ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #11 : แพร์ซโพลิส(Persepolis) อิหร่านในอีกมุมมองหนึ่ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.62K
      12
      13 ก.ค. 60


                    ที่จริงตอนนี้เป็น “แว่วเสียงเรไร” แต่บังเอิญจริงๆ ตอนที่ผมเขียนนั้น ดัน “หมดมุก” ตัน ซะงั้น ไม่รู้จะเขียนอะไรดี คงเพราะการ์ตูนมันดังล่ะมั้ง ผมเลยไม่อยากจะเขียนถึงซักเท่าไหร่ ถ้าจะเขียนผมกลับชอบเรื่อง “ฝันร้ายหวนคืน” มากกว่า ซึ่งผมชอบจริงๆ ฉากที่ครอบครัวร่วมกันสับคุณยายนี้มันสุดยอด อึ้งจริงๆ

                    พูดตรงๆ แว่วเสียงจัญไรผมอ่านแล้วเฉยๆ นะ คนอื่นจะมองโหดสาดเลือดสาดไงก็เถอะ สาเหตุหนึ่งคงจะเป็นพระเอกตายหรือพระเอกเป็นบ้าตอนจบละมั้งที่ผมรับไม่ได้(กริ๊ดๆ พระเอกของเฮีย) ไม่เหมือนชั่วโมงเรียนพิศวงที่ยามางิชิของเฮียตายแล้วก็คืนชีพใหม่ได้

                    เหตุผลส่วนตัวล้วนๆ

                    ปกติผมไม่ค่อยดูอมิเนชั่นเท่าไหร่นัก เนื่องจากอมิเนชั่นส่วนใหม่มักเป็นภาพที่รวดเร็ว (คนแก่ตามไม่ทันอ่ะ) และไม่โหดเท่าหนังสือ(มังงะ) เท่าไหร่นัก อีกทั้งผมไม่ชอบซับไทย(ในขณะที่คนอื่นๆ ชอบ) เนื่องจากเหตุผลส่วนตัวนะ ไม่ขอพูดดีกว่า(มันฟังเหมือนเป็นโทนเดียวกันไง สงสัยผมแยกเสียงไม่ได้มั้ง)

                    ผมไปดูบทความที่เขาวิเคราะห์การ์ตูนตามเว็บต่างๆ ดู ปรากฏว่าหลายเจ้าวิเคราะห์จนเหลือเชื่อเลยนะครับเหลือเชื่อว่าจะเขียนได้ ถึงขนาดเรียกได้ว่า”ไปเป็นดร.การ์ตูน”ดีกว่ามั้ง อย่างเช่นการ์ตูนเรื่อง”หุ่นหายนะบากุราโนะ” ประเด็นเกี่ยวกับเด็กนี้โครตแรงจริงๆ เขาก็วิเคราะห์ซะผมอึ้งเลยว่ามีแบบนี้ด้วย ส่วนตัวผมไม่วิเคราะห์แบบนี้หรอกนะ แค่มองตามเนื้อเท่านั้นเอง อันไหนมันเกี่ยวกับจิตวิทยา, ฆาตกร ผมก็จะเอามานำเสนอ

                    เด็กสมัยนี้มันก้าวไกลจริงๆ การ์ตูนบางเรื่อง ไม่ฉายในไทยด้วยซ้ำ ก็ได้ดูได้ทันกระแสญี่ปุ่นจริงๆ แค่ดาวน์โหลดจากเว็บอมิเนชั่นก็ได้ดูแล้ว ส่วนตัวผม การ์ตูนที่ผมเอามาส่วนใหญ่เก่าครับ ขอบอกว่าเก่า เพราะผมมันคนแก่อายุ 26 นี้น่า มาตามกระแสดูเรื่องโน้นเรื่องนี้ไม่ไหวหรอกครับ คอมผมอืดด้วย ดังนั้นจงยอมรับเถอะว่าเรื่องที่ผมเอามาลงนั้น “เก่า” จนถึง “เก่านรก” แน่นอน อย่างเช่น “แบทแมน”, “ยมทูตสีขาว”, “คิไคเดอร์”, “คิทาโร่”,”หนุ่มน้อยทะลุมิติ”ฯลฯ

                    เออ.....ตอนต่อไปเป็นบันทึกมรณะหรือไดอารี่แห่งอนาคตครับสนุกสมกับเป็นการรอคอยของผมเลยทีเดียว และ มีฉากสังหารหมู่ในโรงเรียนอีกแล้ว ฮิตจริงๆ ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นไม่มีคดีที่ว่าเกิดขึ้นสักหน่อย มีแต่ต่างประเทศล้วนๆที่เกิด แต่ญี่ปุ่นชอบกันจังที่เอาเหตุการณ์พวกนี้ใส่ในการ์ตูน ผมจะเอาการ์ตูนเรื่องนี้มาเจาะลึกในประเด็น “ฆ่าเพราะมันเป็นเกมส์” ครับ

                    


    แพร์ซโพลิส(
    Persepolis)
    แปลเป็นไทยเรียบร้อย บริษัท
    HAPPY จัดจำหน่าย

     

                    คุณรู้จักอิหร่านมากแค่ไหน....และคุณสนใจไปเที่ยวอิหร่านหรือเปล่า ในขณะที่ คนอื่นๆ ใฝ่ฝันจะไปญี่ปุ่น,เกาหลี,อังกฤษ

                    เรามักอิหร่านในฐานประเทศที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับอเมริกา, การปกครองแบบโลกมุสลิน และการก่อการร้าย,นิวเคลียร์

                    คุณรู้จักประเทศอาหรับมากขนาดไหน

                    ผมจำได้ผมเขียนเรื่อง “รักนี้ต้องตัดหัวที่ซาอุ” ที่นำเสนอกฎหมายเป็นชู้ว่าถ้าผู้หญิงทำผิดฐานเป็นชู้จะโดนประหารโดยการตัดหัว” หรือ “ซาอุอาระเบียเป็นประเทศที่กฎหมายไม่เป็นธรรมต่อญี่ปุ่นที่สุดในโลก” ผลคือผมโดนด่า ทั้งๆ ที่ผมเขียนตามหนังสือบอกแท้ๆ ไม่ได้ดัดแปลง ใส่ไข่แต่อย่างใด ผมไม่เคยไปซาอุก็จริง แต่ข่าวที่ออกมานั้นไม่ค่อยดีนัก อย่างหนังหลายๆ เรื่องที่นำเสนอออกมาก็เช่นกันมักกล่าวถึงเป็นอาหรับไม่ดีเท่าไหร่

                    กลับมาที่อิหร่านต่อ ประเทศอิหร่าน เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ชื่อเดิมก็คือ เปอร์เซีย มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน

                    จากประวัติศาสตร์เท่าที่ดูส่วนใหญ่ประวัติอิหร่านจะมีแต่สงครามกับการเมืองที่ชอบเปลี่ยนผู้นำเป็นว่าเล่น การลุกขึ้นมาต่อต้านของประชาชน และทั้งหมดก็ส่งผลให้อิหร่านเป็นประเทศที่เรารู้จักกันจนถึงปัจจุบัน

                    และมีการ์ตูนที่กล่าวถึงอิหร่านครับ ชนิดที่ว่าโดนใจจริงๆ สำหรับคนทั่วโลก ว่าโอ้เยส มันใช่นะเนี้ย อิหร่านเป็นแบบนี้จริงๆ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลอิหร่านไม่มีความคิดเห็นแบบนี้แน่นอน ผลคือการ์ตูนนี้โดนแบนอย่างเด็ดขาดในประเทศของเขา

                    การ์ตูนนี้ว่า มีชื่อว่า Persepolis ครับ

                    แพร์ซโพลิส(Persepolis)  เป็นการ์ตูนแนวดราม่า,การเมือง และเรื่องทั่วๆ ไปในอิหร่าน ในสายตาของเด็กผู้หญิงมาร์จานี ซาตาร์ปี (Marjane Satrapi) ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น จนย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ที่ล้วนแต่ต้องพบคำถามของชีวิต สิทธิเสรีภาพ สงคราม และการสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ ไปจนถึงวิธีคิดและการดิ้นรนแสวงหาเพื่อปรับตัวเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมในต่างประเทศของเธอเอง

                     

                    จนผมดูมา 10 รอบ!!

                    การ์ตูนหนังยาวญี่ปุ่นนี้ส่วนใหญ่จะออกมาเน้นแอ็คชั่นไม่ก็ผจญภัยใช่เปล่าครับ ขนาดโคนันยังเน้นแอ็คชั่น แอ็คเฟคเลย แต่ไม่ค่อยมีอะไรแฝงสักเท่าไหร่นัก ดูแล้วจบเลย แต่สำหรับ แพร์ซโพลิสขอบอกว่ามันแฝงยิ่งกว่าแฝงครับ มุกก็แรงมากๆ ไม่โหด ไม่แอ็คชั่น แต่กลับมันอย่างเหลือเชื่อ จนหลายๆ คนคิดว่า “อิหร่านน่ากลัวขนาดนี้เลยเหรอ”

                    ในความเรียบง่ายขาวดำนั้นมันแฝงไปด้วยความสะพรึงอย่างเหลือเชื่อ

                    ถึงแม้เรื่องของอิหร่าน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวกับเรา มีความสัมพันธ์กับไทยน้อยมาก  แต่ประเด็นที่สอดแทรกอยู่ในหนัง ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง สังคม และวัฒนธรรมนั้น เก็เป็นประเด็นปัญหาที่ไทยประสบพบเหมือนกัน เช่นประเด็นวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามากลืนชีวิตของสังคม, สิทธิผู้หญิง, ชีวิตในเมืองนอก, สงคราม, วัยรุ่น เรียกได้ว่าอิหร่านไม่แตกต่างกับไทยสักนิด

                    
                     การ์ตูนเรื่องนี้มาจากชีวิตจริงครับ คนเขียนก็ตัวเอกในเรื่องแหละ เธอก็คือมาร์จานี ซาตาร์ปี (
    Marjane Satrapi) สาวชาวอิหร่านวัย 38 ปี ซึ่งตอนแรกเขียนเป็นนิยายภาพ(Graphic novel) แม้ลายเส้นและหนังจะเป็นข่าวดำ เรียบง่าย ไม่มีรายละเอียดลูกเล่นใดๆ ทั้งสิ้น แต่การดำเนินเรื่องสนุกกว่าหนังการ์ตูนญี่ปุ่นบางเรื่องเสียอีก  จนนิตยสารไทม์ยกย่องว่าเป็นการ์ตูนที่ดีที่สุดของปี 2546 และติดอันดับหนังสือขายดีของหลายสำนัก การ์ตูนเรื่องนี้ก็แปลไทยเรียบร้อยในสำนักพิมพ์กำมะหยี่ และด้วยความคุณภาพและเนื้อหาโดนใจของการ์ตูนเรื่องนี้ก็ส่งให้แพร์ซโพลิสได้ทำเป็นหนังอนิเมชั่นขาวดำสัญชาติฝรั่งเศส-อเมริกัน ซึ่งเธอลงมือกำกับเองร่วมกับเพื่อนสนิท และหนังก็ได้รับรางวัล Jury Prize ที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งล่าสุดอีกด้วย แต่รัฐบาลอิหร่านไม่ยอมรับ ไม่ยินดีต่อความสำเร็จของหนังเรื่องนี้เลยครับ เพราะหนังเรื่องนี้สะท้อนการเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิง-ชายออกมาอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา จนกลายเป็นหนังการ์ตูนขบถ สำหรับอิหร่าน(ตอนแปลเป็นไทยไม่รู้เขาจะตัดฉากที่เกี่ยวกับประเด็นศาสนาหรือเปล่าไม่รู้)

                    สำหรับชื่อหนัง แพร์ซโพลิส(Persepolis) มาจากชื่อเมืองหลวงเก่าของเปอร์เซีย อดีตจักรวรรดิอันรุ่งเรืองยุคโบราณที่มีประวัติความเป็นมาหลายพันปี ดินแดนแห่งนี้ผ่านการยึดครองของชนชาติต่างๆ ทั้งกรีก เติร์ก มองโกล และชนเผ่าอาหรับผู้มาพร้อมกับศาสนาอิสลามและการ์ตูนนี้ก็ได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงนี้ด้วย....

                    สำหรับเรื่องย่อ การ์ตูนเรื่องนี้เล่าเรื่องอิหร่านผ่านสายตาเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งชื่อมาร์จานี ซาตาร์ปี ที่เล่าเรื่องแบบย้อนอดีตเป็นขาวดำ

                    มาร์จานี ซาตาร์ปี เป็นเด็กหญิงที่อาศัยในเมืองหลวงของอิหร่านปี 1978 ในครอบครัวที่ร่ำรวย มาร์จานีเป็นเด็กสาวค่อนข้างก๋ากั่นและได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกค่อนข้างมาก และมีฮีโร่ดวงใจคือบรู๊คลี

                    หนังเริ่มเรื่องในตรงที่เหตุการณ์สำคัญในอิหร่านคือ สมัยการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวี ของพระเจ้าซาร์(ในปี 1979) นำโดยอายะตุลลอห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลาม

                    ในช่วงนั้นชาวอิหร่านหลายคนชื่อว่านี้คือความหวัง มันจะนำมาซึ่งความเจริญและความสงบสุขแก่ประเทศอิหร่าน

                    แต่ในมุมมองของมาร์จานีไม่มองแบบนั้น ในขณะที่ครอบครัวต่างใส่ร้ายพระเจ้าซาร์อิหร่านอย่างเต็มที่ เด็กสาวก็ให้ความเห็นว่า “หนูเข้าข้างพระเจ้าซาร์ เพราะเขาแต่งตั้งโดยพระเจ้า”

                    แน่นอนพ่อของเด็กสาวเงียบไปชั่วขณะ ก่อนที่จะพูดว่า “โรงเรียนยัดเยียดความคิดนี้ละสิ”จากนี้พ่อของเด็กน้อยก็เล่าประวัติซาร์ว่าเป็นกษัตริย์ที่เลว จับปู่ของลูกเข้าคุก ฯลฯ

                    แต่...หลังจากซาร์ถูกถอดตำแหน่ง ในทศวรรษ 1970-1980 เหตุการณ์การเมืองของอิหร่านก็ไม่ดีขึ้น แถมต้องเผชิญปัญหาต่างๆ นาๆ ทั้งการปฏิวัติอิสลาม ระบอบการปกครองที่เข้มงวด และสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ทำให้มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงและคนไม่เห็นด้วย จนความตายกลายเป็นเรื่องปกติของประเทศในเวลานั้น

                    “ประเทศนี้บ้าๆ ไปแล้ว” แม่ของมาร์จานีพูดกับแม่ของสามีของเธอ

                    ในขณะที่ครอบครัวกำลังเศร้าอยู่นั้นมาร์จานีตระโกณต่อหน้าครอบครัวว่า “พระเจ้าซาร์ออกไป พระเจ้าซาร์ออกไป”

                    
                    เห็นไหมครับเด็กมันก็เหมือนผ้าขาวแหละ เพียงแต่เราจะยัดเยียดความคิดใดๆ ให้เด็กคล้อยตามเท่านั้น โดยที่เด็กไม่รู้ด้วยซ้ำว่าความคิดนี้ถูกหรือผิด

                    โห...นี้แค่เริ่มต้นนะเนี้ย แรงจริงๆ

                    จากนั้นเรื่องก็เริ่มดำเนินในมุมมองของเด็กน้อย ที่เริ่มมองเห็นชีวิตคนอิหร่าน(โดยผ่านครอบครัวของเธอ) ผู้คนทั้งประเทศที่ต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างยากลำบาก ท่ามกลางความคลั่งชาติ คลั่งศาสนา ครอบครัวต้องอพยพออกจากประเทศ รัฐบาลใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง

                    1 ปีหลังจากการปฏิวัติ ซัดดัมผู้นำอิรักเห็นฉวยโอกาสตอนที่ประเทศอิหร่านเริ่มอ่อนแอ ก่อสงครามขึ้น จนเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างอิรัก-อิหร่าน ทุกคนสุภาพจิตเสีย เสียงปืน เสียงระเบิดดังทุกค่ำคืน มีผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งเพื่อนสนิทของเธอก็ต้องลาโลกเพราะระเบิดลงกลางบ้านพอดีทำให้ทุกคนที่อยู่ในบ้านตายหมด

                    ท่ามกลางความวุ่นวายของบ้านเมือง แม้ว่าครอบครัวของเธอจะมีฐานะดี แต่ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นที่ต้องประสบกับปัญหา การดูถูกผู้หญิง ปัญหาข้าวยากหมากแพง

                    ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลก็เริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับมากมาย เริ่มมีการกำหนดพื้นที่และจำกัดสิทธิสตรี นอกจากนี้มีการกวาดล้างวัฒนธรรมตะวันตก ผู้หญิงอิหร่านเริ่มโดนจำกัดสิทธิต่างๆ นาๆ

                    และการ์ตูนเรื่องนี้ก็จับประเด็นเหล่านี้มาเล่าแบบเจ็บๆ แสบเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

                   

                    ดูจากภาพเมื่อเด็กอายุ 10 ขวบ โรงเรียนก็เริ่มมีกฎบังคับให้ผู้หญิงสวมผ้าคลุมหน้าทุกคน(หรือที่เรียกกันว่า "ฮิจาบ") ถ้าใครไม่สวมจะไม่ให้เข้าโรงเรียนเด็ดขาด จากการ์ตูนเราจะเห็นว่า ในตอนแรกผู้หญิงอิหร่านจำนวนมากปฎิเสธที่จะสวมผ้าคลุมผมเพราะมันจำกัดสิทธิสตรี ในขณะที่มาร์จานี ซาตาร์ปีอายุ 10 ขวบในตอนนั้น มองไม่เห็นความจำเป็นของผ้าคลุมศีรษะ ไม่เข้าใจว่าผ้าคลุมศีรษะมีประโยชน์อย่างไร ทำให้เธอและเพื่อนๆ หลายคนใช้มันเป็นเครื่องเล่น ต่างๆ เพื่อความสนุกสนานตามประสาเด็กๆ .....

                    ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังการปฏิวัติ ผู้หญิงอิหร่านยังสามารถออกจากบ้านไปไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสวมฮิจาบ แต่ภายในช่วงเวลาหนึ่งเดือนหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 อยาตุลเลาะห์ โคมัยนีก็ออกคำสั่งให้ผู้หญิงต้องสวมฮิจาบตามกฎอิสลาม ที่ระบุไว้ในคัมภีร์กุรอ่าน  โดยแนวความคิดการปกปิดใบหน้าและเรือนร่างของผู้หญิงนั้นตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ว่า เรือนร่างของผู้หญิงเป็นสิ่งยั่วยุกามารมณ์ มันเป็นสิ่งที่จะทำให้เพศชายสูญเสียการควบคุมตน ดังนั้นผู้หญิงจึงควรปิดบังเรือนร่างของเธอให้มิดชิด ซึ่งแนวความคิดนี้ตะวันตกอาจเห็นว่าเป็นการกดขี่ผู้หญิง แต่ผู้หญิงสังคมอิหร่านจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับความคิดของตะวันตก การสวมผ้าคลุมศีรษะเป็นการประกาศจุดยืนว่า เธอคือมุสลิมผู้มีบุคลิกที่เพียบพร้อมด้วยศีลธรรมจรรยา มีความสงบเสงี่ยมถ่อมตน พวกเธอไม่ยอมที่จะเปลือยร่างกาย หรือฟรีเซ็กส์เหมือนผู้หญิงตะวันตก

                   

                    ประเด็นต่อมาก็มาร์จานีโดนผู้ใหญ่แปลกหน้า(คณะปกครองหัวอนุรักษ์)ด่าในขณะซื้อเทปผี(กฎหมายสั่งห้ามไม่ให้มีสินค้าจากวัฒนธรรมตะวันตกมาขาย ทำให้ซื้อเป็นเทปผีแทน) ที่เธอทำตัวแบบตะวันตก ใส่เสื้อผ้าที่มีคำว่า “PUNK is NOT DES”ติดกลางหลัง โดนด่าว่าใส่ร้องเท้าไนท์กี้, ติดตราไมเคิล แจ๊คสัน แสดงให้เห็นว่าประเทศนี้เข้มงวดต่อกฎหมายมากเพียงใด

                   

                    อีกประเด็นคือกฎหมายต้องห้ามสุราและไวน์ เพราะอิหร่านมีกฎหมายเข้มงวดในการจำกัดไม่ให้มีปาร์ตี้กลางคืน ทำให้ครอบครัวของมาร์จานีต้องแอบย่องไปกลางคืนเพื่อไปงานปาร์ตี้ลับๆ เพื่อไม่ให้ตำรวจจับได้เพราะถ้าจับได้ละก็คุกยาว ซึ่งฉากนี้เสี้ยวไส้พอๆ กับลุ้นโมกุนต่อยชนะตัวร้ายฟริซเซอร์ปานฉะนั้น

                    เมื่อมาร์จานีโตเป็นวัยรุ่น เข้าคิดเสรีแบบชาติตะวันตกก็เพิ่มขึ้นถึงขั้นเถียงครูสอนศาสนาในสิ่งที่รัฐบาลปิดบัง ถ้าเป็นอเมริกาเป็นสิ่งที่ดี แต่กลับสังคมอิหร่านถือว่าสิ่งนั้นเลวร้าย จนครอบครัวต้องส่งเธอไปเรียนต่อในต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาความคิดสวนกระแสนี้

                    แต่การใช้ชีวิตมาร์จานีในยุโรปก็เริ่มต้นขึ้น แต่ไม่ง่ายเลยที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม สังคม ความคิดของยุโรป ที่มองอิหร่านเป็นประเทศที่ล้าหลัง สงคราม เป็นประเทศหัวรุนแรงประเทศหนึ่ง

                    และเมื่อถึงขีดสุด สุดท้ายมาร์จานีก็กลับไปอิหร่านอีกครั้ง แม้ว่าอิหร่านจะมีเรื่องเลวร้ายมากมาย แต่เธอก็รักถิ่นฐานบ้านเกิด และก็พบอิหร่านเปลี่ยนไปจากเดิมมาก จนทำให้เธอเกือบสิ้นหวังในชีวิตต้องพึ่งจิตแพทย์ และเกือบฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า

                    
                    และเมื่อเธอตั้งตัวได้เธอก็เจอการจำกัดสิทธิสตรีอีก เช่นตามกฎหมายห้ามให้ผู้หญิงใส่น้ำหอม หรือทาลิปสติก ห้ามขี่จักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ ห้ามดูกีฬาที่ผู้ชายเล่น
    (กฎข้อนี้เริ่มได้รับการผ่อนปรนหลังอิหร่านได้เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลก) วาดภาพผู้หญิงแถนที่จะเป็นผู้หญิงเปลือยต้องสวมผ้าคลุมจนเหลือแต่ใบหน้า แต่ที่เลวร้ายคือชีวิตหลังหย่าที่ตกเป็นเป้าสายตาดูถูกของคนรอบข้างฯลฯ

                    และผลสุดท้าย เธอก็ต้องกลับไปยุโรปอีกครั้งเพราะทนต่อการใช้ชีวิตในอิหร่านไม่ได้ ปัจจุบันมาร์จานี ซาตาร์ปีเป็นนักเขียนในฝรั่งเศส

                    
                   มาร์จอเน่ ซาทราพิ เธออาจเป็นเด็กที่หยาบคาย เป็นนักเรียนตัวร้ายที่เถียงอาจารย์ เป็นพั้งค์ ไม่ทำตัวตามกฎหมายมุสลิน แต่ลึกๆ แล้วเธอก็เป็นหญิงคนหนึ่งกล้าแสดงออก ลองผิดลองถูก พยายามที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ในสังคมที่ศาสนาและการเมืองแยกไม่ออก ถ้าคุณโยนอคติเกี่ยวกับ เพศ วัฒนธรรม ศาสนา สงคราม และการเมือง ทิ้งไป และมองมาร์จอเน่ ซาทราพิ คุณจะเข้าใจและรักเธอ แม้ปัญหาทั้งหลายในประเทศจะยากที่จะแก้ไข มันไม่ใช้หน้าที่ของคุณในการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่เราก็สามารถยอมรับในเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่าง และเปิดโลกให้มากขึ้นก็ได้

                    คนอิหร่านทุกคน ใช้ว่าจะมีแต่คนไม่ดี หัวรุนแรง น่ากลัว เสียหมด เรามักมองคนอิหร่านในทางลบจากข่าวทีวีและหนังสือพิมพ์ โดยไม่มองตัวเราและรอบตัวเราว่ามันรุนแรงพอๆ อิหร่านหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ต่างกันเลย ใช่ว่าคนในประเทศของเราจะเลิศเลอ คนดี คนชั่วมีอยู่ทั่วทุกแห่งอำนาจและศาสนาถูกคนบางกลุ่มชักนำไปในทางที่ผิดได้เสมอ

                    อีกอย่างเราไม่ควรมองอิหร่านเป็นประเทศกดขี่ผู้หญิงมากนัก เดี๋ยวนี้อิหร่านก็เริ่มยอมรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว ทุกวันนี้ผู้หญิงอิหร่านถือได้ว่าก็มีสิทธิเสรีภาพอย่างมากทีเดียวในหน้าที่การงาน ดีกว่าบรรดาผู้หญิงในประเทศแถบตะวันออกกลางทั้งหมดก็ว่าได้ ในด้านการศึกษา อิหร่านได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ก้าวหน้าที่สุด  ในด้านแรงงานผู้หญิงก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น มีผู้หญิงรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกต่างๆนับร้อย และผู้หญิงมีสิทธิในลงสมัครรับเลือกตั้ง ในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้นำท้องถิ่นถึง 300 คน   อิหร่านยังมีผู้กำกับหนังที่เป็นผู้หญิง, ผู้กำกับละครเวทีหญิง

                  
                   
    การ์ตูนเรื่องนี้ผมขอบอกว่า ได้เห็นมุมมองอิหร่านอีกแบบหนึ่ง ที่สนุก หดหู่ เศร้า เครียด ในเวลาเดียวกัน ดูแล้วได้ข้อคิดดี
    ด้วย อยากให้ทุกคนหามาดูสักครั้ง พวกเสื้อแดง เหลืองก็ดูหน่อยก็ไม่ว่ากัน ดูว่าการเปลี่ยนผู้นำไปๆ มาๆ จะส่งผลยังไง ถ้าหาหนังที่ว่าไม่เจอมาปรึกษาผมได้นะครับ.....

     + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×