ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #402 : 10 สัญญาณว่าการ์ตูนเรื่องนี้กำลังออกทะเล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.42K
      14
      18 ส.ค. 59

    เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวสำหรับชาวจัมป์ว่า “บลิซ” การ์ตูนอภิมหาในตำนาน เรื่องหนึ่งของจัมป์ ใกล้จะจบไม่กี่เดือนข้างหน้า (จบเล่มที่ 74) พอดีผมไม่ได้ตามบลิซ) บลิซจะจบลง อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายความคิดเห็น บ้างก็เม้นต์ว่าจบสักที บ้างก็ว่าจะจบแล้วเหรอหลายปมก็ไม่เฉลยเลยนะ บางคนก็นึกไม่ออกว่าบลิซจะจบแบบไหม หรือจะจบสไตล์จัมป์ “ปาหมอน” หรือเปล่า

    ทั้งนี้ทั้งนั้นบลิซถือว่าเป็นหนึ่งในการ์ตูนที่หลายคนชาวไทยบอกว่า “ออกทะเล” อย่างงดงาม เรื่องหนึ่ง ซึ่งบางคนว่าน่าจะจบไปนานแล้ว แต่ตัวการ์ตูนยังคงออกมาอยู่เรื่อยๆ ความน่าติดตามก็ลดลง จนปัจจุบันแทบไม่มีใครพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้แล้ว บางคนแทบไม่สนว่าจะจบแบบไหนด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่เคยเป็นแฟนเรื่องนี้มาก่อน

     (หลายคนสงสัยว่าทำบลิซทั้งๆ ที่อยู่อันดับท้ายๆ หลายปี แต่ทำไมไม่จบ ความจริงมันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ไม่จบ เป็นต้นว่า คนเขียนยังวาดไหว, กระแสคนที่ติดตาม, ยอดขาย ซึ่งเท่าที่ดูยอดขายรวมเล่มบลิซนั้นติดอันดับต้นๆ มังงะขายดีที่ญี่ปุ่นด้วย แม้ช่วงหลังยอดขายจะลดลงก็เถอะ ส่วนประเด็นความนิยมของผู้อ่านเป็นเพียงอันดับเกรียมไม่มีผลมากนัก ส่วนมากจะมีแต่มีผลแนวทางการดำเนินเรื่องการ์ตูนบางเรื่องเท่านั้น)

     

     

     

    พูดถึง “ออกทะเล” ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่คนที่ชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นต้องเจอ ออกทะเ ลเป็นคำในเชิงความหมายด้านลบ ประชด ผิดหวัง ที่กล่าวถึงพวกการดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์, ทีวีซีรีย์, หนังสือการ์ตูน ไปจนถึงกระทู้ ที่เวลาดำเนินเรื่องมัก  เบี่ยงประเด็นไปเรื่องอื่นๆ เริ่มหลงประเด็น จนไม่สามารถกลับเข้าประเด็นหลักของเรื่องได้  จนยากที่จับความสำคัญของเนื้อเรื่องได้

    การ์ตูนที่ได้รับขนานนามว่าออกทะเลได้ถูกอกถูกใจคนดูมากที่สุดคือ Berserk ชนิดที่เรียกว่ากู่ไม่กลับ คือเปิดเรื่องมาเป็นเรื่องราวของนักรบที่ต้องการแก้แค้นกรีฟิน (ที่เปรียบเสมือนวีรบุรุษ และเทพที่มนุษย์ไม่สามารถต่อกร) โดยจุดเด่นของเรื่องคือ ความดิบ เถื่อน การต่อสู้ที่ถึงพริกถึงขิง หากแต่ช่วงๆ หลัง การ์ตูนก็ออกทะเล ลดความโหดร้ายลง พระเอกก็ลดความป่าเถื่อนลง ไม่มุ่งแก้แค้น และหาเส้นทางที่สงบดีกว่า

                    ออกทะเลยังคงเป็นสิ่งน่ากลัวอันดับต้นๆ ของความเซ็งที่สุดในการดูการ์ตูนมังงะญี่ปุ่น ที่หลายคนจะต้องเจอ เพราะส่วนใหญ่การ์ตูนที่ออกทะเลคือการ์ตูนดัง หลายคนชอบติดตามตั้งแต่ต้น และด้วยความดังนั้นเอง ทำให้คนเขียนพยายามที่จะเพิ่มหรือขยายความเนื้อเรื่องให้กว้างขึ้นเพื่อให้เรื่องยืดยาวขึ้น หากใจไม่รักจริงคงไม่ติดตามตั้งแต่ต้นตนจบ ในขณะที่บางคนแม้ว่าออกทะเลก็ตามต่อ เพราะถือว่าสนุกไปอีกแบบ ในขณะที่บางคนจำต้องตามต่อเพราะปักหมุดติดตามแล้ว จะตัดใจก็ทำไม่ลง แต่การติดตามก็ด้วยอารมณ์รู้สึก เฉยๆ เท่านั้น

              และเมื่อการ์ตูนยาวมากขึ้น ปมปริศนามากขึ้น ทับถมมากขึ้น เก่ายังไม่ได้เฉย ปมใหม่ก็มาเพิ่มอีก ผลคือปมมากมายที่ยากจะคลี่คลาย และไม่สามารถสรุปได้ และหากจบมาก็ย่อมไม่ใครพอใจบทสรุปมากนัก ซึ่งบลิซกำลังจะเป็นอย่างนั้น

    อย่างไรก็ตาม การออกทะเลก็ใช่ว่าจะเลวร้ายเสมอไป เพราะบางเรื่องออกทะเลก็สนุกไปอีกแบบ ซึ่งก็อยู่กับคนอ่านมากกว่าว่าจะรับได้หรือไม่ได้ และมันออกทะเลในแง่ลบมากขนากไหน

    เมื่อคุณเตรียมตัวที่อ่านการ์ตูนเรื่องไหนที่มีรวมเล่มหลายเล่ม สิ่งที่เตรียมตัวไว้คือการ์ตูนเรื่องนี้เสี่ยงมากที่จะออกทะเล มากกว่าที่จะดำเนินเรื่องตามคอนเซ็ปต์ของมัน

    ปกติแล้วการ์ตูนเรื่องยาวจะแบ่งเป็นบท แต่ละบทดำเนินเรื่องหลายตอนกว่าจะจบ แต่ละบทนั้นมีความสนุกแตกต่างกัน อย่างบทแรกๆ เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวละคร แนะนำตัวเอก จากนั้นก็เริ่มใส่บทเรื่องราว (บทหลัก ไม่นับบทเสริม เรื่องสั้น) เมื่อจบบทก็ขึ้นบทหลักใหม่ เนื้อเรื่องใหม่เพิ่มอะไรหลายอย่าง (ซึ่งการเพิ่มอะไรบางนั้น เราจะมาตแยกย่อยในอันดับต่อๆ ไป) ให้แตกต่างจากบทแรก  นำไปสู่บทสุดท้ายที่สู่บทสรุปต่างๆ

    ซึ่งมันก็ควรเป็นแบบนี้

    แน่นอนว่ามันก็ไม่แน่เสมอไปที่การ์ตูนเมื่อดำเนินเรื่องหลายบท หลายตอนความสนุกจะเพิ่มขึ้น เพราะยิ่งมาก กี่ดำเนินเรื่องก็เริ่มตัน เพราะต้องหาเรื่องใหม่มาต่อ ทั้งๆ ที่ควรจบ แต่ก็ควรไปต่อ แต่กลายเป็นว่ามันไม่จบง่ายๆ เรื่องไหนควรจะจบ แต่ก็ยังไม่จบ มีบทใหม่มาอีก และหากบทใหม่ที่ว่ายังสนุกอยู่ก็โอเคไป หากตรงกันข้ามบทไหนไม่สนุก วางเหตุผลไม่ได้เรื่อง, บทใหม่ไม่สนุกเท่าบทแรกๆ , มะนาวไม่มีเนื้อขึ้น ออกทะเลขึ้นมา แทนที่จะกลายเป็นตำนาน ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากจะจำซะงั้น

    10 อันดับต่อไปนี้คือ 10 สัญญาณออกทะเล ความจริงมันเป็นเรื่องพื้นฐาน-เบสิคสำหรับคนอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่อง ที่พบอยู่บ่อยๆ ถึงสิ่งที่เดาออกแน่นอนว่า การออกทะเล – เมากาวกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า


    ปล. อันดับต่อไปนี้ ขึ้นรงการออกทะเลที่ว่าจะสนุก หรือไม่สนุก ก็แล้วแต่วิจารณ์ของคนอ่าน เพียงแต่ผมพูดว่ามันหลุดประเด็น และการคลุมโทนจังหวะของเรื่องไปไกลแล้วเฉยๆ)

     

    10. ตัวผู้แต่ง

    จะว่ายังไงดีละคือผมเจอเยอะนะ ผลงานใหม่ของคนแต่ง ที่เคยออกทะเลแล้ว ผลงานใหม่ก็ออกทะเล ตอนแรกๆ ผมก็คิดว่าจะลองติดตามดู เพราะเชื่อว่าคนแต่งเขาวางโครงเรื่องไว้แล้ว น่าจะแก้ความผิดพลาดผลงานใหม่ได้ แต่พอติดตาม ก็อีหรอบเดิม น่าปวดตัวเหมือนเดิม จนผมก็ไม่รู้ว่า คนแต่งเขายังไม่หายเมากาวจากผลงานก่อนๆ อีกเหรอ

     ไม่ว่าสมัยก่อน หรือสมัยนี้นี้ การ์ตูนมักออกทะเลบ่อยครั้ง คือตอนแรกๆ สนุกดี แต่ตอนหลังสเกลเรื่องไปไกลล้ำมากๆ ออกดาวพลูโตไปเลย แต่ถ้าถามตามความรู้สึกนี้ การ์ตูนเก่าๆ ถือว่าเยอะ   ผมขอยกตัวอย่างสักเรื่องละกัน อย่างเรื่อง Charudo ผลงานของ Makoto Ogino (ผลงานดัง Kohirujin) ตัวเอกเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษที่มีพลังวิเศษ แต่ตอนหลังๆ พลังวิเศษที่ว่าถูกทิ้งประเด็น แล้วกลายเป็นการ์ตูนก้อนเนื้อแหวะๆ กับเซ็กต์ไป จนติดอันดับการ์ตูนน่าผิดหวังสำหรับในชีวิตผมไปเลยน

    แม้แต่เจ้าแต่งผลงานดังๆ อย่าง เซนต์เซน่า  (ส่วนเซนต์เซน่านั้นออกทะเลเหมือนกัน แต่น่าจะจัดอยู่ในระดับน่าพอใจ เพราะตอนแรกๆ เซนต์เซย่าเป็นแนวสู้แบบเก็บแต้ม สู้กันเป็นกีฬา ก่อนที่จะเปลี่ยนแนวมาสู้จริงจัง จนกลายเป็นตำนานไม่รู้จบในที่สุด) ก็มีผลงานอย่าง Fuuma no Kojirou (ไม่ทราบว่ามีใครอ่านไหมครับ) จากตอนแรกๆ เป็นการ์ตูนแนวทะลึ่งกีฬา แข่งกันระหว่างโรงเรียนคู่ปรับ ตอนกลางกลายเป็นสงครามนินจาต่างโรงเรียน (ฆ่ากันจริง) ต่อมากลายเป็นสงครามดาบศักดิ์สิทธิ์ (ปล่อยพลัง) ก่อนที่บทสุดท้ายก็สงครามนินจา (ตัวละครหญิงบทหาย ไปด้วย)  และเรื่องนี้ทำให้ผมตะหนักว่าเวลาจะดูการ์ตูนเรื่องไหน ให้ดูผลงานเก่าๆ ของคนเขียนด้วยว่า ว่าผลงานเก่าออกทะเลไหม เพราะผลงานใหม่มีสิทธิ์มากที่จะเมากาวค้างจากผลงานเก่าก็เป็นได้  

    (ปล. Fuuma no Kojirou ผมไม่ได้ซื้อมาอ่านนะ แต่ญาติเอามาให้ ผมก็สงสัยว่าทำไมให้ง่ายๆ เล่มอย่างหนา 2-3 เล่มจบ พอแก่ตัวมาพึ่งรู้ตัว)


    9. หากการ์ตูนเรื่องนั้นดัง

    หากคุณอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่ง แล้วเกิดดังขึ้นมา สิ่งที่ต้องทำใจเอาไว้คือ มันอาจออกทะเลได้ เพราะเมื่อการ์ตูนดัง ก็หมายถึงการยืดเรื่อง และเกิดการยืดเรื่องนั้นไม่ได้เรื่องขึ้นมา  ตัวใครตัวมา

    อาชีพนักเขียนการ์ตูนเอง แม้จะเป็นอาชีพที่มีสร้างสรรค์ในการวาดการ์ตูน เพราะใจรัก แต่มันก็มีบางครั้งก็มีเหตุอะไรบางอย่างที่เขาไม่ได้ทำสิ่งที่ตั้งใจขึ้นมา นั้นคือการยืดเรื่อง ทั้งๆ ที่ตั้งใจว่าควรจะจบบทตรงนี้ แต่กระแสความดังของการ์ตูนเรื่องนี้ยังคงอยู่ คนอ่านยังตอบรับ ทำให้มันไม่จบง่ายๆ

    อย่างที่บอกเอาไว้ว่า การ์ตูนเรื่องยาว จะแบ่งเป็นบทรู้จักตัวละครหลักแต่ละคน จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่บทหลัก หลาย ๆ บท  จบบทเก่า ขึ้นบทใหม่ หลายๆ บท ก็จะทำให้ให้การ์ตูนยาวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมากว่าจะทำยังไงให้การ์ตูนยาวเหล่านั้นสนุกได้ต่อเนื่อง ไม่มีขัดอารมณ์ และคนยังติดตามอ่านอยู่

    แต่หลายเรื่องไม่ได้เป็นอย่างนี้ เพราะการที่จะทำให้การ์ตูนเรื่องยาว ออกทุกสัปดาห์ เวลาคิดพล็อต คิดอะไรก็ไม่ค่อยไหล สมองตัน ไปจนถึงฝีมือของคนแต่ง และเพื่อให้การ์ตูนเรื่องนี้ยาว เขาจึงจำเป็นต้องใส่บทย่อยขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น บทย้อนอดีตตัวละครในเรื่อง บทชีวิตประจำวัน แม้ว่าบทเหล่านี้ทำให้เรารู้จักตัวตนของตัวละครในเรื่องมากขึ้น หากแต่มันก็เป็นดาบสองคม หากมันเกิดมากเกินไป

    ดังนั้น ผมค่อนข้างที่จะประทับใจคนเขียนการ์ตูนที่เขียนการ์ตูนจบก็คือจบ แม้ว่ากระแสจะได้รับความนิยมก็ตาม

     

    8. หากการ์ตูนเรื่องนั้นไม่ดัง

    หลายคนอาจคิดว่าการ์ตูนเรื่องดังมีสิทธิ์ออกทะเลสูง ความจริงแล้ว ไม่ว่าจะดังหรือไม่ดัง ไม่กี่เล่มจบ  การ์ตูนเรื่องนี้ก็ออกทะเลได้

    มันดูออกระดับหนึ่ง เมื่อเราอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่ง ว่าแนวทางการดำเนินเรื่องจะเป็นยังไง ยิ่งการ์ตูนของจัมป์ ที่จำเป็นต้องการกระแส ต้องการผลตอบรับที่ดี คนแต่งเองจำเป็นต้องทางอะไรสักอย่างให้การ์ตูนไปต่อได้ เป็นต้นว่า พยายามให้เนื้อเรื่องพีค ให้หักมุม ใส่ดราม่า ใส่ตัวละครใหม่  ไปจนถึงการเปลี่ยนแนว แต่ปรากฏว่ามันก็ไปไม่ได้ แทนที่จะดีขึ้น กลับกลายเป็นว่ามันไม่เข้ากัน  ผลคือมันก็โดนตัดจบ  แบบตัดอารมณ์ (ทั้งๆ ที่อุตส่าห์วางเนื้อเรื่อง ใส่ปม ดีหมด แต่เพราะกระแสไม่ดี เข้าตัดจบ แบบยังทำใจไม่ได้)

    อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนแต่งบางคน เขียนการ์ตูนแบบ ไม่สนใจเรื่องกระแส ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องดิ้นรนอะไรมากนัก  บางคนเนื้อเรียบๆ ไปยังตอนจบก็มี หรือบางคนไม่ดัง ไม่กระแส แต่อยากมีลูกบ้าๆ ก็แล้วแต่ความชอบของคนอ่านว่าจะติดตามเรื่องนี้หรือเปล่า


    7. แนวเอาตัวรอด

    หากจะถามว่าแนวการ์ตูนไหนออกทะเลมากที่สุด หลายคนอาจจะนึกถึงแนวแอ็คชั่นต่อสู้ ซึ่งเป็นแนวที่ยอดนิยม ในอดีตเองการ์ตูนแนวแอ็คชั่นดังๆ ล้วนออกทะเล อย่างสวยงามทั้งสิ้น แต่ถึงแม้จะออกทะเล แต่จุดขายของการ์ตูนเรื่องนี้ที่ฉากต่อสู้มันๆ ทำให้หลายคนเลือกที่จะลืมข้อเสียนี้ และสนุกไปกับมันมากกว่า

    แน่นอนว่าทุกแนวล้วนออกทะเล แต่ถ้าจะถามผมว่าแนวไหนที่ออกทะเลแล้วคนอ่านเซ็งที่สุด ผมก็ยกให้แนวเอาตัวรอดนี้แหละครับ ออกทะเลเซ็งที่สุดในยุคนี้

    คือตอนแรกๆ แนวเอาตัวรอด ตอนแรกๆ ก็สนุกอยู่นะครับ ประมาณว่า พวกตัวเอกเป็นคนธรรมดา กำลังไปโรงเรียนมัธยมเหมือนวันอื่นๆ  หากแต่แล้วจู่ๆ ต้องอยู่ในสภาการณ์อันตราย ประมาณว่า จู่ๆ ก็มีซอมบี้, สัตว์ประหลาด, สาวน้อยเวทมนต์มาบุกโรงเรียน ไม่ก็จู่ๆ โลกก็เปลี่ยนเป็นโลกของพืชยักษ์ แมลงยักษ์ แน่นอนว่าพวกพระเอกสู้ไม่ได้เลย ต้องหนีลูกเดียว ทุกเส้นทางที่ไปล้วนสิ้นหวัง เพื่อนร่วมทางตายไปสองสามคน นอกจากสัตว์ประหลาดกลายพันธุ์จะไล่ล่าเราแล้ว ยังไปเจอพวกเดนมนุษย์หวังจะฆ่าเราอีก

    ความสนุกของการ์ตูนเรื่องนี้คือการลุ้นพวกพระเอกจะไปรอดหรือไม่ กลัวตัวละครที่เราอวยตาย ไปจนถึงความสะใจที่ตัวละครนิสัยเกรียนตาย ไปจนถึงบทสรุปของเรื่องว่ามันมีที่มาที่ไปยังไง ทำไมถึงเกิดเรื่องเลวร้ายขึ้น และตอนจบของเรื่องจะแอปปี้หรือไม่

    ส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างชอบเสพแนวนี้เป็นพิเศษ ปัจจุบันแนวเอาตัวรอดทำได้น่าสนใจมากขึ้น วาดตัวละครน่าอวยมากขึ้น บางเรื่องก็ขายความโมเอะตัวละคร ขายฉากเซอร์วิส ฯลฯ น่าติดตามมากขึ้นไปอีก

    อย่างไรก็ตาม แนวเอาตัวรอดบางเรื่อง (ความจริงหลายเรื่อง) ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อเนื้อดำเนินเรื่องไประยะหนึ่ง ชอบออกทะเล ทุกที ยกตัวอย่าง เกาะกระหายเลือด ตอนแรกๆ เป็นแนวเลือดสาด น่ากลัว  พวกพระเอกทำอะไรไม่ได้เลย แต่พอพระเอกฝึกวิชา เก่งเทพโครตๆ พวกผีดูดเลือกตอนแรกสู้ไม่ได้เลย มาตอนนี้พระเอกสู้เป็นร้อยได้อย่างสบาย รวมไปถึงใส่สิ่งต่างๆ ไม่สมเหตุสมผล จนทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นแนวเมากาว มากกว่าสยองขวัญ และที่น่าเหลือเชื่อคือปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ไม่จบ

    คือ...มีหลายเรื่อง ที่ตอนแรกเป็นแนวหนีเอาตัวรอด มนุษย์ไม่สามารถต่อกรกับสิ่งรุกรานได้ มนุษย์กำลังล้มสลาย หากแต่ตอนหลังๆ กลายเป็นแอ็คชั่นบ้ากลัง พวกพระเอกโครตเทพ สิ่งต่างๆ ก็ใส่เข้ามาไม่เข้ากัน เช่น สัตว์กลายพันธุ์มีร่างสอง—สาม ร่างเทพ พวกพระเอกมีพลังวิเศษ ความสยองหายไป ความไม่สมเหตุสมผลมาแทน สิ่งเหล่านี้นอกจากเซ็ง มันเหมือนหักหลังคนอ่านด้วย เหมือนหลอกว่าเป็นแนวเอาตัวรอด สุดท้ายออกทะเลกลายเป็นแนวอะไรก็ไม่รู้ แถมคนแต่งก็ไม่สนใจเสียงคนอ่านอีกต่างหาก (อินดี้จริงๆ)  


    6.พระเอกมีพลังวิเศษ

    มันเกิดอะไรขึ้น หากพระเอกจู่ๆ มีพลังวิเศษขึ้นมาโดยไม่มีปี่มีขลุ่ยขึ้นมา ทั้งๆ ที่มันไม่เข้ากันเลย

    ความจริงมันก็ไม่เชิงมีปี่มีขลุ่ย คือ มันไม่เหมือนกับการ์ตูนบางเรื่องที่ตัวเอกถูกกำหนดมีพลังวิเศษตั้งแต่แรก อันนี้เข้าใจ แต่จู่ๆ ที่ว่ามันดำเนินเรื่องไปหลายตอนแล้ว และใส่ตัวเอกให้มีพลังวิเศษขึ้นมา คืออารมณ์แบบว่าตอนแรกๆ การ์ตูนกำหนดให้พระเอกเป็นคนธรรมดา ไม่ได้มีพลังวิเศษอะไรเลย เนื้อหาก็ดำเนินเรื่องก็ดูยังไงพระเอกก็ไม่น่าจะมีพลังวิเศษ  แต่จู่ๆ เนื้อเรื่องก็ให้ตัวเอกเกิดมีพลังวิเศษขึ้นมา

    ถามว่าแปลกตรงไหน ออกทะเลตรงไหน มันออกทะเลตรงที่ ถ้ามุกแบบนี้มันแนวการ์ตูนแอ็คชั่นอันนี้พอรับได้ พระเอกจะสเกลพลังเก่งขึ้นไม่ว่า แต่ปัญหาคือเอามุกนี้มาใส่แนวคอเมดี้ และแนวเอาตัวรอดดูสิ ผลจะเป็นยังไง

    ผลคือ เรื่องมันเละ

    ตัวอย่างง่ายๆ รีบอร์น ตอนแรกๆ เป็นการ์ตูนแนวตลก คอเมดี้ หากแต่เมื่อตัวเอกมีพลังวิเศษเก่งขึ้นมา เนื้อเรื่องต่อสู้สายจัมป์อย่างงดงาม (อันนี้แม้ออกทะเล แต่ก็โด่งดัง) หรือแนวเอาตัวรอดบางเรื่อง ที่พระเอกตอนแรกๆ หนี้ตาย ตอนหลังมีพลังวิเศษ จนกลายเป็นแอ็คชั่น สยองขวัญหายไปหมด

    ไปจนถึงแนวต่อสู้ ที่พวกผู้หญิงเก่ง พระเอกกาก ตอนแรกๆ ก็สนุก แต่พอพระเอกเก่ง มีพลังวิเศษ จับดาบขึ้นมา อารมณ์มันหดหาย  

    คือ เข้าใจว่าหลายคนในที่นี้ไม่ชอบพระเอกกาก  เอาแต่แสดงความขี้ขลาด เอาแต่วิ่งหนี หากแต่ในขณะเดียวกันสำหรับผมแล้ว ผมเชื่อว่าหลายคนก็เชื่อชอบพระเอกแบบนี้ไม่มากก็ไม่น้อย ได้เห็นความเป็นมนุษย์ธรรมดา ที่มีด้านผิดพลาดกันบ้าง และหากตกอยู่ในสถานการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้จะทำยังไง  รวมไปถึงสถานการณ์

    สำหรับผมแล้ว การพัฒนาโดยให้พระเอกมีพลังวิเศษนั้นมันก้าวกระโดดมากเกินไป และถือว่ามันไม่มีความรับผิดชอบอะไรเลย และทำให้เรื่องที่อุตส่าห์วางมาเสียไปมิใช่น้อย

    มันทำลายคอนเซ็ปต์ของเรื่องหมด

    แต่อย่างไรก็ตาม บางเรื่องก็ใช่ว่ามันจะหมดอารมณ์ไปเสียหมด  เพียงแต่จำเป็นต้องปรับอารมณ์อยู่บ้าง เพราะถือว่าสนุกอยู่ หากแต่ถ้าเพิ่มสิ่งมีจำเป็น เช่น พวกศัตรูกลายพันธุ์ เพิ่มที่มาที่ไปไม่ได้เรื่อง จนบางครั้งถึงขั้นรับไม่ได้เลิกอ่านก็มี 

     

     

    5. ตัวละครใหม่เป็นเจ้าหน้าหล่อถือดาบ

    เมื่อการ์ตูนเรื่องยาวจำเป็นต้องขึ้น ภาคใหม่ บทใหม่ สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ จัดการดำเนินเรื่องให้แตกต่างจากภาคก่อน และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการเพิ่มตัวละครใหม่ มิตรใหม่ ศัตรูตัวใหม่

    และในขณะเดียวกันการมาของตัวละครใหม่ เท่ากับเป็นลางบอกเหตุว่าเรื่องจะออกทะเลด้วย

    มันลางยังไง ปกติตัวละครใหม่ทำให้เกิดเนื้อเรื่องใหม่ อีเวนส์ใหม่ ความน่าติดตามว่าเขาเป็นใครใช่ และมีส่วนสำคัญของเรื่องใช่หรือเปล่า หากแต่บางเรื่องไม่ได้เป็นเช่นนี้ กล่าวคือ ในกรณีที่เรื่องนั้นมีตัวละครในเรื่องมันล้นเยอะก่อนหน้านั้นแล้ว การเพิ่มตัวละครใหม่ไม่ได้ช่วยอะไร กลับกันมันก็กลายเป็นมุกซ้ำซาก และอารมณ์ที่มากเกินพอสำหรับคนอ่านด้วย

    อีกกรณีหนึ่ง หากตัวละครเรื่องใหม่นั้นเกิดไม่เข้ากับเนื้อเรื่องขึ้นมา หรือโผล่มาแล้วก็ไป ไม่ก็โผล่มาเกรียน โผล่มาแย่งซีน ไปแย่งบทของพระเอกหมดก็ยิ่งทำให้ออกทะเลมากขึ้นเท่านั้น

    ถ้าถามว่าตัวใหม่ลักษณะไหนที่โผล่มาแล้วออกทะเลมากที่สุด ผมขอยกให้ ตัวละครที่หน้าต่อหล่อถือดาบ จะโผล่มาเป็นมิตร ศัตรู หรือจากศัตรูเป็นมิตร มีสิทธิมากออกทะเล เพราะนิสัยตัวละครประเภทนี้ชอบเกรียน ชอบแย่งบทพระเอก อยู่เป็นประจำ แม้ในบางเรื่องจะดังก็เถอะ

     

    4. ปมปริศนามันเยอะเกินไป

    สิ่งที่ทำให้การ์ตูนเรื่องยาวเรื่องหนึ่งน่าติดตาม ไปต่อได้ ก็คือการใส่ปมปริศนาให้คนอ่านคาดเดาว่า มันคืออะไร

    อย่างไรก็ตาม สิ่งใดๆ เมื่อมันมากเกินไปย่อมไม่เป็นผลดี ปมปริศนาก็เช่นกัน หากมาเกินไป มันก็ทำให้เนื้อเรื่องยิ่ง งง หากปริศนาเก่าไม่คลี่คลาย แล้วเอาปริศนาใหม่มาทับถมอีก ก็ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ เพราะเท่ากับว่าคนแต่งจำเป็นต้องคลี่ปมรวดเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถคลี่ปมได้หมด แถมหากคลี่ปมออกมาไม่ดี ไม่สมเหตุสมผลก็ยิ่งทำให้คนอ่านเซ็งด้วยซ้ำ


               3. ไม่ยอมเข้าเนื้อเรื่องหลักสักที

    เมื่อการ์ตูนเรื่องนี้ดัง สิ่งที่ตามมาคือการทำให้เป็นการ์ตูนเรื่องยาว และต้องให้ยาวนานมากที่สุดเท่าที่ทำได้ แน่นอนสิ่งที่ต้องทำคือการทำเบี่ยงประเด็นเนื้อเรื่องหลัก ไม่ให้มันถึงบทสรุปเร็วๆ

    มันมีหลายวิธีที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ยาว ด้วยการเบี่ยงประเด็นเนื้อเรื่องหลัก เบี่ยงเป้าหมายหลักของเรื่อง ไปเรื่องรองเรื่อยๆ  สมมุติว่าเรื่อง โคนันที่ต้องหาชายชุดดำเพื่อหาวิธีให้กลับมาเป็นร่างผู้ใหญ่ หากถึงเนื้อเรื่องหลักเจอชายชุดดำอัดมัน เรื่องก็จบ หากแต่การ์ตูนเรื่องนี้ต้องการให้เนื้อเรื่องยาวๆ ดังนั้นวิธีคือ เบื่ยงเป้าหมายหลักออกไป ไม่ยอมให้ถึงเนื้อเรื่องชายชุดดำสักที พยายามเอาคดีย่อยๆ ไม่เกี่ยวข้อง ใส่ไปเรื่อยๆ เพิ่มตัวละครเข้าไป บทคดียาวๆ 1 เล่มจบสักคดี พอเบื่อๆ ก็ให้ชายชุดดำมีบทเล็กๆ ก่อนที่จะหายไป (โดยอ้างว่า ไคแม็กซ์ของเรื่อง) แล้วก็กลับมาเหมือนเดิม วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื้อเรื่องก็ปาเกือบ 1,000 ตอนแล้ว

     

    2. เอะอะอะไรก็ต่อสู้แอ็คชั่น

    หนึ่งในมุกทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ยาวขึ้น (ออกทะเลขึ้น) นั้นคือการใส่ฉากต่อสู้แอ็คชั่นเข้าไป  นึกมุกตอนต่อไปไม่ออกก็ใส่แอ็คชั่นสู้ๆ กันไปก่อน  ถ้าเป็นการ์ตูนแอ็คชั่นไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นการ์ตูนแนวคอเมดี้ที่ไม่น่าแอ็คชั่น ก็ใส่แอ็คชั่น เพิ่มสเกลพระเอกให้เก่ง จับพระเอกฝึกวิชา เรียนรู้สัจธรรมของโลกสัก 4-5 ตอน ค่อยออกไปลองวิชา นี้ถือว่าเป็นมุกคลาสสิกสุดๆ สำหรับพระเอกสไตล์จัมป์เลยทีเดียว จนบัดนี้ก็มีการใช้มุกนี้อยู่อย่างเมามัน

    มุกสุดยอดแห่งการยืดยาวคือมุกประลองยุทธ์ จับตัวละครมาต่อสู้กันเพื่อหาผู้ชนะ  เจอมุกแบบนี้ เตรียมตัวได้เลยว่าลากยากหลายตอน จนการ์ตูนบางเรื่องเอามาแซวเลยก็มี

    บางเรื่อง ก็หมดไปกับฉากแอ็คชั่น ตีไปตีมา หมดเป็นเล่มๆ แถมคั่นด้วยบทย้อนอดีตยาวๆ จัดเต็มอีก 1 เล่ม กว่าจะเข้าเรื่อง เข้าปัจจุบัน กว่าจะมา เจอมุกแบบนี้เข้าไป คนอ่านเซ็งไปตามกัร (มุกนี้จัมป์ใช้ประจำ)


    1.สเกลเรื่องใหญ่เกินไป

    มันเป็นเรื่องปกติของการ์ตูนเรื่องยาว ที่จำเป็นต้องให้สเกลเรื่องใหญ่ขึ้น ถ้าให้เปรียบเทียบก็เหมือนการ์ตูนกีฬา ตอนแรกเล่นในชมรม จากนั้นก็ระดับเขต  ต่อมาก็ระดับจังหวัด ต่อจากนั้นก็ระดับประเทศ และสุดท้ายก็ระดับโอลิมปิกเลยทีเดียว

    สเกลเรื่องใหญ่ขึ้นนั้นพบมากในการ์ตูนเรื่องยาว ยิ่งเห็นได้ชัดคือการ์ตูนจัมป์ อย่างดราก้อนบอลคู่ต่อสู้เก่งขึ้น จากต่อสู้บนโลกไปจนถึงจักรวาล และอีกโลกหนึ่งเลยก็มี หรืออย่างวันพีชก็มี โลกใหม่ ทวีปใหม่ จนกลายเป็นจักรวาลวันพีชเลยก็มี (ก็การ์ตูนออกทะเลนี้น่า)

    ความจริงสเกลเรื่องให้ใหญ่ขึ้นนั้น ทำให้การ์ตูนดูยิ่งใหญ่ ดูเป็นจักรวาลขึ้น และสามารถใส่ตัวละครจำนวนมาก สามารถทำได้หลายตอนได้ (แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังๆ ล้วนใช้มุกแบบนี้ทั้งสิ้นดี) กว่าเรื่องเรียบๆ เรียบตลอดจนจบ  แต่ในขณะเดียวมันก็เป็นดาบสองคม ที่ไม่สามารถทำให้เนื้อเรื่องสนุก ต้องให้คนอ่านเข้าใจโลกของคนแต่ง  หรือใส่อะไรไม่เข้าท่า เช่น มุกซ้ำซาก (จตุราชา ล้างไพ่ อะไรแบบนี้)  และไม่น่าติดตามละก็ มันจะยิ่งดิ่งเหว

     

    10 อันดับคล่าวๆ ก็มีเพียงเท่านี้ครับ ซึ่งไม่รู้ว่ามันครอบคลุมหมดหรือเปล่า ของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับเซ็นต์ของคนอ่านเองด้วยว่า มันออกทะเลหรือไม่ออกทะเล

    สิ่งที่ต้องการจะสื่อในบทความนี้ไม่ใช่ว่าการออกทะเลนั้นไม่ดี อยากที่ผมย้ำว่ามันขึ้นอยู่กับมุมมองของคนอ่าน ว่าคุณรับได้หรือไม่ได้ ในการออกทะเล ถ้าออกทะเลยังคงสนุกอยู่ก็ยังคงตาม ถ้าออกทะเลไม่ได้เรื่อง ห่วย ก็เลิกตาม  มันเป็นสิทธิส่วนตัวของเรา

    อย่างไรก็ตาม จะออกทะเลไปมากเท่าใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือบทสรุปของเรื่อง บางคนแม้จะสิ้นหวังกับออกทะเล แต่ก็คงจะตามเพื่อหวังว่าบทสรุปมันจะออกมายังไง ดี พอใจตามความคิดเห็นของเราหรือไม่   ถ้าหากบทสรุปไม่ดี หรือตัดจบขึ้น เมื่อนั้นแหละคือความเลวร้ายในการอ่านการ์ตูนที่แท้จริง

    การอ่านการ์ตูนแต่ละเรื่องก็ต้องทำใจ และอย่าเก็บไปคิดมาก บางอย่างก็ละทิ้ง ลบจากความทรงจำเป็นดีที่สุด

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×