ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #107 : สังหารหมู่ที่โนกัน-รี (The Bridge at No Gun Ri)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.79K
      2
      6 ก.ย. 51



    สะพานโนกัน-รี
    ( No Gun Ri)

     

    หนังทุกเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็น แทกึกกี (Tae Guk Gi: The Brotherhood of War), เวลคัม ทู ดองมักกอล(Welcome to Dongmakgol) และล่าสุดไต้ฝุ่น(Typhoon)  ล้วนแล้วแต่ทำเงินถล่มทลายในแดนโสมขาว สิ่งที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า ความเจ็บปวดที่คนชาติเดียวกันต้องมาเข่นฆ่ากันเอง และต้องแยกขาดจากกันเป็นฝ่ายเหนือและใต้ไม่มีวันถูกลบเลือน

    ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมของทุกปี ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจะไปรวมตัวกันที่สะพานข้ามทางรถไฟในเกาหลีใต้ เพื่อรำลึกถึงญาติและเพื่อนๆ ที่ต้องตายไปในสงครามเกาหลี ไม่ใช่จากกระสุนปืนของศัตรู แต่เป็นของทหารสหรัฐ ปีนี้เป็นการจัดงานปีที่ 56 ตัวเลขเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ยังคงเดิมคือ ความทรงจำของเหตุการณ์สังหารพลเรือนใต้สะพานโนกัน-รี (The Bridge at No Gun Ri) เขตเยียงดง(Yeongdong) ห่างจากกรุงโซลไปทางใต้ 250 กิโลเมตร เชื่อกันว่าวิญญาณของคนเหล่านี้ยังไม่สงบ เพราะความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับครอบครัวผู้สูญเสียยังหาข้อยุติไม่ได้มาจนทุกวันนี้

    เหตุการณ์ที่นำมาสู่ความขัดแย้งเกิดขึ้นในวันที่ 31 ของสงครามเกาหลี เมื่อชาวบ้านหลายร้อยคนกำลังเดินไปตามทางรถไฟ หลังได้รับคำสั่งจากทหารสหรัฐให้อพยพออกจากบ้านเรือน พวกเขาต้องเผชิญทั้งแสงแดดที่แผดเผา และความหวาดกลัวจากเสียงรถถังของเกาหลีเหนือที่กำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา

    แต่แล้ว...ปราศจากเสียงเตือนใดๆ ฝูงบินรบของสหรัฐก็ปรากฏให้เห็นเต็มน่านฟ้า พร้อมระดมยิงชาวบ้านอย่างไม่ยั้ง ผู้คนบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน พวกเขาเหมือนฝูงสัตว์ที่ถูกต้อนเข้าไปรวมกันที่ใต้สะพานข้ามทางรถไฟโนเกี้ยน-รี แล้วก็ถูกสังหารโหดแบบไม่เลือกหน้า


                  พวกที่รอดมาได้ราวปาฏิหาริย์บอกว่า วันนั้นมีคนตายมากมายเกือบ
    400 คน ส่วนใหญ่เป็นคนแก่ ผู้หญิง และเด็ก เหตุการณ์สังหารโหดใต้สะพานเริ่มต้นเมื่อบ่ายของวันที่ 26 กรกฎาคม ต่อเนื่องไปจนถึงก่อนรุ่งเช้าของวันที่ 29 กรกฎาคม การจัดพิธีรำลึกถึงการสังหารหมู่ที่สะพานแห่งนี้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2539 ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นวันที่ 28 กรกฎาคม มีกลุ่มอาสาสมัครจากนานาชาติเข้าร่วมกันอย่างคับคั่งทุกปี

    เหตุการณ์ที่สะพานโนเจี้ยน-รี ไม่เป็นที่ล่วงรู้ของรัฐบาลสหรัฐ จนกระทั่งสำนักข่าวเอพีตีข่าวเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อปี 2542 หลังจากใช้เวลานานนับปีร่วมสืบสวนเรื่องนี้กับทางการเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้กล่าวแสดงความเสียใจพร้อมเสนอมาตรการปลอบขวัญผู้สูญเสียมากมาย รวมทั้งการสร้างอนุสาวรีย์มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 40 ล้านบาท) และตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาอีก 780,000 ดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 31 ล้านบาท) แต่ไม่มีมาตรการใดสำเร็จลุล่วง เพราะสหรัฐตั้งเงื่อนไขว่า ทั้งอนุสาวรีย์ และทุนการศึกษา ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับพลเรือนเกาหลีทุกคนที่เสียชีวิตในสงคราม ไม่ใช่เฉพาะแค่พวกที่ถูกสังหารที่สะพานโนเจี้ยน-รี ทำให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่โนเจี้ยน-รี ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากสหรัฐ

    ครอบครัวของเหยื่อสังหารหมู่ในวันนั้นต้องการให้สลักคำว่า "เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 1950 ทหารอเมริกันได้ก่อเหตุสังหารหมู่อย่างคาดไม่ถึงตลอดทั้งวัน พวกเขาบังคับให้คนที่อาศัยอยู่ที่โนเกี้ยน-รี หรือชื่อเดิมว่า "อิมเกีย-รี" และชาวบ้านที่อพยพมาจากที่อื่น ไปยืนอยู่บนทางรถไฟก่อนจะฆ่าทิ้งด้วยระเบิดและปืนกล" แต่ข้อเสนอสร้างอนุสาวรีย์ของสหรัฐ ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นคนเข่นฆ่าพลเรือนในวันนั้น ทั้งยังหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมายที่อาจนำมาซึ่งการจ่ายเงินชดเชยอีกด้วย

    นายคิม แด-ซู เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า สหรัฐต้องการจะปกปิดเรื่องราวทั้งหมดด้วยโครงการแสดงความเห็นอกเห็นใจต่างๆ แต่ก็บอกว่า เงื่อนไขของครอบครัวผู้สูญเสียฝ่ายเกาหลีนั้นแข็งกร้าวเกินกว่าที่สหรัฐจะยอมรับได้ ล่าสุด กระทรวงกลาโหมสหรัฐแถลงว่า เรื่องโนเจี้ยน-รี ถูกพับเก็บไปแล้ว และยังไม่พร้อมจะให้คำตอบในเรื่องนี้

    ส่วนเกาหลีเหนือก็มีการจัดพิธีรำลึกถึงวันนี้เช่นกัน แต่เน้นเรื่องการกล่าวหาสหรัฐว่าเป็นผู้สังหารหมู่บนคาบสมุทรเกาหลี และเป็นการกระทำที่มิอาจปกปิดความจริงที่เกิดขึ้นได้

    อาจเป็นไปได้ว่า ด้วยความผิดพลาดของสหรัฐในครั้งนี้ เลยทำให้หนังเรื่องเวลคัม ทู ดองมักกอล ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นที่โนเจี้ยน-รี ทำรายได้ถล่มทลาย และคว้ารางวัลใหญ่ของวงการบันเทิงไปเพียบ

     

    http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=warboard&No=6111

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×