่อง แต่การฆ่านั้นไม่ธรรมดา เพราะพวกเขาได้สร้างสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้” ในการฆ่าคน เป็นต้นว่า “ห้องปิดตาย”, “อ้างฐานที่อยู่”, “เรื่องเหนือธรรมชาติ” ใส่เข้ามาด้วย

    ต่อมา  ก็เริ่มมีการจัดกฎเกณฑ์ในการเขียน โดยนักเขียนหลายคนเริ่มช่วยกันระดมความคิดกำหนด “สูตรสำเร็จ” ของแนวสืบสวนสอบสวนขึ้นมา 

    ในปี 1928 นักเขียนนิยายสืบสวนชื่อโรนัลด์ น็อกซ์ (Ronald Knox) ได้สร้าง “บัญญัติสิบประการ” ซึ่งเป็นกฎของนวนิยายนักสืบที่ต่อมามันก็กลายเป็นแนวทางการดำเนินเรื่อ

    สาเหตุที่น็อกซ์ได้สร้างกฎแบบนี้ขึ้นก็เพื่อให้ผู้เขียนนิยายแนวลึกลับเล่นอย่างยุติธรรม (อย่างแฟร์ๆ) กับผู้อ่าน เพื่อในการคิดแก้ปริศนาในเรื่อง ให้ได้ความสนุกและไม่กังวล และต้องการให้คนเขียนนิยายแต่งนิยายแนวลึกลับ-สืบสวนสอบสวนไปในทางเดียวกัน

    1. อาชญากรหรือผู้กระทำความผิด จะต้องมีตัวตนอยู่ตั้งแต่แรก มิใช่ว่าเพิ่งจะให้โผล่มาในตอนจบ

    2. ในการไขคดีจะต้องใช้หลักเหตุผล ห้ามไม่ให้ใช้วิธีเหนือธรรมชาติ (เข้าทรง, พลังจิต, พลังวิเศษ)

    3. อนุญาตให้มีห้องลับหรือช่องทางลับ เพียง 1 ช่องทาง เท่านั้น

    4. ห้ามใช้ยาพิษที่ยังไม่มีการค้นพบ หรือตรวจจับไม่ได้ และต้องมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

    5. ห้ามให้ชาวจีน (ชาวต่างชาติ) เป็นคนร้าย 

    6. ห้ามมีเหตุบังเอิญช่วยนักสืบคลี่คลายคดี

    7. นักสืบจะต้องไม่เป็นก่ออาชญากรรมเสียเอง

    8. นักสืบจะต้องไม่จงใจปกปิดเงื่อนงำหรือเหตุผลในการคาดการณ์ ไม่ให้ผู้อ่านรับรู้

    9. หากในเรื่องมีตัวละครประเภทวัตสัน (ผู้ช่วยนักสืบ) ต้องห้ามปกปิดความคิดเห็นของเขา และความฉลาดต้องเท่าๆ กับคนอ่าน

    10. ห้ามใช้ตัวละครที่เป็นฝาแฝด หรือหน้าตาเหมือนกัน

     

     

    เชื่อว่าหลายคนที่มาอ่านแต่ละข้อของ บัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์ก็คงนึกขำอยู่ไม่น้อย เพราะหลายข้อ ปัจจุบันทั้งนิยาย และการ์ตูนญี่ปุ่นต่างแหกคอกมาหมด ซึ่งอกาธาคริสตี้ราชินีแห่งแนวสืบสวนเองก็แหกกฎหลายข้อ โดยเฉพาะข้อ 7 และ 8

    (สปอย- ข้อ 7 เป็นตอนลูกหนูตาบอดสามตัวที่นักสืบในเรื่องความจริงแล้วเป็นฆาตกรโรคจิตที่ปลอมตัวเป็นนักสืบ และ ข้อ 8 อยู่ในนิยาย ใครฆ่าโรเจอร์ แอ็กครอยด์ซึ่งคนที่ทำหน้าที่เล่าเรื่อง หรือวัตสัน เป็นฆาตกร ซึ่งเป็นที่ฮือฮ่าสมัยนั้น เพราะไม่มีใครกล้าให้ตัวละครอย่างวัตสันเป็นฆาตกร)]

    แม้แต่การ์ตูนนักสืบเอง ก็ทำลายกฎเหล่านี้อย่างเมามัน อย่าง นักสืบที่ใช้พลังเหนือธรรมชาติในการไขคดี การใช้มุกฝาแฝดในการก่ออาชญากรรมเองก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ  แม้แต่คินดะอิจิ และนักสืบโคนัน เอง ก็เคยละเมิดหลายข้อ อย่าง โคนันเคยซ้อนหลักฐานไม่ให้ผู้อ่านรู้ หรือไม่บอกหลักฐานว่ามันคืออะไร (ละเมิด 8. นักสืบจะต้องไม่จงใจปกปิดเงื่อนงำหรือเหตุผลในการคาดการณ์ ไม่ให้ผู้อ่านรับรู้) ในขณะเดียวกัน ทั้งคินดะอิจิและโคนันก็ยังยึดข้อ 2. ในการไขคดีจะต้องใช้หลักเหตุผล ห้ามไม่ให้ใช้วิธีเหนือธรรมชาติ และห้ามไขคดีโดยบอกว่าเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ ทุกคดีมีคำอธิบาย สามารถอธิบายอย่างมีหลักเหตุผล

    กลับมาที่เจ้าพระเอก  Dead Tube  ได้ยกบัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์มาอธิบายหาตัวตนของตัวฆาตกร โดยเจ้าพระเอกให้มองมุมมอง “ไร้ตรรกะ” ดู ซึ่งหมายความว่าต้องแหกกฎนิยายสืบสวน จึงจะอธิบายเรื่องทั้งหมดได้ โดยเรื่อง คือ เฉลยว่า ฆาตกรตัวจริงที่ไล่ฆ่าคนในเกาะคือ พี่ชายฝาแฝดของผู้ตายรายแรก และเป็นบุคคลที่ไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็นเลยในตอนแรก ดังนั้น ในตอนฆ่าคนบนเกาะของ Dead Tube  ได้ทำลายกฎ 10 ประการ สองข้อ คือข้อแรกคือ อาชญากรหรือผู้กระทำความผิดจะต้องมีตัวตนอยู่ตั้งแต่แรก มิใช่ว่าเพิ่งจะให้โผล่มาในตอนจบ แต่กลายเป็นว่าฆาตกรโผล่มาตอนจบซะงั้น และข้อ 10 ห้ามใช้ตัวละครที่เป็นฝาแฝด หรือหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง

    ความจริงบัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์ ก็ไม่ใช่กฎเหล็กอะไรมากมาย เพราะพื้นฐานคือ การสร้างสูตรสำเร็จของนิยายสืบสวน   บางข้อสามารถแหวกได้เพื่อให้เนื้อเรื่องไม่ซ้ำซาก แต่ถึงอย่างนั้นสมัยยุคทองแนวสืบสวนนักเขียนหลายคนก็เห็นด้วยในการนำไปใช้ ในขณะที่บางข้อก็ระวังในการแหวก เพราะมันจะเหมือนหักหลังคนดู โดยเฉพาะข้อ การใช้พลังเหนือธรรมชาติไขคดีทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องไม่มีอะไรบ่บอกเลย หรือการใช้เรื่องบังเอิญไขคดี เป็นต้น

    บัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์ ยังถูกนำมาพูดถึงบ่อยๆ มใน End of the Golden Witch ในซีรีย์ของ Umineko ซึ่งตัวซีรีย์นี้ยืนยันว่าการไขคดียึดหลักบัญญัติสิบประการแน่นอน แม้ในเรื่องจะดำเนินเรื่องแหวกกฎทั้ง 10 มาหมดแล้วก็ตาม




    นอกเหนือจากบัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์แล้ว ในยุคทองของแนวลึกลับ -สืบสวนสอบสวน (ยุคที่ว่าอยู่ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ 1920-1939) ก็ยังมีนักเขียนคนอื่นได้ออกกฏเกี่ยวกับนิยายลึกลับอีก ที่โดดเด่นก็คือนักเขียนที่ชื่อ  วิลเลี่ยม เอซ ไรท์ (Willard H. Wright) หรือ SS Van Dine ได้เขียนบทความชื่อ “กฎ 20 ข้อในการเขียนแนวนักสืบ” ("Twenty Rules for Writing Detective Stories") เมื่อปี 1928 ซึ่งได้รับความนิยมพอๆ กับ บัญญัติสิบประการของน็อกซ์

                    1. ผู้อ่านจะต้องมีโอกาสเท่าเทียมกันกับนักสืบเพื่อแก้ปริศนา หลักฐานทั้งหมดจะต้องรุบะไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยให้หมด

                    2. จะต้องไม่มีการหลอกลวง หรือเล่นกับดักกับผู้อ่าน มีแต่มีแต่การสวมบทบาทอย่างสมเหตุสมผลของอาชญากรกับตัวนักสืบเองเท่านั้น

                    3.จะต้องไม่มีความรัก สิ่งสำคัญของเรื่องคือการนำคนผิดทางอาญาไปสู่ความยุติธรรม ไม่ใช่นำไปสู่แท่งบูชาแต่งงาน

       4. ตัวนักสืบเอง หรือหนึ่งในเจ้าหน้าที่ไม่เคยเปิดเผยภายหลังว่าเป็นคนทำความผิด เพราะมันเป็นกลอุบายที่แย่มาก

                  5.การหาตัวผู้กระทำความผิดจะต้องใช้ตรรกะเหตุผล ไม่ใช้มาด้วยอุบัติเหตุหรือความบังเอิญ หรือสารภาพโดยปราศจากแรงกระตุ้น การแก้ปัญหาของอาชญากรในแบบหลังเสมือนการส่งผู้อ่านเข้าป่าไปล่าห่าน และจากนั้นก็ค่อยบอกพวกเขาที่ล้มเหลวแล้วว่า คุณมีสิ่งที่พวกเขาต้องการอยู่ทุกเมื่อ นักเขียนประเภทนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าตัวตลกคนหนึ่ง

      6.นวนิยายสืบสวนจะต้องมีนักสืบหนึ่งคนอยู่ในนั้น และนักสืบจะยังไม่เป็นนักสืบ จนกว่าเขาจะลงมือสืบสวน   หน้าที่ของเขา คือ การรวบรวมเบาะแสที่จะนำไปสู่ตัวผู้ทำผิดในบทแรก และถ้านักสืบไม่สามารถหาข้อสรุปเพื่อนำมาวิเคราะห์หลักฐานเหล่านั้นได้ เขาก็ไม่ใช่บุคคลที่แก้ปัญหาไม่ได้ดีกว่าเด็กนักเรียนผู้รู้คำตอบจากเฉลยที่อยู่ด้านหลังโจทย์คณิตศาสตร์

      7. เป็นธรรมดาที่จะต้องมีศพหนึ่งศพในนิยายสืบสวน และไม่มีอาชญากรรมใดดีกว่าการฆาตกรรม หากอาชญากรรมที่ไม่ใช่การฆาตกรรมมันจะยุ่งเหยิงมากเกินไปกับหนังสือหนากว่า 300 หน้า นอกจากนี้ทุกปริศนาจะต้องคุ่มค่าต่อการสิ้นเปลืองพลังงานของผู้อ่านด้วย

     8.ปัญหาของอาชญากรรมจะต้องแก้ไขโดยวิธีหลักธรรมชาติอย่างสมเหตุสมผล การใช้มายากลเขียนชื่อคนดูบนกระดานดำ , อุยจาบอร์ด (Ouija Board) การอ่านใจ การดูลูกแก้ว การเข้าทรงผีบอก อะไรก็ตามที่เป็นอำนาจลี้ลับเป็นข้อห้าม ผู้อ่านยังมีโอกาสชนะเมื่อรวมไหวพริบของเขาเข้ากับเหตุผลของนักสืบ แต่ถ้าหากผู้อ่านต้องมาแข่งกับไสยศาสตร์ โลกวิญญาณ มิติลี้ลับ เหนือธรรมชาติแล้วล่ะก็ ยังไงก็แพ้

     9.จะต้องมีนักสืบเพียงคนเดียว –หรือพระเอกเพียงคนเดียว หากมีนักสืบสามคน หรือสี่คน หรือเป็นแก๊งอาจจะพบกับปัญหาการกระจายบท อีกทั้งยังทำลายความต่อเนื่องของเหตุผล  และเอาเปรียบไม่เป็นธรรมต่อผู้อ่าน หากคนอ่านจะไม่รู้ว่ามีคือคนที่เขาจะต้องคิดร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน มันก็เหมือนกับการที่ผู้อ่านต้องไปแข่งกับทีมวิ่งผลัดอย่างไงอย่างงั้น

    10. ผู้กระทำความผิดจะต้องเผยโฉมออกว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ไม่มากไม่น้อยในเรื่อง หรือคนที่คนอ่านคุ้นเคยและเป็นผู้ที่มีความน่าสนใจ (เอาง่ายๆ คือ เป็นตัวละครในเรื่องนั้นเหละ)

    11. นักเขียนจะต้องไม่ให้คนรับใช้เป็นผู้กระทำความผิด มันเป็นเรื่องปัญหาทางศีลธรรม และเป็นการปัญหาที่ง่ายเกินไป ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุ้มค่าแก่การสงสัย  ไม่ใช่บุคคลที่คนทั่วไปดูแล้วน่าสงสัย

    12. ต้องมีผู้กระทำความผิดเพียงคนเดียวเท่านั้น หากมีผู้ร่วมทีม ก็เป็นเพียงผู้ช่วย และมีผู้บงการเพียงคนเดียว ไม่ว่าจะเกิดอาชญากรรมขึ้นกี่ครั้งก็ตาม

    13. พวกองค์กรลับ มาเฟีย ห้ามมีในนิยายนักสืบ ฆาตกรจะต้องเป็นพวกกล้าได้กล้าเสีย แต่ไม่สังกัดในองค์กรลับ แล้วใช้มันเป็นที่หลบซ่อน

    14. วิธีการฆาตกรรม และวิธีการสืบสวนจะต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การใช้วิทยาศาสตร์ต้มตุ๋น การจินตนาการ และการเดาไม่ควรเกิดขึ้น เพราะไม่เป็นที่ยอมรับ  เมื่อนักเขียนเข้าไปดินแดนจินตนาการแบบจูลส์ เวิร์น (Jules Verne) แสดงว่าเขาออกนอกขอบเขตแนวสืบสวนแล้ว (ออกทะเล)

    15. ความจริงของปริศนานั้นจะต้องให้ผู้อ่านที่มีไหวพริบสังเกตเห็นชัดเจนในเรื่อง หมายความว่าผู้อ่านจะต้องฉลาดพอที่จะเห็นมัน ผู้อ่านได้คำอธิบายสำหรับอาชญากรรมนั้นๆ หลักฐานต่างๆ ล้วนชี้นำไปสู่ตัวการของเรื่อง นั่นหมายความว่าผู้อ่านฉลาดพอๆ กับนักสืบ สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้โดยไม่ต้องรอถึงบทสุดท้าย ผู้อ่านที่ฉลาดจะแก้ปริศนาโดยไม่บริปากบ่น

    16. การวิเคราะห์นักสืบในเรื่องไม่ควรพรรณนายืดยาว  ไม่ควรเล่นโวหารนอกประเด็น ไม่ควรหมกมุ่นในการสร้างบรรยากาศ ไม่ควรวิเคราะห์ตัวละครอย่างมีนัย สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นในการบันทึกอาชญากรรม และหาเหตุผล นักสืบมีหน้าที่แสดงการกระทำ การแนะนำประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าสู่เป้าหมายหลัก นั้นคือการวิเคราะห์ปัญหา และนำไปสู่ข้อสรุปที่จะสามารถไขปริศนาได้สำเร็จ จงแย่ใจว่านิยายเรื่องนั้นมีการบรรยายและการจำแนกแยกแยะตัวละครเพื่อให้นิยายสมจริง

    17. ฆาตกรจะต้องไม่อ่อนไหวด้วยความรู้สึกผิดในอาชญากรรมที่ตนได้ก่อขึ้น การก่ออาชญากรรมพวกบุกรุกหรือโจรกระจอกเป็นหน้าที่ของตำรวจ ไม่ใช่ของนักเขียน และนักสืบสมัครเล่นที่ปราดเปรื่อง

    18. อาชญากรรมในนิยายนักสืบไม่เคยเฉลยว่าเกิดจากอุบัติเหตุหรือการฆ่าตัวตาย การจบแบบนี้ถือว่าเป็นการหลอกลวงผู้อ่าน

    19. แรงจูงใจในการก่ออาชญากรรมทั้งหมดในแนวสอบสวนควรเป็นเรื่องส่วนตัว การใช้เรื่องสงครามกลางเมือง  หรือเรื่องระหว่างประเทศควรอยู่ในหมวดอื่น และแรงจูงใจที่ว่าควรสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการระบายความอัดอั้น ความต้องการของตนเองออกมา

    20. และ (เพื่อให้กฎของนักเขียนครบตามหัวข้อ) ขอเพิ่มคำแนะนำสองสามข้อ ที่ไม่ควรมีในนักเขียนนิยายนักสืบ หรือผู้ที่มีความนับถือคนใดคนหนึ่ง ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อทำให้ตนมีคุณค่า แม้ว่าพวกมันถูกนำมาใช้บ่อย จนดูคุ้นเคยสำหรับคนรักการอ่านแนวนี้ หากแต่การใช้สิ่งเหล่านี้มันก็เหมือนกับการสารภาพแบบไม่รู้จักกาลเทศะ และการขาดความริเริ่มของนักเขียน โดยประกอบด้วย

    (A) การค้นหาหลักฐานจับอาชญากรสามารถทำได้โดยเปรียบเทียบเศษก้นบุหรี่ที่ทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุว่าตรงกับยี่ห้อผู้ต้องสงสัยสูบหรือไม่

    (B) การปลอมเป็นวิญญาณมาหลอกหล่อนให้ผู้กระทำผิดสารภาพสิ่งที่ตนเองทำไป

    (C) การปลอมแปลงลายนิ้วมือ

    (D) การสร้างพยานเท็จ

    (E) สุนัขไม่เห่าแสดงว่าผู้บุกรุกเป็นคนคุ้นเคย

    (F) การจับกุมอาชญากรที่เป็นแฝดหรือญาติที่หน้าเหมือนกัน หากแต่พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์

    (G) เข็มฉัดยาและยารับสารภาพ

    (H) ลายลักษณ์อักษร (แบบแผน?) ของฆาตกรที่ทิ้งไว้ในที่ห้องปิดล็อกหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าไป

    (I) การทดสอบหาการเชื่อมโยงคำผิด

    (J) รหัสลับ หรือจดหมายลับซึงจะเปิดเผยโดยนักสืบ

    (แปล หากแปลผิด แปลถูกยังไง ขออภัยด้วยครับ เพราะมีหลายประโยคที่ผมแปลแล้วไม่เข้าใจ จริงๆ)

    เหมือน บัญญัติ 10 ประการแห่งนิยายสืบสวนของน็อกซ์ปัจจุบัน กฎ 20 ข้อในการเขียนแนวนักสืบก็ล้าหลัง (อีกแล้ว) เมื่อมีนิยายลึกลับ และการ์ตูนญี่ปุ่นแนวสืบสวนแหกเป็นว่าเล่น แต่อย่างไรก็ตาม กฎหลักๆ ที่หลายคนคิดว่าควรจะยึดเอาไว้ก็ยังคงอยู่ นั้นคือ “นิยายแนวสืบสวนไม่ควรจะมีเรื่องเหนือธรรมชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง ไว้ว่าจะเป็นการก่อคดี หรือการสืบสวน เพราะมันไม่สนุกเลย  การเรื่องเหล่านั้นควรเป็นฝีมือของมนุษย์มากกว่า”

    อีกข้อหนึ่งผมว่าน่าจะยึดเอาไว้คือ “ไม่ควรมีเรื่ององค์กรเข้าไปเกี่ยวกับ แรงจูงใจก่อคดีไม่ควรเอาเรื่องระดับชาติ ระดับโลกไปใช้ การก่อคดีก็ควรเป็นเรื่องความอัดอั้นในจิตใจของมนุษย์มากกว่า” ถ้าเอาเรื่องพวกนี้ใส่ไปนิยายแนวสืบสวน มันจะสเกลใหญ่มากเกินไป เพราะแนวนักสืบจะเน้นจิตใจของมนุษย์ พื้นที่แคบๆ อะไรมากกว่า

    อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนิยายนักสืบ สืบสวนแระแสก็ชาลงไปบ้าง เพราะว่าการแต่งต้องซับซ้อน และต้องใช้สำนวนพอสมควร ในขณะที่แนวต่างโลก แนวแฟนตาซีเริ่มมากขึ้น จนแนวสืบสวนหลงลืมไปบ้าง แต่มันก็ปรับตัวใหม่ ในอีกแนวหนึ่งที่อาจไม่ใช่สืบสวนจ๋า แต่ก็ยังคงความลึกลับ และยึดกฎนิยายนักสืบ (หรือแหกกฎแบบสร้างสรรค์) อยึ่เหมือนเดิม

      ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนแต่งเองว่าจะแต่งนิยายยังไง





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×