ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #3 : กาฬโรคระบาดในยุโรป (Black Death)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.95K
      11
      10 มี.ค. 52


    กาฬโรคระบาดในยุโรป (
    Black Death หรือ Black Plague หรือ Bubonic Plague)


     

    เป็นเหตุการณ์โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (กาฬโรค) โดยเริ่มเกิดขึ้นในแถบตะวันตกเฉียงใต้ และตอนกลางของเอเชีย และแพร่กระจายเข้าไปที่ยุโรป มียอดผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกรวมแล้วประมาณ 75 ล้านคน และในจำนวนประมาณ 20 ล้านคนเกิดขึ้นที่แถบยุโรปเท่านั้น จากเหตุการณ์ กาฬโรคระบาดในยุโรปทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตไปร่วม 2/3 ของประชากรชาวยุโรปทั้งหมด

    นับตั้งแต่ปี 1700 มีความพยายามที่จะหยุดยั้งโรคระบาดนี้ในทุกทาง ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน และดูเหมือนว่าโรคนี้จะหายไปจากยุโรปราวช่วง ศตวรรษที่ 18

    กาฬโรคระบาดในยุโรปส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อประชากรชาวยุโรป และเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชาวยุโรปไปอย่างสิ้นเชิง เช่น มันจู่โจมไปถึงวิหารโรมัน คาทอลิก ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศาสนจักรในสมัยนั้น ส่งผลให้มีการล่าสังหารพวกชนกลุ่มน้อยไปทั่วทุกสารทิศ อย่างเช่นพวก ยิว มุสลิม ชาวต่างชาติ ขอทาน ผู้เป็นโรคเรื้อน ฯลฯ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทัศนะคติของชาวยุโรปในยุคนั้น ว่าอย่างน้อยวันนี้ต้องเอาชีวิตให้รอดให้ได้

    กาฬโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis) ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนู (Rodent) ในแถบตอนกลางของเอเชีย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ใด ที่เริ่มมีการระบาดร้ายแรงในช่วงศตวรรษที่ 14 ทฤษฎีหนึ่งที่น่าเชื่อถือ กล่าวไว้ว่า ในทุ่งกว้างแถบเอเชีย ประมาณช่วงตอนบนของประเทศจีน จากที่นั่นเดินทางมาจากทั้งทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตกทาง ไปตามเส้นทางสายไหม (Silk Road) ซึ่งพวกกองทัพและพ่อค้ามองโกล สามารถใช้เส้นทางการค้านี้ได้ฟรี จากบารมีของราชอาณาจักรมองโกล (Mongol Empire) ภายใต้สนธิสัญญาแพค มองโกลลิกา (Pax Mongolica) ที่จะรับรองความปลอดภัย ซึ่งมีคำเปรียบเปรยไว้ว่า "แม้หญิงใดเดินเปลือยกายผ่านเส้นทางนี้ก็จะปลอดภัย แม้ชายใดถือทองคำ ใส่กระจาดทูนไว้บนหัวก็จะไม่ถูกปล้น”


                    มีรายงานการพบครั้งแรกที่ยุโรป ความว่า

    ที่เมืองศูนย์กลางการค้า แคฟฟา (Feodosiya) ในประเทศ คริเมีย (Crimea) ในปี 1347 ภายหลังจากการโอบล้อมโจมตี ของกองทัพมองโกล ภายใต้การนำของ จานิ แบ็ค (Jani Beg) ทางฝ่ายกองทัพมองโกลต้องเผชิญกับกาฬโรค พวกเขาจึงได้ใช้ยุทธวิธี ยิงศพที่ติดเชื้อกาฬโรค ต่างกระสุนปืนใหญ่ข้ามกำแพงเมืองไป เพื่อทำให้โรคระบาดแพร่กระจายเข้าไปยังชาวเมืองที่อยู่ในตัวเมือง พวกพ่อค้าชาว จีนัว (Republic of Genoa) ต่างพากันหลบหนี และได้นำเอากาฬโรคไปด้วย ผ่านทางเรือเดินสมุทร ไปที่ซิซิลี และตอนใต้ของยุโรป ซึ่งเป็นที่ๆ พบการแพร่ระบาด"

    ไม่ว่าสันนิษฐานนี้จะถูกต้องหรือไม่ แต่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เหตุการณ์ก่อนหน้านั้นหลายอย่าง อย่างเช่น สงคราม ความอดอยาก สภาพอากาศที่เลวร้าย มีส่วนช่วยให้เหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีเช่นนี้ คล้ายกับสงครามที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน ระหว่างกองทัพของจีน กับกองทัพมองโกลที่มารุกราน ในช่วงปี 1205-1353 สงครามนี้ขัดขวางการทำเกษตรกรรมและการค้าขาย ทำให้เกิดภาวะอดอยากไปทั่วทุกสารทิศ และยังมีเหตุการณ์ ลิตเติ้ล ไอซ์ เอจ (Little Ice Age) ที่กล่าวถึงสภาวะอากาศที่เลวร้ายอย่างมาก ในช่วงต้นถึงช่วงกลางของศตวรรษที่ 14 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก

    ในช่วงปี 1205-1322 เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารไปทั่วทั้งยุโรปตอนบน (Great Famine of 13151317) ซึ่งทำให้ไม่มีอาหารเพียงพอจะยังชีพ และราคาอาหารที่สูงมากจนเกินกว่าจะรับได้ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวยุโรปมาร่วม 100 ปี ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของกาฬโรค ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต หญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ และสินค้าจากปศุสัตว์ล้วนแล้วแต่ขาดแคลนทั้งสิ้น ภาวะเช่นนี้ ส่งผลต่อความหิวโหย และขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังสุขภาพร่างกาย และภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่ด้อยประสิทธิภาพลง เศรษฐกิจของยุโรป ตกอยู่ในวงจรอุบาทของความหิวโหยเป็นเวลานาน แม้โรคภัยธรรมดายังส่งผลกกระทบ ต่อชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ทำให้อ่อนแอลง กำลังการผลิตลดลง ทำให้การส่งออกมีปัญหา ส่งผลให้ราคาสินค้ายิ่งถีบตัวสูงขึ้น

    ไข้ไทฟอยด์ที่มาจากน้ำที่ไม่สะอาดระบาดมาก่อน (Typhoid fever) ทำให้ชนพื้นเมืองนับพันล้มตายลง บางครั้งโรคแอนแทร็ก (Anthrax) ก็จู่โจมสัตว์เลี้ยงในยุโรป โดยโรคแอนแทร็กนี้จะมุ่งเป้าโจมตีไปที่ แกะ และพวกปศุสัตว์ ทำให้ปริมาณอาหาร และรายได้ของเกษตรกรยิ่งลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย และส่งผลกระทบในวงกว้างไปทั่วทั้งยุโรป เพราะว่าเมื่อแกะจำนวนมากล้มตายลง ประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแปรรูปจากขนแกะอย่างอังกฤษก็ต้องล้มตามไปด้วย ภาวะว่างงานของแรงงาน ยังไปเพิ่มอาชญากรรม และความยากจน ให้เป็นปัจจัยเสริม ความรุนแรงของเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ อีกด้วย

    จากประวัติศาสตร์ การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศจีนในช่วงปี 1330 กาฬโรคเริ่มระบาดในแถบ หูเป่ย (Hubei)ในปี 1334 และเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในระหว่างปี 1353-1354 จากบันทึกเก่าแก่ของจีน บันทึกไว้ว่า การแพร่ระบาดได้กระจายไปใน 8 พื้นที่ของจีน ได้แก่ หูเป่ย (Hubei) เจียงซี (Jiangxi) ชานซิ (Shanxi) หูหนาน (Hunan) กว่างตง (Guangdong) กวางซี (Guangxi) เหอหนาน (Henan) และซุยยวน (Suiyuan) เพียงแต่ว่าข้อมูลนี้ได้มาจากผู้ที่รอดชีวิตจากยุคนั้น และยังไม่มีการศึกษาเพิ่มเติมในเบื้องลึก ซึ่งคาดว่ากองคาราวานพ่อค้าชาวมองโกล จะเป็นผู้นำเอากาฬโรคที่ระบาดที่เอเชียตอนกลาง มายังยุโรป


                    ในเดือนตุลาคม ปี 1347 กองเรือสินค้าที่อพยพมาจากเมือง เคฟฟา (
    Caffa) มาที่ท่าเรือ เมซซิน่า (Messina) ประเทศอิตาลี ในเวลาที่เรือเทียบท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อหรือเสียชีวิตแล้ว จึงสัณนิษฐานได้ว่า เรือได้นำเอาหนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า แต่กลายเป็นเรือร้างลอยลำอยู่กลางน้ำ เพราะว่าทุกคนเสียชีวิตหมด พวกโจรสลัดที่เข้าไปปล้นเรือ ก็ได้ช่วยให้กาฬโรคแพร่ระบาดอีกทางหนึ่ง การระบาดได้กระจายจาก จีนัว (Genoa) และ เวนิช (Venice) ในช่วงปี 1347-1348

    จากประเทศอิตาลี แพร่ระบาดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามยุโรป จู่โจมฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกษ และอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคมปี 1348 หลังจากนั้น ก็แพร่ไปกระจายไปทาง ทิศตะวันออกไปยังประเทศเยอรมนี และแถบสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) ในช่วงปี 1348-1350 มีการพบการระบาด ที่นอร์เวย์ในปี 1349 และในที่สุดก็ระบาดลุกลามไปยังแถบตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัสเซียในปี 1351 แต่อย่างไรก็ตามการระบาดก็ได้แพร่กระจายไปทั่ว ไม่ว่าจะที่ยุโรป โปแลนด์ เบลเยียม หรือแม้กระทั่งเนเธอร์แลนด์

    กาฬโรคแพร่กระจายไปในหลายประเทศ ในแถบตะวันออกกลาง ส่งผลให้เกิดการลดจำนวนลงของประชากรอย่างยิ่งยวด และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมไปตลอดนับจากนั้น โดยการแพร่ระบาดมาจากทาง ตอนใต้ของรัสเซีย ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1347 การแพร่ระบาดได้เข้าไปถึงเมือง อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ประเทศอิยิปซ์ บางทีอาจผ่านทางเมืองท่า จากการค้าขายกับ คอนสแตนติโนเปิล และเมืองท่าแถบทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงปี 1348 การระบาดได้ลุกลามไปทางตะวันออกถึง กาซา (Gaza) และไปทางเหนือ ตลอดชายฝั่งทางตะวันออกของ เลบานอน (Lebanon) ซีเรีย (Syria) ปาเลซไตน์ (Palestine) รวมไปทั้ง แอชเคลอน (Ashkelon) อาช (Acre, Israel) เจรูซาเล็ม (Jerusalem) ซิดอน (Sidon) ดามัสคัส (Damascus) ฮอมส์ (Homs) อเลปโป (Aleppo) และในปี 1348-1349 โรคระบาดก็ได้เข้าไปถึง แอนทิออช (Antioch) ซึ่งชาวเมืองได้พากันอพยพหนีไปทางทิศเหนือ และส่วนมากจะเสียชีวิตระหว่างการเดินทา

    นคร เมกกะ (Mecca) กลายเป็นแหล่งแพร่ระบาดในปี 1349 ซึ่งในปีเดียวกันนี้เอง จากบันทึกได้แสดงให้เห็นถึง เมือง โมซุล (Mosul) ที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะโรคระบาดร้ายแรง และนครแบกแดดต้องพบกับการแพร่ระบาดรอบสองในปี 1351 เยเมนก็ประสบปัญหาเดียวกัน อันเนื่องมาจากกษัตริย์ มูจาฮิด ของเยเมน (Yemen) ถูกจองจำที่กรุงไคโร ประเทศอิยิปต์ โดยคณะผู้ติดตามของกษัตริย์ มูจาฮิด ได้ติดเชิ้อกาฬโรคจากประเทศอิยิปต์ และอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังที่อื่น

    มีการประมาณผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ที่เป็นชาวยุโรปอย่างน้อย 1/4 ถึง 2/3 ของประชากรชาวยุโรปทั้งหมด ในระหว่างช่วงปี 1348-1350 หมู่บ้านเล็กๆ ตามชนบทมีประชากรลดลง ผู้รอดชีวิตส่วนมากจะพากันอพยพเข้าตัวเมืองที่ใหญ่กว่า แล้วทิ้งหมู่บ้านไป จนเป็นหมู่บ้านร้าง เดอะ แบล็กเด็ธ จู่โจมไปถึงวัฒนธรรมอย่างรุนแรง หมู่บ้านที่เคยมีคนอาศัยอยู่มากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หมู่บ้านเล็กๆ ที่มีคนอาศัยอยู่เบาบางและโดดเดี่ยว อย่างโปร์แลนด์ (Poland) กับลิธูเนีย (Lithuania) ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย ส่วนพื้นที่อื่นอย่าง ฮังการี่ (Hungary) เบลเยี่ยม เขตบราเบนท์ (Duchy of Brabant) ไฮย์เนาว์ (County of Hainaut) ลิมเบิร์ก (Limbourg) ซานติเอโก ดิ คอมพอสเทลา (Santiago de Compostela) กลับไม่ได้รับผลกระทบโดยไม่ทราบสาเหตุ นักประวัติศสตร์ได้พยายามหาเหตุผลมาอธิบายไว้ว่า มีกลุ่มผู้ที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของกาฬโรคได้

    อย่างไรก็ตามพื้นที่เหล่านี้ก็ถูกเล่นงาน ในการแพร่ระบาดใหญ่รอบที่ 2 ในปี 1360-1363 ซึ่งเริ่มมีกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถ ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาด ของกาฬโรคขึ้นมาหลายกลุ่มแล้ว ส่วนพื้นที่อื่นที่เป็นที่อพยพหนีกาฬโรคจะเป็น เขตพิ้นที่ภูเขาโดดเดี่ยว เพราะว่าเขตตัวเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีความหนาแน่นของประชากรสูง จะมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเมืองในเขตที่สกปรก เต็มไปด้วยแมลงปรสิตอย่าง เห็บ หมัด หนู รวมไปถึงสภาาพความอดอยากและ ไม่มีสุขอนามัยที่ดีพอ

    ในประเทสอิตาลี เมือง ฟลอเรนซ์ (Florence) ในช่วงปี 1338 มีประชากรอยู่ประมาณ 110000-120000 คน ถูกกาฬโรคเล่นงานจนเหลือประชากรเพียง 50000 คนในปี 1351 ที่ ฮัมบูร์ก (Hamburg) กับ เบรเมน (Bremen) ประชากรเสียชีวิตจากกาฬโรคไปราวๆ 60%-70% ของประชากรทั้งหมด ในพื้นที่อื่นๆ บางพื้นที่ ประชากร 2/3 ตายเรียบ ที่อังกฤษมีผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคราว 70% ซึ่งทำให้ประชากรลดลงจาก 7 ล้านคน เหลือเพียง 2 ล้านคนในปี 1400

    กาฬโรคเล่นงานประชากรทุกระดับชั้นโดยไม่ไว้หน้า ไม่ว่าจะเป็นคนระดับล่างที่อยู่ในที่สกปรก หรือชนชั้นสูง อฟานโซ่ ออฟ แคสเซิ้ล (Alfonso XI of Castile) เป็นกษัตริย์คนเดียวที่เสียชีวิตจากกาฬโรค ปีเตอร์ ออฟ อารากอน (Peter IV of Aragon) สูญเสียภรรยา ลูกสาว และหลานสาวใน 6 เดือน จักรพรรดิไบเซนไทล์ สูญเสียลูกชาย ในขณะที่อยู่ในราชอาณาจักรฝรั่งเศส โจน ออฟ นาวาร์ (Joan II of Navarre) ก็เป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียง ที่เสียชีวิตจากกาฬโรคเช่นกัน


                    รัฐบาลของยุโรปไม่มีนโยบายที่แน่ชัด ในการรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อกาฬโรค เพราะว่าไม่มีใครรู้สาเหตุของการแพร่ระบาด พวกผู้มีอำนาจปกครองส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีห้ามการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค กวาดล้างตลาดมืด ควบคุมราคาธัญพืช และการหาปลาบริเวณกว้างแบบผิดกฎหมาย ความพยายามต่างๆ นาๆนี้ส่งผลกระทบไปถึง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อย่างเช่น อังกฤษไม่สามารถนำเข้าธัญพืชจากฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสระงับการส่งออก อีกทั้งยังผู้ผลิตส่วนมากไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เต็มที่ เพราะว่าขาดแคลนแรงงาน ซ้ำร้ายผลผลิตที่เตรียมส่งออกแต่ถูกระงับ ก็ถูกปล้นสะดมโดยพวกโจรสลัด และหัวขโมยที่จะเอาไปขายต่อในตลาดมืด ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ค่อนข้างใหญ่อย่างอังกฤษ และสก็อตแลนด์ก็ตกอยู่ในช่วงภาวะสงคราม และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการรับมือ ปัญหาสินค้าราคาสูง

    ในปี 1337 อังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ในช่วงสงครามที่รู้จักกันในชื่อ สงครามร้อยปี (Hundred Years' War) จากงบประมาณที่ร่อยหรอ ผู้คนล้มตายจำนวนมาก บ้านเมืองถูกทำลายจากภาวะสงคราม ความอดอยากหิวโหย โรคระบาด และเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ภาวะช่วงกลางของศตวรรษที่ 14 นี้ของยุโรป เหมือนตกอยู่ในฝันร้าย


                     กาฬโรคไม่เพียงแต่ทำให้ประชากรล้มตายราวใบไม้ร่วง จนกระทั่งจำนวนประชากรโดยเฉลี่ย ลดลงเท่านั้น แต่มันยังส่งผลทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผิดคาดอีกด้วย นักประวัติศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ เฟอร์นัล บรูเดล (
    Fernand Braudel) ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ไว้อย่างน่าสนใจว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ระหว่างภายหลังศตวรรษที่ 14 กับช่วงศตวรรษที่ 15 ศาสนจักรเสื่อมอำนาจลง ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชน และทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป

    ยุโรปก่อนหน้านี้เคยประสบปัญหาภาวะประชากรล้นเมือง มีความเห็นว่าจากเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ทำให้ประชากรลดลงราว 30%-50% ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น มีที่ดินและอาหารเพียงพอจัดสรรให้ชนชั้นสามัญ แต่ว่า ความเห็นนี้ยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอยู่ เพราะว่าประชากรชาวยุโรป เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1420 จนกระทั่งเริ่มเพิ่มขึ้นอีกทีในปี 1470 ดังนั้นเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ จึงยังไม่มีเหตุผลสนับสนุนที่มีน้ำหนักพอ กับประเด็นที่ว่ามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจพัฒนาขึ้นหรือไม่

    การสูญเสียประชากรอย่างมาก ทำให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงแรงงานระหว่างเจ้าของที่ดิน (landlords) โดยการเพิ่มค่าแรง และสวัสดิการแรงงานเพื่อดึงดูดใจแรงงานที่มีอยู่อย่างจำกัด จากภาวะขาดแคลนแรงงานนี้เอง ทำให้ชนชั้นสามัญมีโอกาสเรียกร้องสิทธิที่มากขึ้น และเป็นเวลากว่า 120 ปี ประชากรชาวยุโรปจึงจะเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

     



    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B+ +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×