ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #50 : เดอเมสธิด แมลงผีดิบ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.45K
      1
      10 ก.พ. 50


     



    เดอเมสธิด แมลงผีดิบ


                   
    "เดอเมสธิด" คือชื่อแมลงที่อันตรายที่สุดในโลกในขณะนี้ เพราะมันคือแมลงร้ายที่สามารถฉีกกินเนื้อหนังของสัตว์ต่าง ๆ จนถึงกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

                    ซากศพที่ถูกมันรุมทึ้งกินเนื้อหนังและเลือดสด ๆ นั้นจะกลายสภาพเป็นโครงกระดูกสีขาวเนียนชวนสยอง ยิ่งกว่าการแล่เนื้อเถือหนังของยอดฝีมือถลกหนังรายใด ๆ ในโลกนี้

                    และตอนนี้พวกมันกำลังถูกนำตัวมาใช้ในงายวิจัยของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง ของสหรัฐอเมริกาอยู่โดยที่งานหลัก ๆ ของมันก็คือทำหน้าที่กัดกินซากสัตว์หลายชนิดจนเหลือแต่โครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อท่จะได้ทำงานวิจัยอย่างสบายมือ และเมื่อทำงานเสร็จแต่ละชิ้นงานนั้นพวกมันก็จะถูก "ทำลาย" ด้วยสารเคมีรุนแรงเพื่อให้แน่ใจว่า พวกมันจะไม่กระจัดกระจายออกไปก่อกรรมทำเข็ญกับสิ่งมีชีวิตนอกพิพิธภัณฑ์นั่นเอง

                    แมลงที่มีชื่อว่า เดอเมสธิด นี้เรื่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักวิจัยของพิพิธภัณฑ์ The American Museum of Natural History (พิพิธภัณฑ์อเมริกันเพื่อประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) ในช่วงทศวรรษที่ 1930 (ราว 70 ปีก่อน) โดยที่ช่วงเวลานั้นทางพิพิธภัณฑ์กำลังรอรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดที่ถูกส่งตัวมาจากทวีปแอฟริกาอย่างใจจดใจจ่อ

                    หากแต่การส่งสัตว์ที่ต้องการมาทางเรือนั้นใช้เวลาในการเดินทางนานพอใช้ และเมื่อเรือมาถึงอเมริกาก็ปรากฏว่าสัตว์ที่ถูกส่งมาทางเรือนั้นกลายสภาพเป็นกองกระดูกขาวโพลนไปหมด เรียกว่าตอนออร์เดอร์กันได้ออร์เดอร์สัตว์เป็น ๆ แต่พอมาถึงจุดหมายปลายทาง ก็กลายเป็นกองกระดูกขาวโพลนแหงแก๋เสียนี่

                    ที่น่าตกใจก็คือนักวิจัย(ในสมัยนั้น)ได้พบกับแมลงกินเนื้อหนังสุดโหดที่ชื่อ เดอเมสธิด
                   
                    จากการทดลองและวิจัยเกี่ยวกับแมลงนี้อย่างเนิ่นนาน ทำให้ได้ข้อสรุปหลายประการจากแมลงที่มีความยาวราว 5-7 มม.เหล่านี้ว่าพวกมันมีประโยชน์ต่อพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ว่าจะมีแต่อันตรายอย่างเดียว

                    นั่นก็คือทางส่วนงานที่เรียกว่า กองพิพิธภัณฑ์ปลา ภายในพิพิภัณฑ์ The Museum of Natural History แห่งนี้จำเป็นจะต้องใช้แมลงกินเนื้อเหล่านี้ในการกำจัดซากปลาหายากบางพันธุ์ ที่ต้องการเก็บเฉพาะแต่โครงกระดูกเอาไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมมาก นั่นคือเมื่อปล่อยพวกมันลงไปกินเนื้อปลากันอย่างตะกละตะกรามกันแล้ว พวกมันจะแทะเนื้อเถือหนังปลานั้นอย่างรวดเร็วและเรียบร้อยเป็นที่สุด และสุดท้ายซากปลานั้นก็จะกลายเป็นกระดูกที่สวยงามพอที่จะดำเนินการขั้นต่อไปได้ทันที

     

                    แต่ถ้าไม่มีแมลงพวกนี้มาช่วยงาน เหล่าเจ้าหน้าที่ของกองฯนี้จะต้องลำบากในการนำปลาไปต้ม เคี่ยวจนกระทั่งเนื้อหนังหลุดร่อนออกไปและยังต้องมาวุ่นวายกับการต่อกระดูกปลารวมกัน เป็นตัวปลาอย่างลำบากลำบนคล้ายการต่อจิ๊กซอว์อีกด้วย

     

                    นอกจากการให้มันสวาปามซากปลาแล้วยังมีกสัตว์อื่น ๆ ที่ทางพืพืธภัณฑ์ได้อาศัยแมลงเดอเมสธิด ในการช่วยกัดกินเลือดเนื้อของมันพวกมันเหล่านั้นก็คือ สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กหรือ แม้กระทั่งหัวอันใหญ่ โตของช้างที่ตายแล้วก็เป็นเหยื่ออันโอชะของแมลงพวกนี้

                    ไม่มีใครรู่ว่าถ้ามันกลุ้มรุมกัดกินสัตว์เป็น ๆ แล้วจะเป็นอย่างไร แต่กับซากสัตว์ที่ตายแล้วจำเป็นจะต้องนำซากสัตว์(โดยเฉพาะปลา)ไปผึ่งลมให้ความชื้นระเหยไปเสียก่อน พวกแมลงเหล่านี้จึงจะกินซากสัตว์อย่างร่าเริง แต่ถ้านังมีความชื้นอยู่มาก มันก็จะละเลยเสีย

     

                    แต่ถ้าเป็นกรณีสัตว์เป็น ๆ นั้นทางพิพิธภัณฑ์ยังอุบเงียบอยู่ เพียงแต่บอกว่า ถ้าปล่อยให้แมลงเหล่านี้เป็นอิสระหรือโบยบินสู่โลกภายนอกแล้วล่ะก็ มันคงสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงได้ไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้อง "สังหาร" พวกมันเสียทุกคราวที่นำแมลงเดอเมสธิดจำนวนหนึ่งนี้ออกมาใช้งาน โดยที่ยังเก็บส่วนที่เหลือไว้ในที่เก็บอย่างดี ในคลังเก็บของพิพิธภัณฑ์เพื่อเอาไว้กัดกินซากสัตว์ต่าง ๆ กันต่อไป

                    ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องร้ายแรงแบบนี้จะถูก "ปิดเงียบ" มานานถึง 70 ปีมาแล้ว และเมื่อชาวโลกส่วนใหญ่ได้รับรู้เรื่องราวนี้เข้าไปแล้วจะมีความคิดเป็นเช่นไร ?

                    ช่างน่าขนพองสยองเกล้าเสียจริง ๆ


    http://www.mythland.org/html/modules.php?name=News&file=article&sid=80

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×