ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #96 : อเล็กซานเดอร์มหาราชตายเพราะลอบปลงพระชนม์จริงหรือ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.74K
      1
      17 ก.พ. 50



    อเล็กซานเดอร์มหาราชตายเพราะลอบปลงพระชนม์จริงหรือ


                   
    อเล็กซานเดอร์มหาราช หรือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ประสูติเมื่อ กรกฎาคม 356 ปีก่อนคริสตกาล สวรรคตในวันที่ 10 มิถุนายน 323 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรมาเซโดเนีย และเป็น พระจักรพรรดิ ที่ขยายจักรวรรดิได้ถึงครึ่งโลกในสมัยโบราณ

    ทรงพระเยาว์

                    พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นพระโอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาร์เซโดเนีย กับพระนางโอลิมเปียส พระองค์เป็นศิษย์ของอริสโตเติล ผู้เป็นมหานักปราชญ์แห่งโลกตะวันตก เมื่อพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ เหล่านายทหารในกองทัพจึงสนับสนุนให้อเล็กซานเดอร์ ซึ่งในขณะนั้นอายุเพียง 20 ปี ขึ้นครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของมาเซโดเนีย

    หลังขึ้นครองราชย์ อเล็กซานเดอร์ได้แผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรมาเซโดเนียไปอย่างมาก โดยอเล็กซานเดอร์ใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการตีได้ทั้งจักรวรรดิเปอร์เซีย, อาณาจักรบาบิโลน และดินแดนบางส่วนที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน

                  

                    ภาพโมเสคที่ค้นพบที่ซากเมืองปอมเปอีย์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์รบ กับ กษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ณ สมรภูมิกัวกาเมล่า (รูปนี้ถ้าเป็นรูปเต็ม จะมีรูปกษัตริย์ดาไรอุสตกพระทัยจากหอกที่พุ่งใส่ อยู่บนรถม้าอยู่ทางขวามือ โดยรูปนี้แสดงถึงความกล้าหาญของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ และความอ่อนแอของกษัตริย์ดาไรอุส โดยรูปนี้นับเป็นรูปที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ด้วย)


                   
    การรบครั้งสุดท้าย

                   
                   
    การรบครั้งสุดท้ายที่มีผู้ต่อกรกับอเล็กซานเดอร์มหาราชอย่างจริงจัง เมื่อพระองค์ยกกองทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี 326 B.C. โดยเข้าสู่บริเวณลุ่ม แม่น้ำสินธุ ตีกรุงตักสิลาใน แคว้นคันธาระ แตก แล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย (
    Nicaea) แคว้นปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าพอรุส (Porus) (หากใช้สำเนียงเอเซียจะเรียกว่าพระเจ้าเปารวะ) พระเจ้าเปารวะเป็นผู้เข้มแข็งในการรบ ซึ่งมีพระสมญาว่า "สิงห์แห่งปัญจาบ" ได้รับแจ้งข่าวกับบรรดามหาราชาแห่งอินเดียว่ามีข้าศึกชาวตะวันตกผมบรอนซ์ตาสีฟ้ายกทัพข้ามภูเขาฮินดูกูชเข้ามา ฝ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ ๔๐,๐๐๐ ทหารม้า ๔,๐๐๐ รถศึกอีก ๕๐๐ และกองทัพช้างมหึมาจำนวน ๕๐๐ เชือกรบรับอยู่ กองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกับกองทัพฝ่ายอินเดียโดยมีพระเจ้าเปารวะเป็นแม่ทัพได้ปะทะกันที่ฝั่งแม่น้ำวิตัสตะ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสินธุ กำลังพลจำนวน 17,000 ในพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ข้ามแม่น้ำสำเร็จโดยอาศัยธรรมชาติช่วย แต่ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยสู้รบกับช้างจึงบังเกิดความแตกตื่นอลหม่านขึ้น ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็ได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ นี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลา 15 ปีที่กองทหารหอก (Phalanx) อันมีระเบียบวินัยในพระองค์บาดเจ็บจนบ้าเลือดบุกตะลุยไปทั่ว ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารจากฝ่ายใด การรบวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก เพราะบาดเจ็บล้มตายกับทั้งสองข้าง แต่ถึงอย่างไรพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ยังทรงได้รับชนะอยู่ดี เพราะพระเจ้าเปารวะถูกอาวุธบาดเจ็บสาหัสและถูกนายทหารกรีกจับเป็นเชลยสงคราม เมื่อพระเจ้าเปารวะถูกจับมาเผชิญพระพักตร์กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชตรัสถามว่า

                     "พระองค์ต้องการจะให้เราปฏิบัติอย่างไร?" พระเจ้าเปารวะตรัสตอบอย่างองอาจว่า

                     "ต้องการให้ปฏิบัติเราอย่างกษัตริย์" แทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะพิโรธกลับตรัสถามต่อไปว่า

                    "ทรงประสงค์จะขออะไรอีก?" พระเจ้าเปารวะจึงตรัสตอบว่า

                    "คำว่า "กษัตริย์" นั้นครอบคลุมไปถึงสิ่งทั้งหมดที่เราต้องการขอแล้ว"

                    ด้วยความกล้าหาญรักษาขัตติยเกียรติของพระเจ้าเปารวะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งมีพระทัยโปรดคนกล้าหาญ ได้พระราชทานคืนบ้านเมืองให้แล้วแต่งตั้งพระเจ้าเปารวะให้เป็นพระราชาตามเดิม แต่ดำรงในฐานประเทศราช

                    เสร็จศึกในครั้งนั้นอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สดับความมั่งคั่งสมบูรณ์ของแคว้นมคธ และได้ตระเตรียมยาตราทัพมาตี แต่ทหารของพระองค์ที่ร่วมศึกกับพระองค์มาตั้งแต่เป็นพระยุพราชเป็นเวลา 15 ปีที่ไม่ได้กลับบ้านกลับเมือง พากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแคว้นอื่นต่อไปอีกไม่มีกำหนดสิ้นสุด อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงต้องจำพระทัยเลิกทัพกลับ ช่วงนิวัตกลับอเล็กซานเดอร์มหาราชแบ่งกองทัพออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้กลับทางบก ส่วนพระองค์นิวัตโดยทางชลมาร์คลงมาตามแม่น้ำสินธุอย่างผู้พิชิตพร้อมด้วยทหารฝ่ายที่เหลือ รวมเวลาที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรบอยู่ในอินเดีย ๑ ปี กับ ๘ เดือน พระองค์ได้เสด็จฯไปยังกรุงบาบิลอนซึ่งเป็นนครเอกของโลกในเวลานั้น


                   
    ดวงชะตา

                 
                   
    ดวงพระชะตาของอเล็กซานเดอร์มหาราชขึ้นอยู่เป็นเวลา 13 ปีที่พระองค์ไม่แพ้ใครเลย จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 324
    B.C. เฮพาเอสเชียน (Hephaestion) ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีและนายทหารพระสหายสนิทที่ใกล้ชิดพระองค์ที่สุดของพระองค์ตายที่เมืองเอกบาตานา (Ecbatana) อเล็กซานเดอร์มหาราชเศร้าโศกเป็นอย่างมาก และไม่ยอมตั้งใครให้ทำหน้าที่แทนพระสหายรักในพระองค์ ทรงจัดพิธีศพให้ที่กรุงบาบิลอนโดยใช้กองฟืนที่มีราคาแพง ต่อจากนั้นได้รับสั่งให้สร้างสุสานขนาดใหญ่ที่สวยงามเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เฮพาเอสเชียนที่เมืองบาบิโลน สืบเนื่องจากการสูญเสียพระสหาย พระองค์ก็ได้แต่เสวยน้ำจันฑ์ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ ณ กรุงบาบิลอน จึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ประชวรอยู่ 10 วันก็ได้ แล้วจึงเสด็จฯสู่สวรรคาลัยในวันที่ 10 มิถุนายน ปี 323 B.C. โดยมีพระชนมายุเพียง 33 พระชันษา


                   พระศพของอเล็กซานเดอร์อยู่ที่ไหน

     

                    หลังพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกนำไปฝังในอียิปต์ และหายสาบสูญไปตั้งแต่นั้นมาโดยไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย

                    ตำนานเล่าว่า เมื่อม้า Bucephalus ถูกนำมาถวายกษัตริย์ Philip ที่ 2 บรรดาขุนพลและนายทหารต่างๆ ของกองทัพ Macedonia ได้พากันพยายามขี่มัน แต่ไม่มีใครทำได้สำเร็จ ยกเว้นเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เมื่อกษัตริย์ Philip ที่ 2 ทรงทอดพระเนตรเห็นเช่นนี้พระองค์จึงตรัสว่า อาณาจักร Macedonia ได้เล็กเกินไปสำหรับราชบุตรของพระองค์แล้ว

                    ดังนั้นพระองค์จึงทรงตระเตรียมการให้พระโอรสขึ้นครองราชย์อย่างดีที่สุด โดยได้มอบหมายให้นักปราชญ์กรีกที่มีชื่อเสียงที่สุด ในโลกในยุคนั้นคือ Aristotle เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแก่พระโอรสของพระองค์ และได้ทรงฝึกความสามารถทางทหารให้แก่ พระโอรสด้วย เมื่อกษัตริย์ Philip ที่ 2 เสด็จสวรรคตเพราะถูกลอบปลงพระชนม์ บรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ Macedonia เห็นได้โอกาสจึงประกาศอิสรภาพ แต่อเล็กซานเดอร์ด้วยวัยเพียง 20 พระชันษา ได้กรีธาทัพไปปราบเจ้าเมือง เหล่านั้นราบคาบ พออีก 2 ปีต่อมา อเล็กซานเดอร์ทรงสนพระทัยที่จะรุกรานอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และ กว้างขวางมากเพราะมีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจรดอินเดีย

                    กองทัพอเล็กซานเดอร์ได้บุกเข้าโจมตีอาณาจักร เปอร์เซียเป็น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 211 ทั้งๆ ที่มีกำลังพลเพียง 35,000 คน ซึ่งนับว่าน้อยกว่ากำลังของกองทัพเปอร์เซีย หลายเท่าตัว แต่กองทัพของอเล็กซานเดอร์ก็ชนะด้วยเหตุผล สามประการคือ ประการแรก กองทัพมีความเข้มแข็งมาก ประการที่สอง อเล็กซานเดอร์เป็นแม่ทัพที่ฉลาดเฉลียว และประการที่สามคือ อเล็กซานเดอร์ทรงมีความกล้าหาญ ในการนำทัพรุกฆ่าข้าศึกด้วยพระองค์เอง ดังนั้น เมื่อเหล่าทหารเห็นหมวกเหล็กที่มีขนนกขาวปักแซม เห็นโล่ประจำพระองค์และเห็นม้า Bucephalus ที่ทรงขี่ กำลังใจของทหารจึงสูงมาก กองทัพ อเล็กซานเดอร์พิชิตกองทัพเปอร์เซียอย่างราบคาบ และหลังจากที่ได้ส่วนที่เป็น Asia Minor แล้ว กองทัพก็ได้รุกต่อไปยังดินแดนทางตอนเหนือของประเทศSyria เมื่อกษัตริย์ Persia ทรงตระหนักว่ากองทัพ ของพระองค์ กำลังจะแพ้สงครามอีกพระองค์จึงทรงยินยอมยก อาณาจักร เปอร์เซียให้อเล็กซานเดอร์ปกครอง จากนั้นกองทัพอเล็กซานเดอร์ก็ได้บุกคืบหน้าต่อไปยังอียิปต์ และยึดครองอียิปต์ได้ โดยไม่ต้องเสียเลือด เนื้อแต่อย่างใด แล้วอเล็กซานเดอร์ก็ได้สถาปนาตนเป็นฟาโรห์ และได้นำทัพต่อไปยัง Babylon เพื่อเดินทางสู่ Persepolis อันเป็นนครหลวงของอาณาจักรเปอร์เซีย เพื่อสังหารกษัตริย์ Darius ที่ 3 และสามารถทำได้สำเร็จในอีก 3 ปีต่อมา

                    ถึงแม้อเล็กซานเดอร์จะได้ครอบครองอาณาจักรเปอร์เซียจนหมดสิ้นแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังไม่ทรงพอพระทัย เพราะพระองค์ได้ทรงกรีฑาทัพเข้า Afghanistan ผ่านภูเขาฮินดูกูฎมุ่งสู่ India กองทัพของพระองค์ได้สู้รบกับกองทหารของมหาราชา Porus แห่งอินเดีย และเมื่อชนะพระองค์ก็ได้ทรงครอบครองอินเดียตะวันตก แต่เมื่อทรงคิดจะรุกราน อินเดียตะวันออกต่ออีก เหล่าทหารของพระองค์ที่ต่างก็รู้สึกเหนื่อยสงครามและหน่ายชัยชนะเป็นที่สุด ได้ตัดสินใจไม่ยอมเดินทัพต่อไป อเล็กซานเดอร์จึงต้องยกทัพกลับเปอร์เซีย

                    เมื่อกลับถึงประเทศเปอร์เซีย พระองค์ได้ทรงเริ่มปรับปรุงอาณาจักรและกองทัพของพระองค์ ตามความเชื่อเดิมของพระองค์นั้น อารยธรรมที่ศิวิไลซ์ที่สุดคือ อารยธรรมกรีก อารยธรรมอื่นใดที่ไม่ใช่กรีก เป็นอารยธรรมถ่อยทั้งสิ้น แต่เมื่อพระองค์ทรงได้ปกครอง อาณาจักรเปอร์เซีย พระองค์ก็ตระหนักได้ว่าอารยธรรมเปอร์เซียใช่ว่าจะป่าเถื่อน แต่เป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองเช่นเดียวกับอารยธรรมกรีก ดังนั้น พระองค์จึงได้ทรงรวบรวมอารยธรรมทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยได้รับทหารเปอร์เซียเข้ามาเป็นทหารในกองทัพหลายพันคน ถึงแม้จะได้ครอบครองแผ่นดินไปแล้วค่อนโลก แต่อเล็กซานเดอร์ยังไม่พอพระทัยกับพระราชอาณาจักรที่พระองค์ทรงมีอยู่ พระองค์ทรงดำริจะรุกรานอาระเบีย อินเดียและโรมต่อ แต่ในวันที่ 13 มิถุนายน ของปี พ.ศ.220 นั่นเอง ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่ Babylon อเล็กซานเดอร์ได้ทรงประชวรด้วยมาลาเรีย (นักประวัติศาสตร์บางคนสงสัยว่าพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยยาพิษ) พออีก 10 วันต่อมาพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ ขณะที่มีพระชนมายุได้ 33 ชันษาเท่านั้นเอง

                    ในขณะที่สิ้นพระชนม์ อเล็กซานเดอร์มหาราชไม่มีรัชทายาทใดๆ บรรดานายทัพของพระองค์จึงได้จับพระราชมารดา พระมเหสีและพระโอรสสำเร็จโทษหมด จากนั้นก็ได้แบ่งแยกอาณาจักรกันปกครอง

                    เพราะอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ ขณะที่ทรงมีพระชนมายุน้อยและไม่เคยพ่ายแพ้ในสงครามใดๆ เลย นักประวัติศาสตร์จึงสงสัยว่า หากพระองค์ทรงมีอายุยืน ประวัติศาสตร์โลกจะเป็นอย่างไร และถ้าพระองค์ทรงกรีธาทัพบุกยุโรปตะวันตก ประวัติศาสตร์ของเยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศส คงจะต้องถูกเขียนใหม่หมดอย่างไม่ต้องสงสัย

    ในด้านบุคลิกด้านดีของอเล็กซานเดอร์นั้น ก็มีตำนานเขียนไว้มากมายเช่น พระองค์ทรงต้องการเป็นนักรบที่มีชื่อเสียงที่สุด ในประวัติศาสตร์ที่ผู้คนเล่าลือถึงการที่พระองค์ทรงมีความกล้าหาญ และการเป็นนายทัพที่สามารถ เพราะตลอดระยะเวลา 11 ปี กองทัพพระองค์ไม่เคยปราชัยกองทัพใครเลย ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเฉลียวฉลาดจากการพร่ำสอนโดย Aristotle และการที่พระองค์ทรงรู้ว่า อารยธรรมอื่นที่ไม่ใช่กรีกก็มีความศิวิไลซ์เหมือนกันนั้น แสดงให้เรารู้ว่า พระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกลยิ่งกว่าปราชญ์กรีกในยุคนั้นหลายคน และเมื่อม้า Bucephalus ของพระองค์ตาย พระองค์ทรงเศร้าโศกและเสียพระทัยมาก จึงได้สร้างเมือง Bucephalus ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าคู่ชีพ

                    ส่วนบุคลิกด้านด้อยของพระองค์ก็อยู่ที่ทรงชอบเสี่ยงชีวิตในสงครามด้วยพระองค์เองมากไป การไม่ยอมตั้งรัชทายาทใดๆ ทำให้อาณาจักรของพระองค์ต้องล่มสลาย และบางครั้งพระองค์ทรงมีพระอารมณ์ร้ายถึงขนาดทรงฆ่า Cleitus นายทหารผู้เคยช่วยชีวิตพระองค์ไว้ได้ลงคอ

                    โดยสรุปอิทธิพลของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่มีต่อโลกทุกวันนี้ คือการได้รวมอารยธรรมกรีก (ตะวันตก) เข้ากับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก) มีผลทำให้อารยธรรมทั้งสองรุ่งโรจน์มาก เพราะอารยธรรมกรีกได้แพร่หลายสู่อิหร่าน , ซีเรีย, อียิปต์, อินเดีย และในขณะเดียวกัน อารยธรรมจาดินแดนเหล่านี้ก็ได้แพร่กลับสู่กรีซ นอกจากนี้ ในขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ อเล็กซานเดอร์ได้ทรงตั้งเมืองใหม่ๆ ขึ้นมาไม่น้อยกว่า 20 เมือง เช่น เมือง Heart และ Kandahar ในอาฟกานิสถาน แต่เมืองที่เห็นจะมีชื่อเสียงที่สุดก็คือเมือง Alexandria ในอียิปต์ ซึ่งเป็นตักศิลาของการเรียนในวิทยาการต่างๆ ที่ปราชญ์ทุกคนที่มีชีวิตอยู่ในยุคนั้นต้องไปเยือน

    คำถามที่นักประวัติศาสตร์ได้พยายามค้นหาคำตอบมานานนับพันปีแล้วก็คือพระศพของอเล็กซานเดอร์อยู่ที่ใด

                    เมื่อประมาณ 13 ปีมาแล้ว M. Andronicos นักโบราณคดีชาวกรีกได้ขุดพบศพ ศพหนึ่งในสุสานของเมือง Vergina ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรีซ และอ้างว่าเป็นพระศพของกษัตริย์ Philip ที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดาของอเล็กซานเดอร์ พออีก 7 ปีต่อมา J.H. Musgravi นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ก็ได้กล่าวยืนยันว่า ศพดังกล่าวเป็นศพของ Philip ที่ 2 จริง แต่ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2543 A. Bartdiokas แห่งมหาวิทยาลัย Democritus ในกรีซ ได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่า กะโหลกศีรษะที่คณะนักวิจัยเดิมเชื่อว่าเป็นของ Philip ที่ 2 นั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะกะโหลกนั้นเป็นของ Philip ที่ 3 ผู้มีนามว่า Arrhidaeus ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างมารดาของอเล็กซานเดอร์ต่างหาก

    ถึงแม้ความเห็นของคณะนักโบราณคดีจะแตกต่างกัน ในชื่อเจ้าของกะโหลกศีรษะ แต่ทุกคนก็เห็นพ้องกันว่าสุสานที่ Vergina คือสถานที่ฝังศพของพระราชวงศ์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช

                    Musgravi นั้นได้สรุปจากรอยแผลบนกะโหลกและตาเพราะถูกธนูยิงว่าเป็นบาดแผลของ Philip ที่ 2 ขณะทรงบุกเข้ายึดเมือง Methone แต่ Bartsiokas อ้างว่าภาพถ่ายกระดูกที่เขาถ่ายไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ได้แสดงร่องรอยของธนูแต่อย่างใด เขาจึงคิดว่ากะโหลกดังกล่าวมิได้เป็นกะโหลกของ Philip ที่ 2 และเมื่อเขาพิจารณารอยแตกร้าวของกะโหลกศีรษะ เขาคิดว่ามันน่าจะเป็นกะโหลกของพระโอรสของ Philip ที่ 2 ผู้เป็นน้องต่างมารดาของอเล็กซานเดอร์เสียมากกว่า ทั้งนี้ เพราะเวลาเขาวัดอายุของเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องกรองเหล่าองุ่นที่ถูกขุดพบในหลุมนั้น อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุน้อยกว่าอายุของ Philip ที่ 2 มาก

                    คณะนักวิจัยจากอังกฤษยังไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ ดังนั้น การวิเคราะห์กระดูกและสิ่งของต่างๆ ในหลุมนั้นอีก จะทำให้เรารู้ว่า กะโหลกศีรษะที่ว่านั้นเป็นของ Philip ที่ 2 หรือที่ 3 กันแน่ และถ้ากะโหลกนั้นเป็นของ Philip ที่ 3 จริงนั้นก็แสดงว่า มงกุฎเงิน หมวกเหล็กและเสื้อเกราะที่พบในหลุมนั้นอาจเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ได้ และนั่นก็หมายความว่าพระศพของทั้ง Philip ที่ 2 กับศพของอเล็กซานเดอร์มหาราชต่างก็หายหมดทั้งพ่อและลูก

     

                    อเล็กซานเดอร์มหาราชตายเพราะลอบปลงพระชนม์จริงหรือ

                    
                   
    บัดนี้ ได้มีการใช้ วิทยาการทันสมัยพิสูจน์ ได้แล้วว่า การที่อเล็กซานเดอร์สิ้น พระชนม์ก่อนวัยอันสมควรนั้นเกิดจากการลอบปลงพระชนม์

                    ผู้สนใจในการสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์ มหาราช จนทุ่มเทศึกษาหาสาเหตุนี้ ก็คือ จอห์น กรีฟ (John Grieve) นักสืบแห่งสกอตแลนด์ยาร์ด สำนักสืบสวนของอังกฤษ ที่เคยโด่งดังในอดีต

                    กรีฟมีความเห็นว่า ในช่วงหลังๆ ของอเล็กซานเดอร์นั้น พระองค์ทรงเปลี่ยนไปจากเดิมคือ มีพระโทสจริตรุนแรง อาจเนื่องมาจาก การดื่มสุราอย่างหนักตามวิสัยของทหาร ทำให้ขาดพระสติได้ง่ายๆ กระทั่งครั้งหนึ่ง ได้เคยชักดาบออกสังหารทหารคนสนิท ด้วยสาเหตุขัดพระทัยเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าพระอารมณ์ อันแปรปรวนโหดร้าย ได้ก่อให้เกิด ศัตรูผู้เป็นบริพารใกล้ชิด กอปรกับพระอาการประชวรก่อนสิ้น พระชนม์นั้น มีลักษณะคล้ายถูกวางยาพิษ กรีฟจึงฟันธงลงไปว่า ทรงถูกลอบปลงพระชนม์!

                    เมื่อกรีฟค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีอยู่ อาทิ จารึกอักษรโบราณ บนแผ่นดินเหนียวที่ได้จากพิพิธภัณฑ์ในอิรัก เขาพบว่า วันสวรรคตที่น่าถูกต้อง คือวันที่10หรือ11มิถุนายนพ.ศ.220ซึ่งก่อนหน้านั้น 12 วัน พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ทรงเลี้ยงฉลองและดื่มน้ำจัณฑ์อย่างหนัก วันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงล้มป่วยและพระอาการไม่ดีขึ้นจนสิ้นพระชนม์

                    ทีนี้มาพิจารณาถึงสภาพพระวรกาย โดยทั่วไปขององค์ จักรพรรดิดูบ้าง กรีฟพบว่าแทบจะทั่วพระวรกาย เต็มไปด้วยบาดแผล

                    จากการศึก พระองค์เคยถูกฟัน ด้วยดาบที่พระเศียร เคยถูก ลูกธนูปักที่อกทะลุปอด มีรอยแผลที่ขาและข้อเท้า นอกจากนี้ การดื่มหนักยังทำให้พระวรกาย ทรุดโทรม ตับโต เหล่านี้เป็นสาเหตุ ที่ทำให้ทรงอ่อนแอ จนถึงกับสิ้นพระชนม์ได้หรือไม่

                    ก่อนหน้านี้ อเล็กซานเดอร์ ได้ทรงเยือนบาบิโลน เมโสโปเตเมีย และอิรัก หลายคนเชื่อว่า ทรงติดไข้มาลาเรียจากยุงที่นั่น ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าเชื้อมาลาเรีย ได้กินเม็ดเลือดแดงและ ถ้าเชื้อขึ้นสมองจะเกิดไข้สูงปัสสาวะเป็นสีดำ หากทว่าแม้พระองค์มีไข้สูงก็จริง แต่ปัสสาวะไม่ดำ ดังนั้น จึงตัดแง่คิดในเรื่องมาลาเรียทิ้งไป

                    ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งสันนิษฐานว่า อเล็กซานเดอร์เป็นโรค เวสต์ไนล์ (West-Nile) คือติดเชื้อโรคนี้มาจากนกและยุง (ไข้หวัดนก?) คนที่เป็นจะมีไข้สูงหลายวัน คล้ายกับอาการของอเล็กซานเดอร์ และในวันท้ายๆ พระองค์เคลื่อนไหว ท่อนล่างของพระองค์ไม่ได้ ซึ่งก็เป็นอาการหนึ่งของโรคเวสต์ไนล์

                    แล้วก็ถึงข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้มากที่สุดตามที่กรีฟคิด นั่นคือการวางยาพิษ เพราะในสมัยนั้นการใช้ยาพิษมีอยู่อย่างกว้างขวาง และการปลงพระชนม์ กษัตริย์มาซิโดเนียก็เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนมิใช่สิ่งแปลก

                    แล้วใครเล่าคือผู้ลอบปลงพระชนม์อเล็กซานเดอร์?

                    เขาผู้นั้นจะต้องมีความแค้นส่วนตัว กับพระองค์และจะต้องมีความใกล้ชิด เข้าถึงพระองค์ ได้ผู้ที่ถูกสงสัยมากที่สุด มีนามว่าอาดีวิเดอร์ซึ่งเป็นอดีต ผู้ปกครอง มาซิโดเนียที่ถูก อเล็กซานเดอร์ปลดจากตำแหน่ง เขามีบุตรชาย2คนที่ติดตามทัพ ไปอยู่ที่บาบิโลนกับอเล็กซานเดอร์ ยาพิษที่มีอยู่มากมายในมาซิโดเนีย ได้ถูกจัดส่งไปที่นั่น และถูกลอบ ใส่ลงในน้ำจัณฑ์ที่อเล็กซานเดอร์เสวย

                    ทำไมอาดีวิเดอร์จึงมุ่งสังหารอเล็กซานเดอร์?

                    นอกจากความแค้นที่ต้องถูกลดฐานะแล้ว ความกลัวที่จะถูกอเล็กซานเดอร์ ประหารก็เป็นอีกประการหนึ่ง เพราะในระยะหลังพระองค์ทรงโหดเหี้ยม สั่งฆ่าใครต่อใครได้ง่ายๆ ด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย

                    
                   
    แม้กระทั่ง อริสโตเติล พระอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์ ก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าจัดหายาพิษ มาปลงพระชนม์ ทั้งนี้ เพื่อแก้แค้นที่หลานคนหนึ่งถูกอเล็กซานเดอร์สังหาร

                    และทำไมจึงมุ่งประเด็นยาพิษ?

                    ทั้งนี้ เพราะอาการผิดปกติ ของอเล็กซานเดอร์ เกิดขึ้นรวดเร็ว หลังจากพระองค์ดื่มไวน์ ได้เพียงแค่ครึ่งชั่วโมง นั่นเป็นอาการ ของผู้ที่กินสารพิษเข้าไป

                    สารพิษนั้นคืออะไร

                   
                   
    พืชที่เรียกว่า เฮลเลบอร์ (Hellebore) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในมาซิโดเนีย และ มีรากอันเป็นสารพิษ ที่ให้ผลต่อเนื่อง นานหลายวันได้ถูกนำมาวิจัย

                    กรีฟกับคณะได้เก็บเอารากต้นเฮลเลบอร์ มาบดตำละลายน้ำ แล้วเอาเข้าเครื่อง วิเคราะห์เส้นกราฟที่ได้แสดงถึง ความเป็นพิษอันร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์

                    นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากสงครามเกาหลีว่า ครั้งนั้นทหารได้นำเอาต้นเฮลเลบอร์ มาปรุงเป็นอาหาร แล้วเกิดการล้มป่วยไปตามๆกัน อาเจียน และหัวใจเต้นช้าลง ง่วงซึมคล้ายอาการของ อเล็กซานเดอร์

                    ความจริงสารเฮลเลบอร์จะถูกขับออกจากร่างกายได้ภายใน 1 วัน ดังนั้น อเล็กซานเดอร์จึงอาจถูกวางยาพิษเพิ่มเติมอีก

                    ประวัติศาสตร์ ระบุว่า หลังจากที่พระองค์เสวยไวน์ แล้วเกิดอาการผิดปกติ ก็ได้รับสั่ง ให้บริพารคนหนึ่งนำก้านขนนกมาแยงเข้าไปในพระศอของพระองค์ เพื่อให้อาเจียน เป็นไปได้ว่าขนนกนั้นมียาพิษติดอยู่ ซึ่งยาพิษนี้ ถ้าได้รับเข้าไปโดยตรงเพียงหนึ่งกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้ 

                    เมื่ออเล็กซานเดอร์ซึ่งมีร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว เสวยยาพิษเข้าไปก็ทรงทรุด จนถึงขั้นขยับพระวรกายไม่ได้ ต้องนอนแบ็บอยู่กับแท่นบรรทม แล้วยาพิษ ก็ถูกนำมาให้เสวยซ้ำอีกในวันสุดท้าย ทำให้พระองค์ สิ้นพระชนม์ในที่สุด

                    แนวคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เฮลเลบอร์ นั้นแพทย์สมัยโบราณรู้จักกันดีในฐานะ ของยาระบายชนิดหนึ่งและได้นำมาใช้สำหรับ รักษาคนไข้โดยเจือในปริมาณน้อย แต่ถ้าหากใส่ลงไปมากมันก็คือยาพิษนั่นเอง

                    เป็นไปได้ไหมว่า หมอที่รักษาพระอาการของ อเล็กซานเดอร์ได้นำเอาเฮลเลบอร์มารักษาพระองค์ แต่ด้วยพระวรกายที่อ่อนแอทรุดโทรม อเล็กซานเดอร์ จึงไม่สามารถทนทานต่อฤทธิ์ของเฮลเลบอร์ได้

                    หากทว่าข้อสันนิษฐานนี้ยังอ่อน เมื่อเทียบกับการที่ทรงถูกวางยา อย่างแรงจากผู้ใกล้ชิดที่เกลียดชังพระองค์


    + +
    http://th.wikipedia.org

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×