ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #94 : เรื่องของดอล์ฟ ฮิตเลอร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.87K
      1
      13 ก.พ. 50



    เรื่องของดอล์ฟ ฮิตเลอร์


                   
    ดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เกิด
    20 เม.ย. ปีค.ศ.1889 ที่เมืองเบราเนา ประเทศออสเตรีย ติดชายแดนเยอรมนี ทั้งพ่อ-อาลัวส์ และแม่คาร่า มาจากครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน แต่พ่อเป็นคนฉลาดและทะเยอทะยาน จึงก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าหน้าที่ภาษี ช่วงที่มาแต่งงานกับแม่ อายุห่างกันถึง 23 ปี และมีลูกติดมา 2 คน ทำให้ฮิตเลอร์มีพี่น้องถึง 5 คน แต่โตขึ้นมาเหลือรอดอยู่ 2 คน คือฮิตเลอร์และน้องสาว

                    พ่อฮิตเลอร์เป็นคนที่เข้มงวดมาก และนิยมใช้ความรุนแรงลงโทษหากลูกไม่เชื่อฟัง ฮิตเลอร์จึงเป็นเด็กเรียนดีในตอนต้น เพื่อนๆ ยกย่องให้เป็นผู้นำ ทั้งยังเคร่งศาสนา จนใครๆ คิดว่าโตขึ้นมาจะเป็นนักบวช

                    แต่พอขึ้นเรียนชั้นสูงขึ้น วิชาต่างๆ ก็เริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสอบไม่ได้ที่ 1 พ่อเริ่มเกรี้ยวกราด เพราะกลัวลูกจะเข้ารับราชการไม่ได้ ส่วนเพื่อนๆ ก็เริ่มไม่ปลื้มให้เป็นหัวหน้า ความกดดันต่างๆ ทำให้ฮิตเลอร์เบี่ยงไปสนใจการต่อสู้

                    ครูชั้นมัธยมฯ คนเดียวที่ฮิตเลอร์ชื่นชอบ คือลีโอโพลด์ พอตช์ ซึ่งเป็นคนนิยมความสำเร็จของเยอรมนี จึงมักเล่าถึงชัยชนะต่างๆ ของเยอรมันเหนือฝรั่งเศส ในศึกปีค.ศ.1870-1871 และต่อว่าออสเตรียว่าไม่ยอมเข้าร่วมกับเยอรมนี ฮิตเลอร์พานชอบเยอรมันไปด้วย โดยมีออตโต วอน บิสมาร์ก นายกรัฐมนตรีของอาณาจักรเยอรมนี เป็นฮีโร่ในดวงใจ

                    สำหรับวิชาที่ฮิตเลอร์สนใจมากอีกวิชาคือศิลปะ ซึ่งทำให้ทะเลาะรุนแรงกับพ่อ เพราะไม่เห็นด้วยเลยที่จะให้ลูกเป็นศิลปิน ศึกพ่อลูกสิ้นสุดลงในปีค.ศ.1903 เมื่อพ่อฮิตเลอร์เสียชีวิต ตอนนั้นครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากทางการเงิน แต่ฮิตเลอร์ยังคงไม่รักเรียนเช่นเดิม จนแม่ยอมให้ออกจากโรงเรียน

                    ต่อมาในช่วงอายุ 18 ปี ฮิตเลอร์ได้รับมรดกของพ่อ และใช้เงินเดินทางไปกรุงเวียนนา หวังว่าจะไปเรียนวิชาศิลปะที่นั่น ฮิตเลอร์คิดว่าตนเองมีความสามารถทางศิลปะที่เหนือชั้น แต่พอไปถึงจริงกลับถูกสถาบันวิชาการศิลปะเวียนนาปฏิเสธใบสมัคร จากนั้นจึงย้ายไปสมัครที่โรงเรียนสถาปัตยกรรม แต่ไม่ได้อีก เพราะไม่มีใบรับรองจากโรงเรียนเก่า

                    ฮิตเลอร์อับอายมากที่ล้มเหลวเช่นนี้ จนไม่กล้าบอกความจริงกับแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นอยู่ในเวียนนาต่อไปว่าตนเองเป็นนักเรียนศิลปะ

                    หลังจากฮิตเลอร์ย้ายจากเมืองเบราเนาไปกรุงเวียนนา และเข้าเรียนศิลปะอย่างที่ใจหวังไม่ได้ ก็ไม่กล้าบอกแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นว่าเป็นนักเรียนศิลปะอยู่ที่กรุงเวียนนาอย่างนั้น โดยใช้เงินบำนาญมรดกของพ่อดำรงชีวิตในเมืองหลวงอย่างสบาย วันๆ ก็นอนเล่นอ่านหนังสือ ตกบ่ายไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะ จนกระทั่งปีค.ศ.1907 แม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

                    การเสียชีวิตของแม่ทำให้ฮิตเลอร์เสียใจสุดซึ้ง เพราะรักแม่มากและมากกว่าพ่อ ตามประวัติศาสตร์ฮิตเลอร์ถือรูปแม่ไปทุกที่แม้กระทั่งวาระสุดท้ายรูปก็ยังอยู่ในมือ

                    ในปีค.ศ.1909 ซึ่งเป็นปีที่ควรเกณฑ์ทหาร ฮิตเลอร์กลับไม่ยอมรับใช้กองทัพออสเตรียของตัวเอง เพราะแค้นอยู่ลึกๆ ที่สถาบันการศึกษาออสเตรียไม่เปิดโอกาสให้เรียน นอกจากนี้ยังชื่นชมอาณาจักรเยอรมนีที่เหนือกว่าออสเตรียมาตั้งแต่เด็ก จึงไปเป็นอาสาสมัครในกองทัพเยอรมนี ขึ้นชื่อว่าเป็นทหารกล้าตาย สู้เลือดเดือด

                    ช่วงเวลานี้ชีวิตของฮิตเลอร์มีทั้งขึ้นและลง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฮิตเลอร์ ย้ายไปอยู่มิวนิกและเริ่มชีวิตทางการเมือง ซึ่งล้มลุกคลุกคลานอยู่นาน จนกระทั่งปีค.ศ.1921 ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคนาซี มีนโยบายต่อต้านชาวยิวและผู้นิยมลัทธิสังคมนิยม

                    ในปี 1933 ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและหนึ่งปีถัดจากนั้นตั้งตนเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ สร้างกองทัพยึดคืนแคว้นไรน์ และในปี 1936 ร่วมมือกับเผด็จการมุสโสลินีของอิตาลีบุกยึดออสเตรีย ชาติเกิดของตนเอง ตามด้วยเชโกสโลวะเกีย

                    สำหรับเชโกฯ นั้นบุกยากกว่าออสเตรีย เพราะมีฝรั่งเศสเป็นพันธมิตร ทางด้านอังกฤษจึงเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยแบ่งพื้นที่บางส่วนของเชโกฯ ให้เยอรมัน แต่ภายหลังถูกฮิตเลอร์หักหลังเข้ายึดทั้งประเทศ ทำให้อังกฤษอับอายมาก

                    ด้วยความที่ได้คืบจะเอาศอก ฮิตเลอร์ลุยต่อไปที่โปแลนด์ คราวนี้อังกฤษกับฝรั่งเศสไม่ยอมอีกแล้ว วันที่ 3 ก.ย.1939 จึงประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 กับเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรและอักษะสู้รบกันอยู่นานถึงปี 1945 ฝ่ายอักษะพ่ายแพ้ ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายพร้อมหญิงคนรัก อีวา วันที่ 30 เม.ย. ปีค.ศ.1945


                   
    ฮิตเลอร์เคยถูกลอบสังหาร

                   
                   
    20 กรกฎาคม 1944 อาจเป็นวันธรรมดาวันหนึ่งหากว่ามันไม่ได้อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังตึงเครียดถึงขีดสุด จนทำให้วันนี้กลายเป็นหน้าหนึ่งที่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ แม้ว่าปฏิบัติการในครั้งนั้นจะไม่เสร็จสมบูรณ์ตามที่หวังก็ตาม

                    เช้าตรู่วันนั้นพันเอกสเตาเฟนแบร์ก และนายทหารคนสนิท แวร์เนอร์ เฮฟเทน เดินทางออกจากสนามบินทหารแห่งหนึ่งนอกกรุงเบอร์ลิน พร้อมกับระเบิดหนัก 4 ปอนด์ อาวุธที่จะใช้ในการสังหารฮิตเลอร์ผู้ซึ่งยังไม่ตื่นจากการหลับไหล

                    ขณะที่แฟรงคลิน ดี.รูสเวลท์ ประธานา ธิบดีแห่งสหรัฐ ซึ่งโดยสารอยู่บนรถไฟเฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน เพิ่งจะตื่นนอน ส่วนเซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กำลังรับประทานอาหารเช้าอยู่บนเตียง ในห้องของอาคารแอนเน็กซ์ที่อยู่เหนือห้อง War Room ของคณะรัฐมนตรีบนถนนดาวนิ่ง และจอมพลโจเซฟ สตาลิน กำลังพักผ่อนอยู่ที่บ้านพักในเมืองคุนท์เซโว่ นอกกรุงมอสโก

                    ระหว่างที่แผนการลอบสังหารฮิตเลอร์ค่อย ๆ ดำเนินไปตามที่วางไว้ ในช่วงสายฮิตเลอร์ก็ตื่นขึ้นเพื่อมารับฟังรายงานการทิ้งระเบิดในช่วงคืนที่ผ่านมา ก่อนที่ ดร.ธีโอดอร์ มอเรลล์ แพทย์ประจำตัวจะฉีดยากระตุ้นประจำวันให้

                    หลังจากนั้นไม่นานพันเอกสเตาเฟนแบร์กก็เดินทางมาถึงสนามบินทหารใกล้กับกองบัญชาการรบฝั่งตะวันออก ที่เรียกว่า โวล์ฟส์ ไลร์

                    ช่วงเวลาเดียวกันนั้นทั้งจอมพลสตาลิน นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์ และประธานา ธิบดีรูสเวลท์ ต่างก็กำลังเตรียมวางแผนเพื่อจัดการกับเผด็จการอย่างฮิตเลอร์อยู่ โดยไม่รู้เลยว่านายทหารคนสนิทของฮิตเลอร์เองกำลังปฏิบัติการเพื่อพลิกสถานการณ์อันเลวร้ายอยู่ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า

                    พันเอกสเตาเฟนแบร์กขอตัวที่จะไม่เข้าร่วมประชุมกับผู้บัญชาการสนามรบวิลเฮล์ม ไคเทล หลังจากเขามาแจ้งเรื่องการประชุมที่ถูกร่นให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมงให้ทราบ ก่อนจะขอให้ห้องพักผ่อนเพื่อร่วมกับแวร์เนอร์ ฟอน เฮฟ เทน นายทหารคนสนิทประกอบลูกระเบิดที่ลักลอบนำ เข้ามาแต่ขณะที่ระเบิดลูกที่สองกำลังได้รับการประกอบขึ้นนั้น ทหารรับใช้ได้เข้ามาขัดจังหวะจนทำให้ทั้งคู่ประกอบระเบิดเสร็จสมบูรณ์เพียงลูกเดียว และนั่นคือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปฏิบัติการครั้งนี้ไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

                    ฟอน เฮฟเทน เอาระเบิดลูกที่สองใส่ไว้ในกระเป๋าของเขาแทนที่จะใส่มันไว้ในกระเป๋ากับระเบิดลูกแรก ซึ่งจะถูกนำไปไว้ในที่ประชุมของฮิตเลอร์

                    แม้ว่าจะไปเข้าร่วมประชุมกับฮิตเลอร์ตามปกติ แต่พันเอกสเตาเฟนแบร์กก็ฉลาดพอที่จะไม่เป็นผู้วางระเบิดนั้นด้วยตัวเอง เพราะเขามีนายทหารคนสนิทอีกคนที่จะทำหน้าที่ในการนำมันไปวางไว้ใกล้ ๆ กับฮิตเลอร์ แผนการครั้งนี้คงจะสมบูรณ์หากว่าพันเอกไฮนซ์ บรันท์ไม่นำกระเป๋าปริศนาใบที่ว่าเคลื่อนย้ายไปจากที่ทางที่มันควรจะอยู่

                    ไม่กี่อึดใจหลังจากพันเอกสเตาเฟนแบร์กถูกฟอน เฮฟเทน เรียกออกมาจากกระท่อมประชุมสถานการณ์ ก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นสัญญาณเตือนภัยถูกเปิดเพื่อแจ้งการก่อการประทุษร้ายในค่าย พันเอกสเตาเฟนแบร์กพร้อมฟอน เฮฟเทน รีบรุดกลับไปยังสนามบินทหารและขึ้นเครื่องกลับทันที โดยไม่อยู่รอดูผลงานของตัวเองก่อน

                    การรอดตายอย่างปาฏิหาริย์ในครั้งนี้ทำให้ผู้นำฟาสซิสต์อย่าง เบนิโต้ มุสโสลินี เชื่อว่านั่นคือสัญญาณ ที่บ่งบอกว่าชะตาได้ลิขิตให้ฮิตเลอร์นำนาซีเยอรมันไปสู่ชัยชนะ

                    ความเชื่อมั่นของพันเอกสเตาเฟนแบร์กที่ว่า ฮิตเลอร์ตายแล้ว กับข้อความที่ถูกแจ้งมาว่า "มีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้น ฟูห์เรอร์ยังมีชีวิตอยู่" โดยไม่มีอะไรยืนยัน ทำให้พันเอกสเตาเฟนแบร์กตัดสินใจออกคำสั่งไปยังผู้บัญชาการกองทัพระดับภูมิภาคทุกนายว่า "ฮิตเลอร์ตายแล้วและกองทัพบกกำลังเข้ายึดอำนาจควบคุมรัฐ เจ้าหน้าที่พรรคนาซีและผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสทุกคนต้องถูกจับกุม"

                    นั่นเท่ากับเป็นการแสดงตัวว่าเขาคือผู้วางระเบิดลูกนั้น ขณะที่ฮิตเลอร์โทรฯ ไปหาโยเซฟ เกิบเบลส์ รัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาการพร้อมกับบอกว่าเขายังมีชีวิตอยู่ เมื่อพันเอกสเตาเฟนแบร์กส่งนายพลแอร์นสท์ เรเมอร์มาจับกุม เกิบเบลส์จึงแจ้งคำสั่งของฮิตเลอร์ที่ให้เรเมอร์ควบคุมกรุงเบอร์ลินและนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา โดยตั้งไฮน์ริค ฮิมเลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสเป็นผู้บัญชาการกองทัพชั่วคราว

                    หลังจากนั้นมีการประกาศทางวิทยุเยอรมันเกี่ยวกับความพยายามในการลอบสังหารที่ล้มเหลว และฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่ เพียงเท่านั้นกบฏในเบอร์ลินก็วงแตก ผู้ร่วมสมคบคิดบางรายแปรพักตร์ ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกจับกุมและตัดสินประหารชีวิตทันที


                   
    นาทีสุดท้ายของผู้นำ

                    
                   
    แต่สิ่งที่ยังเป็นความลับดำมืดที่หลายคนอยากรู้ ก็คือ ช่วงวันท้ายๆ ของท่านผู้นำเยอรมัน ก่อนที่เขาจะฆ่าตัวตายด้วยการกินยาพิษในขณะกำลังหลบภัยในบังเกอร์แห่งหนึ่งในวันที่ 30 เมษายน ปี 2488 นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งในตอนนั้นเขาและกองทัพเยอรมันกำลังจะแพ้สงคราม บรรยากาศในบังเกอร์เป็นอย่างไร

                    ล่าสุด อดีตนายทหารเยอรมันคนหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มสุดท้ายที่อยู่ในบังเกอร์กับฮิตเลอร์ได้ออกมาเฉลยความลับที่หลายคนอยากรู้ เขาคือ เบิร์น เฟรย์ฮาร์ก วอน โลแรงโฮเวน ซึ่งปัจจุบันอายุ 91 ปีแล้ว

                    เบิร์นเล่าว่า เขาใช้ชีวิตอยู่ในบังเกอร์กับฮิตเลอร์เป็นเวลากว่า 9 เดือน แต่ในช่วงสถานการณ์หมิ่นเหม่ที่ฮิตเลอร์กำลังจะแพ้สงคราม ฮิตเลอร์กลับอนุญาตให้เขาหนีในวันที่ 29 เมษายน 2488 "ฮิตเลอร์จับมือกับผมและอวยพรให้ผมโชคดี จากสายตาของฮิตเลอร์ ผมว่าเขาอิจฉาผมนะ"

                    หลังจาก 1 วันที่มีการพบศพฮิตเลอร์ในบังเกอร์ และนายทหารเบิร์นกำลังหนีลูกกระสุนและลูกระเบิดของรัสเซียบนเรือแคนูบนแม่น้ำฮาเวล เขาพยายามจะหนีไปยังที่มั่นสุดท้ายของเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน แต่อย่างไรก็ดี เบิร์นก็รอดชีวิตจากสงครามและชีวิตที่เขาถูกทารุณอย่างโหดร้ายในค่ายเชลยของอังกฤษ

                    ในตอนนี้ เบิร์นเป็นคนสุดท้ายของผู้ที่อยู่ในบังเกอร์กับฮิตเลอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากเลขานุการของฮิตเลอร์เสียชีวิตไปเมื่อเร็วๆ นี้

                    เขาเล่าว่า "ดูเหมือนว่าฮิตเลอร์จะติดยาบางชนิดด้วย" ตามคำบอกเล่าของเบิร์น ฮิตเลอร์บัญชาการการรบด้วยการเสี้ยมให้เกิดการแบ่งแยกในบรรดานายทหารที่ทำงานให้เขา

                    "ฮิตเลอร์สร้างสายบัญชาการซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันและแตกแยกกันแล้วก็ปกครอง เขามอบหมายให้นายทหารทางการเมืองแอบล้วงความลับนายทหารอาชีพที่ทำงานรอบข้างเขา กุศโลบายนี้เองทำให้ฮิตเลอร์เป็นผู้มีอำนาจและข้อมูลอยู่เหนือทุกคนจนกระทั่งวาระสุดท้าย"

                    ฮิตเลอร์เป็นคนดื้อแพ่ง ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้ในทางทหารมากพอจะเป็นผู้บัญชาการรบระดับสงครามโลกได้ ประสบการณ์เดียวที่ฮิตเลอร์มีในกองทัพมีเพียงน้อยนิด เพราะเขาเป็นพลทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฮิตเลอร์ไม่ใช่เป็นคนบัญชาการการโจมตีในช่วงนั้น แต่เป็นการวางแผนของนายทหารนโยบาย เมื่อการโจมตีไม่ประสบความสำเร็จ

                    เขาก็ไม่ยอมรับคำแนะนำจากนายทหารคนสนิท เพราะเขามองว่าพวกนี้เป็นพวกขี้แพ้ ชอบแนะนำให้ยอมแพ้

                    เบิร์นเล่าว่า ฮิตเลอร์เป็นคนก้าวร้าวอย่างมาก แต่ก็มีบุคลิกที่หลายคนมองว่าอบอุ่นและมักทำให้คนประทับใจด้วยการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง เขาเล่าว่า ฮิตเลอร์จะตื่นช่วงเที่ยง และเมื่อเดินเข้าห้องประชุม ทุกคนต้องทำความเคารพตามแบบนาซี และเขาจะเดินจับมือกับทุกคน แต่ฮิตเลอร์จะเป็นคนเดียวที่นั่งที่โต๊ะประชุมในขณะที่นายทหารคนอื่นไม่ได้รับอนุญาตให้นั่ง จะยกเว้นให้บางครั้งกับนายทหารอาวุโสเท่านั้น

                    จากนายทหารหนุ่มวัย 31 ปี ตอนนี้เบิร์นกลายเป็นชายชราอายุเฉียดร้อย แต่กระนั้นก็ตาม ความทรงจำของเขาเกี่ยวกับฮิตเลอร์ยังแจ่มชัด และมีการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับฮิตเลอร์จากคำบอกเล่าของเบิร์นอีกด้วย


    http://www.artsmen.net

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×