ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #407 : ดูคำบ่น "พริกแกง" แล้วย้อนไปอ่านจอมโหดกะทะเหล็ก

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.5K
      5
      19 ส.ค. 59

                    วันนี้นึกไม่ออกจะเขียนบทความอะไร พอดีไปดูดราม่าเพจจ่า พบว่าตอนนี้เขากำลังวิจารณ์ภาพยนตร์ไทย “พริกแกง” อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน พอไปอ่านบทวิจารณ์แล้ว ก็เกิดอยากเอาสุดยอดการ์ตูนเก่า “จอมโหดกระทะเหล็ก” มาพูดเสียหน่อย

                    “อาหารไทย” เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ และได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยมีจุดเด่นเรื่องความเข้มข้น และความเผ็ดจ้า และหลายเมนูเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งอาหารไทยหลายเมนูติดอันดับอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก อย่าง น้ำพริกปลาทู, ส้มตำ, น้ำตกหมู, ต้มยำกุ้ง, แกงมัสมั่น

                    นอกจากนี้อาหารไทยยังบ่บอกถึง วิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่มีข้าวเป็นอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ วัฒนธรรมประจำท้องถิ่น รวมไปถึง การหาวัตถุง่ายๆ รอบๆ ตัวเอามาเป็นอาหาร  โดยคุณไม่จำเป็นต้องมีเงินสักบาท ก็สามารถทำอาหารไทยดีๆ สักจานกินอิ่มหนึ่งมือได้แล้ว

                    น่าเสียดายที่ “อาหารไทย” ไม่ค่อยนำมาใช้ในสื่อบันเทิงของไทยมากนัก หากจำไม่ผิดก็มีละครไทยเรื่อง “พ่อครัวหัวป่าก์” (ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่านำเสนอเรื่องอาหารไทยมากน้อยเพียงใด) ภาพยนตร์ หรือการ์ตูนไทยไม่ต้องพูดถึง คือแทบไม่มีเลย (ไม่นับการ์ตูนเพจ)

                    อย่างไรก็ตาม ไม่นานมานี้ ในเดือนสิงหาคม 2016 ก็มีการฉายภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่อง “พริกแกง” ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีการปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาดูบ้าง ซึ่งเนื้อหาภาพยนตร์ (เท่าที่ดูภาพยนตร์ตัวอย่าง โฆษณา) ก็เป็นเรื่องการนำเสนอเกี่ยวกับอาหารไทยโดยเฉพาะทำให้หลายคนอยากเข้าไปดู เพราะจะได้เห็นภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารไทยสักที

                    เท่าที่ค้นเรื่องย่อภาพยนตร์ โดยเป็นเรื่องของร้านอาหารไทย ที่เจ้าของร้านอาหารไทยแท้ที่ไม่ยอมแม้แต่จะให้ใครมาดัดแปลงอาหารไทยและสอนให้เชฟหน้าใหม่รับรู้ว่าอาหารไทยนั้นต้องเป็นไทย โดยผ่านการพูด สอน แนะนำจากผู้จัดการร้านที่มากด้วยฝีมือ

                    “พริกแกง” เหมือนจะเป็นภาพยนตร์น้ำดี เพราะเนื้อหาเกี่ยวกับการทำอาหารไทย และมีการจุดภาพอาหารไทยได้น่ากลิ่น ชวรลอง แต่ในขณะเดี่ยวกันผู้ชมภาพยนตร์ตัวอย่างเกิดรู้สึกตะหงิดใจกับคำพูดหนึ่งของตัวละครหัวหน้าเชฟแก่ (เจ้าของร้าน?) ว่า “เราจะไม่ให้ใครมาเปลี่ยนแปลงรสชาติอาหารไทย”,  “อาหารไทยต้องดั่งเดิม และต้องเป็นไทย” และ “มันเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องปรุงอาหารให้เป็นไทย”

                    ปัญหาคือคำพูดนี้คือพูดของคนหัวเก่า โบราณ ซึ่งหากแรงๆ หน่อยก็คือ “กะลา” มันเป็นความคิดที่หลายคนไม่เห็นด้วย (ด้วยเหตุผลมากมาย)  เพราะมันเหมือนเป็นการยัดเยียดให้คลั่งชาติ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับความคิดของคนรุ่นใหม่ ให้เด็กเดินตรงแบบเส้นบรรทัด หลายคนมองว่าคำพูดแบบนี้มันเป็นคำพูดที่สวยหรูเกินไป

    อย่างไรก็ตาม ผู้ชมเขาก็หวังว่าเนื้อหาของภาพยนตร์อาจจะเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งแนวคิดอาหาร “ต้นตำรับ ความคิดแบบเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง” กับ “การประยุกต์ การปรับตัวให้เข้ากับโลกสมัยใหม่” ซึ่งสองแนวคิดนี้ไม่มีผิด หรือถูก

                    หากเมื่อภาพยนตร์ฉายเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา หลายคนดูภาพยนตร์ต่างก็ผิดหวัง เพราะเนื้อหาน่าเบื่อ ไม่มีจุดไคแมกซ์อะไรเลย  รวมไปถึงการยัดเยียดความคิดของคนหัวโบราณว่า “อาหารไทยต้องดั่งเดิม มันคืออาหารไทย” ถูกต้องเท่านั้น อย่างเดียว (ปล. ผมไม่ได้ดูภาพยนตร์ ดูจากบทวิจารณ์มาอีกที ใครดูภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ช่วยบอกผมหน่อย ตกลงว่าภาพยนตร์เสนอแนวคิดแรกว่ามันถูกต้องมากกว่า ใช่หรือไม่

     

     

    พริกแกง


    ปัญหาคือ อาหารไทยดั่งเดิมที่ว่านั้น น้อยมากที่จะเป็นอาหารไทยแท้ๆ เพราะหลายเมนูเหมือนกันที่มีส่วนผสมของวัฒนธรรมของต่างชาติ อย่าง ฝอยทองของเราก็มาจากโปรตุเกส แกงมัสมั่น ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ข้าวหมกไก่ก็เป็นของอินเดีย หรือแม้แต่พริกแกงที่เป็นชื่อภาพยนตร์ต้นตำหรับมาจากอินเดียอีกต่างหาก และแม้แต่พริกขี้หนูที่ใส่อาหารไทยเกือบทุกชนิดทุกวันนี้ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน ไม่ใช่ไทยแท้ๆ ดังนั้นอาหารไทยสมัยก่อนไม่ได้เผ็ดร้อนอย่างที่หลายคนคิด จะเป็นอาหารประเภทแกง ต้ม ปิ้งเป็นส่วนใหญ่ และอาหารท้องถิ่นแท้ๆ จะเป็นอาหารไทยมากกว่า (อาหารไทยแท้คง ต้มผัก, ใบไม้พื้นบ้าน, ปลาปิ้ง, หนอน อะไรแบบนี้แหละ ไทยแท้แน่นอน)

    ดังนั้น การปรับตัวให้เข้ายุคกับสมัยของอาหารไทยมันมีมานานแล้ว แต่ภาพยนตร์ไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้แต่อย่างใด กับคิดว่าอาหารไทย คืออาหารของประเทศไทยจริงๆ และมันกำลังจะหายไป เพราะการดัดแปลงอาหารแบบผิดๆ ทั้งๆ ที่น่าจะมองว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ายุคเข้าสมัย วัตถุดิบมันหายาก เราก็ใช้ทดแทนได้ ของบางอย่างหายไป ของใหม่ก็เข้ามา หรือแม้แต่วิธีปรุงแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน อย่างแกงส้มก็มีหลายวิธีในการปรุง แล้วแต่วัตถุดิบที่หามาได้    มันเป็นสัจธรรมที่พบเห็นทั่วไป ไม่เพียงไทยหรอก ประเทศอื่นทั่วโลกล้วนมีแบบนี้หมด

    ภาพยนตร์พริกแกงจึงถึงวิจารณ์มาก ในเรื่องการยัดเยียด ไทยแท้ ทั้งๆ ที่สังคมไทยกำลังเกลียดเรื่อง “ไม่ไทยเลย”   การถูกยัดเยียดความเป็นไทยมากเกินพอดี ปลุกใจรักชาติ รวมคำคม บทกวี ทำให้คนดูอาจอ้วกแตกทั้งเรื่อง

    ในขณะที่พริกแกงล้มเหลวกับการสื่อความรู้สึกดีๆ กับอาหารไทย การ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่องกับเกี่ยวกับอาหารได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งหลายเรื่องไม่ได้ยัดเยียดต้นฉบับดั่งเดิมเหมือนพริกแกง แม้ว่าอาหารญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องความเก่าแก่ ต้นตำรับ รักชาติ แต่ตัวการ์ตูนหลายเรื่อง (ทุกเรื่องด้วยซ้ำ) ก็นำเสนอการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยด้วย ไม่ได้ย้ำอยู่ที่เดิม รวมไปถึงการใส่ใจคนกิน มากกว่าความถูกต้อง ความเลิศหรูของอาหาร

    ไม่ทราบว่าหลายคนได้ดูรายการ US MasterChef  ที่สาวเวียดนามทำส้มตำ หรือเปล่าครับ ผมได้ดูนัดชิงชนะเลิศนะครับ โดยคู่แข่งของสาวเวียดนามที่เป็นชาวอเมริกันนั้นทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบชั้นเลิศ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อราคาแพง ซอสสุดล้ำลึก แต่สาวเวียดนามกับทำเมนูบ้านๆ ใช้หมูสามชั้นที่พบเห็นทั่วไป รวมถึงการทำส้มตำดัดแปลงมาให้กรรมการกิน (มีแน่ใจว่าส้มตำที่สาวเวียดนามทำ เป็นส้มตำไทย หรือส้มตำเวียดนาม)  โดยหนึ่งในกรรมการอย่างเชฟกอร์ดอน แรมเซย์ (Gordon Ramsay) กรรมการที่ได้ชื่อหินที่สุดกล่าวว่า อาหารมีพื้นเพจากเวียดนาม ... แต่เราไม่ได้อยู่ในเวียดนาม และไม่ได้อยู่ที่บ้าน เล่นทำสาวเวียดนามใจแป๋วไปเลย แต่ปรากฏว่าผลสุดท้ายแล้วอาหารของสาวเวียดนามก็ชนะได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งๆ ที่สาวเวียดนามทำอาหารบ้านๆ แต่สามารถเอาชนะอาหารหรูเลิศได้ ฝีมือล้วนๆ ครับ

    น่าเสียดายที่ เรามีพล็อตดีๆ ที่จะทำให้ภาพยนตร์เกี่ยวกับอาหารไทยไปใช้ แต่คนเขียนบทพริกแกงกับไม่ได้คิดเรื่องนี้ กับเอาเรื่องไทยแท้ๆ (ไม่ไทยเลย) มายัดเยียดเข้าไ

    นอกจากอาหารญี่ปุ่นแนวแล้ว การ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่องยังนำเสนออาหารชาติอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาหารจีน, อาหารอิตาเลี่ยน หรือแม้แต่อาหารไทยก็เคยมี (แถมส่วนมากพระเอกทำอาหารไทยก็ชนะทุกนัด) ที่น่าสนใจคือส่วนมากที่การ์ตูนญี่ปุ่นทำอาหารไทย ก็ไม่ได้ทำตามต้นแบบไทยแท้ๆ เลย แต่เป็นการประยุกต์ให้เหมาะกับการหาวัตถุดิบมาทดแทน อย่างบางเรื่องพระเอกใช้หัวไชเท้าแทนมะละกอทำส้มตำ เพราะมะละกอที่ญี่ปุ่นหายาก

    ใช่แล้วครับ คนญี่ปุ่นทำอาหารไทย แทนที่เราจะภาคภูมิใจ ที่คนญี่ปุ่นศึกษาอาหารไทย แต่พริกแกงกับยัดเยียดว่า “อาหารไทย ต้องคนไทยทำเท่านั้น” แล้วถ้าคนไทยทำอาหารญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นคงไม่สวนกลับว่า “อาหารญี่ปุ่น ต้องคนญี่ปุ่นทำเท่านั้น” แบบนี้ไม่เรียกว่าเป็นการตบหน้า "พริกแดง" เหรอ?

    ถ้าจะหาการ์ตูนดีๆ ที่จะนำเสนอเรื่อง “ต้นฉบับ” VS “ดัดแปลง ประยุกต์”  สักเรื่อง ก็คงจะเป็นเรื่องจอมโหดกระทะเหล็ก การ์ตูนขึ้นหิ้งของหลายๆ คนที่นำเสนอประเด็นเหล่านี้น่าสนใจมากกว่า


     

    Tetsunabe no Jan!

     

    จะว่าไป นี่เป็นบทความแรกที่ผมเขียนการ์ตูนกับอาหาร เพราะปกติผมไม่ค่อยอ่านแนวนี้สักเท่าไหร่ เพราะว่าหลังจากผมอ่านการ์ตูนจอมโหดกระทะเหล็ก ตรรกะที่ผมมองการ์ตูนแนวอาหารแปลกๆ คือ อยากได้แนวอาหารที่จิกกัด ครัวนรกอะไรมากกว่ามังงะแนวทำอาหารที่พระเอกมีคุณธรรม ใส่ใจทำอาหารให้คนอื่น ซึ่งพระเอกแนวทำอาหารส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ ไม่เป็นแบบเชฟจางสักเท่าไหร่

    Tetsunabe no Jan! การ์ตูนที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำอาหาร โดยเฉพาะอาหารจีน เขียนโดย ชินจิ ไซโจ โดยเคย์โกะ โอยามา เป็นผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นช่วง 1995 มีทั้งหมด 27 เล่มจบ

    หลังจากที่จอมโหดกระทะเหล็ก! จบไป ชินจิ ไซโจก็ยังมีผลงานออกมาเรื่อยๆ ส่วนมากเป็นแนวประลองต่างๆ เช่น ช่างไม้ ตนทำบะหมี่ แต่ส่วนใหญ่โดนตัดจบหมด ทำให้จอมโหดกระทะเหล็กที่เป็นผลงานสร้างชื่อที่สุดก็กลับมาต่อภาคใหม่อีกครั้ง โดยภาคสองใช้ชื่อ Tetsunabe no Jan! R - Choujou Sakusen (2005) และปัจจุบันก็พึ่งมีภาคใหม่เมื่อปีที่ 2015 ที่ผ่านมา

                    จอมโหดกระทะเหล็ก! ได้กล่าวถึงอากิยามะ จาง พระเอกที่เป็นพ่อครัว (กุ๊ก) ที่ได้รับการฝึกฝนการทำอาหารจีนจากปู่ที่มีฉายาว่า “ราชาอาหรจีน” ในป่า อย่างเข้มข้น (ทั้งทำร้ายร่างกาย, ดุด่า) จนทำให้เขาเก่งอาหารจีน หลังจากที่ปู่เสียชีวิต จางก็ได้เข้าทำงานที่ร้าน “โกบังโจ” ร้านอาหารจีนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นที่ “โกบังโจ มิซึจุ” ผู้เป็นคู่หูและคู่แข้งของปู่ของจางเป็นเจ้าของ

                    เพียงแค่วันแรก จางก็เปิดศึกกับพวกรุ่นพี่แบบไม่น่าประทับใจเท่าใดนัก นอกจากนั้นเขาก็ยังพบ “โกบังโจ คิริโกะ” ผู้เป็นหลานสาวของมิซึจุ ทั้งคู่ไม่ถูกชะตาสักเท่าไหร่ เพราะมิซึจุมองว่าจางเป็นพวกสร้างปัญญา แถมสไตล์ทำอาหารที่เต็มไปด้วยโกลาหล นอกคอกจนไม่สามารถเรียกพ่อครัวได้ แถมจางยังเป็นศัตรูกับโอทานิ นิจิโดนักวิจารณ์อาหารฉายา “ลิ้นเทวดา” จนทำให้โอทานิผูกใจแค้น ก็ยิ่งทำให้ปัญหาต่างๆ เข้ามาในร้านโกบังโจอยู่เสมอ

                    จอมโหดกระทะเหล็กนั้นเป็นการ์ตูนที่อยู่ในใจของคนไทยมาช้านาน น่าจะเป็นการ์ตูนที่คอการ์ตูนบ้านเรารู้จักมากที่สุด แม้ว่าตอนนี้จะมีการ์ตูนทำอาหารอย่างโซมะ เข้ามาสร้ากระแสพักใหญ่ แต่จอมโหดกระทะเหล็กก็ยังโดดเด่นอยู่ดี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ การ์ตูนเป็นแนวทำอาหารจีน ที่ค่อนข้างสากลกว่าอาหารญี่ปุ่น  อาหารหลายอย่างพอคุ้นหน้าคุ้นตาของไทย รูปร่างหน้าตาอาหารก็น่ากิน บางอย่างก็หลุดโลก แต่ก็โดดเด่น น่าจดจำ (เนื้อนกกระจอกเทศสอดไส้ไข่แมลงวัน เป็นที่น่าจดจำมากๆ ) เนื้อหาก็ดำเนินเรื่องเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการดวลอาหารว่าของใครอร่อยกว่าและดีกว่า นอกจากนี้เหล่าพ่อครัวและแม่ครัวในเรื่องค่อนข้างมีฝีมือทำอาหารเก่งมาก บางทีอาจเก่งกว่าพระเอกในการ์ตูนทำอาหารหลายเรื่องรวมกันด้วยซ้ำ (สาเหตุที่ดูเก่ง เพราะลีลาทำอาหารที่ดุเด็ดเผ็ดมัน รวมไปถึงคติประจำตัวในการทำอาหารของตัวละครในเรื่อง ว่าแต่ละคนมีรูปแบบในการทำอาหารยังไง โดยเฉพาะคติประจำตัวของพระเอกที่ดูแล้วจะเหนือกว่าความคิดของพระเอกแนวอาหารหลายเรื่องด้วย)

                    แม้เนื้อหาจะวนเวียนเกี่ยวกับการต่อสู้ของเชฟจางกับพ่อครัวคนอื่น แต่ตัวการ์ตูนนั้นก็สอดแทรกอะไรหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะคติประจำตัวของพ่อครัวว่าพวกเขามองการทำอาหารว่าอะไร ซึ่งเชฟจางมีทัศนคติในการทำอาหารว่า “อาหารคือการดวล” นั่นคือการทำอาหารนอกจากจะใส่ใจคนทานแล้ว มันจะต้องทำให้ชนะได้ด้วย ซึ่งเชฟจางจะทำอาหารเพื่อเอาชนะทั้งคนกิน และคู่แข่ง แม้ว่ามันจะขาดจริยธรรมของพ่อครัวก็ตาม  (กรณี ไข่แมลงวันในเนื้อนกกระจอกเทศ และอาหารบางอย่างก็มีผลเสียต่อผู้กินด้วย เช่น ซุปเห็ดพิษ)

                    ก็ต้องเข้าใจในตัวของเชฟจาง เพราะตัวเขานั้นถูกเลี้ยงดูอย่างเข้มข้นด้วยปู่ที่มีนิสัยเผด็จการ และสอนที่ค่อนข้างใช้ความรุนแรง จนทำให้เด็กกดดัน ขาดความอบอุ่น ไม่มีเพื่อน สิ่งที่มีมีเพียงการทำอาหารจีน และความใฝ่ฝันว่าจะอยู่จุดสูงสุดของการทำอาหารจีน แม้ว่าเชฟจางจะเก่ง แต่เพราะการเลี้ยงดู ทำให้เชฟจางกลายเป็นคนชอบใช้ความรุนแรง ไม่รู้จักถ่อมตัว ทะนงตน จนเป็นเหตุทำให้คิริโกะที่เป็นแม่ครัวในร้านเดียวกัน ไม่ชอบขี้หน้า เพราะเธอคติ “อาหารคือจิตใจ” ที่หมายถึงการทำอาหารโดยคำนึงถึงความชอบของผู้กิน (ซึ่งจะว่าไปคิริโกะก็คือตัวแทนของพระเอกทำอาหารที่มีจิตใจดีหลายเรื่องนั้นแหละ)

                    แม้ว่าเชฟจางจะเป็นพระเอกที่ค่อนข้างเถื่อนในสายตาคนอื่น แต่ด้านลึกๆ แล้วเชฟจางก็เป็นพ่อครัวที่มีฝีมือ รู้จักการพัฒนาตนเอง รู้จักสร้างสรรค์ เรียนรู้ข้อผิดพลาดตนเองแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น

     

     

     

                    นอกจากนี้เนื้อหาจอมโหดกระทะเหล็กก็มีเรื่องของ “ดั่งเดิม” และ “ดัดแปลง” สอดแทรกเข้ามาด้วย

                    แม้ว่าภาพยนตร์พริกแกงจะสอบตกในการนำเสนอเรื่อง “ดั่งเดิม” และ “ดัดแปลง” ได้อย่างน่าเบื่อ แต่จอมโหดกระทะเหล็กนั้นนำเสนอว่าทั้งสองแนวคิดนั้นไม่มีถูกหรือผิด (แม้ว่าแบบ "ดัดแปลง" จะออกไปทางชนะขาดก็เถอะ) ผ่านการทำอาหารจีนได้อย่างน่าสนใจ ไม่ยัดเยียด

                    ไม่ว่าจะเป็นอาหารชาติใดก็ตาม แนวคิด “ดั่งเดิม” และ  “ดัดแปลง” นั้นจะต้องไปด้วยกันครับ (ไม่เหมือนภาพยนตร์ “พริกแกง” ที่เน้นย้ำหรือเกินว่าจะต้องดั่งเดิมเท่านั้น) กล่าวคือหน้าที่ของพ่อครัว (เชฟ) นอกจากหน้าที่ทำอาหารแล้ว พวกเขาก็ต้องคงอาหารดั่งเดิมเอาไว้ และจะต้องพัฒนาสร้างสรรค์อาหารใหม่ๆ ตามสไตล์ของตนเองด้วย เพื่อไม่ให้อาหารหายไป การรักษาอาหารสูตรดั่งเดิมไม่ผิด การคิดของใหม่ก็ไม่ผิด การหาสิ่งทดแทนก็ไม่ผิด

                    หากใครอ่านจอมโหดกระทะเหล็กจะพบว่า การ์ตูนพยายามต่อสู้สองแนวคิดระหว่าง “อาหารดั่งเดิม” และ “อาหารดัดแปลง” เหมือนกัน แถมส่วนมากอาหารดัดแปลงชนะอาหารดั่งเดิมด้วยซ้ำ อย่างมีอยู่ตอนหนึ่งคู่แข่งเขาทำอาหารจากซอส XO มาแข่งขัน แต่จางกลับทำซอสที่เหนือกว่า XO ด้วยการทำซอสสไตล์ของตนเองขึ้นมาจนสามารถเอาชนะได้ หรือบางตอนเชฟจางทำอาหารจีนดั่งเดิมแท้ๆ มาให้กรรมการ กรรมกลับบอกว่ามันไม่สร้างสรรค์ จนทำให้เชฟจางแพ้ไปเลยก็มี

                    แม้ว่าเชฟจางจะเป็นเชฟที่ลองแนวคิดใหม่ๆ   แต่ก็ไม่ได้ทิ้งอาหารดั่งเดิม มีหลายตอนเลย ที่เชฟจางทำอาหารจีนสไตล์โบราณเอาไว้ อย่างเช่น นึ่งปลาสไตล์โบราณที่ตอนแรกๆ หลายคนที่ทานบอกว่ามันไม่สุก หากแต่หารู้ไม่ว่านี้คือการนึ้งสไตล์จีนโบราณที่หาดูได้ยาก จนทำให้หลายคนอึ้งเลยทีเดียว

                    นอกจากเชฟจางแล้ว ก็มีเชฟคนอื่นๆ ที่ทำอาหารจีนดัดแปลง ให้เข้ากับตะวันตก อย่างเชฟหญิงเซลีน หยางที่ลูกครึ่งฮ่องกง-ฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นที่ทำอาหารฝรั่งเศสแต่ใช้วัตถุดิบอาหารจีนซึ่งอาหารเธอเอาชนะคู่แข่งที่เน้นทำอาหารสไตล์ดั่งเดิมไปหลายคน หรือจะเป็นเชฟซาโตดะ (จากภาค R) ก็ทำอาหารจีนแต่สไตล์ตกแต่งดูหวือหวาแบบตะวันตก ทำให้อาหารจีนที่หลายคนมองแบบว่ามันเป็นอาหารบ้านๆ กลายเป็นอาหารหรูแพงลิบลิ่วได้

                    บ้านเราเองก็มีการสนับสนุน “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และ“อาหารไทยไปสากลโลก” ครับ หากใครได้ดูเชฟกระทะเหล็ก เวลาเชฟบุญธรรมที่ทำอาหารไทย ก็ดัดแปลงอาหารไทยที่บ้านๆ ในสายตาของหลายคน ให้ดูสากลมากขึ้น ใช้วัสดุดิบตะวันตกผสมผสานในอาหารไทย จนทำให้อาหารไทยมีหวือหวา ถูกปากกับชาวต่างชาติมากขึ้น

                     น่าเสียดาย “พริกแกง” กลับละเลยในจุดเหล่านี้ “อาหารดั่งเดิม” อาหารไทยแท้ไม่มีอยู่จริง การดัดแปลงอาหารไทยไม่ใช่สิที่ผิด แต่ภาพยนตร์กลับสร้างตัวละครที่เรียกว่า “ไดโนเสาร์” ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับการดัดแปลง ดูถูกอาหารดัดแปลง ดูถูกคนทำอาหารดัดแปลง สอนคนแบบนกแก้วนกขุนทอง ขีดเส้นบรรทัดเอาไว้ ห้ามออกนอกเส้น การแต่งกาย การตัดผมจะต้องสุภาพเรียบร้อย (ไม่พับเพียบทำอาหารไปเลยละ สุภาพพอหรือยัง) หกลายคนมองว่าอาหารไทยมันจะหายไป เพราะคนในเรื่องนี้แหละ ที่ทำอาหารไทยเป็นอาหารสูง กินไปกราบไป แทนที่จะมองอาหารคือ ความสุขของผู้กิน ความพอใจของผู้กิน ประโยชน์ที่ได้รับจากอาหาร มากกว่าแท้ๆ

                    อาหารเกือบทุกชาติมีรากเหง้ามาจากทุกวัฒนธรรม จงอย่าอายว่าอาหารไทย ไม่ใช่ไทยแท้ แต่มองว่าอาหารไทยคืออาหารที่มีการสร้างสรรค์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

                    จอมโหดกระทะเหล็กไม่ได้ยกอาหารอยู่สูง เหมือน “พริกแกง” แม้เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับอาหารจีนที่มีอายุเป็นพันๆ ปี มากกว่าอาหารไทยด้วยซ้ำ แต่ความคิดของอาหารจีนในจอมโหดกระทะเหล็กคืออาหารที่จับต้องได้ กินได้ทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้น แล้วแต่รสนิยมของผุ้กิน อาหารจีนสามารถพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด การปรับปรุงสไตล์การทำอาหารตามแบบของตนเอง  ซึ่งนี้แหละที่การ์ตูนจอมโหดกระทะเหล็กพยายามสอดแทรก  นำเสนอ

    ไม่เพียงจอมโหดกระทะเหล็กท่านั้น การ์ตูนทำอาหารทั้งเรื่อง ไม่ได้คลั่งชาติ หรือเน้นการอนุรักษ์นิยมอ่าน อย่างการ์ตูนยอดเชฟครัวท่านทูต (Le Chef Cuisiniers De L'Ambassadeur) หนึ่งในการ์ตูนทำอาหารดีๆ ที่หลายคนมองข้าม ก็กล่าวเรื่องการอนุรักษ์นิยมเหมือนกัน ซึ่งเนื้อหาการ์ตูนไม่ได้เน้นเรื่องชาตินิยม ต้องทำสูตรแป๊ะๆ  เนื่องด้วยพระเอกเป็นพ่อครัวที่ศึกษาอาหารหลายชาติ ต้องทำงานที่ต่างประเทศ จนมีบางครั้งที่เขาไม่สามารถทำวัตถุดิบที่ทำอาหารดั่งเดิมได้ ทำให้ตัวพระเอกก็จำเป็นต้องทำอาหารโดยใช้วัตถุในท้องถิ่นนั้นมาทดแทน แม้บางคนจะไม่เห็นด้วยเพราะมองว่า “มันไม่ใช่อาหารญี่ปุ่น” ก็ตาม ซึ่งพระเอกก็ตอบว่า “ต่อให้ใช้วัตถุดิบอื่นมาแทน แต่ถ้ามีจิตวิญญาณของญี่ปุ่นก็จะสื่อถึงจิตใจที่ไร้พรมแดนได้”  

    หากภาพยนตร์ “พริกแกง” พยายามนำเสนอเกี่ยวกับ ความงดงามอาหารไทย (ทั้งหน้าตา และรสชาติ) และการอนุรักษ์อาหารไทย ถือว่าสอบตก เพราะภาพยนตร์ของคุณทำให้คนดูมองว่าเป็นภาพยนตร์ไดโนเสาร์ที่มีความคิดล้าหลัง การยกอาหารไทยสวยแบบจับต้องไม่ได้   ทำให้บางคนมองว่า ไม่แปลกหรอกว่า อาหารไทยดั่งเดิมมันสูญพันธ์ หากินยาก  การทำตามสูตรแป๊ะๆ มันอาจเป็นการอนุรักษ์รสชาติดั่งเดิมอาหารของไทยไว้ แต่มันไม่ช่วยในระยะยาว ทำให้ไม่สามารถเผยแพร่เป็นวงกว้างได้

    ทั้งๆที่การ์ตูนญี่ปุ่นมีพล็อตมากมาย แต่คนเขียนบทพริกแกงกลับไม่เอามาใช้  กลับเลือกโรงเรียนสอนทำอาหารที่สอนแบบขีดเส้นบรรทัด มากเกินไป  แทนที่จะนำเสนอว่า “ดั่งเดิม” และ “ดัดแปลง” สองแนวคิดจะต้องไปด้วยกัน  ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ มันเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่รักษาความดั่งเดิม ในขณะเดียวกันก็คิดค้นการสร้างสรรค์ใหม่ๆ และการใส่ใจต่อผู้กินด้วย ถ้าภาพยนตร์เน้นนำเสนอเรื่องเหล่านี้ ผมว่าน่าจะเป็นภาพยนตร์ทำอาหารที่ดีเรื่องหนึ่งทีเดียว (และน่าเสียดาย น่าจะมีการแข่งขันทำอาหาร แบบรายการเชฟกระทะเหล็กคงน่าตื่นเต้นไม่น้อย)

    อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยผมไม่ได้ดูภาพยนตร์ “พริกแกง” จึงไม่รู้ว่าตัวภาพยนตร์นั้นนำเสนอเรื่อง “ดั่งเดิม” และ “ดัดแปลง” มากเพียงใด แต่สิ่งที่รู้คือ “พริกแกง” กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่น่าผิดหวังสำหรับใครหลายคนแห่ปี 201466 แน่นอน จากที่อ่านบทวิจารณ์มา

                   





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×