ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #78 : ตดวิทยา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.62K
      1
      10 ก.พ. 50



    ตดวิทยา

                    ตดเป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งที่คนทุกคนทำ และรู้ดีว่าการแสดงพฤติกรรมเช่นนี้อย่างผิดกาลเทศะ จะทำให้คนคนนั้นหน้าแดง และคนรอบข้างในบางครั้งก็ขำ แต่ก็มีหลายครั้งที่ทุกคนจะไม่พูดถึงเพราะถือเป็นเรื่องน่าอาย เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่น่านำมากล่าวถึงกลางธารกำนัลเลย

                    แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางคนสนใจพฤติกรรมด้านนี้ของมนุษย์มาก ซึ่งเขาได้พบว่า คนปกติตดประมาณวันละ 10 ครั้ง ทำให้แก๊สที่ออกมามีปริมาณมากพอที่จะบรรจุลูกโป่งได้ 1 ลูก ถึงแม้จะมีการอ้างว่า ผู้ชายตดบ่อยกว่าผู้หญิง แต่การสำรวจและศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบทำให้เรารู้แล้วว่า ชายและหญิงตดบ่อยพอๆ กัน แต่เมื่อผู้หญิงมีร่างกายที่เล็กกว่าผู้ชาย ดังนั้น ลมที่ผายออกมาจึงมีปริมาตรน้อยกว่าของผู้ชาย เพราะการวิเคราะห์แก๊สที่มนุษย์ปลดปล่อยออกมาทำให้เรารู้ว่า 99% ของแก๊สไม่มีกลิ่น คำถามจึงมีว่าแล้วเหตุใดคนข้างเคียงจึงต้องกลั้นหายใจ (และกลั้นหัวเราะ) ทุกครั้งที่กลิ่นตดโชย การวิจัยตอบคำถามเช่นนี้ คงทำให้คนหลายคนคิดว่า คนช่างสงสัยคนนั้นสนใจเรื่องสัปดน แต่สำหรับ Michael Levitt แห่ง Veterans Administration Medical Center ที่เมือง Minneapolis ในสหรัฐอเมริกาแล้ว ตดเป็นปัญหายิ่งใหญ่ เพราะเขาได้ทุ่มเทชีวิต จิตใจ ศึกษาเรื่องตดนี้มานานถึง 30 ปีแล้ว และได้เขียนบทความลงในวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ มากมาย จนทำให้วงการวิชาการยอมรับว่า เขาคือผู้เชี่ยวชาญเรื่องตดระดับโลก

                    ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเรื่องตด คิดว่าสารประกอบพวก indole และ shatole อันเกิดจากการสลายตัวของกรด amino ในกระเพาะทำให้ตดมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อ 21 ปีก่อนนี้ Levitt ก็ได้พบว่า แก๊ส H2S (hydrogen sulphide), methanethiol และ dimethyl sulphide คือสารที่ทำให้ตดเหม็น โดยไม่มี indole และ shatole เลย นอกจากนี้ Levitt ก็ยังสำรวจพบอีกว่า ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็ตดเหม็นพอๆ กัน

                    ในงานวิจัยสืบเนื่องของ Levitt ที่ลงพิมพ์ในวารสาร Biochemical Pharmacology ฉบับที่ 62 เมื่อปี พ.ศ. 2544 เขาได้รายงานว่า เซลล์ผนังกระเพาะในร่างกายคนสามารถทำให้กลิ่นเหม็นของตดลดลงได้ 10 เท่า โดยใช้ยาระบายท้องที่มี polyethylene glycol เพื่อให้ลมตดมีแก๊สเหม็นออกมาน้อย และเขายังพบอีกว่า จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในกระเพาะสามารถดูดกลืนแก๊ส และผลิตแก๊สได้ เพราะตัวจุลินทรีย์ไม่ดูดกลิ่นแก๊สไปบ้าง คนเราจะตดทั้งวัน ดังมีสถิติคนที่ตดบ่อยที่สุดในโลกคือ ตดวันละ 34 ครั้ง ได้แก๊สมากถึง 8 ลิตรต่อวัน อนึ่งการพบว่า ตดประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน และ methane ได้ทำให้คนบางคนคิดว่า นี่คือวิธีหนึ่งที่เราสามารถใช้ในการเตรียมไฮโดรเจนและ methane ได้

                    Colin Leakey เป็นนักชีววิทยาอีกท่านหนึ่งที่สนใจว่าเหตุใดคนเราจึงต้องตด หรือแม้แต่องค์การบินและอวกาศของสหรัฐฯ (NASA) ก็สนใจเรื่องนี้เช่นกัน เพราะเวลานักบินอวกาศตดในยานอวกาศที่มีบริเวณคับแคบเป็นเวลานานๆ NASA ซึ่งต้องการจะให้บรรยากาศในยานไม่มีกลิ่น จำต้องหาวิธีควบคุมอาหารที่นักบินอวกาศบริโภค เพราะอาหารทุกชนิดที่นักบินอวกาศกินเข้าไปจะมีอิทธิพลต่อกลิ่นตดที่นักบินอวกาศขับออกมาในภายหลัง

                    ความรู้ทางโภชนาการปัจจุบันมีว่า ถั่วทำให้ตดเพราะ 60% ของคาร์โบไฮเดรตที่มีในถั่วเป็นสารประกอบประเภท oligosaccharide อันได้แก่ alpha-galactoside ซึ่งร่างกายของมนุษย์ไม่มีเอ็นไซม์จะย่อยน้ำตาลชนิดนี้ มันจึงถูกส่งผ่านกระเพาะไปอย่างไร้การย่อยสลายใดๆ จนถึงลำไส้ใหญ่แล้วหมักหมมที่นั่น จนจุลินทรีย์เปลี่ยนน้ำตาลเป็นแก๊สเหม็น ดังนั้น ถึงแม้พ่อครัวหรือแม่ครัวจะนำถั่วมาต้ม ทอด ปั่น หรือแช่น้ำอย่างไร ตดก็ยังคงมากและเหม็นเหมือนเดิม และแม้จะกินโซดาไฟ กินขิงหรือกำมะถัน ก็ไม่ทำให้ความเหม็นหวนลดลงแต่อย่างใด

                    Gregory Gray แห่ง Department of Agriculture's Western Regional Research ที่ Albany ในสหรัฐอเมริกา ได้พยายามหาวิธีสกัด alpha-galactoside จากถั่วออกมาก่อนจะให้คนบริโภค และเขาก็ได้พบว่า หากเขานำถั่วมาต้มนาน 3 นาที แล้วปล่อยทิ้งให้เย็นนาน 2 ชั่วโมง จากนั้นก็เทน้ำทิ้งแล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นใหม่อีก 2 ชั่วโมง สะเด็ดน้ำทิ้งแล้วแช่อีก 2 ชั่วโมง แล้วสะเด็ดน้ำทิ้งเป็นครั้งสุดท้าย 90% ของน้ำตาลที่มีในถั่วจะถูกกำจัดออกไป (ความอยากกินถั่ว ก็คงถูกกำจัดออกไปด้วย) และถั่วก็จะหมดรสชาติ คราวนี้ตดก็จะไม่เหม็นมาก แต่ปริมาตรตดก็ยังคงเท่าเดิม

                    นอกจากนี้ นักโภชนาการยังได้พบอีกว่า คนที่อมลูกกวาดหรือเคี้ยวหมากฝรั่งเวลากลืนน้ำลายจะกลืนอากาศลงท้องด้วย เพราะหมากฝรั่งมี sorbitol ที่ทำให้อาหารมีรสหวาน ดังนั้น เวลาอยู่ในกระเพาะจุลินทรีย์จะย่อยสลาย sorbitol ทำให้เกิดแก๊สมาก ซึ่งจะมีผลทำให้ตดมาก ดังนั้น เวลาซื้อหมากฝรั่งหากอ่านฉลากแล้วพบว่า หมากฝรั่งนั้นมี sorbitol ก็ไม่ควรซื้อ เพราะจะทำให้คนบริโภคตดบ่อย ส่วนอาหารที่ค้างคืนหากนำออกจากตู้เย็นมาอุ่น นั่นคือการกระตุ้นจุลินทรีย์ที่มีในอาหารให้ทำงานผลิตแก๊ส ดังนั้น หากจำเป็นต้องกินอาหารเหลือ การกินมันในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำ จะไม่ทำให้ตดมาก การกินอาหารที่อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก จะทำให้ตดบ่อย

                    อนึ่ง การกินเส้นใยเพื่อลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย และป้องกันร่างกายมิให้เป็นมะเร็งนั้น ก็ควรกระทำในปริมาณที่พอเหมาะพอควร คือประมาณ 25 กรัม/วัน เพราะถ้ากินอาหารประเภทกะหล่ำ ถั่วและบรอกโคลีมากจะทำให้ตดมาก นอกจากนี้การลดอาหารประเภทไขมันและน้ำมัน ก็สามารถทำให้การตดลดปริมาณได้ ทั้งนี้เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากและถ่ายยาก จึงอาจอยู่ในกระเพาะได้นานถึง 2 ชั่วโมง และนี่ก็คืออาหารสำหรับจุลินทรีย์ในการสร้างแก๊สตด วิธีหนึ่งที่อาจช่วยในการลดแก๊สในกระเพาะคือ กินขิง อบเชย หรือ peppermint เพื่อดูดซึมแก๊สไปได้บ้าง

                    ในวารสาร Food Chemistry ฉบับเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ Jammala Machaiah แห่ง Bhabha Atomic Research Centre ที่เมือง Trombay ในอินเดีย ได้รายงานว่า เวลาเขานำถั่วเหลืองมาอาบด้วยรังสีแกมม่า กรรมวิธีนี้จะลดปริมาณ oligosaccharide ในถั่ว ซึ่งทำให้คนตด โดยในถั่วเหลืองที่ได้รับรังสีน้ำตาลลดลงถึง 70% ซึ่งถ้าแช่น้ำธรรมดาปริมาณน้ำตาลจะลดลงเพียง 35% เท่านั้นเอง

                    งานวิจัยของ Machaiah นี้มีความสำคัญสำหรับสังคมอินเดียมาก เพราะคนอินเดียนิยมกินถั่วมาก และการตดก็คงมีมากและบ่อย แต่การปลดปล่อยเช่นนี้หากผิดสถานที่และเวลาจะทำให้คนบางคนไม่สบายใจ เขาจึงได้ลดปริมาณการบริโภคลง แต่ถั่วเป็นอาหารที่มีคุณค่า ดังนั้น การนำถั่วเหลืองไปอาบรังสี จึงทำให้คนอินเดียบริโภคถั่วเหลืองได้อย่างสบายใจขึ้น

                    เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีกลายนี้ Kim Young-hwan ผู้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ของเกาหลีใต้ได้เรียบเรียงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Does a Fart Cath Fire? ซึ่งแปลว่า ตดติดไฟได้ไหมออกขาย โดยมีจุดประสงค์จะทำให้เด็กบาหลีหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น และท่านรัฐมนตรีท่านนี้คิดว่า หากมีการเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่ "ไม่ควร" หรือ "ลามก" เช่นนี้ เด็กจะซึ้งว่าวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จดียิ่ง เพราะหนังสือเล่มนี้ติดอันดับขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในเกาหลี หนังสือตดของท่านรัฐมนตรีติดไฟจริงๆ (H2, CH4 ที่มีในตดติดไฟได้) ด้วยเหตุนี้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ของเกาหลีใต้ จึงได้ออกโครงการสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์เขียนหนังสือให้เด็กอ่านมากขึ้น

    http://www.saranair.com/article.php?sid=15283

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×