ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #315 : Husbando & Waifu บ้าหรือสิ้นศรัทธาต่อผู้หญิง?

    • อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 57


                   สิ่งที่ผมเขียนจากนี้ไป เป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยเข้าถึงสักเท่าไหร่นัก (มั้ง) คือไม่มีที่ไหน (เว็บไทย) ที่เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ส่วนใหญ่เรามักเห็นพวกด่าคิโม่ยโอตาคุ  เอาหมอนข้างทำเป็นเมีย หรือ อวยตัวละครแล้วบอกตัวละครว่าเป็นเมียของตัวเอง แต่น้อยคนนักจะรู้จักแบบเจาะลึกว่า สิ่งเหล่านี้เรียกว่าอะไร

                    หากเราไปชุมชนโอตาคุ เรามักได้ยิน  “ใครคือฮัชเบิน (Husband) ของคุณ” และ “ใครคือไวฟ (Wife) ของคุณ” โดยคนทั่วไปนั้นจะคิดว่า Husband แปลว่าสามี  และ Wife แปลว่าภรรยาที่แต่งงานกันอยู่กันด้วยกัน ตามภาษาอังกฤษ หากแต่สำหรับโอตาคุแล้วสามีและภรรยาในที่นี้ไม่ใช่มนุษย์เป็นๆ ที่อยู่จริงหากแต่เป็นตัวละครจากมังงะ, อนิเมะ, วีดีโอเกม (รวมทั้งไอดอล, ดาราด้วย) ที่พวกเขารักกันจนอยากแต่งงานในชีวิตจริง

                    แน่นอนว่าหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องน่าขัน ที่มนุษย์เป็นๆ อย่างเรา มีความรักในตัวละครที่เป็นเพียงแค่ภาพ ลายเส้น จนถึงขั้นลืมโลก จนมีความคิดอยากแต่งงาน (และมีหลายกรณีที่มีการจัดงานแต่งงานจริงๆ ด้วย) อย่างไรก็ตาม เรื่องน่าขันนี้ สำหรับโอตาคุแล้ว มันคือ “วิถีชีวิต” ของพวกเขา ที่จริงจังเสียด้วยซ้ำ

     

     

    Azumanga Daioh ตอนที่ 15

    คลิป http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=0AgDbAT56I0#t=0

     

    ไวฟุ (Waifu) เป็นศัพท์แสลงของโอตาคุ Wife ที่โอตาคุใช้เรียกภรรยาที่เขารักมากๆ โดยภรรยาที่ว่าคือตัวละครหญิงจากมังงะ, อนิเมะ, วีดีโอเกม ส่วนถ้าเป็นโอตาคุที่เป็นผู้หญิงจะเรียกตัวละครชายที่รักมากๆ ว่า ฮัชบานโด (Husbando) ที่มาจาก Husband

                    ที่มาของ Waifu มาจากอนิเมะ Azumanga Daioh  ตอนที่ 15  (ในมังงะเป็นบทที่ 13) โดยในตอนประกอบด้วยตอนย่อยหลายตอน ซึ่งในตอนต้นมีฉากที่ตัวละครคนหนึ่งชื่ออาจารย์ “คิมูระ” ได้ทำรูปภาพถ่ายตกบนพื้น เมื่อเหล่านักเรียนหญิงเก็บรูปภาพนั้นขึ้นมาดู ก็พบว่าที่รูปถ่ายเป็นหญิงสาวสวยคนหนึ่ง

                    ทากิโนะ โทโมะ : “นี่อะไรเนี้ย เอ่อ...นี่เป็นรูปผู้หญิงนี้น่า”

                    คาสุกะ อายูมิ : “ว้าว เธอสวยจัง”

                    ทากิโนะ โทโมะ : “เธอเป็นใครอ่ะ?

    อาจารย์คิมูระ :Mai Waifu” (พูดเป็นภาษาอังกฤษ)

    พวกผู้หญิงทั้งหมด :  “ไม่จริงงงงงงงงงงงงง!!

                    ก่อนที่จะอธิบายมุกว่ามันฮ่าตรงไหน ต้องอธิบายเกี่ยวกับตัวการ์ตูนและตัวละครก่อน Azumanga Daioh เป็นอนิเมะที่สร้างจากมังงะ แนวมุกตลกจบใน 4 ช่อง ผลงานของ Kiyohiko Azuma เรื่องราวของเด็กสาวมัธยมปลายญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์ ที่ใช้ชีวิตประจำวันในโรงเรียน ซึ่งได้รับความนิยมในญี่ปุ่นและในโลกตัวตะวันตกด้วย

    และนอกจากตัวละครหญิงหลักแล้ว หนึ่งในตัวละครที่ดังพอๆ กับสาวๆ ในเรื่องคือ อาจารย์คิมูระ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ดูไม่มีความเป็นอาจารย์สักนิด แถมพี่แกบ้าๆ บอๆ มีนิสัยลามก (เฒ่าหัวงู) เป็นครูเพราะอยากส่องสาวมัธยมปลาย ส่วนมากพี่แกชอบเล่นมุกหื่นๆ ใส่พวกผู้หญิงเป็นประจำ จนกลายเป็นตัวเรียกเสียงฮ่าในเรื่องไป

    สำหรับการอธิบายมุกช่วงนี้ นอกจากมุกที่ตัวละครหญิงไม่เชื่อว่าอาจารย์ที่หน้าเหมือนคนโรคจิตจะมีภรรยาสวยแล้ว อีกมุกคือประโยคที่อาจารย์เรียก “ภรรยา”  ใครไทยอาจไม่เก็ท ความจริงแล้วประโยคที่อาจารย์คิมูระควรพูดคำว่า  My Wife ที่แปลว่าภรรยาของฉันเองแหละ แต่กลายเป็นว่ามันเพี้ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Mai Waifu แทน (แต่ความหมายเหมือนกัน)  

    อนิเมะ Azumanga Daioh ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน 2002 และเผยแพร่เป็นชุดดีวีดีในสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายน 2005 ซึ่งฝรั่งเห็นก็ฮ่า หลังจากปี 2007 มันก็กลายเป็นคนที่โอตาคุในอินเทอร์เน็ตนิยมเรียกตัวละครหญิงในมังงะ, อนิเมะ, วีดีโอเกม ที่รักมากๆ มากจนกลายเป็นภรรยาไปแล้วว่า Waifu นั้นเอง

     

    ส่วนคำว่า Husbando ที่โอตาคุหญิงเรียกตัวละครชายที่รักมากจนกลายเป็นสามีนั้น  มาจากคำว่า "Husband” หรือสามีนั้นเอง

    ทั้งสองคำนี้ถูกใช้บ่อยใน 4chan และเป็นคำถามที่พบบ่อยมาเมื่อหลายคนถามว่าสองคำนี้หมายถึงออะไรด้วย

     

     

    รักนะ อย่าซึนเดเระสิ

     

    ทั้ง Waifu กับ Husbando อาจไม่คุ้นหูคนไทยมากนัก แต่คนไทยหลายคนคงเห็นพฤติกรรมโอตาคุ (ไม่ว่าไทยหรือญี่ปุ่น) ที่มักพูดถึงตัวละครที่ชอบว่า “ที่รัก”, “ภรรยา”, “สามี” หรือเรียกตัวเองว่า “ติ่ง”, “อวย”, “ลืมหูลืมตา” แต่นั้นเป็นพฤติกรรมทางอินเทอร์เน็ต ขณะที่ของญี่ปุ่นและต่างประเทศมีมากกว่านั้น  ซึ่งคนไทยเองก็เห็นพฤติกรรมคนญี่ปุ่นแสดงความรักกับตัวละครที่ข่าวต่างประเทศนำเสนอจนอ้าปากค้างอยู่แล้ว

    ยกตัวอย่างก็มีเยอะ เช่น จัดงานวันเกิดให้ตัวละครที่ชอบ โดยตัวละครชายหรือหญิงที่ดังๆ หลายคนจะมีการกำหนดวันเกิดตัวละครไว้ด้วย เป็นต้นว่า ฮัทสึเนะ มิกุ (Hatsune Miku) หรือจะเป็น โฮชิอิ มิกิ (Hoshii Miki) ซึ่งหลายคนที่ปลื้มและคลั่งไคล้ตัวละครถึงขั้นจัดงานวันเกิดแบบอลังการ (ทีงานวันเกิดตนเองนี้สุดจะยาจก) กล่าวคือมีการจัดห้อง มีการสั่งเค้กวันเกิดอย่างดี เวลาจะฉลองก็เปิดอนิเมะหรือไม่ก็เกมที่ตัวละครเจ้าของวันเกิดออก เป็นอันเสร็จพิธี

    วันคริสต์มาส หรือวันวาเลนไลน์ปกติแล้วเป็นวันที่ชาวตะวันตกจะอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัวหรือคนรักเพื่อเฉลิมฉลอง หากแต่สำหรับโอตาคุญี่ปุ่น (ไทยบางคนแล้ว) ถือว่าเป็น “วันโอตาคุ” ที่โอตาคุจะจัดงานรับประทานอาหารมื้อค่ำกับ Waifu (ภาษาญี่ปุ่น 嫁との晩餐, Yome To No Bansan )  ที่ตนชื่นชอบ (แบบรักเดียวใจเดียว) ซึ่งวันดังกล่าวเรามักเห็นเว็บ 4chan โพสภาพในห้องนอน หรือไม่ก็ร้านอาหาร โดยจะมีอาหารค่ำ (ส่วนมากเป็นเค้ก) วางไว้บนหน้าจอคอมหรือหมอนข้าง ที่มีภาพ Waifu ที่ตนชอบ ซึ่งให้ดูคล้ายๆ ว่าคนโพสนั้นกำลังรับประทานอาหารค่ำร่วมกับตัวละครที่เรารักอยู่นั้นเอง

    ส่วนใหญ่แล้วคนญี่ปุ่นมองวันคริสมาสอีฟและวันวาเลนไทน์เป็นวันแห่งโรแมนติก มากกว่าเข้าใจวัตถุประสงค์จริงๆ ของวันสำคัญเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วชีวิตของโอตาคุมักอยู่ตัวคนเดียวหรือโดดเดียว ซึ่งจัดงานแบบนี้ขึ้นด้วยความรักตัวละคร และอีกด้านหนึ่งคืออารมณ์ขัน (เชิงประชด) ตัวเองที่วันหยุดไม่ได้มึความสุขเหมือนคนทั่วไป แต่ตนก็พอใจอย่างน้อยก็อยู่กับคนที่ชอบแม้จะเป็นตัวการ์ตูนก็ตาม

    อย่างไรก็ตาม การจัดงานวันเกิด จัดงานอาหารมือค่ำให้กับตัวละครที่ชอบ ยังน้อยไปกับกรณีที่คนบางคนประกาศที่จะแต่งงานกับ Waifu แบบเป็นทางการ  ซึ่งกรณีนี้เรามักเห็นข่าวในอินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้งจนสร้างความฮื่อฮ่าไปทั่วโลก อย่างกรณีของทาอิชิ ทากาชิตะที่เขาออกมาประกาศว่าอยากแต่งงานกับอาซาฮินะ มิคุรุตัวละครหญิงจากเรื่องอนิเมชั่นเรื่องSuzumiya  Haruhi ทั้งทีเธอไม่ใช่ตัวละครหลักของการ์ตูนเรื่องนี้ด้วยซ้ำจริงจังถึงขั้นอยากจัดงานแต่งงานแบบเป็นเรื่องเป็นราวและอยากให้รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายสามารถให้คนแต่งงานกับตัวการ์ตูนได้ ซึ่งในปี 2008เขากำลังล่ารายขื่อหนึ่งล้านลายเซ็นในอินเตอร์เน็ตเพื่อยื่นให้รัฐบาลทำฝันเขาให้เป็นจริงโดยปัจจุบันเขาได้ลายเซ็นประมาณ 2000 รายชื่อ เขาบอกว่า ผมไม่สนใจสามมิติผมอยากจะอยู่โลกสองมิติ แม้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันแต่ผมต้องการให้อนุมัติการแต่งงานกับสาวสองมิติถ้าเป็นไปได้ผมอยากแต่งงานกับอาซาฮินะ มิคุรุ

     

     
    ก็ไม่มีอะไรมาก บอกรัก “เมีย”

     

                    แน่นอนว่า ไอเท็มที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับโอตาคุเรียกภรรยา ก็ต้องมี “หมอนกอด” และ “เกมมือถือ”

                    หมอนกอด หรือดากิมาคุระ (Dakimakura)  และยังมีอีกชื่อคือ Dutch Wife หมายถึงหมอนข้างชนิดหนึ่งที่เอาไว้กอดขณะนอนหลับ ไม่ถือว่าเป็นวัตถุทางเพศ หากแต่สำหรับญี่ปุ่น โดยเฉพาะโอตาคุ หมอนกอดจะมีลักษณะเป็นหมอนลายตัวการ์ตูนอนิเมะในลักษณะ เปลือยกาย หรือกึ่งเปลือยกาย ใส่ชุดว่ายน้ำ ที่โพสท่าทางน่ารักส่อทางเพศ เหมือนเชิญชวน เหล่าโอตาคุนิยมจึงนิยมนำกลายเป็นหนอมรัก หนอมสำหรับกอดจริงๆ

                    หากเราดูเว็บขายหมอนข้างแท้ๆ จากญี่ปุ่น เราจะต้องตกใจ ทั้งๆ ที่หมอนกอด (หมอนข้าง) บ้านเราอันไม่ถึงพัน แต่ของญี่ปุ่นราคาเกินหนึ่งพัน เพียงแค่มีรูปการ์ตูนที่เราชอบติดอยู่ และขายดีเสียด้วย โดยตัวละครส่วนมากเป็นสาวจากการ์ตูนดังๆ ทั้งสิ้น

                    ตอนแรกๆ หมอนข้างยังไม่ได้เป็นไอเท็มวิเศษของโอตาคุหรอก สมัยก่อนหมอนกอดส่วนใหญ่อยู่ในรูปของตุ๊กตาสัตว์ขนาดใหญ่สำหรับเด็กมากกว่า จนกระทั่งในช่วงปี 1990 มีหมอนสำหรับพวกผู้ใหญ่ (โอตาคุ) โดยการสกรีนภาพตัวละคร บิโชโจะ (bishojo): (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า "เด็กสาวหน้าตาดี") ... และ บิโชเน็น (Bishonen): (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า "เด็กหนุ่มหน้าตาดี") จากเกมจีบสาว, อนิเมะ ที่หลายคนออกมาวางขาย จนได้รับความนิยมล้นหลามจนถึงปัจจุบัน

                    หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นโอตาคุเรียกหมอนข้างว่า “ภรรยา” ในชุมชนออนไลน์ญี่ปุ่นบ่อยครั้ง แถมเนื้อหาถึงพริกถึงขิง เพราะแฟนการ์ตูนไม่ยอมใคร หากมีใครรักตัวละครหญิงคนเดียวกัน หรือว่าให้ร้ายตัวละครหญิงที่ตนรัก เกิดกลุ่มรักสะสมหมอนกอด, นักออกแบบหมอนกอดตามมามากมาย

    นอกจากนี้เรายังเห็นคนเอาหมอนข้างไปเดินเล่นข้างนอกด้วย ทั้งๆ ที่หมอนข้างมีลายการ์ตูนแสนน่าอายต่อคนรอบข้างที่พบเห็น แต่โอตาคุไม่สะทบสะท้านสายตาเหล่านี้เลย ไม่ว่าจะเป็นพาหมอนข้างไปทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารหรู, ไปสวนสนุก, ขึ้นรถไฟฟ้าด้วยกัน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีคนดูอยู่เป็นจำนวนมาก

                     และที่หนักกว่านี้คือการได้ยินข่าวคนแต่งงานกับหมอนข้างแบบจริงๆ จังๆ ใช้ชีวิตอยู่กับหมอนข้าง!!

                    ดังนั้นจึงแปลกใจอะไรเลยที่ทัศนคติเชิงลบในวัฒนธรรมโอตาคุมีมากยิ่งขึ้น และถูกเอาไปล้อเลียนให้ภาพลักษณ์ของโอตาคุดูตลกขบขัน เป็นที่น่ารังเกียจในที่สุด


    Sal9000 กับ Waifu  เนเนะตัวละครที่เขารัก จนแต่งงานกัน!!

     

    สรุปแล้วพวกเขาบ้าหรือเสื่อมศรัทธาผู้หญิงจริง? ความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะมนุษย์เองก็มีความรักกับวัตถุที่ไม่ใช่มนุษย์มาช้านาน เห็นได้จากตำนาน จนกระทั่งปัจจุบันเราก็มักเห็นความรักของมนุษย์ที่มีต่อวัตถุที่ไม่มีชีวิตมากมายหลายกรณี นอกเหนือจากโอตาคุรักตัวละครที่เขารัก

    หลายคนมักตั้งคำถาม ว่าทำไมโอตาคุถึงรักตัวละครที่ไม่มีตัวตนในโลกแห่งความจริง เป็นเพียงแค่ภาพวาดเท่านั้น มันดูเหมือนงี่เง่า เฟ้อฝัน แยกความจริงและจินตนาการไม่ออกเหรอ โอตาคุที่รักตัวละครจนเรียกว่าเป็น ภรรยามักถูกมองว่าเป็นบุคคลล้มเหลว หนีความจริงเพราะหากเขาไม่มีคู่ ไม่เป็นที่สนใจต่อเพศตรงข้ามทำไมไม่ไปฟิตเนสหรือทำตัวให้เป็นคนมีคุณค่าต่อคนรอบข้าง

    คำตอบง่ายๆ ที่พวกเขาชอบตัวละครเหล่านั้น และยกเป็น Waifu หรือ Husbando ก็เพราะโอตาคุมีความใกล้ชิดกับตัวละครเหล่านั้นโดยที่ไม่รู้ตัว และบางทีอาจมากกว่าใกล้ชิดกับมนุษย์ด้วยกันเสียอีก

    ปกติชีวิตจริงหากเรารู้จักผู้หญิงสักคน เราก็ต้องทำความรู้จัก คบหา ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะรู้นิสัยใจคอของเธอ ว่าเธอชอบอะไร ไม่ชอบอะไร อีกทั้งต้องเอาใจสารพัดกว่าเกิดความรัก แต่อนิเมะนั้นเพียงแค่ดูก็รู้เลยว่านิสัยตัวละครเป็นยังไง

    แต่ในการ์ตูนอนิเมะ, เกมนั้นแตกต่างกันออกไป

    ยกตัวอย่าง Love Plus เกมจีบสาวที่สมจริง ที่เราต้อรับบทเป็นนักเรียนใหม่ที่ย้ายโรงเรียน และได้พบเพื่อนหญิงสามคน สามแบบ สามนิสัย ซึ่งเราสามารถเรียกจีบเธอเหล่านั้นได้ตามรสนิยมของคนจีบ ซึ่งเราต้องรู้จักกพับพวกเธอ คบกับพวกเธอ โดยทั้งสามสาวมีคาแร็คเตอร์มีความน่ารัก มีนิสัยเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน รวมไปถึงอีเวนท์   ประวัติ มีส่วนสูงน้ำหนัก ความชอบส่วนตัวว่า ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แตกต่างกัน ยิ่งดำเนินเรื่องก็พบนิสัยของสามสาวที่ละเอียดยิ่งขึ้น จนกระทั่งถึงวันที่ต้องเลือกคนใดคนหนึ่งเป็นแฟน แต่เรื่องราวยังไม่จบ เพราะเราต้องทำกิจกรรมกับแฟนมากมายหลายกิจกรรม และต้องทำใจเธอสารพัด จนเสมือนกับว่าเราจีบผู้หญิงจริงๆ อยู่จริง

    จุดเด่นของ  Love Plus คือมีระบบโต้ตอบตัวละครเสมือนจริง  ซึ่งเราสามารถโต้ตอบกับตัวละคร พูดคุยตัวละครได้ระดับหนึ่ง อีกทั้งเธอยังมีสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามการกระทำของผู้เล่นอีกด้วย เป็นต้นว่าผู้เล่นปิดเกม ไม่สนใจเกมสักพัก หากเปิดออกมา จะเห็นใบหน้างอนของตัวละครหญิงที่เราจีบ เพราะไม่พอใจที่เราไม่สนใจเธอมาระยะหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องเอาใจเธออยู่นานกว่าที่เธอจะใจอ่อน

    Husbando & Waifu มีความใกล้ชิดกับโอตาคุยิ่งกว่าคนรอบข้าง เป็นตัวช่วยในการต่อสู้กับภาวะซัมเศร้า หรือการหนีปัญหาชีวิตวุ่นวายในชีวิตประจำวัน  อีกทั้งยังเป็นตัวสะท้อนที่แสดงให้เห็นคาแร็คเตอร์ในฝันของรสนิยมโอตาคุ  ส่วนการดำเนินเรื่องราวที่มีสีสันน่าติดตามคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโอตาคุและตัวละคร ซึ่งปลูกฝังความรู้สึกปลุกอารมณ์ที่อยู่ในจิตใจออกมา จนกลายเป็นความทรงจำที่ดีฝังอยู่ในโอตาคุ  ทำให้เรารู้สึกชอบยิ่งกว่าสาวจริงๆ เสียอีก อีกทั้งเธอไม่เรื่องมาก ไม่กิน ไม่ป่วย  ไม่หึ่ง ไม่แก่ เรียกว่าอยู่กับเราตลอดไป โดยไม่มีทรยศหักหลังเลยแม้แต่น้อย

    ดังนั้นไม่แปลกใจอะไรเลย ที่โอตาคุบางคนเลือกจะมีความสุขกับ Waifu แทนที่จะหาผู้หญิงจริงๆ เป็นคู่ครอง

     

    Ritsuko Puchimas 

    ริทสึโกะ อาคิซึกิ (Akizuki Ritsuko) จากเกม The Idol M@ster

     

                    พวกเขารัก Waifu จริงๆ เหรอ? หลายคนมักเห็นว่าโอตาคุนั้นจริงจังมาก เกี่ยวกับความรักตัวละครในอนิเมะ, มังงะ, เกมจีบสาว ชนิดยอมตายกันตาย ความจริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นความรักซับซ้อน แต่เป็นความชอบ ชอบมาก การพอใจในสิ่งทีตนมีอยู่ และสังคมญี่ปุ่นที่โดดเด่น การเข้าหาสังคมน้อยขึ้น

                    มีตัวอย่างที่น่าสนใจการแสดงออกความรักต่อ Waifu เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีข่าวต่างประเทศได้นำเสนอเรื่องของหนุ่มโตเกียวอายุ 27 ปี ผู้ใช้ชื่อว่า "Sal 9000" ได้ตัดสินใจแต่งงานกับอาเนงาซากิ เนเน่ (Anegasaki Nene) ตัวละครในเกมส์ Love Plus  ของเกมนินเทนโด DSโดยเขาจัดพิธีแต่งงานในโลกจริงในชุดทักซีโดสีขาว ต่อหน้าเพื่อนๆของเขาและผู้ใช้อินเตอร์เนตที่เข้าชมพิธีแต่งงานผ่านทางอินเตอร์เน็ตใน Nico Nico Douga (คล้ายๆ ยูทูปญี่ปุ่น)  เพื่อแสดงออกถึงความรักของเขาต่อแฟนสาวดิจิตอล

                    ในงานแห่งนี้มีคนเข้าชม 3,000 คน รวมไปถึงบาทหลวง และพิธีกร และหลังจบงานแต่งงานเขาก็พาเธอไปฮันนี่มูนเกาะกวม และเที่ยวทั่วญี่ปุ่น

                    เมื่อผู้สัมภาษณ์ว่าเหตุใดเขาถึงทำดังกล่าว ก็พบว่านาย Sal 9000 รู้ตัวดีว่าเขาทำอะไรอยู่ เขารู้ว่ามันเป็นเพียงแค่เกม ที่เขาไม่สามารถแต่งงานกับเธอจริงๆ ทั้งทางกหมายหรือทางกายภาพ แต่เขารักตัวละครนี้ และไม่ได้มองเธอเป็นเครื่องจักร

                    อย่างไรก็ตาม Sal 9000 ก็ไม่ได้เผยชื่อจริงของเขา เพราะคิดว่าคนภายนอกอาจไม่เข้าใจ หลายคนคงมองเขาว่าเป็นไอ้โง่ ไอ้ขี้แพ้ และคำแรงๆ ว่าเขาไม่เคยมีแฟนจริง แน่นอนว่าเขาได้แสดงความคิดเห็นนี้ว่าเขาเล่นเกมมานานหลายปี แต่มีครั้งนี้ที่เขาพบความสุข และเขาต้องการแสดงความกล้าออกมาเปิดเผยต่อหน้าคนภายนอก มากกว่าจะเก็บตัวอย่างเงียบๆ เพราะกลัวอับอาย

                    Waifu อาจไม่ได้สนองความรักทางกายภาพได้ แต่สามารถสนองความสุขด้านจิตใจได้ และบางคนมองว่า Waifu ทำหน้าที่ไม่แพ้ผู้หญิงพวกไป เหมือนอย่างคนหนึ่งที่เขารักตัวละครที่ชื่อริทสึโกะ อาคิซึกิ (Akizuki Ritsuko) จากเกม The Idol M@ster ของ Xbox 360 ซึ่งเขาไม่ได้รักเฉยๆ แต่เธอยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับเขาทำให้เขามีกำลังใจในการทำงาน และได้เลื่อนตำแหน่ง ได้เงินเดือนเพิ่มข้นด้วย

                    ความรักนั้นไม่มีพรมแดน มันอยู่ที่ความรู้สึกมากกว่า  การรัก Waifu นั้นไม่ผิด อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งส่วนมากเป็นด้านบวก แม้บางคนอาจหมกมุ่นจนน่ากลัวในสายตาคนอื่นบ้าง หรือเป็นการหลอกตัวเอง แต่ถ้าไม่ได้ทำอะไรเดือดร้อนให้ใคร และตัวโอตาคุเองก็ไม่อยากให้คนอื่นมองด้านลบ มองว่าเขามีอาการทางจิต เพียงแค่เขาอยากแสดงความชอบให้คนอื่นเห็นเท่านั้น

     

     

    แคมมี่เป็นภรรยาผมเองครับ!!

     

    คุณมี Waifu หรือเปล่า? มาถึงตรงนี้จะเห็นว่า Waifu สำหรับใครบางคนแล้วเป็นมากกว่าภรรยาเสียอีก เพราะเป็นตัวละครที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นเพื่อนคลายเหงา แน่นอนว่ามีหลายคนก็มี  Waifu เป็นของตรนเองบ้าง แม้ไม่ได้หมกมุ่นก็ตาม

    แน่นอนครับ  Waifu ก็คือ   แคมมี่ ไวท์ (Cammy White) เวอร์ชั่นอยู่องค์กรชาโดว์ วัยเยาว์ นั้นเอง เธอเป็นตัวละครที่ผมรักมาก เป็นตัวละครที่ผมทำให้ผมมีความสุข ความสนุกในการเล่นเกมสตรีทไฟเตอร์ ไม่เพียงแค่เธอจะเป็นตัวละครที่น่าอัศจรรย์ มีสีสัน อีกทั้งยังน่ารัก ชุดโมเอะเท่านั้น เธอยังเป็นคนที่มีการพัฒนาจิตใจ ความกล้า การค้นหาอดีต แล้วก้าวไปสู่อนาคต และนั้นเองทำให้ผมชอบยิ่งกว่าผู้หญิงจริงๆ เสียอีก

                 หลายคนอาจมีความสุขกับ Husbando & Waifu ด้วยการสะสมฟิคเกอร์  คอสเพลย์ หรือหมอนข้าง ศิ่งแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างเรากับตัวละครนั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้วการแสดงความรักของตัวละครที่เราชอบก็ไม่ต้องทำแบบนี้ก็ได้ เพียงแค่เก็บไว้ในใจ ชื่นชมเธอ นำสิ่งดีๆ ของตัวละครเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือทำสิ่งไม่ต้องใช้เงินด้วยการแต่งฟิค วาดรูปเรื่องราวแสดงความรัก ก็เพียงพอแสดงความรัก Waifu  แล้ว

     

                    โอตาคุยังคงเป็นวัฒนธรรมที่น่าสนใจ แม้คนภายนอกจะมองโอตาคุว่าเป็นคนโง่และความสงสาร แต่ถ้ามองแบบลึกๆ แล้ว โอตาคุกลับกลายเป็นกลุ่มคนที่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับสิ่งที่เขารักมากๆ โดยที่คนภายนอกยังคงหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย ไม่ว่าจะมีเงิน หรือมีผู้หญิงแล้วก็ตาม 

    ความรักไม่ใช่เรื่องของกามรมณ์ แต่มันอยู่ที่ความสุขทางจิตใจและกายต่างหาก ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโอตาคุถึงไม่ค่อยอายเวลาแสดงความรัก Waifu ต่อหน้าคนภายนอก ทำไมพวกเขาถึงโกรธเวลาคนบอก Waifu เป็นแค่รูปภาพหรือแค่อนิเมะ เพราะพวกเขารักแบบนี้นี่น่า

                    แล้วคุณละมี Husbando & Waifu ที่คุณรักหรือเปล่า?

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×