ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องจริงทะลุโลก (Of The World)

    ลำดับตอนที่ #32 : คาโรจิ (Karochi syndrome) ทำงานหนักจนตาย

    • อัปเดตล่าสุด 29 พ.ย. 51



    คาโรจิ (
    Karochi syndrome)

     

    ผมอ่านการ์ตูนเรื่องหนึ่งชื่ออะไรก็ไม่รู้เป็นเรื่องของชายคนหนึ่งที่ทำงานบริษัทจนตายคาโต๊ะทำงานแล้วต่อมาดัดแปลงจนเป็นหุ่นยนต์

    พึ่งมารู้ที่หลังว่าว่าทำงานหนักจนตายนี้ก็เป็นโรคกลับเขาด้วย!??

    งานมาก่อน ชีวิตรองลงไป

    หลังพ่ายแพ้บอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 คนญี่ปุ่นต่างสอนลูกหลานมุ่งทำงานหนัก... พลังประชาชนนำพาประเทศชาติก้าวผงาดขึ้นครองตำแหน่งชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลกได้ด้วยเวลาไม่กี่สิบปี

    ผลจากการทำงานหนักติดเป็นนิสัยนั้นเอง ก่อให้เกิดคำเรียกขาน  โรคคาโรชิ” (Karochi syndrome) เป็นโรคของคนที่ทำงานหนักจนตาย หรือจะเรียกอีกอย่างก็ต้องบอกว่า ทำจนตายคา (หน้า) ที่ ถ้าเป็นของพี่ไทยก็จัดอยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันกับโรคใหลตายนั่นเอง

    โรคนี้มีรายงานครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เริ่มมีการศึกษาตั้งแต่ปี 1970 ที่มาของการจับตาตั้งข้อสังเกตอันเนื่องจากญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทำไมประเทศนี้จึงเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในที่สุดก็พบกับพฤติกรรมตอบโจทย์ เป็นเพราะคนญี่ปุ่นมีความขยัน อดทน มีความรักและผูกพันต่อองค์กรทำงานของตน จึงมุมานะทำงานหามรุ่งหามค่ำ ส่งผลให้มีภาวะความดันเลือดสูง เป็นโรคหัวใจและอัมพาตจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอมากขึ้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ทำงานหนักจะมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะคนที่เครียดจากงานมากๆ คนที่ทำงานหนักมีความเสี่ยงต่อ 3 โรคดังกล่าวสูงมากกว่าปกติและคนที่เครียดน้อย

    ส่วนชื่อของโรคมาจากการศึกษาจึงเกิดคำว่า Karochi ซึ่งแปลว่า Death from overwork ถ้าเป็นไทยก็ตรงตัวว่า เสียชีวิตจากการทำงานหนัก ด้วยเหตุนี้พักหลังมาญี่ปุ่นจึงมีนโยบายรณรงค์ให้คนญี่ปุ่นพักผ่อนให้มากๆ สนับสนุนให้คนญี่ปุ่นออกเดินทางท่องเที่ยว ทำกิจกรรมบันเทิงต่างๆ ขณะเดียวกันก็ไม่สนับสนุนให้พนักงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานมากเกินที่กำหนดไว้ต่อสัปดาห์

    ข้อมูลของกระทรวงแรงงาน สาธารณสุขและสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น เผยตัวเลขตั้งแต่ปี ที่แล้วนับจนถึงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา แรงงานชาวญี่ปุ่นล้มป่วยหรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจาก ทำงานหนักมีถึง 355 ศพ เพิ่มจากปีก่อนนี้ 7.6 เปอร์เซ็นต์ แยกยอดผู้เสียชีวิตมีถึง 147 ศพ...!

    สาเหตุการล้มป่วยหรือเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกือบทั้งหมด เพราะเป็นลมวูบหรือไม่ก็ หัวใจวายเฉียบพลัน กลุ่มแรงงานที่เสียชีวิตมากที่สุดคือช่วงอายุ 30-40 ปี ตามด้วยกลุ่มอายุ 20-30 ปี และกลุ่มอายุ 50 ปี ตามลำดับ

    มิคิโอะ มิซูโน ทนายความผู้ต่อสู้หยุดยั้งระบบคาโรจิบอกเล่าประสบการณ์ทำงาน ระบุกลุ่มคนเสี่ยงเสียชีวิตมากที่สุดจากคาโรจิในอนาคตอันใกล้นี้คือช่วงอายุ 20-30 ปี เหตุเพราะนโยบายความพยายามรักษาตำแหน่งชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลกเอาไว้ ทำให้การทำงานระบบ พาร์ตไทม์หรือ ทำมากได้เงินมากเฟื่องฟู

    กลุ่มคนรุ่นอายุ 20-30 ปี จึงโหมทำงานกันหนัก เพราะเห็นว่าสภาพร่างกายตัวเองยังแข็งแรง สมบูรณ์ ผนวกกับแรงงานคนกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ต้องเผชิญสภาพ ต้องการเนื้องานมาก แต่แรงสนับสนุนน้อยยิ่งทำให้เกิดภาวะกดดันในการทำงาน ความเครียด การเจ็บป่วย และล้มตายจึงตามมา

    กลุ่มอาชีพที่เผชิญสภาพการณ์ดังกล่าวมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมคมนาคมขนส่ง...

    ส่วนอีกอาชีพหนึ่งเห็นตายกันก็คงเป็นนักเขียนการ์ตูนมั้ง เพราะเห็นตายมาสองท่านแล้ว ก็คือ โอซามุ เทะซึกะ คนวาดเจ้าหนูอะตอม และ ฟูจิโกะ เอฟ ฟูจิโกะ ที่วาดการ์ตูนจนตายคาโต๊ะทำงานมาแล้ว


                  โรคนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะญี่ปุ่นเท่านั้น หนุ่ม-สาว วัยทำงานของชาวจีนในปัจจุบัน ต่างก็ทำงานเกินเวลา ไม่มีวันหยุด นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ครบ
    3 มื้อ จนร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนแรงลงทุกที

    จากผลสำรวจของหนังสือพิมพ์ชิงเหนียนเป้า ระบุว่า จากจำนวนผู้รับการสำรวจ 1,218 คน มีร้อยละ 65.6 ที่ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงใน 1 วัน และร้อยละ 20 ทำงานมากว่า 10 ชั่วโมงใน 1 วันชีว์ซุ่ย พนักงานบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งในเมืองไท่หยวน มณฑลซานซี ซึ่งเพิ่งเข้าทำงานได้เพียง 1 ปี ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่รับรู้รสชาติของการทำงานหนัก โดยเวลาทำงานของเขาจะเริ่มจาก 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่มในทุกๆ วัน

    ชีวิตผมตอนนี้มีแต่งาน งาน และงานเขากล่าว

    จากการสำรวจผ่านทางอินเตอร์เนทของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพบว่า กว่าร้อยละ 80 ของผู้กรอกแบบสำรวจคิดว่าตนเองมีอาการป่วยจากการทำงานมากเกินไป โดยร้อยละ 65 จากจำนวนดังกล่าวระบุว่าตนเองไม่มีทางแก้ไข เพราะไม่รู้จะหาเวลาพักผ่อนได้อย่างไร

    ส่วนแบบสอบถามถึงสาเหตุของการทำงานหนักเกินไป ในเวบไซด์ฮุ่ยหยวน นั้นมีผลระบุว่า ร้อยละ 65.38 ของผู้กรอบแบบสอบถามเชื่อว่ามาจากความกดดันในการทำงาน ร้อยละ 28.03 เชื่อว่ามาจากระยะเวลาในการทำงานที่ยาวนานเกินไป และร้อยละ 11.54 เชื่อว่ามาจากงานระดับความหนักและยากของงาน

    ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่า ร้อยละ 82 ของผู้ทำแบบสอบถามยินยอมที่จะทำงานมากกว่า 15 ชั่วโมงต่อวัน หากได้เงินตอบแทนที่มากพอ

    ทำงานจนตายนายจ้างต้องรับผิดชอบ

    "คนวัยทำงานมักเอาชีวิตเข้าแลกเงิน ส่วนคนชราต้องเอาเงินมาแลกชีวิต และเมื่อทำงานจนตายจริง กลับไม่ถือว่าตายในหน้าที่" นักวิชาการซึ่งทำงานในด้านการคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน กล่าวในการประชุมเพื่อเสนอให้มีการบรรจุ "การทำงานหนักจนตาย" ไว้เป็นส่วนหนึ่งในข้อกฏหมายแรงงานเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง โดยนักวิชาการกล่าว ** กว่า หากมีการทำงานหนักเกินกว่ากำหนดจนเสียชีวิต บริษัทหรือกิจการของผู้ว่าจ้างควรจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง

    คืนก่อนวันตรุษจีนในปีที่ผ่านมา มีคนงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกวางตุ้งประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างการทำงาน โดยก่อนหน้านั้นเขาต้องทำงานล่วงเวลาต่อเนื่องมามากกว่า 1 เดือนเต็ม

    นอกจากนั้นหวงซูเหม่ย ที่ปรึกษาอาวุโสด้านกฎหมาย สหพันธ์สตรีจีนประจำกวางตุ้ง ให้ข้อมูลว่า คนงานสตรีที่เป็คโรคเรื้อรังจากการทำงานทุกรายต่างเคยต้องทำงานล่วงเวลาต่อเนื่องกันประมาณ 14 – 16 ชั่วโมงต่อวันมาก่อน

    การตายด้วยอาการ คาโรชินี้เริ่มพบบ่อยขึ้นจนในปี 1970 มีการศึกษากันอย่างจริงจัง และเป็นที่ยอมรับในทางกฎหมายในช่วงทศวรรษที่ 1980 ว่าการทำงานหนักเป็นสาเหตุให้เกิดการตายได้ ซึ่งบางครั้งอาจตายจากอาการความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นโลหิตในสมองแตก หรือบางครั้งฆ่าตัวตายเนื่องจากการเครียดจัด ซึ่งแต่ก่อนในปี 1988 มีเพียง 4% ของคดีเท่านั้นที่ศาลตัดสินให้เป็นการตายด้วยอาการคาโรชิ แต่ในปี 2005 กลับเพิ่มขึ้นเป็น 40% ซึ่งครอบครัวของพนักงานจะได้ค่าชดเชย 20,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 642,000 บาท

                     บริษัทต่างๆ ต้องหาสารพัดวิธีเพื่อให้พนักงานของตนเองเกิดความผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการมีห้องคาราโอเกะของบริษัท หรือการตบแต่งภูมิทัศน์ของที่ทำงานให้พนักงานคลายเครียด รวมทั้งมีการให้บริการแปลกๆ ในเมืองใหญ่ๆ เช่นห้องสำหรับงีบกลางวัน หรือร้านอาหารที่มีตู้ปลาขนาดใหญ่เพื่อให้คนนั่งทานอาหารไปมองดูการเคลื่อนไหวของปลาไปซึ่งเชื่อว่าทำให้เกิดการผ่อนคลาย

    เมื่อมาเทียบกับเมืองไทยแล้วก็น่าเห็นใจหลายคนหลายครอบครัวโดยเฉพาะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังต้องทำมาหากินชนิดที่เรียกว่าอาบเหงื่อต่างน้ำ บางบ้านผัวหาบเมียคอนก็แล้วยังไม่พอกินเลย ยิ่งจะให้จัดสรรเวลามาพักผ่อนหลายคนก็คงจะย้อนกลับมาว่าแล้วจะเอาอะไรกินเข้าไป ครั้นจะให้หันหน้าไปพึ่งรัฐก็ต้องรอก่อน...รอท่านรับรายงานก่อน เอาเป็นว่าช่วยเหลือตัวเองเป็นดีทีสุด ถือหลักที่ว่า ทำงานและดำรงตนอย่างมีความสุข มีใช้บ้าง เก็บบ้างตามสภาพดีกว่า ทำงานหนักแล้วต้องเอาเงินที่อุตส่าห์เก็บจากการทำงานหนักมาเป็นค่ารักษาพยาบาล



                http://www.thaiclinic.com/question_karochi.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    นักเขียนปิดการแสดงความคิดเห็น
    ×