ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #133 : (ปริศนาโลกตะลึง) เกรตอัสเทอร์น เรืออับโชค (Brunel's greates)

    • อัปเดตล่าสุด 24 เม.ย. 50




    เกรตอัสเทอร์น เรืออับโชค (Brunel's greates)

    เกรตอัสเทอร์น เป็นเรือเดินทะเลระวงขับน้ำ 19,000 ตัน จัดเป็นเรือลำใหญ่เท่าที่เคยสร้างกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยิ่งกว่านั้น เรือลำนี้ยังได้ออกแบบให้ความความปลอดภัยสูงกว่าเรือลำอื่นในยุคเดียวกัน เรียกว่าปฏิวัติการต่อเรือที่เดียว นอกจากนี้มันยังเป็นผลงานในการต่อเรือของ อิมแซมบาร์ด คิงดอม บรูเนล สถาปนิกหัวก้าวหน้าชาวอังกฤษ เขาออกแบบโดยตั้งใจว่าเรือลำนี้จะสามารถตักตวงกำไรจากการส่งสินค้าและผู้โดยสารในเส้นทางสายแอตแลนติกเหนือระหว่างยุโรปกับอเมริกาที่กำลังขยายตัวอย่างมากในระยะนั้น


    บรูเนสเกิดเมื่อปี 1806 เป็นบุตรของ เซอร์มาร์ค บรูเนลสถาปนิกที่มีชื่อเสียงและเป็นวิศวกรที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เขาเสนอความคิดนี้แก่บริษัทต่อเรือ ด้วยความที่เขามีชื่อเสียงจึงไม่ยากนักที่จะหาผู้ร่วมลงทุน ทำให้เรือเกรตอัสเทอร์นถือกำเนิดขึ้น

    ตัวเรือเกรตอัสเทอร์นเป็นเรือส่งสินค้าและผู้โดยสารขนาดใหญ่กว่าเรือแบบเดียวกันในยุคนั้นถึง 6 เท่า โดยชื่อเรือนี้มาจากชื่อของบริษัทเกรตอิสเทอร์น สตีม นาวิเกชั่น ตัวเรือสร้างด้วยเหล็ก มีความยาว 608 ฟุต กว้าง 80 ฟุต ท้องเรือทำผนังสองชั้น จึงไม่เป็นปัญญาเรื่องรั่ว เพราะถ้าเกิดผนังชั้นแรกรั่ว ผนังที่อยู่ชั้นในก็ยังกันน้ำได้ดีอยู่ ตลอดลำยังมีผนังกั้นน้ำแบ่งตัวเรือออกเป็นสิบช่วง แล้วยังซอยเป็นห้องกันน้ำย่อยๆ อีกสวมสิบหกห้อง จึงเชื่อขนมกินเลยว่าเรือลำนี้ไม่มีวันจมแน่

    เรือเกรตอัสเทอร์นมีเตาเผา 112 เตา สำหรับให้ความร้อนให้หม้อไอน้ำ 10 หม้อ และมีปล่องควันห้าปล่อง สามารถให้กำลังถึง 15,000 แรงม้า มากเกินพอสำหรับขับเคลื่อน ใบจักรข้างขนาด 58 ฟุตสองตัว และใบจักรท้ายขนาด 24 ฟุตอีกหนึ่งตัว ในกรณีที่เรือเกิดใช้การไม่ได้ก็มีกระโดงเตรียมไว้สำหรับชักใบให้แล่นอีกถึงหกต้น

    ในส่วนห้องของผู้โดยสารไม่ว่าห้องพัก ห้องอาหาร ห้องนั่งเรือก็ตกแต่งอย่างหรูดีเลิศด้วยไม้วอลนัท กำมะหยี่ กระจกเจียระไน ไม่แพ้โรงแรมชั้นหนึ่ง เรียกว่าไม่มีอะไรติ

    นี้เองที่เรือเกรตอัสเทอร์นกลายเป็นเรือที่คนโบราณคาดไม่ถึงอีกลำ

    และนี้คือจุดเริ่มต้นของเรืออับโชค

    ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 1857 เรือเกรตอิสเทอร์นเตรียมพร้อมปล่อยลงน้ำเทมส์ตอนเที่ยง บรรดาแขกรับเชิญก็ทยอยกันมานั่งบนอัฒจันทร์เพื่อรอพิธีปล่อยเรือครั้งนี้ พวกช่างที่สร้างเรือมาร่วมพิธีครบทุกคน ยกเว้นคนเดียวคือช่างระดับหัวหน้างานที่ทำงานอยู่ในตัวเรือผนังที่สองไม่รู้ว่าเขาหายหัวไปไหนก็ไม่รู้

    และช่างคนนี้แหละคือต้นเหตุของความอับโชค

    แล้วพิธีปล่อยเรือก็เริ่มขึ้น แต่ไม่ทันไรคานเรือก็สะดุด ทางหัวเรือเคลื่อนไปได้สามฟุต ท้ายเรือไปได้เจ็ดฟุต แล้วก็หยุดนิ่งอยู่แค่นั้นเองทำอย่างไรเรือก็ไม่ขยับ ทำให้พิธีปล่อยเรือล่ม และหยุดตรงนี้

    งานกร่อยเลย

    การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น นานถึงสองสัปดาห์ก็ไม่สามารถปล่อยเรือได้ เนื่องจากเกิดปัญหาอืนๆ ตามมาอีกมากมายโซ่ที่ลามไว้ถูกรั้นจนขาด ลูกสูบไฮดรอลิคดันจนคานเรือหัก จนหลายฝ่ายๆ บอกบลูเนลว่าจอดไว้บนบกอย่างนี้แหละ แล้วดัดแปลงเป็นสวนสนุกเสียเลย

    จนกระทั้งถึงมีนาคม 1858 อีกสามเดือนต่อมา ด้วยกระแสน้ำที่ไหลบ่าลงมาในฤดูใบไม้ผลิ ผสมกับลมตะวันออกที่พาฝนตกมาอย่างหนักทำให้ระดับน้ำท่วมล้มตลิ่ง ได้ทำให้เรือเกรตอิสเทอร์นลอยลำได้ในที่สุด ผลสรุปคือบรูเนลต้องเสียค่าปล่อยเรือมากกว่าที่ขึ้น 120,000 ปอนด์ จากที่ตกลงไว้แค่ 14,000 ปอนด์

    และความอับโชคก็เริ่มขึ้น


    ครึ่งเดือนต่อมา บริษัทเกรตอัสเทอร์น สตีม นาวิเกชั่นก็ล้มละลาย ส่วนเรือเกรตอิสเทอร์นถูกบริษัท เกรตซิป คัมปะนี ซื้อมาในราคา 160,000 ปอนด์

    วันที่ 14 กันยายน 1857 เรือเกรตอัสเทอร์นได้ออกเดินทะเลเป็นครั้งแรก และวันเดียวกันนี้บรูเนลก็เสียชีวิตลงกระทันหัน ด้วยอาการหมดสติล้มลง หัวใจวายได้ทันที และวันเดียวกันนั้นเองอีกกับตันเรือบ่นหัวหน้าวิศวกรประจำเรือว่าหนวกหูกับเสียงเคาะด้านล่าง หลังจากทดลองเรือวิ่งลงทะเลนานสี่ชั่วโมง และเรือก็เกือบเทียบท่าท่าเรือเซาท์แธมป์ตันอยู่แล้วแต่ก็เกิดเรื่องอีกเมื่อปล่องควันอันหนึ่งเกิดระเบิด ทำเอาลูกเรือหกคนที่อยู่ในเครื่องเสียชีวิตปละห้องแกรน์ซาลูนเสียหาย

    ภายหลังการซ่อมแซมเรียบร้อย เรือเกรตอิสเทอร์นก็เดินทางออกจากเซาท์แธมป์ตันไปยังมหานครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1860 ใช้เวลาเพียง 11 วัน แต่การเดินทางครั้งนี้มีผู้โดยสารแค่ 36 คน ทั้งๆ ที่เรือลำนี้จุผู้โดยสารถึง 4000 คนแท้ๆ

    ส่วนการเดินทางรอบที่สองมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แน่ก็ยังน้อยอยู่เพียงมีเพียง 100 คนเท่านั้น คงเป็นเพราะเรือนี้มีกิตติศัพท์ความอาถรรพณ์ คนเลยเข็ดขยาดก็ได้

    การเดินทางรอบที่สาม ครั้งนี้ รัฐบาลอังกฤาเหมาเรือเพื่อให้ขนทหารและครอบครัวไปส่งที่เมืองควีเบค ประเทสแคนาดา โดยมีพลทหารนายทหารกว่า 2,125 ราย เด็กและผู้หญิงอีก 403 คน และผู้โดยสารทั่วๆ ไปอีก 40 คน ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีตลอดการเดินทางไม่ส่อไปทางอาถรรพณ์


    และแล้วเที่ยวที่สี่มันก็เกิด เรือเกรตอีสเทอร์นแล่นออกจากเรือท่าลิเวอร์พูลพร้อมผู้โดยสาร 400 คน คราวนี้เจอพายุ พร้อมในระหว่างนั้นมีเสียงเคาะประตูดังมาจากใต้พื้นห้องเครื่อง แลวอีกไม่กี่นาทีต่อมาก็มีคลื่นลูกใหญ่ซัดกระแทกข้างเรือเอียงวูบแทบจะคว่ำ ใบจักรข้างทั้งสองถูกน้ำซัดจนหัก เรือชูชีพหลุดลงทะเลไป น้ำทะเลทะลักเข้าไปในห้องนั่งเล่นและห้องเคบินผู้โดยสาร ทำฝห้ผู้โดยสารตะหนกไปตามๆกัน ต่างสวดมนต์ขอพรให้พวกตนรอดอันตรายหนนี้ไปให้ได้

    และแล้วเรือเกรตอัสทอร์นก็อยู่กลางทะเลไม่กระดิกกระดิกไปไหนได้ทั้งสิ้น

    สองวันต่อมาเรือเกรตอีสเทอร์นก็กลับลำได้ และแล่นกะปลกกะเปลี้ยกลับเข้าท่าในที่สุด แล้วหลังจากนั้นเรือเล่านี้ก็ไม่ถูกนำมาใช้เป็นเรือโดยสารอีกเลย

    แต่เรื่องร้ายยังไม่จบ ระหว่างที่เรือจอดซ่อมแซมชิ้นส่วนอยู่นั้น ชายคนหนึ่งถูกใบจักรข้างฟันเสียชีวิต กัปตันเรือจมน้ำตายพร้อมเด็กหนุ่มคนหนึ่งในเรือลำเล็ก

    ระหว่างปี 1865-1866 มีการนำเรือเกรตอีสเทอร์นไปชวยวางสายเคเบิลใต้น้ำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ทำไปได้ครึ่งทางสายเคเบิลก็พลัดหลุดหายไป

    ต่อมาเรือถูกประมูลขาย แต่ไม่มีใครยื่นซองประมูลเพราะรู้กิตติศัพท์ในด้านร้ายของมัน ขนาดนายท่าต่างๆ ในเกาะอังกฤษทำหนังสือถึงรัฐบาลขอให้เรือเล่านี้อย่าจอดท่าเรือของตน

    มีจำของร้านขายเครื่องใช้ในเมืองลิเวอร์พูลทดลองเช่าเรือทำป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ แต่ทำได้เดือนเดียวก็เลิก และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครมายุ่งกับเรือลำนี้อีกเลย

    เรือเกรตอัสเทอร์นถูกทิ้งตากแดดตากลมอยู่นานนับยี่สิบปี พร้อมกันนี้คนในอู้ยินเสียงเคาะจากใต้ท้องเรืออยู่เป็นประจำ จนถึงปี 1885 ก็ได้มีบริษัทตัดเรือเป็นเศษเหล็กแห่งหนึ่งซื้อไปในราคาแค่ 16,000 ปอนด์

    เรือเกรตอัสทอร์นที่เคยยิ่งใหญ่สมัยก่อนบัดนี้กำลังถูกตัดเป็นชิ้นๆ และเมื่อเปิดผนังท้องที่ทำเป็นสองชั้นตรงบริเวณเหนือกระดูกงูตอนกลางลำเรือคนงานก็พบโครงกระดูกของนายช่างต่อเรือที่หายไปก่อนพิธีปล่อยเรือ อาจเป็นเพราะเกิดอุบัติเหตุเขาจึงถูกขังตายอยู่ในผนังเรือชั้นสอง ก่อนตายเขาคงสาป พร้อมกับความแค้น ให้เรือเกรตอัสเทอร์นกลายเป็นเรืออัปโชคก็เป็นได้

    (ข้อมูลจากต่วนตูน 329 กันยายน 2544)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×