ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องจริงทะลุโลก (Of The World)

    ลำดับตอนที่ #20 : ฟาร์มศพ (Body Farm)

    • อัปเดตล่าสุด 26 พ.ย. 51


               ใครเคยอ่านหนังสือนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนบ้างครับ โดยเฉพาะแนวชันสูตร

                    ผมนะแฟนตัวยงเลยละ อ่านไปอ่านมา  มีสถานที่แห่งหนึ่งปรากฏในเรื่องด้วย (จากเรื่องอะไรหว่า)

     

                    ฟาร์มศพ

     

                    ฟาร์มศพนี้เป็นสถานที่มีอยู่จริงในโลกเราครับ บ้านเราอาจไม่มี เพราะมันอาจผิดศิลธรรมในบ้านเรา ถือว่าไม่ให้ความเคารพกับคนตาย แต่สำหรับบ้านเขาแล้ววันเป็นสถานที่สำคัญมากๆ เพราะมันช่วยให้วิชาการชันสูตรศพให้เจริญก้าวหน้า และผมเชื่อว่าคุณหญิงแพทย์หญิงพรทิตย์ก็น่าจะเคยไปสถานนี้เช่นกัน

                    ฟาร์มศพ หรือเรียกว่า บอดี้ ฟาร์ม แต่ถ้าเรียกตามหลักวิทยาการหรูๆ ก็เรียกว่า ศูนย์วิจัยทางมนุษยวิทยา สถานที่นี้ตั้งอยู่ในหุบเขาแห่งหนึ่ง ในเมืองน็อกซ์วิลล์ แห่งรัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ประมาณ 3 เอเคอร์ ค่อนข้างกว้างที่เดียว

                   

                    เมื่อเข้าไป คุณอาจตกกะใจ หวาดกลัว หวีดหวิว และเหม็นเพราะที่นั้นมีศพมนุษย์มากมายถูกทิ้ง ตายเกลื่อน กระจัดกระจายเต็มพื้นที่เลยครับ บางศพถูกทิ้งบนเบาะรถที่สนิมเกรอะกรัง บางศพถูกนำมาทิ้งที่พุ่มไม้เตี้ยๆ ใต้เงาต้นไม้ใหญ่ บางศพคว่ำหน้าไว้ในดินครึ่งหนึ่ง บางศพถูกทิ้งแบบนอนหงายท้าแดด ท้าลมฝน ฯลฯ เสมือนหนึ่งทุ่งสังหารแห่งใดแห่งหนึ่งในโลกใบนี้เลยที่เดียว (คงไม่ต้องถามนะครับว่ามีแร้งกับหมาป่ามากินศพไหม มีเพียบครับ แต่บางศพก็ใจดีถูกเก็บไว้ในกรงเหมือนกัน)

                    ถ้าคนธรรมดาคงคิดว่าสงสารที่พวกเอาไปทิ้งไม่ให้ความเคารพกับคนตายแต่สำหรับพวกแพทย์ชันสูตร เอฟบีไอ หน่วยงานตำรวจต่างๆ นั้นคิดคนละอย่างเลยครับ

                    
                    สถานที่แห่งนี้เป็นที่พึ่ง มันเปรียบเสมือนแหล่งศึกษาเรียนรู้ การตายของมนุษย์ที่ดีที่สุดโลกก็ว่าได้ เพราะที่นี้รวมลักษณะการตายทุกประเภท สามารถมาอ้างอิงทางคดีความ การฆาตกรรมต่างๆ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

                    เออ.....ลืมบอกไป สถานที่นี้อยู่ในการดูแลของมหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี และเขาจงใจทิ้งศพไว้ตามจุดต่างๆ ในหุบเขาไว้เองครับ โดยนายวิลเลี่ยม เบสส์ นักวิทยาศาสตร์ทางนิติเวชวิทยาและเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเป็นผู้ต้นคิด และก่อตั้งฟาร์มแห่งนี้

                    ทำไมต้องทิ้งเหรอ? จุดประสงค์ก็เพราะเขาต้องการให้ศพที่ถูกทิ้งที่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติแห่งการเน่าเปื่อยเพื่อผลวิเคราะห์ วิจัยกันอย่างเป็นระบบ

                    

                    สำหรับการวิเคราะห์การตายนี้ไม่หมูเหมือนโคนั้นนะครับ รายนี้เหลือเชื่อไปหน่อย ชันสูตรศพ 3 หน้า ได้ผลการชันสูตรแล้วละ(เหลือเชื่อ) ของจริงเขาต้องศึกษาอย่างละเอียดและหนักหน่วง ใช้วิทยาศาสตร์และเคมีที่ซับซ้อน ติดตามเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของศพต่อเนื่องหลายปี นับตั้งแต่ทิ้งศพที่ตายสดๆ ตั้งแต่แรกเลย

     

                    โดยการวิจัยมี 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ

    1.       ชีวเคมีเหลวจากเซลล์ต่างๆ ในร่างกายศพ

    2.       การย่อยสลายของแบคทีเรียในเนื้อเยื่อศพ

    3.       การแห้งเหี่ยวแห่งผิวหนังศพ

    4.       การวิเคราะห์โครงกระดูก

     

    อย่างไรก็ตามตามเงื่อนไข 4 ขั้นตอนข้างตอน รายละเอียดอาจย่อยออกไปอีกมากมาย เพราะมันมีเงื่อนไขอุณหภูมิและความชื่นเข้ามาเป็นตัวแปรอีกด้วย

     

    นอกจากนั้นยังรวมถึงผ้ารองศพ ผิวดิน เสื้อผ้าของศพ และถุงห่อศพ ก็มีผลต่อการวิจัยเช่นกัน 

    สถานที่แห่งนี้มีประโยชน์ในการช่วยเหลือคดีฆาตกรรมมากครับ มันมีส่วนช่วยเหลือในคดีฆาตกรรมหลายคดี อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ เอฟบีไอและตำรวจท้องถิ่นมากมาย และที่สำคัญคือมันช่วยเปลี่ยนโฉมหน้างานสืบสวนให้เป็นสมัยใหม่มากขึ้นจนวิธีการเดาสุ่มในการสืบสวนในอดีตนั้นต้องโยนทิ้งขยะเลยที่เดียว

    ลูกศิษย์ทั้งหลายที่มาศึกษาฟาร์มแห่งนี้ จบออกไป ต่างบอก พระเจ้าจอร์ดมันยอดมากแต่ละคนที่จบไปได้ดิบได้ดีกันทั้งนั้น ตัวอย่างก็เช่น นายอาร์เพิร์ด แฟซ ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยฟาร์มศพแห่งนี้มายาวนานตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ในฟาร์มศพ และมีส่วนช่วยในการใช้ความรู้ในการสะสารคดีที่ยากถึง 100 คดีด้วยกัน

     

    สำหรับเรื่องของศพ ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะศพทยอยมาเรื่อยๆ ไม่ขดตอน เพราะทุกวันนี้ ศพอาสาสมัครเข้ามาในฟาร์มแห่งนี้เสมอ

    บางส่วนก็เอามาจากชาวบ้านท้องถิ่นที่ปรารถนาจะเป็นครูใหญ่ที่ฟาร์มศพ บางส่วนก็มาจากศพนิรนามไม่รู้สาเหตุการตายหรือที่ไปที่มาเป็นอย่างไร บางศพได้จากการบริจาคของสุสานบางแห่ง บางส่วนได้จากครอบครัวยากจนไม่มีเงินพอจะจัดงานศพเลยฝากไว้ที่ฟาร์มเพื่อศึกษา ฯลฯ+ +


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    นักเขียนปิดการแสดงความคิดเห็น
    ×