ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #405 : กาซาปอง-นรกของคนเล่นเกมสมาร์ทโฟน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.74K
      9
      10 ส.ค. 59

    เอาตรงๆ ว่าช่วงนี้นึกเรื่องที่จะเขียนไม่ออก ดังนั้นในบทความนี้ วางหนังสือการ์ตูนมาพูดเรื่องเกมดีกว่า ความจริงอยากเขียนในเรื่องจริงทะลุโลกนะ แต่กลัวคนมาด่าว่า “ไม่เห็นเกี่ยวกับความรู้เลย” เลยมาบ่นในที่แทน อย่างน้อยบทความนี้ก็พูดเรื่องวีดีโอเกมมาบ้างแล้ว

    ครับ บทความนี้เราจะพูดถึงวีดีโอเกม แต่เป็นเกมออนไลน์+เกมมือถือ+เกมสมาร์ทโฟน

    แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าช่วงนี้กระแสเกมโปเกมอนโกจะดังยังไงก็ตาม ผมก็ไม่พูดถึง เพราะสิ่งที่ผมจะมาบ่นบทความนี้ก็ระบบ “กาซาปอง” (สั้นๆ เรียกว่า “กาซ่า” สิ่งที่อภิมหาเซ็งที่สุดสำหรับผู้เล่นเกมมือถือ และสร้างความเกลียดชังแตกแยก หากมีคนมาถามว่า “พี่ๆ ตัวนี้ดีไหมครับ สายฟรีครับ” พร้อมกับภาพตัว SSR มาให้เห็น

    สมัยก่อนนั้นวีดีโอเกมถือว่าเป็นเรื่องไกลตัวของไทยไปสักหน่อย เพราะว่าหากเราถามรุ่นพ่อ รุ่นอา จะพบว่าสมัยก่อนนั้นการที่จะเล่นวีดีโอเกมสักเกมนั้นถือว่าเป็นเรื่องยาก เพราะวีดีโอเกมแฟมิคอม หรือตลับเกมนั้นหายาก อีกทั้งราคาแพง (สาเหตุที่ราคาแพงเพราะสมัยก่อน วัสดุที่ทำตลับหายาก และมีราคาสูง) ดังนั้นคนที่เล่นวีดีโอเกมแฟมิคอมได้ จะต้องมีฐานะ หรือปานกลางระดับหนึ่ง หรือไม่ก็เล่นตามร้านเช่าเกม (สมัยก่อนมีร้านเช่าเกมแฟมิคอม และต่อมาก็มีเช่าเล่นซูเปอร์แฟมิคอม และต่อมาก็เกมเพลย์ และปัจจุบันก็ร้านเช่าเล่นเกมออนไลน์คอมพิวเตอร์ด้วย)

    ปัจจุบันวิวัฒนาการวีดีโอเกม จากตอนแรกๆ เน้นระบบเกม หันมาเน้นกราฟฟิก อันไหนกราฟฟิกเลิศกว่า หญ้ามีรายละเอียดสวยงามเพียงใด ก็ยิ่งชนะเลิศ แน่นอนมันจะต้องใช้เวลา เทคโนโลยีในการสร้างสูง เพื่อให้เหล่าแฟนๆ ที่ชื่นชอบ แต่ในอีกมุมหนึ่ง จนกระทั่งปัจจุบันสมาร์ทโฟนเริ่มมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของใครหลายคนไปแล้ว และผลพลอยตาคือเกมประจำสมาร์ทโฟนก็เริ่มเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นมาด้วย

    ตัวผมสมัยก่อนนั้น ค่อนข้างเสพเกมพอสมควร คือนิสัยส่วนตัวก็มีนิสัยชอบเอาชนะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แถมสมัยก่อนนั้นเกมมันโครตหินยากนรกมาก สำหรับเด็กและซูเปอร์มาริโอภาคแรกมันเป็นอะไรที่ยากมาก แต่ยิ่งยากก็ยิ่งติด อยากเอาชนะ เมื่อชนะก็หาอะไรใหม่ๆ อีก  แม้แก่ตัวมานิสัยอยากเอาชนะในเกมก็ยังมีอยู่ เพียงแต่มันวิวัฒนาการในรูปแบบใหม่ๆ อยู่ นั่นคือ “ต้องการได้ไอ้นั่น”

     

     

    โลกนี้ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ

    (มิลตัน ฟรีดแมน)

     

     

    โลกนี้มามีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ แม้เจ้าของประโยคนี้คือมิลตัน ฟรีดแมน จะเสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคง่ใช้ทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน  มันมีความหมายว่าทกอย่างบนโลกล้วนมีต้นทุน สินค้าจะต้องจ่ายเงินซื้อ การจะได้อะไรก็ต้องซื้อ หรือของบางอย่างเหมือนจะฟรีแต่เอาเข้าจริง จุดประสงค์ของมันคาดหวังเงินเราในระยะยาว

                 แม้แต่เกมสมาร์ทโฟนก็เป็นอย่างหลัง

    เกมสมาร์ทโฟนถูกเรียกว่า  Free-To-Play (ซึ่งมันก็ไม่ได้ฟรีเหมือนกับชื่อมันแต่อย่างใด) อันหมายถึงเกมโหลดเล่นฟรี สมัยก่อนนั้น  Free-To-Play ไม่มีอยู่ในตลาดมักนัก (หรือถ้ามีก็น้อยมาก) เพราะสมัยก่อนเกมจะเป็นแบบ  Pay-to-pla จ่ายเงินก่อนเพื่อเล่นเกม เวลาเราจะเล่นเกม (คอนโซล หรือเกม PS) อะไรก็ต้องใช้เงินซื้อเครื่องเกม และเกมมาเล่น ซึ่งจะที่ใช้เงินจำนวนมากพอสมควร

    หากแต่ปัจจุบันเกม Free-To-Play ได้เริ่มเข้ามาในชีวิตของหลายคน  พร้อมกับสมาร์ทโฟนเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเจ้าเกมสมาร์ทโฟนก็คือเกมที่ผู้เล่นโหลดเล่นฟรีก็สามารถเล่นได้  โดยไม่ต้องเสีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

    แต่ “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี”  อย่างที่บอกเอาไว้ ว่าเกมสมาร์ทโฟน (ผมขอเรียก Free-To-Play ว่าเกมสมาร์ทโฟนนะครับ) เป็นเกมที่โหลดฟรี แต่มันไม่เป็นการดีแน่นอนสำหรับบริษัทพัฒนาเกม ดังนั้นพวกเขาต้องหาวิธีอื่นที่หารายได้ และมันเป็นวิธีที่แยบยล ดีไม่ดี เกมสมาร์ทโฟนบางเกมจะทำให้เสียเงินมากกว่าซื้อเครื่องเล่นวีดีโอเกมบอกกับแผ่นเกมเกรด A ด้วยซ้ำ โดยที่เราไม่ทันคาดคิด หรือกว่าจะรู้ตัวก็สายไปแล้ว

    มีหลายกลยุทธ์ ในการเชิญชวนให้คนเสียเงินจริงๆ กับเกมฟรี เริ่มจากวิธีนิยมคือ การซื้อของในร้านค้าในเกม แต่ว่าเงินที่ใช้ซื้อนั้น ไม่ใช่เงินที่หาได้จากเกม แต่ต้องใช้เงินจริงๆ มาซื้อ

    สมมุติว่าเราต้องการซื้อของในเกมหนึ่ง โดยต้องใช้เพชร 100 เม็ด แต่ปัญหาคือเพชร 100 เม็ดไม่ได้หาได้ตามปกติจากในเกม  หรือบางเกมถ้ามี ก็จะเป็นการสะสมจากการเคลียร์อีเวนส์ต่างๆ ซึ่งน้อยมาก ใน๘ระที่ของบางอย่างเราอยากได้มากกว่านั้น และต้องการได้เร็วๆ ดังนั้นเราจะต้องเติมเงินจริงเพื่อซื้อของนั้น เพราะมันรวดเร็วกว่าเสียเวลาเล่นเคลียร์อีเวนส์แต่ละอีเวนส์ที่ช้ามาก

    แน่นอนว่าผู้เล่นบางคนเล่นเกม ตอนแรกไม่คิดว่าจะต้องเสียเงินเหมือนกัน ในตอนแรกๆ เกมสมาร์ทโฟนส่วนมากเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เล่นเข้าใจระบบของเกม สอนวิธีการเล่นให้เข้าใจรวดเร็ว จากนั้นก็ให้ผุ้เล่นเกมในด่านที่ง่ายๆ ง่ายชนิดว่าหลับตาก็สามารถผ่านด่านได้ จากนั้นด่านของเกมก็เริ่มยากขึ้น ยากขึ้น ผู้เล่นก็เริ่มต้องใช้ความสามารถในการเล่น รวมไปถึงการหาตัวช่วยให้เล่นเกมง่ายขึ้น และนั่นเองการซื้อของด้วยเงินจริงที่ร้านค้าเกมก็ทำให้ผู้เล่นสามารถเอาชนะด่านที่ยากได้อย่างง่ายดายนั่นเอง

    ของที่ร้านค้านั้นจะแตกต่างกัน แล้วแต่ประเภทของเกม พูดง่ายๆ เกือบทุกประเภทต้องเสียเงินซื้อของ เป็นต้น ว่า การปลดล็อกตัวละครในเกม RPG ที่เก่งกว่าเดิม (กาซาปองนั่นเอง), ไอเท็มเครื่องประดับเสริมความสามารถ, อุปกรณ์แต่งหน้าตา อาวุธให้สวยเลิศอวดคนอื่น (แม้ว่าเครื่องประดับนั้นจะไม่ได้เพิ่มคววามสามาถตัวละครก็ตาม)

    ปกติแล้วคนเล่นเกมแล้วติด จะมีนิสัยชอบเอาชนะ และจะต้องเอาชนะได้ให้เร็วที่สุด ไม่มีการค้างคา ซึ่งผมเคยอ่านบทความหนึ่งว่าคนเล่นติดเกมจะหลั่งสารหนึ่ง และจะมีความสุขมากที่สามารถเอาชนะเกมที่ยากได้ และต้องการความท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก และเกมก็ตอบสนองด้วยการเพิ่มด่าน เพิ่มความทาทายใหม่ๆ รวมไปถึงตัวช่วยที่เสียเงินให้น่าสนใจมากขึ้น

     

     

    การที่ต้องการให้ได้สิ่งที่เราต้องการ การต้องการตัวช่วยที่เอาชนะเกมที่โหดหินได้ และความต้องการเก่งกว่าคนอื่น ทั้งหมดล้วนทำให้แรงจูงใจทำให้เราต้องเสียเงินในร้านค้ามากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะเกมฟรีทุกเกมจะประสบความสำเร็จ เพราะตัวคนเล่นเองก็มีนิสัยที่คาดเดาได้ยาก เพราะพวกเขาเองก็จะต้องตัดสินด้วยว่าเกมมือถือไหนที่พวกเขาจะเล่น ยินดีที่จะเสียเงิน บางคนแค่โหลดฟรีเล่นดูว่ามันดีไหม ถ้าไม่ดีก็ลบ และหาเกมฟรีใหม่ต่อไป ซึ่งนั้นจะต้องมีการแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว คือ ก่อนอื่นต้องให้เกมฟรีนั้นเป็นที่รู้จักของผู้เล่น ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกในเกม ทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าไม่เสียดายที่เสียเงินกับการซื้อของในเกม ด้วยการทำให้เกมมีระบบที่สนุก เข้าใจง่าย ตัวละครในเกมมีเสน่ห์ สวย เท่ หล่อ ในขณะเดียวกันก็มีความท้าทายกับผู้เล่นด้วย

    และเมื่อผู้เล่นชอบแล้วบอกปากต่อปาก จนมีจำนวนคนเล่นเกมมากเท่าไหร่ ก็สร้างรายได้มากเท่านั้น (จริงอยู่ที่ไม่ใช่ ผู้เล่น 100 % ที่เติมเงิน แต่ถ้าในจำนวนไม่กี่เปอร์เซ็นต์เหล่านั้น คิดเป็นผู้เล่นจำนวนแสนคน เติมเงินทีละ 100-500 บาทละ มันก็จะสร้างมูลค่ากับเกมมูลค่ามากขึ้น ไม่แปลกเลยที่ทำให้บริษัทเกมคอนโซลอย่าง นินเทนโด และโคนามิเองก็สนใจตลาดเกมฟรีจนต้องเอาแฟรนไชส์ชื่อดังของตนบุกตลาดเกมฟรีสมาร์ทโฟนด้วย

    และเพราะความอยากนี้เอง ทำให้เราเสียไปกับเงินสมาร์ทโฟนไปมากกว่าเกมคอนโซลด้วยซ้ำ  แม้จะไม่ได้เสียเงินจำนวนมากในทีเดียว แต่เป็นการเสียเงินจำนวนน้อยแต่ต่อเนื่อง และหากเราติดเกมนั้น เสียเงินทุกสัปดาห์ ทุกเดือน จำนวนเงินก็ยิ่งมาก

    สมัยก่อน ร้านค้าไอเท็มในเกมสมาร์โฟนเป็นระบบตรงไปตรงมา คืออยากได้อะไรก็ใช้เติมเงินซื้อ และก็ได้ตามนั้น ใครเติมมากก็เทพ จนกลายเป็น “เทพทรู”  (แต่คุณก็ต้องเล่นบ่อยๆ เพื่อเก็บเลเวลอยู่ดี ไอเท็มพวกนี้ทำให้เราเก่งกว่าปกติเท่านั้น) หากแต่ปัจจุบันมีระบบหนึ่งที่ทำให้เราเสียเงินมากขึ้นแบบไม่รู้ตัว  และช้ำใจกว่านั้นจ่ายมากใช่ว่าเราจะได้ของที่ต้องการ มันคือระบบที่เรียกว่า “กาชาปอง”

    กาชาปอง (Gachapon) เป็นสิ่งที่พบเห็นมากในญี่ปุ่น ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือกล่องแคปซูลขนาดเท่าฝ่ามือ ภายในบรรจุของเล่น ไม่ก็ขนม  (แล้วแต่ตู้นั้นจะให้อะไร) โดยหากใครสนใจสามารถเล่นได้โดย หลยอดเหรียญ แล้วหมุ่นหรือกดเพื่อให้แคปซูลภายในตู้ออกมา แล้วลุ้นว่าข้างในจะได้อะไร ซึ่งส่วนมากกาซาปองของญี่ปุ่นนั้นมีเสน่ห์มาก ส่วนมากเป็น ฟิคเกอร์ตัวละครจากมังงะ, วีดีโอเกมหรืออนิเมะที่มีรายละเอียดสูง ดูแล้วน่ารัก สวยงาม น่าสะสม ทำให้มีบางคนสะสมของในกาชาปอง และล่าให้มันครบชุดนั้นด้วย

    สเน่ห์ของกาชาปองนั้นไม่ได้อยู่ที่ความอยากได้สินค้า แต่มันเล่นที่ “ความหวัง” ของจิตใจของมนุษย์ ที่ต้องการลุ้นว่าข้ามในคืออะไร หากได้ของดี ก็ยิ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกดีใจ ในขณะเดียวกันหากผิดหวัง ได้ตัวไม่ดี ตัวซ้ำ ก็ยังมีแรงอยากเปิดซ้ำอีก เพราะคิดว่าอีกครั้งน่าจะได้ตัวที่หวังไว้

     

     

    และที่เลวร้ายคือหากเราต้องการสิ่งที่ต้องการ (สมมุติฟิคเกอร์) จากการเปิดกาซาปอง แล้วเกิดมันไม่ได้ขึ้นมา เราก็เปิดใหม่อีก แล้วก็ไม่ได้อีก เราเปิดหาใหม่อีก เปิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า กว่าจะได้ก็มารู้สึกตัวว่าเราหมดเงินมากกว่าต้นทุนของสิ่งของที่อยู่ในกาซาปองด้วยซ้ำ แม้จะรู้แบบนั้นเราก็ยังคงบ้ากาซาปองต่อไป จนมันเหมือนยาเสพติดที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดยังไงอย่างนั้น

    แน่นอน เมื่อผู้สร้างเกมได้ตระหนักถึงความน่ากลัวของกาซาปองดี พวกเขาจึงใส่ระบบกาซาปองเข้าไปในเกมสมาร์ทโฟนด้วย จากที่ผ่านมาเราเติมเงินแล้วใช้เงินซื้อสินค้าแบบตรงๆ จะซื้ออะไรก็ได้อย่างงั้น มาบัดนี้ก็เปลี่ยนเป็นระบบกาซ่า (ขอเรียกสั้นๆ แบบนี้นะครับ) จ่ายเงินเพื่อให้ระบบสุ่มสินค้าในร้านค้าแทน แล้วเราก็ต้องลุ้นว่าสินค้าที่เราได้นั้น จะเป็นของที่เราต้องการหรือเปล่า  

     ช่วงๆ เกมสมาร์ทโฟนที่มาจากญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เกมจีน  มักใช้ระบบกาซ่าสุ่มหาของเกือบทั้งสิ้น และส่วนมากจะเป็นเกม RPG

    ระบบเกม RPG ของมือถือนั้นค่อนข้างแตกต่างจากระบบเกม RPG คอนโซลที่เราเล่นกัน ส่วนมากจะเกม RPG สมาร์ทโฟนส่วนมากจะคล้ายๆ กัน กว่าคือ เราจะจัดตัวละครเป็นกลุ่ม (แต่ละตัวละครมีความสามารถแตกต่างกัน และนำมาสู้กับฝ่ายตรงข้าม หากตัวละครแข็งแกร่งกว่า (เลเวล, เครื่องประดับ ที่เราอัฟให้ตัวละคร) ก็ชนะไป  ส่วนมากเมื่อถึงฉากสู้กันก็ลุ้นเอาว่าใครชนะ บ่างเกมก็ใส่คำสั่งท่าไม้ตายด้วยการกดปุ่มประจำตัวละครนั้นๆ นอกจากนี้ก็มีการทำเควสเล็กๆ น้อย (ลงเนื้อเรื่อง, ทำตามเงื่อนไขประจำวัน, ลงโคลอมเซียสู้กีบผู้เล่นกันเอง แต่ส่วนมากก็ไม่ซับซ้อน เป็นต้นว่า  Dot Arena.  หรือจะซับซ้อนหน่อยก็ Granblue Fantasy

    แต่ใช่ว่าระบบเกม RPG เกมมือถือจะเหมือนกันหมด หลายเกมก็พยายามสร้างแบรนด์ของตนเองให้แตกต่าง อย่างผมเคยเล่นอย่าง Dragon ACE ก็ใช้ระบบไพ่โป๊กเกอร์มาดัดแปลงทำให้ตัวเกมน่าสนใจขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเกม RPG จะมีระบบแบบไหน สิ่งที่เหมือนกันคือ สิ่งที่จะทำให้เกมเก่งขึ้นก็คือ การสะสมตัวละคร ซึ่งในเกมมีตัวละครมากมาย มากกว่า 100 ตัว ให้สะสม (กดเงินหา) แต่ละตัวแบ่งเกรดตามความสามารถ หากตัวไหนเก่งมากกว่า ก็เรตมาก และหายากมากขึ้นเท่านั้น จาก E ไปถึง SS (หรือ SSR)

    แน่นอน หากเราต้องการจะเก่งในเกม RPG สมาร์ทโฟน สิ่งแรกเราจะต้องได้ตัวละครดีๆ เข้าในกลุ่มให้ได้เสียก่อน ประมาณว่าตัวละครดีมีชัยกว่าครั้ง อัฟอะไรก็ไม่เสียหาย (นอกจากตัวละครแล้วก็มีอาวุธดีๆด้วย)

    แถมตัวละครเกม RPG แต่ละเกมล้วนโมเอะ (แม้ว่าคาแร็คเตอร์จะซ้ำๆ คล้ายกับอนิเมะโน้นนี้นั้นก็เถอะ) ตอนแรกๆ ตัวละครระดับต่ำ ระดับ F ไม่เท่าไหร่ หากแต่พอระดับสูงขึ้นไป จนถึงระบบ SS ตัวละครโครตสวยเวอร์อลังการ ทั้งหล่อ โมเอะ  ทั้งเก่งทั้งสวย สิ่งเหล่านี้คือสิ่งเย้ายวนให้หลายคนกดกาซ่ามากขึ้น

    แม้ว่าระบบกาซ่าจะเหมือนสนุก ได้ลุ้น แต่สำหรับคนที่เสพกาซ่าไปนานๆ มันก็คือนรกๆ ดีๆ นี้เอง เพราะแทนที่จะจ่ายเงินซื้อของที่ต้องการไปเลย กลับมาต้องลุ้นอีกทีว่าเงินที่เสียไปกับกดกาซ่า เรากดกาซ่าได้ของที่เราต้องการหรือเปล่า หากใครกดครั้งเดียวได้ของ (ส่วนมากเป็น ตัวละคร) ที่ต้องการก็ดีไป แต่บางคนหมดเงินเป็นแสนๆ เพื่อกดกาซ่า 100 ครั้ง ยังไม่ได้ของที่ต้องการเลยก็มี

    (ปกติเกม RPG เราจะเสียเงินกับกาซ่ามากที่สุด ในขณะที่พวกไอเท็มธรรมดา หรือ เพิ่มพลังงาน ค่าเข้าดันเจี้ยน ถือว่าใช้เพชรน้อยมาก แต่การกดกาซ่าแต่ละครั้งค่อนข้างจะแพง สมมุติว่าเกมหนึ่งกดกาซ่าต้องใช้1 ครั้งเพชร 4 เม็ด = 20 บาท นอกจากนี้ก็ยังมีแบบกดเพชรครั้งเดียวใช้เพชร 10 เม็ด (แต่เท่ากับ 11 ครั้ง และบางเกมมีการันตรีตัวหายาก) = 200 ก็ถือว่ามากอยู่ดี ดังนั้นถ้าลดกดหลายครั้ง)

     

    Sukasaha (Scathach)

    http://www.stobjeve.com/sukasaha-np-5/

     

    และนั้นเองทำให้เราได้ยินข่าวบ่อยๆ ว่ามีคนกดกาซ่าแบบโหดๆ เพื่อเอาสิ่งที่พวกเขาต้องการ หากเราได้ดูข่าวทวินเตอร์ของญี่ปุ่นที่มักโชว์การกดกาซ่าโหดบ้าบิ่นเสมอ เป็นต้นว่า มีข่าวหนุ่มคนญี่ปุ่นคนหนึ่ง ได้ทวิตเตอร์ตนเองว่าตนเองรูดบัตรกู้เงินเป็นแสนๆ (340,000 เยน กับ 80,000 กว่าบาทของไทย) เพื่อกดกาซ่าสุ่มตัวที่เป็นที่หมายปองสุดๆนั่นก็คือ Sukasaha (Scathach) ของเกม Fate/Grand Order เป็นเกมมือถือแนว Turn-based ชื่อดัง ของค่าย TYPE-MOON แถมสุ่มแล้วจะต้องทำให้ตัวนี้อยู่ในระดับ 5 ให้ได้ ซึ่งมันยากมาก เพราะนอกจากจะต้องสุ่มตัวที่ต้องการเจอแล้ว ก็จะต้องสุ่มตัวนี้ซ้ำอีก ( 5 ครั้ง เพื่อเอามาอัฟเกรดจนได้ระดับสูงสุด  แค่เจอก็ยากแล้ว ยังต้องได้ซ้ำ 6-5 ใบอีกต่างหาก ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลมากๆ

    ผลสรุปของเกมเมอร์นั้นปรากฏว่าฝันสลายเรียบร้อย แม้จะเจอ Sukasaha แต่ไม่สามารถทำให้อยู่ระดับ 5 ได้ ล่าสุดได้แค่ระดับ 2 ทั้งๆ ที่หมดเงินกว่า 340,000 เยน (ภาษาบ้านเราเรียกว่า เป็นศพ)

     

     

     

    คราวนี้มาดูเรื่องของผมบ้าง

    เอาตรงๆ ที่ตั้งบทความนี้ ก็เพื่ออยากบ่นระบบกาซ่าในเกมสมาร์ทโฟนนี้แหละ มันเป็นระบบที่เลวร้าย และมันก็สร้างความหวาดกลัวสำหรับผมมากๆ

    ครั้งหนึ่งผมเคยติดเกม Dragon Ace  (ปัจจุบันมีภาษาไทยนะ) เป็นเกม RPG แต่ระบบไม่เหมือนเกม RPG มือถืออื่นๆ คือเป็นเกมสะสมการ์ดตัวละคร (ส่วนมากตัวละครมาจากตำนานทั้งกรีก, ตำนานไวกิ้ง ไปจนถึงอนิเมะต่างๆ) โดยตัวละครมีหลายคลาส ความสามารถ และธาตุแตกต่างกันไป (มีสามธาตุ ไฟ น้ำ เขียว) และเวลาจะเล่นใช้การเรียกเลขแบบไพ่โป๊กเกอร์เพื่อทำคอมโบ เพื่อฆ่าศัตรูตรงหน้า (ขออธิบายคร่าวๆ ง่ายๆ นะครับ เพราะมันยุ่งยากพอสมควร)

    Dragon Ace เป็นเกมสมาร์ทโฟนที่สนุก นอกจากระบบการเล่นแตกต่างจากเกม RPG สมาท์โฟนทั่วไปแล้ว มันยังสนุกตรงที่เป็นเกมมือจำเป็นต้องร่วมมือกับคนอื่นๆ ในการช่วยเหลือในการเล่น อีกทั้งเกมยังท้าทายมาก (หากเล่นระดับโครตโหด) ทั้งต้องใช้ฝีมือ ดวง และความเป็นป๋า (เพราะต้องเตรียมพร้อมอัฟเลเวลการ์ด สะสมการ์ดด้วย)

    ที่สำคัญตัวละครบนการ์ดนั้นทั้งเท่ ทั้งสวย  ยิ่งระดับ SS (ระดับสูงสุดของการ์ดในเกมนี้) โดยเฉพาะตัวละครที่เป็นผู้หญิง ที่ทั้งน่ารัก และโมเอะมากๆ และด้วยเหตุนี้ทำให้ผมติดเกมนี้มาได้ระยะหนึ่ง เล่นทั้งวันทั้งคืน ทั้งลงดัน ทั้งอัฟเลเวลการ์ด สะสมการ์ด 

    และแน่นอนคือระบบกาซ่า

    ระบบกาซ่า (แบบใช้เพชรกด) ของเกมนี้ จะเป็นการกดเพื่อหาตัวละครในการ์ด ซึ่งในกาซ่าจะประกอบไปด้วยตัวต่ำไล่จากสูง คือ R, S และ SS ซึ่งตัว SS ก็แล้วแต่เรตประจำสัปดาห์ว่าจะเป็นตัวอะไร และบางวันก็จะมีตัว SS แบบลิเติลมิต ที่กดหายากๆ มากมาให้กดด้วย

    การกดกาซ่ามีอยู่สองแบบคือ แบบกดครั้งเดียว เสียเพชร 4 เม็ด ได้การ์ดตัวละครเดียว (จะเป็นตัวอะไรก็ลุ้นอีกที) และกดครั้งเดียว เสียเพชร 40 เม็ด ได้การ์ดตัวละคร 11 ใบ  (จำไม่ได้ว่าครั้งเดียวเสียเงินเท่าไหร่ คงประมาณ 40 บาท ส่วนกดแบบเสีย 40 คงมากกว่า 500 บาท มั้ง ผมจำไม่ค่อยได้) ซึ่งกดกาซ่านั้นเป็นการเสียเงินมากที่สุดในเกมนี้ก็ว่าได้

    ถ้าถามว่าเล่นแบบสานฟรีได้ไหม เล่นเอาเพชรในเกม สู้แบบเจียมเนื้อเจียมตัวได้ไหม ผมก็ตอบว่า มันยากมาก แม้ว่าตอนนี้เกมจะใจปล้ำ สมัครตอนนี้ ก็จะได้การ์ด SS ฟรี 13 ใบ แต่ก็ยังต้องอัฟการ์ด และต้องมีตัวซับการ์ดอีก ซึ่งต้องหาการ์ดที่มีความสามารถซับดีๆ จากกาซ่า (และเรตกาซ่าจะต้องมีตัวที่เก่งซับด้วย)

    Dragon Ace จึงเป็นเกมที่จำเป็นต้องสะสมการ์ด (แม้จะได้ตัวซ้ำแต่ก็ต้องเก็บไว้ เพราะความสามารถ และ Dack สามารถใช้ตัวซ้ำได้) ดังนั้นการกดกาซ่าจึงจำเป็น

    และความโหดของกาซ่าเกมนี้ ก็ไม่แพ้เกมที่มีระบบกาซ่าตัวอื่นๆ เพราะกว่าจะได้ตัว SS ที่เราต้องการ มันยากมาก มีครบทุกรสทั้งได้การ์ดกาก การ์ดซ้ำ (แถมขยะอีกต่างหาก) น้ำตาตก มีบางคนช้เงินเป็นหมื่นๆ กดหาตัวละครลิเติลมิต ผลออกมาเป็นศพ (มีคลิปการกดเป็นศพให้ดูด้วย)

    เกมนี้ผมหมดเงินเป็นหมื่นๆ มั้ง (ถ้าให้รวม มากกว่า 30,000 บาท) ผมเล่นเป็นปี  เติมเดือนละ 3,000 -5,000 ตลอด พอถึงวันศุกร์ (วันกาซ่าใหม่ออก) ผมใจเต้นตลอด ว่าจะหมดเงินกาซ่าไปเท่าไหร่ ได้ตัวซ้ำ ตัวกาก แต่ก็กด  มันเหมือนเสพติด กว่าจะได้หมดเงินเป็นพัน

    และความน่ากลัวมันอยู่ตรงนี้  แม้กาซ่าจะสร้างความผิดหวัง มากกว่าสมหวัง แต่มันกลายเป็นว่าเราเสพติดกาซ่าไม่รู้ตัว เพราะเมื่อรู้สึกตัวก็พบว่าเราเสียเงินไปเยอะแล้ว  เราอุทิศให้กับเกมนี้ไปแล้ว เราได้เพื่อนกับคนเล่นเกมนี้ไปแล้ว เราจะเป็นต้องเล่น เพราะตัดมันไม่ขาด

    อย่างไรก็ตาม ติดเกมเพราะกาซ่า มันก็ยุติเพราะกาซ่าเหมือนกัน หลังจากที่ผมติดเกมเป็นเวลาปีกว่าๆ หมดเงินมากกว่า 30,000 จนในที่สุด มันก็ถึงเวลายุติที่จะเล่น เมื่อกาซ่านั้นสร้างความผิดหวังกับผม คือ ครั้งเดียวหมดเงินไปกว่า 2,000  แล้วไม่ได้อะไรเลย ประกอบกับเพราะติดเกมทำให้ผมต้องเล่นเกมตลอดเวลา ไม่มีเวลาว่างเลย (บทความก็โครตเผา) และนั้นทำให้ผมตัดสินใจยุติในการเล่นเกม และยกไอดีมูลค่ามากกว่าสามหมื่นนี้ให้คนอื่นฟรีๆ ไปในที่สุด

    นับว่าเป็นการเสียเงินเพราะกาซ่ามากที่สุด เท่าที่เล่นเกมมา ถือว่ากาซ่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับใครหลายคน อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามันจะน่ากลัว ผู้เล่นจะรู้ตัวดี แต่ปัจจุบันเกมที่มีระบบกาซ่าก็ยังคงเป็นที่นิยม มีผู้เล่นมาก สร้างกำลังแก่ผู้เกี่ยวข้องกับเกมมาก แต่ในขณะเดียวกัน ยิ่งเกมฮิตมากขนาดไหน กาซ่าก็ยิ่งโหดมากขึ้นเท่านั้น กว่าจะได้ตัวที่เราต้องการพึ่งดวงยิ่งกว่าดวงด้วยซ้ำ (ซื้อหวยถูกยังง่ายกว่าอีก) ก็ว่าได้

     นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่ากลัวผลอ้อมๆ ของกาซ่าตามมา เป็นต้นว่า เกมที่เราอุตส่าห์เติมเงินกดกาซ่ามายาวนานจู่ๆ ก็เปิดตัวลงแบบไม่ตั้งตัว หรือมีลางบอกเหตุแล้วว่าเกมน่าจะปิด เพราะคนเล่นน้อย มีปัญหา ข้อบกพร่องเยอะ ซึ่งโดยปกติแล้วตัวผู้เล่นเกมมีนิสัยขี้เบื่อง่าย เมื่อเกมตัน หมดความน่าสนใจ ก็เลิกเล่น ลบเกม หาเกมใหม่ต่อไป

    ส่วนดราม่าคนโพสโชว์ตัว SS แล้วบอกว่า “พี่ๆ ตัวนี้ดีไหม สายฟรีครับ” มันก็เป็นดราม่าที่ปวดตับสำหรับใครหลายคนอยู่ เพราะเรากดหาแทบตาย แต่มือใหม่กลับได้ตัวดีๆ ตั้งแต่ต้นเกม แบบนี้ทำให้บางคนเกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรม หลายคนเลิกเล่นเกมเพราะสาเหตุนี้ไปเลยก็มี

    แม้ว่าระบบกาซ่าจะฮิตสำหรับผู้พัฒนาเกม ที่ต้องการได้กำไรเน้นๆ (แต่ต้องวางแผนให้เกมตนเองดีด้วย) แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นสิ่งที่ยี้ที่สุดสำหรับผู้เล่น เรามักยินข่าว ยี้ เกี่ยวกับกาซ่าค่อนข้างมาก เป็นต้นว่า มีข่าวเกมหนึ่งที่ผู้พัฒนาบอกว่าจะมีระบบกาซ่าทั้งๆ ที่เป็นเกมที่จ่ายเงินซื้อมาเล่น (ไม่ใช่เกมมือถือ เกมฟรี) จนทำให้ผู้เล่นออกมาวิจารณ์หนัก จนต้องผู้พัฒนาบอกว่ากาซ่าที่ว่าเป็นแค่ฟังก์ชั่นเครื่องแต่งกาย เพิ่มท่าทางตัวละคร ไม่เกี่ยวกับตัวช่วยเหลือการเล่น และไม่ได้ทำให้ตัวละครเทพแต่อย่างใดแต่อย่างใด

    อย่างเกม Counter Strike ที่แนวยิงบุคคลที่หนึ่ง ก็มีระบบกาซ่า คือระบบสุ่มหาอาวุธจากกล่อง ซึ่งแต่ละกล่องก็ไม่ใช่ราคาถูก และของรางวัลสูงสุดคือมีดเล่มเดียว ที่มีรูปลักษณ์ สีสันแตกต่างจากมีดทั่วๆ ไป แต่มีดที่ว่าไม่มีความแรง หรือมีความสามารถแตกต่างจากมีดปกติในเกมเลย แต่ผู้เล่นก็กดหา เพราะคิดว่ามันจะทำให้ตนเองเด่นกว่าคนอื่นๆ  จนทำให้มีความต้องการมีดมาก แต่เพราะมีดเป็นของโครตแรร์ หายาก ทำให้ราคาขายของเกมในเกมนี้เป็นหลักแสน  (บางทีแสนเดียวก็ยังซื้อไม่ได้ก็มี)

    (หากใครไม่เข้าใจว่ามีดในเกม Counter Strike มันหายากตรงไหน ตอนนี้มีโปรแกรมเล่นในคอมฟรีๆ จำลองกดกาซ่าเกม Counter Strike มาให้กดขำๆ  ฟรีๆ ดูว่ากว่าจะได้มีดแรร์ต้องหมดเงินไปเท่าไหร่ ลองไปเล่นดูนะครับ)

     

    ระบบคราฟการ์ด ในเกม Hearthstone

    (ซึ่งผมว่าแฟร์ดี ต่อให้การ์ดซ้ำ การ์ดกาก เป็นศพ แต่มันก็เอามาบดได้เอาค่า ไป คราฟการ์ดใบที่ต้องการได้)

                   

    เนื่องด้วยคนญี่ปุ่นใช้เงินกดกาซ่าเยอะ เพื่อหวังจะเป็นเจ้าของไวฟุ (Waifu) แต่แทนที่จะหวังกลายเป็นสิ้นหสวัง กลายเป็นศพ ไม่ได้อย่างที่หวังไว้ ทำให้มีข่าวว่ามีการร้องขอให้ผุ้ผลิตเกมอย่าทำกาซ่าโหดเคี้ยวมากนัก หรือขอความร่วมมือทำกาซ่าที่สามารถเลือกตัวละครและไอเท็มเองได้เลยหากเสียเงินตามจำนวนที่กำหนด แม้ว่าจะเป็นการแค่ร้องขอให้ทำ แต่เชื่อว่าอนาคตหากมีกฎหมายเพื่อควบคุมกาซ่าไม่ให้ดูดเงินผู้เล่นมากเกินไปก็ได้

    ปัจจุบัน แม้ว่าผมจะยี้กาซ่าเกม RPG สมาร์ทโฟนที่มีระบบกาซ่า แต่ก็เล่นเกมที่มีระบบกาซ่านี้อยู่  ตอนนี้ผมเล่นเกม Hearthstone แม้จะมีระบบกาซ่า คือเปิดซองการ์ด แต่เกมนี้มีระบบหนึ่งที่แฟร์อยู่คือ มีระบบคราฟการ์ด ซึ่งเราสามารถคราฟการ์ดใบไหนก็ได้ในเกม (นอกจากการ์ดบางใบ ซึ่งต้องปลดล็อคก่อน) ทำให้ไม่มีการอวดการ์ด แถมไม่ต้องห่วยเกมจะปิดตัวกะทันหันด้วย  และนอกจากนี้การจัดการ์ดเก่งๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้การ์ดการ์ดเทพเสมอไป เพราะเกมที่ผมชนะส่วนใหญ่  ในชุดการ์ดผม แทบไม่มีการ์ดเกรดระดับ SS เลยแม้แต่ใบเดียว (ชุดการ์ด Warrior- โจรสลัด)

                    ข้อคิดจากการเล่นระบบกาซ่าคือความพอดี กับความไม่พอดี กาซ่าไม่ได้ทำร้ายใคร มันเพียงแค่สิ่งเย้ายวน สร้างความอยากให้แก่เราเท่านั้น เราจะต้องควบคุมความต้องการตนเอง คิดซะว่ากำลังเงินของเราสมควรที่จะทุ่มกับมันหรือไม่ และควรหมดเงินเท่าไหร่ถึงจะเลิก ความจริงเราไม่จำเป็นต้องหาตัวเก่งเทพไวฟุ (Waifu) เพราะระบบเกมส่วนมากก็สร้างให้สายฟรีเล่นเกมนี้นานๆ เหมือนกัน หากไม่เอาตัวเทพ ตัวเทพเป็นเพียงแค่การสร้างความแตกต่างของเรากับคนอื่น และทางลัดเท่านั้น ส่วนสำคัญอยู่ที่ความอดทน หรือฝีมือมากกว่า

     สรุปคือกาซ่ามันเป็นเพียงบททดสอบสำคัฯว่าเราจะสามารถเอาชนะใจตนเองได้หรือเปล่าเท่านั้น




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×