ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #75 : เรื่องเข้าใจผิดของไอน์สไตน์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.26K
      1
      10 ก.พ. 50




    ความลับของมันสมองอัจฉริยะ"ไอน์สไตน์"

                   
                    
    แค่คิดก็ไม่ธรรมดาแล้ว

                    ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ใช้ชีวิตโลดแล่นในหลายประเทศ

                    สร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์แสนอัศจรรย์ และมีสีสันโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ

                    แม้ไอน์สไตน์จะจากโลกนี้ไปนานนับครึ่งศตวรรษ แต่เรื่องราวชีวิต แนวคิด ผลงานของเขาก็ยังดำเนินไปอย่างไม่จบสิ้น และแปลกประหลาดเกินกว่าที่หลายคนจะคาดเดาได้

                    ไอน์สไตน์เสียชีวิตในวันที่ 18 เมษายน 1955 ขณะมีอายุได้ 76 ปี

                    ร่างของเขาถูกเผาตามพิธีการทางศาสนาโดยที่ไม่มีคนในครอบครัวตระหนักเลยว่า มันสมองอัจฉริยะได้สูญหายไป!

                    มีข่าวลือเป็นระยะว่าอวัยวะของเขากลายเป็นของสะสม เช่น พบลูกตาของไฮน์สไตน์ในขวดแก้วในห้องนรภัยแห่งหนึ่งในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ระบุว่าเป็นสมบัติของ ดร.เฮนรี่ เอบร้มส์

                    ถ้าศพของจากของทฤษฏีสัมพัทธภาพถูกเผาเพียงแค่สองวัน แล้วไอ้ชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ มันออกไปเดินเล่นข้างนอกอย่างไรกัน?

                    คำตอบก็คงอยู่ในห้องชันสูตรศพนั้นแหละ

                    โทมัส เอส ฮาร์วี แพทย์ผู้ทำการชันสูตรศพได้ลักลอบผ่าสมองของนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่เก็บไว้เพื่อการศึกษาแหล่งที่มาของอัจฉริยะ

                    หลังจากแยกสมองออกจากศพแล้ว หมอฮาร์วีได้ทำการแบ่งสมองของไอน์สไตน์ออกเป็น 240 ชิ้น ดองด้วยตัวยาพิเศษและเก็บรักษาไว้ในขวดแก้ว 2 ขวด บางชิ้นส่วนของสมองถูกส่งไปให้นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญตามสาขาต่างๆ แต่ส่วนใหญ่นั้นหมอฮาร์วีเก็บเอาไว้เอง

                    ส่วนลูกตาทั้งสองข้างเขาเอาเก็บไว้ดูเล่นโดยๆได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการของโรงพยาบาลด้วยสิ

                    ส่วน หัวใจ ตับ ไส้พุงนั้นกองอยู่ในถัง !

                   
                   
    สิ่งที่หมอฮาร์วีปฏิบัติต่อศพของไอน์สไตน์นั้นก่อให้เกิดการวิจารณ์กันอย่างอื้อฉาว จนทำให้หมอฮาร์วีต้องอพยพโยกย้ายไปตามที่ต่างๆ และหอบหิ้วมันสมองของไอน์สไตน์ติดตัวตามไปด้วย

                    จนกระทั้งปี 1996 หมอฮาร์วีได้ย้ายกลับมาที่พรินสตันอีกครั้งหนึ่ง และตัดสินใจมอบชิ้นส่วนสมองที่เขารวบรวมไว้แก่ น.พ.เอเลียต คลอส หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา ที่โรงพยาบาลพรินสตัน

                   
                   
    การวิจัยค้นคว้าศึกษาความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง!

                    โดยนำชิ้นส่วนสมองทั้งหมดที่ถูกเก็บ ณ โรงพยาบาลพรินสตัน มาถ่ายภาพและประกอบขึ้นเป็นรูปสามมิติ จำลองรูปแบบเหมือนจริงดังกับว่ามันเพิ่งถูกผ่าแยกออกมาจากศพ

                    สิ่งที่ค้นพบก็คือ สมองของไอน์สไตน์มีน้ำหนักเพียง 1,230 กรัมเท่านั้น

                    น้อยกว่าน้ำหนักสมองของมนุษย์โดยเฉลี่ยที่หนักถึง 1,400 กรัม

                    แต่สิ่งที่ไอน์สไตน์ต่างจากมนุษย์ทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ก็คือ "ความหนาแน่นของเซลส์ประสาทในสมอง" ที่มีมากกว่าปกติหลายเท่า

                    ยิ่งไปกว่านั้น "สมองของไอน์สไตน์มีเพียงเส้นแบ่งตื้นๆ ระหว่างสมองข้างซ้ายและข้างขวา" ในขณะที่คนธรรมดาจะมีรอยแยกชัดเจนระหว่างสมองทั้งสองข้าง เผยให้เห็นถึงการรวมกันอย่างกลมกลืนของสมองทั้งสองซีก

                    นักวิจัยชี้ว่าลักษณะที่พิเศษของสมองแบบนี้อาจอธิบายได้ว่า ทำไมไอน์สไตน์ถึงคิดอย่างที่เขาคิด บางทีวิธีคิดของไอน์สไตน์อาจไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้คำบรรยาย แต่อาจผ่านจินตนาการต่างๆ ที่เขานึกถึง เสมือนว่ามองเห็นมันด้วยตาเปล่าก็ได้

                    ทำให้นึกถึงคำพูดของไอน์สไตน์ เมื่อครั้งที่เขายังมีชีวิตอยู่ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" และ "ความรู้มีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการไร้ขีดจำกัด" นั่นเอง

                    ปัจจุบันนี้สมองของไอน์สไตน์ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่โรงพยาบาลพรินสตัน ที่เดียวกันกับที่มันถูกขโมยไปเมื่อห้าสิบปีก่อน

                   
                ความเชื่อผิดๆ เมื่อคิดถึงไอน์สไตน์ : เด็ก "ทึ่ม" ที่ฉลาดตอนโต

                    
                   
    นิตยสารสารคดีฉบับที่
    243 ประจำเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งเขียนโดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) มาเสนอสัปดาห์ละเรื่อง เพื่อเป็นการให้เกียรติและเฉลิมฉลองให้แก่บุคคลแห่งศตวรรษผู้นี้

                     ความเชื่อผิดเพี้ยน: ไอน์สไตน์ตอนเป็นเด็กแสนจะโง่ทึ่ม เรียนรู้ได้ช้า สอบตกแทบทุกวิชา

                     ข้อชี้แจง : ใครที่ชอบอ่านประวัติของอัจฉริยะบุคคลคงจะเคยพบว่าบ่อยครั้งที่หนังสือต่างๆ จะเล่าว่าอัจฉริยะท่านนั้นในวัยเด็กมักจะเรียนหนังสือไม่เก่ง ดูเหมือนโง่ หัวทึบ ฯลฯ และเนื่องจากไอน์สไตน์เป็นหนึ่งในบรรดาอัจฉริยะที่ผู้คนทั่วโลกคุ้นเคยกันมากที่สุด จึงมักจะเป็นตัวอย่างยอดนิยมที่ถูกกล่าวถึงในทำนองนี้อยู่เสมอ

                     ทั้งนี้ข้อกล่าวหาที่หนักหน่วงที่สุดเท่าที่ค้นพบเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือ ไอน์สไตน์เกิดมามีหัวกะโหลกบูดๆ เบี้ยวๆ ทำให้พูดได้ช้ากว่าปกติ และพอเข้าโรงเรียนก็เป็นนักเรียนที่เรียนไม่ดีและมีพฤติกรรมก้าวร้าวกับครูอีกด้วย!

                     แต่น่าสงสัยไหมละว่าหากไอน์สไตน์มีหัวกะโหลกบูดเบี้ยวจริง ทำไมเขาถึงได้สร้างสรรค์งานทางวิทยาศาสตร์ไว้อย่างยิ่งใหญ่เมื่อมีอายุเพียง 26 ปี ในปี ค.ศ.1905 ซึ่งถือกันว่าเป็นปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์ (Einstein's Miraculous Year)

                    เรื่องที่ว่าไอน์สไตน์พูดได้ค่อนข้างช้านั้น ฝรั่งเองก็เชื่อกันมาก ถึงขนาดที่บางคนเรียกอาการที่เด็กฉลาด แต่พูดได้ช้าว่า กลุ่มอาการไอน์สไตน์ (Einstein Syndrome) ประเด็นนี้มีเกร็ดสั้นๆ เล่าว่า สุภาพสตรีที่ทำงานรับใช้ในครอบครัวของไอน์สไตน์ออกปากว่าไอน์สไตน์นั้นโง่ เพราะเธอสังเกตเห็นว่าไอน์สไตน์มักจะทวนประโยคพูดซ้ำๆ สองครั้งเสมอ

                    แต่คนที่ศึกษาประวัติไอน์สไตน์แบบเจาะลึก เช่น คุณไมเคิล ฮาวอี (Michael J.A. Howe) แห่งมหาวิทยาลัยเอกซีเทอร์ (Exeter University) กลับมองเรื่องนี้ในอีกมุมหนึ่งว่า พูดซ้ำก็ไม่จำเป็นต้องโง่ซะหน่อย แถมยังตีความว่านี่เป็นยุทธวิธีในการทบทวนคำพูดของหนูน้อยไอน์สไตน์เพื่อให้แน่ว่า

                    ทุกประโยคที่หลุดออกจากปากนั้นถูกต้อง 100% (มองกันแง่ดีแบบสุดๆ) และในช่วงวัยนี้เองก็มีหลักฐานว่าไอน์สไตน์ชอบเล่นเกมปริศนา แถมยังฉายแววความมุ่งมั่นในการทำเรื่องหนึ่งๆ ให้เสร็จสิ้น อย่างเช่น เล่นตัวต่อ และก่อตั้งไพ่เป็นรูปบ้านอีกด้วย

                    มีจดหมายหลักฐานซึ่งเขียนโดยคุณยายของไอน์สไตน์เองฉบับหนึ่งระบุว่า ขณะที่หนูน้อยไอน์สไตน์อายุเพียง 2 ขวบกับ 8 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้องสาวชื่อมายา (Maja) ถือกำเนิดขึ้นนั้น ผู้ใหญ่พูดกับไอน์สไตน์ว่ากำลังจะมีเพื่อนเล่นใหม่แล้วนะ ทำให้หนูน้อยไอน์สไตน์ถามกลับด้วยความสงสัยว่า "แล้วล้อของ 'ของเล่น' ชิ้นใหม่นี้อยู่ตรงไหนละ?" (น้องสาว = ของเล่น และ ของเล่นก็ควรจะมีล้อจะได้วิ่งได้) จุดนี้เองที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หากเด็กอายุไม่ถึง 3 ขวบสามารถคิดและพูดได้ขนาดนี้แล้ว จะเรียกว่าเขามีพัฒนาการช้าได้หรือ?

                     พอไอน์สไตน์อายุได้ 4-5 ขวบ ก็มีเหตุการณ์ประทับใจที่ทำให้เขาจดจำไปชั่วชีวิต นั่นคือคุณพ่อได้มอบเข็มทิศให้ขณะที่เขากำลังล้มป่วยอยู่ ไอน์สไตน์รู้สึกทึ่งเหลือเกินว่า ทำไมเข็มทิศถึงได้ชี้ทิศเหนืออยู่ตลอดเวลา? มันต้องมีพลังอะไรสักอย่างที่เรามองไม่เห็น รู้สึกก็ไม่ได้ ที่ทำให้เข็มทิศมีพฤติกรรมเช่นนั้น นี่คือความประทับใจทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของเขา ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลต่อความมุ่งมั่นในการค้นหาสัจจะแห่งธรรมชาติตลอดชั่วชีวิตของเขา

                      อีกเรื่องหนึ่งที่ไอน์สไตน์โดนกล่าวหาก็คือ เขาเก่งแต่คณิตศาสตร์ แต่สอบตกวิชาอื่นหมด รวมทั้งภาษาก็ไม่ได้เรื่องอีกด้วย เรื่องนี้น่าคิด เพราะประวัติที่ค้นได้บ่งว่าเขาชื่นชมภาษาลาตินเหลือเกิน เนื่องจากภาษาลาตินมีกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ที่งดงาม ส่วนเรื่องการเขียนรายงานนั้นก็มีหลักฐานของทางโรงเรียนว่าเขาทำรายงานได้ดีเช่นกัน

                    พออายุได้ 11 ปี ไอน์สไตน์ "วัยโจ๋" ก็สนใจอ่านเรื่อราวทางวิทยาศาสตร์กับศาสนา และก็เริ่มคิดว่าเรื่องราวทางศาสนาหลายเรื่องนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ และในช่วงเวลานี้เอง ไอน์สไตน์ก็เริ่มสนใจคณิตศาสตร์ และสามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทของไพธากอรัส (Pythagoras) ได้ด้วยตนเอง แม้ว่าจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ก็ตามที (อย่าลืมว่าไอน์สไตน์เรียนรู้เองตอนอายุเพียงแค่ 11 ปี เท่านั้น)

                    พออายุได้ 12 ปี คุณลุงของไอน์สไตน์ซึ่งเป็นวิศวกรก็ได้มอบหนังสือเรขาคณิตให้เขาใช้ศึกษา ไอน์สไตน์รู้สึกประทับใจในความเรียบง่ายและความงดงามของเรขาคณิตของยูคลิดมาก และแนวทางของยูคลิดนี่เอง ("เรียบง่าย" + "งดงาม") ที่เชื่อกันว่ามีผลต่อการคิดค้นทฤษฎีต่างๆ ทางฟิสิกส์ของเขาในเวลาต่อมา

                    เอาล่ะเมื่อได้รู้ประวัติในวัยเด็ก(ถึงวัยรุ่น) ในอีกแง่มุมหนึ่งอย่างนี้แล้ว ยังคงคิดว่าไอน์สไตน์ตอนเด็กโง่ทึ่มอีกไหม?


                   
    ความเชื่อผิดๆ เมื่อคิดถึงไอน์สไตน์ : เขาไม่ใช่ผู้คิดระเบิดปรมาณู

                   
                   
    เมื่อใดก็ตามที่เอ่ยถึงไอน์สไตน์บางท่านก็มักจะมองว่าเขาคือฆาตรกรในสมัยสงครามโลกเลยทีเดียว

                     ความเชื่อผิดเพี้ยน : ไอน์สไตน์เป็นบิดาของระเบิดอะตอม เพราะสมการ E = mc2 เป็นสูตรของระเบิดอะตอม

                    ข้อชี้แจง: เป็นความจริงที่ว่า สมการ E= mc2 ซึ่งเป็นผลผลิตของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ได้ทำให้นักฟิสิกส์กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนมวลสาร (mass, สัญลักษณ์ m ในสมการ) ให้กลายเป็นพลังงาน (energy, สัญลักษณ์ E ในสมการ)

                    แต่คำว่า "สูตรของระเบิดอะตอม" นั้นออกจะเป็นการยกย่องสมการนี้มากเกินไปหน่อยหรือเปล่า? เพราะสมการ E= mc2 เพียงแต่ระบุว่ามวลสารสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้ และกลับกัน คือพลังงานก็อาจเปลี่ยนไปเป็นมวลสารได้เช่นกัน โดยมีแฟกเตอร์การแปลงได้แก่อัตราเร็วของแสงยกกำลังสอง แต่สมการนี้ไม่ได้ระบุขั้นตอนในการสร้างระเบิดอะตอมเลยแม้แต่น้อย!

                     นอกจากนี้สมการ E= mc2 ยังอาจใช้อธิบายปริมาณพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยออกมา ปริมาณพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังปรมาณู รวมถึงใช้อธิบาย (หรือคำนวณ) มวลของอนุภาคที่เกิดขึ้น หากพลังงานจำนวนหนึ่งเปลี่ยนรูปไปเป็นสสาร เช่น ในกระบวนการสร้างคู่อนุภาค (pair creation) เป็นต้น

                    สำหรับระเบิดอะตอมนั้นถือกำเนิดขึ้นในโครงการแมนฮัตตัน (The Manhattan Project) และถือกันว่านักฟิสิกส์ชื่อ โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) เป็นบิดาของระเบิดอะตอม ส่วนระเบิดที่ทรงอานุภาพร้ายแรงกว่าระเบิดอะตอมคือ ระเบิดไฮโดรเจน (hydrogen bomb) นั้น บิดาคือ เอดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller)


                           http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=mythboard&No=2606
                   
    http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9480000094312

    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9480000090016

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×