ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #9 : คราเคน (Kraken)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.49K
      8
      25 ม.ค. 51



    คราเคน(Kraken)

     

    ถ้าจะให้นึกถึงสัตว์ลึกลับที่เป็นคู่แค้นกับมนุษย์มาช้านาน ก็ต้องนึกถึงคราเคนเป็นตัวแรกเลยครับ

                    คราเคน เจ้าสัตว์ลึกลับที่มีขนาดใหญ่ยักษ์ตัวนี้มีขนาดมหึมานี้บ้างก็ว่าพบเห็นในรูปของมนุษย์เงือกขนาดใหญ่ บ้างก็พบในรูปของหมึกยักษ์ มีหนวดใหญ่ยุ่บยั่บ มันชอบโจมตีเรือเดินสมุทรอย่างกระทันหันเพื่อหาอาหารแปลกๆ (คงเบื่ออาหารทะเล) มันจะโผล่ขึ้นจากน้ำพรวดเดียวก็สูงกว่าเสากระโดงเรือ มันจะโอบหนวดของมันรัดลำเรือเอาไว้ หนวดที่เหลือมันจะรัดลูกเรือจนกระดูกแหลกเหลว บ้างก็รัดเข้ามาป้อนเข้าปากอันน่ากลัวของมัน และจมเรือในที่สุด....

                   เรื่องของ คราเคนนั้นมันมานานเท่าใดไม่ปรากฏ แต่บันทึกที่เป็นหลักฐานครั้งแรก มาจากนอร์เวย์ครับเป็นเรื่องราวที่อ้างถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเท่าเกาะ ในหนังสือชื่อThe Natural History of Norway ที่เขียนโดยบิชอปแห่งเบอร์เก้น Erik Ludvigsen Pontoppidan ท่านได้บรรยาย เกี่ยวกับ คราเคน เอาไว้ว่า มันเปรียบเสมือนเกาะลอยน้ำ ขนาดย่อม ขนาดความยาวลำตัวยาวถึงครึ่งไมล์

    แต่เรื่องราวในช่วงหลังๆ คราเคนก็ค่อยๆลดขนาดของมันลงเรื่อยๆ ไม่มหึมา โอฬารอย่างในอดีต ถึงกระนั้นคราเคนก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดีส่วนมากแล้วมักปรากฏในตำนานของทะเลเหนือ

     ในสายตาของนักชีววิทยาแล้ว มันคงเป็นสัตว์ประเภทหมึกยักษ์เสีย มากกว่าครับ

                   

    หมึกยักษ์ ใช่แล้วหมึกยักษ์มันเป็นสัตว์ประเภทหอยอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยพบเห็นมากนัก และมีความรู้เกี่ยวกับตัวมันน้อยมากๆ โดยเฉพาะข้อมูลของปลาหมึกในสายพันธุ์ อาร์คิเท อูธิส Giant Squid ซึ่งบางตัวมีขนาดใหญ่พอๆ กับรถประจำทาง หนวดยาวประมาณ 30-40 เมตร มีปากและงอยปากคล้ายนกแก้ว นัตย์ตายาว 18 นิ้วหรือฟุตครึ่ง หนัก 2-3 ตันโดยปลาหมึกชนิดนี้มักจะก้าวร้าวรุกราน และสามารถกินคนได้สบายๆ เลย

    แม้มันไม่ค่อยปรากฏตัวบ่อยนัก แต่คนก็กลัวมันอยู่ดีแหละ มีเรื่องเล่าถึงตัวมันในรูปแบบของคราเคนมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่าร้อยกว่าเรื่อง แต่งเติมสีสันจนเป็นนิยายปรัมปรา

    มีหลักฐานการเผชิญหน้าระหว่างคนกับหมึกกยักษ์ในยุคหลังๆ จนครั้งล่าสุดในปี 1930 เรือบรันสวิค เรือบรรทุกน้ำมันขนาด 15,000 ตัน ของนอร์เวย์มีรายงานการโจมตีเรือของเจ้าปลาหมึกชนิดดังกล่าวถึงสามครั้ง ครั้งรุนแรงที่สุดเกิดขึ้นเมื่อปลาหมึกยักษ์ว่ายน้ำตามเรือบรรทุกน้ำมันก่อนที่จะหนวดรัดรอบๆ ตัวเรือ แต่รัดอยู่ไม่นานมันก็ลื่นไหลหนีเมื่อหนวดโดนใบพัดฟันลำตัวและหนวดจนแหลกเหลว มีการวิเคราะห์กันว่าเหตุที่หมึกยักษ์ นี้โจมตีเข้า เพราะเรือของมนุษย์เราดันไปมีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ อาหารหลักของเจ้าปลาหมึกนี่เอง


                    วันที่
    2 พ.ย. ปี ค.ศ. 1878 ชาวประมงสามคนพบคราเคนใน Timble Tickle ขณะนั้นพวกเขาหาปลาอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งมากนัก หนึ่งในนั้นสังเกตว่ามีซากอะไรบางอย่างกระจุยกระจายอยู่ไม่ไกลจากพวกเขานัก เมื่อเข้าไปสำรวจใกล้ๆพวกเขาก็พบกับรูปร่างที่แท้จริงของเจ้าซากนั้น ปลาหมึกยักษ์นั่นเอง... พวกเขาใช้สมอเรือต่างเชือกมัด และพยายามสุดฤทธิ์ที่จะลากเจ้าสัตว์ยักษ์ตัวนั้นขึ้นบนฝั่ง น่าแปลกที่กล้ามเนื้อบางส่วนของปลาหมึกยักษ์นั้นยังคงมีชีวิตอยู่ ชาวประมงทั้งสามลากมันขึ้นไปบนบกและปล่อยให้ปลาหมึกแห้งตาย หลังจากเฝ้ารออยู่นานและแน่ใจว่าสัตว์ยักษ์ตัวนี้สิ้นฤทธิ์ไปแล้ว พวกเขาก็พากันมาวัดขนาดและตัดเอาบางส่วนของเนื้อมันไปเป็นอาหารหมา จากหัวจรดหางของเจ้าปลาหมึกยักษ์มีความยาว 20 ฟุต หนวดเส้นที่ยาวสุดยาวถึง 35 ฟุต ซึ่งยุ่บยั่บไปด้วยเขี้ยวแหลมคมที่มีขนาดถึง 4 นิ้ว

    ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อาหารโปรดของหมึกยักษ์นั้นคือปลาวาฬเสปิร์ม เคยมีพนักงานประภาคารในแอฟริกาใต้สองคน เห็นการล่าเหยื่ออันน่าสยดสยองนี้กับตา เมื่อเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1960 พวกเขากล่าวว่าเขาเห็นปลาหมึกยักษ์ตรงเข้าจู่โจมปลาวาฬเสปิร์มหนุ่ม การต่อสู้ตามธรรมชาติดำเนินไปถึงชั่วโมงครึ่ง และจบลงด้วยชัยชนะของนักล่า "เราคงไม่มีโอกาสเห็นปลาวาฬตัวนั้นอีกแล้วชั่วชีวิต" เจ้าหน้าที่หนึ่งในสองเอ่ยขณะให้สัมภาษณ์

    นอกจากนี้ลูกเรือล่าปลาวาฬโซเวียตเคยเห็นปลาหมึกยักษ์สู้กับปลาวาฬโตเต็มที่เมื่อปี 1965 ฝ่ายปลาวาฬหนักกว่า 40 ตัน ผลคือแพ้ทั้งคู่ ปลาวาฬตายเพราะแรงรัดของหนวด และหัวหมึกยักษ์หายไปในท้องปลาวาฬ

    หมึกยักษ์โจมตีมนุษย์ครั้งสุดท้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (จริงๆ) ที่มันดีฟมันจมเรืออังกฤษขนาดย่อมสองลำ แล้วจับทหารกินหมด

    วันที่  2 พ.ย. ปี ค.ศ. 1878 มีการบันทึกถึงปลาหมึกยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดครั้งแรก ซึ่งถูกพบโดยบังเอิญจากชาวประมงสามคนที่เห็นซากมันลอยอยู่กลางทะเล

    พวกเขาจัดการลากปลาหมึกโดยใช้สมอเรือต่างเชือกมัด และพยายามสุดฤทธิ์ที่จะลากเจ้าสัตว์ยักษ์ตัวนั้นขึ้นบนฝั่ง น่าแปลกที่กล้ามเนื้อบางส่วนของปลาหมึกยักษ์นั้นยังคงมีชีวิตอยู่ ชาวประมงทั้งสามลากมันขึ้นไปบนบกและปล่อยให้ปลาหมึกแห้งตาย หลังจากเฝ้ารออยู่นานและแน่ใจว่าสัตว์ยักษ์ตัวนี้สิ้นฤทธิ์ไปแล้ว พวกเขาก็พากันมาวัดขนาดและตัดเอาบางส่วนของเนื้อมันไปเป็นอาหารหมา จากหัวจรดหางของเจ้าปลาหมึกยักษ์มีความยาว 20 ฟุต หนวดเส้นที่ยาวสุดยาวถึง 35 ฟุต ซึ่งยุ่บยั่บไปด้วยเขี้ยวแหลมคมที่มีขนาดถึง 4 นิ้ว

    จากการสำรวจซากของพวกมันก็พบว่า กล้ามเนื้อบางส่วนของเจ้าปลาหมึกยักษ์ยังคงเต้นอยู่ ฉะนั้น พวกเขาจึงปล่อยให้มันตายแล้วจึงจัดการวัดขนาด ซึ่งมีขนาดยาวถึง 20 ฟุต มีเขี้ยวถึง 4 เขี้ยว


                   จากเรื่องราวลึกลับของหมึกยักษ์ ทำให้เริ่มมีการตั้งกลุ่มศึกษามันอย่างจริงจัง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ.
    1999 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์สหรัฐและนิวซีแลนด์ ร่วมกันศึกษาวิจัยหมึกยักษ์เป็นเวลา 30 วัน โดยถ่ายภาพสารคดี และศึกษาระบบนิเวศน์

    ผลคือสามารถบอกถิ่นที่อยู่ หมึกยักษ์ได้ครับ สรุปคือมันชอบที่จะอาศัยอยู่ตามน้ำลึกและบริเวณน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ มันชอบไหลไปกับกระแสน้ำ ส่วนสาเหตุที่มันดุร้ายเพราะถ้าเกิดมันเกิดไปอยู่ในกระแสน้ำอุ่นระบบการดำรงชีวิตของมันจะขัดข้องทันที มันเลยต้องจำเป็นลอยตัวอยู่ผิวน้ำเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดความเครียด และเกิดนิสัยดุร้ายขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ ในบริเวณที่พยานได้พบเห็นปลาหมึกยักษ์กัน มักจะเป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกับกระแสน้ำเย็นมาตัดกัน ซึ่งจุดนั้นจะเป็นจุดที่ปลาหมึกยักษ์ปรับตัวไม่

                    ซึ่งสิ่งคำคัญก็คือมันสามารถปรากฏที่อ่าวไทยได้ด้วยน่ะครับ เพราะแถวน้ำน้ำที่มันปรากฏคือ น่านน้ำคาอุ โคอูร่า แคนยอน มันอยู่ไม่ไกลจากอ่าวไทยไปมากนัก แถมอ่าวไทยจังมีอุณหภูมิมาตรฐานที่ปลาหมึกยักษ์ชอบด้วย จนไม่แปลกใจอะไรที่มันเผอิญโผล่ขึ้นมา ให้ประชาชนคนไทยได้ยลโฉมกันด้วยความพรั่นพรึงเล่นบ่อยๆครั้ง

                    

    สำหรับผมเหรอ ตอนนี้ชักอยากกินปลาหมึกย่างซะแล้วสิ ขอตัวไปกินก่อนนะครับ

     

    (ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๘)

    http://www.mythland.org/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=58+ +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×