ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #79 : Baka to Test to Shokanju เกรดไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 18.6K
      8
      16 ก.ค. 55

                                       

                    Baka to Test to Shokanju เป็นการ์ตูนสอดแทรกวรรณะในโรงเรียนที่น่าจะมีอยู่ในทุกสังคม

     

     
    Baka to Test to Shokanju

    ตลก, โรแมนติก, แฟนตาซี

    ดูอนิเมชั่นได้ที่

     http://video.mthai.com/player.php?id=18M1264262902M0

    มังงะแปลไทยที่ http://writer.dek-d.com/princesskaimuk/writer/viewlongc.php?id=614226&chapter=13

     

                    เป็นการ์ตูนที่ผมคิดอยากจะเขียนถึงนานแล้ว หากแต่ยังไม่เขียนถึงสักทีอันเนื่องจากไม่รู้จะเขียนถึงอะไร(อ้าว) อีกทั้งเป็นเรื่องที่ฮิตและคนอื่นรู้จักพอสมควร ซึ่งยากจะเขียนสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ได้ กว่าจะคิดว่าจะเขียนถึงอะไรก็ล่วงมาหลายเดือน

                    Baka to Test to Shokanju มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Idiots, Tests, and Summoned Beasts(คนงี่เง่า, การทดสอบ และการอัญเชิญสัตว์อสูร) ครั้งแรกเป็นนิยายไลท์โนเวล แต่งโดย เคนจิอิโนอุเอะ ของสำนักพิมพ์ Enterbrain จำหน่ายเมื่อ 29 มกราคม 2007 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และออกมาถึง 10 เล่ม ส่วนมังงะมี 2 เจ้าเจ้าแรกวาดโดย Mattaku Mosuku (25 เมษายน 2009-ต่อเนื่อง) และนะโม(30 ตุลาคม 2009 –ต่อเนื่อง) และอนิเมชั่น จำนวน 13 ตอน (7 มกราคม 2010 - 31 มีนาคม 2010) และมีมีภาคสองตามมา ซึ่งนิยายไลน์โนเวลนั้นดังมากที่ญี่ปุ่นขายดิบขายดีจนติดอันดับไลน์โนเวลที่ดีที่สุด อันดับ 1 ส่วนอนิเมชั่นก็ถูกเผยแพร่ในอเมริกาด้วย

    Baka to Test to Shokanju เป็นเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งชื่อ อากิฮิสะ โยชิอิ ที่เขาอยู่ในโลกคู่ขนานที่ไม่ต่างอะไรกับโลกแห่งความจริงของเราสักเท่าไหร่ หากแต่สิ่งที่ไม่เหมือนกับโลกของเรานั้นก็คือ โรงเรียนที่มีอากิฮิสะเรียนอยู่คือฟุมิสึกิ( Fumizuki Academy) ที่มีระบบการเรียนพิเศษที่ถูกนำมาใช้เป็นแห่งแรก โดยมีการแบ่งเกรดนักเรียนตามผลคะแนนการเรียนของพวกเขา โดยตามผลคะแนนสอบโดยระดับสูงสุดคือ A คลาสนั้นจะได้อยู่ในห้องที่มีที่นั่งสุดหรูหราพร้อมเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่ห้อง F นั้นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ด้วยอุปกรณ์การเรียนอาภัพสุดๆ อีกทั้งบนพื้นก็เป็นเสื่อทาทามิขาดๆ สภาพไม่ต่างอะไรกับโรงเรียนแถวแอฟริกายังไงอย่างงั้น

                    นอกจากนี้สิ่งที่ไม่เหมือนกับโรงเรียนอื่นๆ  คือมีระบบที่นักเรียนสามารถเรียกอัญเชิญอสูรอัญเชิญ(Shokanju) โดยอสูรเหล่านี้มีพลังชีวิตและพลังโจมตีโดยใช้คะแนนสอบมาเป็นฐาน โดยเหล่านักเรียนสามารถใช้อสูรเหล่านี้ต่อสู้กันระหว่างห้องเรียนต่างๆ โดยมีการเลื่อนชั่นและสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียนเป็นเดิมพัน โดยเหล่าอสูรห้อง A จะเก่งมาก ส่วนอสูรห้อง F นั้นอ่อนแอสุดๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบห้องอื่นๆ  ดังนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่ห้อง F จะผงาดในศึกชนะอสูรอัญเชิญ ทำให้เหล่านีกเรียนห้อง F ใช้ชีวิตการเรียนแบบเรื่อยเปื่อย เรียนแบบตามมีตามเกิดในแต่ละวัน

                    ในขณะที่อากิฮิสะนั้นกำลังสอบแบ่งห้องในชั้นเรียนปีที่ 2 ของโรงเรียน Fumizuki Academy อยู่นั้น เขาก็ได้รู้จักเด็กอัจฉริยะที่เขาแอบชอบชื่อมิซุกิ ฮิเมจิ ที่ป่วยเป็นไข้และไม่สามารถสอบต่อไปได้ ทำให้คะแนนของเธอออกมาเป็น 0 หมด ส่งผลทำให้เธอต้องเข้าไปเรียนอยู่ห้อง F ร่วมกับอากิฮิสะ ซึ่งอากิฮิสะกังวลต่อสุขภาพของเธอเลยมีความคิดว่าเขาน่าจะให้ห้อง F เข้าร่วมศึกอัญเชิญอสูรเพื่อให้มิซุกิเรียนห้อง A ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับเธอ และแล้วการแข่งขันในการเรียกสัตว์อัญเชิญเพื่อจะได้เลื่อนชั้นจึงเริ่มต้นขึ้น ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นก็ติดตามต่อไปเอาเอง

                    แนะนำตัวละคร(เอาเฉพาะอนิเมชั่นนะครับ)

                       

                    โยชิ อากิฮิสะ (Yoshii Akihisa) ตัวเอกของเรื่อง ที่น่าตาน่ารักสุดๆ (เฉพาะอนิเมชั่น) แต่หากในโลกการศึกษาเขาถึงตั้งสมญานามว่า สุดยอดบรมโง่ (Baka among all Baka บากะ ความหมายนี้สำหรับผมแปลว่า บ้า นะครับ ไม่ใช่ โง่) นัยว่าเขามีคะแนนที่เลวร้ายที่สุดในหมู่เพื่อนในระดับเดียวกัน ทำให้เขาต้องไปอยู่ที่ห้อง F ซึ่งเป็นห้องบ๊วยสุดในโรงเรียนที่มีสภาพเลวร้ายมากๆ  

    อากิฮิสะ ในนิยาย(หรือนวนิยาย)เพื่อนของเขามักเรียกเขาโดยลงท้ายว่า “บากะ” ต่อชื่อท้ายด้วย ซึ่งโยชิก็ไม่ได้โกรธหรือมีปมด้อยเรื่องโง่ของตัวเองเลยสักนิด หากตัดความโง่ออก โยชิก็ถือได้ว่าเป็นคนที่จิตใจดีงามคนหนึ่ง รักเพื่อน เฮฮ่า ชอบช่วยเหลือผู้อื่น แต่หื่น(หื่นแบบผิดที่ผิดทางนิดๆ) โยชิมีครอบครัวและคนในครอบครัวฉลาดมากๆ เพราะว่าไปทำงานในต่างประเทศ โดยทิ้งโยชิอาศัยอยู่แมนชั่น(ค่อนข้างหรู)คนเดียว(หากตอนหลังพี่สาวก็มาอยู่ด้วย) แต่ไม่รู้ทำอีท่าไหนชีวิตความเป็นอยู่ของโยชินั้นยากจนมากๆ(คงจะไปซื้อโมเดลและเกมจนหมดตัวมั้ง) ส่งผลให้เขาต้องกินอาหารแต่ละวันอย่างอาภัพสุดๆ ไม่ว่าจะเป็น กิน เกลือ, น้ำตาล, น้ำ หรือถึงขนาดต้องกินบะหมี่สำเร็จรูปหั่นแบ่งเป็น 1/64 ส่วน ต่อหนึ่งมื้อ ซึ่งความจริงแล้วเขามีทักษะการทำอาหารที่เก่งมากๆ และทำงานบ้านเก่งด้วย

                    แม้ว่าอากิฮิสะ โง่ แต่กระนั้นเขากลับเนื้อหอมมากมาย เพราะว่าเขาเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าตัวละครผู้หญิงหรือแม้แต่ผู้ชาย(!!)แต่เนื่องด้วยเขาโง่ทำให้ไม่รู้ตัวสักว่าเขาเนื้อหอม โดยคนที่ชอบนั้น ก็มี สาวทอมบอยชิมาดะ มินามิ, ชิมาดะ  อาซึกิ(น้องสาวของนิมามิ),หลุยส์เวอรชั่นอกโต ฮิเมจิ มิซึกิ, โยชิอิ อากิระ(พี่สาวแท้ๆ ของโยชิ),ยูโกะ คิโนชิตะ(สาวซึนยิ่งกว่าชิมาดะอีก ที่มองไม่ออกสักนิดว่าชอบโยชิ เออ...ในอนิเมชั่นภาคแรกจะไม่ปรากฏครับ ต้องในนิยายและโดจินจะปรากฏฉากครับ เออ....โดจินไม่โป๊นะครับและคนเขียนก็วาดดีมาก วาดดีมากกว่าแบบลิขสิทธิ์อีก เพราะเหมือนอนิเมชั่นมากๆ) หรือตัวละครชายอย่าง โทชิมิตสุ คุโบะ (ปล.ผมไม่ได้อ่านนิยายหรอก เดาเอา แต่โดจินยังมี  ซึ่งส่วนมากโดจินมักวาดฉากอะไรที่ปรากฏในนิยายหรืออนิเมชั่นทั้งหลายลงไปด้วย โดยโดจิน(ไม่โป๊)ที่ผมอ่าน(อ่านไม่ออกเพราะภาษาญี่ปุ่น)หรือดูนั้นมีฉากยูโกะ คิโนชิตะมาบ้านของโยชิเพื่อมาเล่นเกมและอ่านการ์ตูน ซึ่งผมคาดว่านิยายก็น่าจะฉากที่ว่าด้วย ใครรู้บอกทีนะครับ แต่ผมว่าภาคสองยูโกะน่าจะมีบทบาทมากขึ้นแหละ)

                    อสูรอัญเชิญของอากิฮิสะ นั้นแม้ว่ามีพลังต่ำสุดๆ แต่มีความสามารถพิเศษที่ไม่มีอสูรอัญเชิญตัวอื่นๆ นั้นคือสามารถจับวัตถุต่างได้ๆ หากแต่เมื่ออสูรได้รับบาดเจ็บ ความเจ็บเหล่านั้นก็ส่งผลมายังเจ้าตัวเช่นกัน ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเขาได้รับทัณฑ์บนจากโรงเรียน เพราะเป็นคนโง่ที่สุด โดยความสามารถนี้ทำให้อากิฮิสะต้องมาช่วยยกของให้อาจารย์บ่อยๆ และดูเหมือนอสูรของอากิฮิสะจะแข็งแรงมากเพราะว่ายกของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวเองหลายเท่าได้

                     

                    ฮิเมจิ มิซึกิ(Himeji Mizuki) ตอนแรกผมนึกว่าหลุยส์(Zero no Tsukaima)เสียอีกเพราะเหมือนมากๆ หากแต่นิสัยนั้นแตกต่างจากหลุยส์อย่างสิ้นเชิง เป็นหนึ่งในเด็กที่ฉลาดที่สุดในชั้นเรียนปีที่สองของ  Fumizuki Academy หากแต่เธอต้องมาอยู่ห้อง F เพราะว่าเธอป่วยตอนทำข้อสอบวัดระดับ ทำให้ทิ้งการสอบจนได้ 0 คะแนนทุกวิชา แม้ว่าสภาพห้อง F จะเลวร้ายและไม่เหมาะกับสุขภาพที่อ่อนแอของมิซึกิ(และห้องนี้มีผู้หญิงรวมทั้งเธอด้วยแค่ 2 คน) แต่เธอก็ไม่อยากจะจากห้อง F เพราะว่าเธออ้างว่ามีความสุข อีกทั้งยังแอบหลงรักโยชิ อากิฮิสะด้วย และเป็นไม่กี่คนที่เรียกว่าอากิฮิสะลงท้ายว่า “คุง” มากกว่า “บากะ” ลงท้าย แต่เพราะเธอเป็นสาวขี้อาย, กระดาก, บริสุทธิ์อินโนเซ็นต์  ทำให้จนบัดนี้ก็ไม่สารภาพรักโยชิได้เสียที(อีกทั้งโยชิยังเข้าใจผิดว่ามิซึกิหลงรักชายคนอื่นอีก) มีความสามารถพิเศษคือมีทักษะทำอาหารห่วยจนสามารถฆ่าผู้กินได้ สาเหตุก็เนื่องจากเจ้าตัวเวลาทำอาหารไม่เคยชิมอาหารเสียที ในนิยายมีปรากฏฉากที่เธอทำอาหารโดยใส่สารเคมีประเภทกรดต่างๆ ลงไปด้วย(จะเป็นฆาตกรเรอะ!!) อสูรอัญเชิญของมิซึกิจะออกแบบเหมือนนักรบอัศวินยุคกลางของยุโรปแถมเก่งเสียด้วย

                     

    ชิมาดะ มินามิ  (Shimada Minami) หนึ่งในสองของนักเรียนหญิงในห้อง F เธอเป็นชาวญี่ปุ่น แต่ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมันก่อนที่จะมาเรียนที่ Fumizuki Academy แต่เพราะเธออ่อนแอเรื่องภาษาโดยเฉพาะคันจิ ทำให้เธอมาอยู่ห้อง F โดยวิชาที่เธอถนัดที่สุดอย่างเดียวคือคณิตศาสตร์ที่มีระดับ ห้อง B  มีนิสัยทอมบอย ซึนเต็มพิกัด จนอากิฮิสะนึกไปเองว่าเธอเป็นผู้ชายตลอดศก ส่งผลให้เขามักโดนมินามิลงโทษด้วยท่ามวยปล้ำ ซึ่งความจริงแล้วเธอแอบหลงรักอากิฮิสะหากแต่เวลาอายที่ไรมักใช้ท่ามวยปล้ำจับล็อกเขาเสียทุกที โดยอสูรอัญเชิญของเธอออกแบบเป็นทหารเรือชุดสีฟ้าและกะบี่

      

    ยูจิ ซาคาโมโตะ (Yuji Sakamoto) หัวหน้าชั้นปีที่ 2 ของห้อง F เขาเป็นคนเก่ง จอมวางแผนและมีสติปัญญาสูงจนไม่น่าเชื่อว่าอยู่ห้อง F สาเหตุเป็นเพราะเขาเขามีความเชื่อมั่นว่า “เกรดไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” ( อีกหนึ่งสาเหตุคือเขาต้องการหนีจากโชโกะด้วย) และเมื่อเขามาอยู่ห้อง F เขาก็เริ่มแสดงความเป็นผู้นำและปลุกระดมห้อง F ให้ลุกขึ้นสู้กับห้องเรียนระดับสูงกว่า และดูเหมือนว่าจะเชื่อใจโยชิ อากิฮิสะมากๆ แม้ว่าอากิฮิสะจะห่วยที่สุดในชั้นปี แต่เขาก็มักมอบหมายหน้าที่สำคัญให้อากิฮิสะทำเป็นประจำในการแข่งขันอัญเชิญอสูร และในชีวิตประจำวันเขาก็มักไปบ้านของอากิฮิสะบ่อยๆ จนเกือบเรียกว่า Y เลยแหละ โดยอสูรอัญเชิญของเขาออกแบบเป็นนักรบเสื้อคลุมยาว พร้อมอาวุธสนับมือ

        

      ฮิเดโยชิ คิโนชิตะ (Hideyoshi Kinoshita) หนุ่มหน้าหวานจนดูเหมือนจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แถมอากิฮิสะยังแอบหลงรักเขาอีก(Y มาเยือน) เขาเป็นน้องชายของยูโกะ คิโนชิตะ ที่เรียนอยู่ห้อง A แต่ไม่รู้ว่าทำไมตัวเขาถึงมาอยู่ในห้อง F (ผมคาดว่าเป็นเพราะคิโนชิตะนั้นเป็นคนไม่เก่งในเรื่องวิชาการ แต่เก่งเรื่องการแสดงมากกว่า  เพราะเขาอยู่ชมรมการแสดง)  ด้วยบุคลิกภาพและหน้าตาทำให้เขากลายเป็นพริตตี้ประจำงานไปโดยบริยาย เป็นคนน่ารักนิสัยคล้ายผู้หญิง อ่อนหวาน และมักมีมุกแซวเขาประจำ เขามีความสามารถพิเศษในการเลียนเสียงคนอื่นๆ ได้อย่างแนบเนียน และที่พิเศษคือเวลาอัญเชิญสัตว์อสูรออกมาเขาเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มีฉากเปลี่ยนชุดโชว์!!(แบบเซเลอร์มูน) และอสูรอัญเชิญออกแบบในชุดฮากามะโดยอาวุธเป็นหอก ง้าว

      

    โคตะ สึจิมะ (Kouta Tsuchiya) เจ้าแห่งความหื่นประจำห้อง F ที่ชอบเอากล้องส่องใต้ร่มผ้าผู้หญิงเป็นประจำ แต่พอเห็นแล้วมักเลือดกำเดาพุ่งจนลืมกดเซ็ตเตอร์ทุกที เขาเป็นคนที่มีไม่ค่อยพูดและโง่ๆ พอๆ อากิฮิสะจนกลายเป็นเพื่อนสนิทไปโดยบริยาย แต่กระนั้นมีวิชาเดียวที่เขาเก่งมากคือสุขศึกษา(วิชาว่าด้วนความรู้ด้านสุขภาพ การรักษาและการป้องกัน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิต ร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งความรู้ในด้านเพศอีกด้วย และผมเองก็เก่งวิชานี้เป็นอย่างมาก) ซึ่งเขามักเอาความรู้นี้มาใช้เพื่อดูผู้หญิง โดยสามารถคาดคะเนลักษณะกายวิภาคได้อย่างแม่นยำ ในนิยายเขายังมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ไหนก็ตาม กับโดยอสูรอัญเชิญของเขาออกแบบเหมือนนินจา

     

                    คณะสอบสอน FFF (FFF Inquisition) คงเป็นการแซว KKK ของอเมริกา เป็นกลุ่มในห้อง F ที่มักลงโทษอากิฮิสะเวลาเห็นเขาได้รับความสนใจจากบรรดาผู้หญิงทั้งหลาย(และนักเรียนชายคนอื่นที่มีแฟนสวย) นอกจากนี้ดูเหมือนว่าเจ้าพวกนี้จะเป็นแฟนคลับของฮิเดโยชิด้วย และอสูรอัญเชิญพวกเขามีความสามารถ “กามิกาเซ” ที่สามารถระเบิดพลีชีพลากอสูรอัญเชิญของฝ่ายศัตรูตายพร้อมกันได้ โดยไม่สนว่าอสูรอัญเชิญฝ่ายต้องข้ามนั้นจะเก่งมากเพียงใด

                    

    โชโกะ คิริชิม่า ( Shoko Kirishima) หัวหน้าชั้นปีที่ 2 ห้อง A(ห้องเรียนที่ดีที่สุดประกอบด้วยชาย 24 คน และหญิง 26 คน)หน้าตาทื่อๆแต่แอบน่ารักและอัจฉริยะ แต่กระนั้นก็อารมณ์อ่อนไหวมากพอสมควร เป็นเพื่อนวัยเด็กของยูจิ และรักยูจิมากๆ ถึงขนาดบังคับยูจิจดทะเบียนสมรสให้ได้(แต่ล้มเหลวเพราะไม่บรรลุนิติภาวะ และคุณเธอก็หึ่งแบบดาร์ต ที่เห็นยูจิแอบชอบผู้หญิง(หรือผู้ชาย)ไม่ได้ หากเห็นเธอมักใช้เครื่องช็อตไฟฟ้าลงโทษเขาเสมอ ทำให้ยูจิหวาดกลัวเธออย่างมากๆ และเธอมักอยู่ห้อง F มากกว่าจะอยู่ห้อง A เสียอีก อสูรอัญเชิญของเธอออกแบบเป็นนักรบญี่ปุ่นโบราณ

       

    คุโด ไอโกะ(Kudo Igo) อีกหนึ่งยอดนักเรียนของห้อง A ผมสีเขียว มีนิสัยเป็นมิตรกับทุกคน และชอบหยอกล้อผู้ชายโดยเฉพาะกับสึจิมะและอากิฮิสะ อสูรอัญเชิญของเธอออกแบบเป็นนักเรียนหญิงที่มีขวานยักษ์เป็นอาวุธ

      

                    ยูโกะ คิโนชิตะ(Yuko Kinoshita) พี่สาวฝาแฝดของฮิเดโยชิ ยูโกะอยู่ห้อง A แต่ฮิเดโยชิอยู่ห้อง F การเรียน ต่างกันสุดกู่ ทำให้เธอมักมองน้องชายเป็นขยะ และมองห้อง F เป็นห้องไม่เอาไหน  มีนิสัยหยิ่งและตื่นเต้นง่าย และมักเป็นใช้อารมณ์อยู่เสมอเวลาจะตัดสินใจในเรื่องอะไร และห้อง F ชอบใช้นิสัยของเธอมาวางแผนการรบอัญเชิญอสูรเสมอ หลังจากจบศึกอสูรอัญเชิญในตอนที่ 12 เธอก็เริ่มเป็นทัศนะคติที่ดีต่อห้อง F ในบัดดลและเริ่มชอบอากิฮิสะด้วย(ในโดจินไม่โป๊ คนเขียนชื่อ NtyPe)  ในอนิเมชั่นภาคแรกเธอไม่ค่อยปรากฏตัวเท่าไหร่ หวังว่าภาคสองบทบาทของเธอจะมากกว่านี้ นอกจากนี้เป็นคนชอบอ่านการ์ตูน(แนวชายกับชาย)และวีดีโอเกมด้วย(ในโดจิโป๊ เธอเป็นนางเอกเยอะมาก)

                    

    โทชิมิตสุ คุโบะ(Toshimitsu Kubo) นักเรียนประจำห้อง A ที่ออกมาแบบเงียบขรึมเย็นชาภายใต้แว่นตา เป็นนักเรียนที่มีคะแนนอันดับสองของชั้นปี แต่หลังจากแพ้ฮิเมจิ มิซึกิ ก็กลายเป็นคนต๊องซะงั้น โดยเขาแอบชอบอากิฮิสะ(เขามีน้องชายคนหนึ่ง)

      

    เคียวจิ เนโมโตะ(Kyoji Nemoto) หัวหน้าตัวแทนของชั้นเรียนห้อง B มีไหวพริบและเจ้าเล่ห์เพทุบาย ชอบโกงข้อสอบมากกว่าจะใช้ความสามารถของตนเอง และเป็นอีกหนึ่งที่ชอบดูถูกห้อง F ว่าเป็นห้องไม่เอาไหน แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้แก่ห้อง F ก็ถูกบังคับให้สวมชุดนักเรียนหญิง(และดูเหมือนเขาจะชอบด้วย) และเขามีแฟนอยู่ห้อง C แต่ก็ถูกเธอเลิกในบัดดล เมื่อเธอเห็นเขาแต่งหญิง

      

    มิฮารุ มิชิซึ (Miharu Shimizu) คารินโจโฉ(เดี๋ยวนี้เวลาผมเห็นตัวละครตัวไหนไว้ทรงผมม้วนแบบนี้เป็นต้องเรียกคารินโจโฉทุกทีไป) สาวห้อง D ที่ประกาศตนว่าเป็นเลสเบี้ยนและอยากจะวายกับชิมาดะ มินามิ และมักเรียกชิมาดะว่า “ท่านพี่” อสูรอัญเชิญของเธอออกแบบเป็นทหารโรมัน

       

    ชิน ฟุคุฮาระ(Shin Fukuhara) อาจารย์ประจำชั้นของห้อง F ในตอนแรก ในอนิเมชั่นหลังจากจบสงครามอสูรอัญเชิญครั้งแรกก็ถูกแทนที่โดยโซอิจิ นิชิมูระ

       

    โซอิจิ นิชิมูระ (Soichi Nishimura) ผู้รักษาระเบียบวินัยในโรงเรียน มีฉายาว่า Ironman (หรือ Tetsujin) เป็นคนเข้มงวดมาก และ มักจับนักเรียนที่ต่อสู้จนสัตว์อสูรอัญเชิญเหลือ 0 คะแนนไปเข้าคลาสพิเศษสุดโหด โดยอากิฮิสะเป็นคนที่ถูกลากไปบ่อยที่สุด มีความสามารถปรากฏตัวได้ทุกทีและมีความสามารถทางกายภาพเหมือนพระเจ้า แม้จะดูดุดันแต่เขาก็แสดงถึงความเข้าใจในตัวนักเรียนเหมือนกันในตอนที่ยูจิและอากิฮิสะออกมาขอโทษในเรื่องทำข้อสอบรั่วไหล

       

    โยโกะ ทากาฮาชิ อาจารย์ประจำชั้นปีที่ 2 ของห้อง A เธอมักสวมแว่นตา และเป็นคนฉลาด และเธอมักสวมชุดเจ้าหน้าที่สีดำเหมือนเจ้าหน้าที่ทหารเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีอาวุธเป็นแส้(??)

       

    ชิมาดะ  อาซึกิ ( Shimada Hazuki ) น้องสาวของนินามิ น่ารักและแสดงตนว่าจะเป็นเจ้าสาวในอนาคตของอากิฮิสะอย่างโจ่งแจ้ง โดยเธอรู้จักกับอากิฮิสะยังไงนั้นยังเป็นปริศนา และอนิเมชั่นบอกว่าจะบอก แต่สุดท้ายก็ไม่บอก หวังว่าภาคสองจะเล่าถึงนะ อยากจะรู้ ผมโครตรอ

     

     โยชิอิ อากิระ(Yoshii Akira)  เจ๊แท้ๆ ของอากิฮิสะ อายุ 23 ปีและจบการศึกษามหาลัยชื่อดัง Harvard มีหน้าอก E – Cup  มีความสามารถที่สยดสยองในการทำอาหารเป็นอย่างมาก ปรากฏในอนิเมชั่นตอนที่ 9 และประกาศตัวตนว่าอยากจะเป็นเจ้าสาวอากิฮิสะและมักให้ลงโทษ(รางวัล)ด้วยการจูบแก่อากิฮิสะเสมอ(แต่อากิฮิสะไม่เอาด้วย) เธอตั้งกฎไม่ให้อากิฮิสะมีความรักในวัยเรียนโดยมีคะแนนเป็นตัวกำหนด ชอบปล่อยเนื้อปล่อยตัว การปรากฏตัวของเธอนั้นฮิตมากจนกลายเป็นตัวละครหลักของเรื่องโดยปริยาย และในโดจิน(โป๊)เธอก็ปรากฏตัวมากกว่าตัวหญิงทั้งหมดในเรื่องเสียอีก  โดยส่วนตัวผมไม่ชอบเสียงพากษ์ของตัวละครนี้มากนักเพราะฟังแล้วอึดอัด(รู้สึกคนพากษ์กจะชื่อ Inoue, Kikuko)

      

                    ผมแนะนำให้ดูอนิเมชั่นมากกว่าดูมังงะ แม้ของมังงะเนื้อหาค่อนข้างดราม่าและเข้มข้นกว่าอนิเมชั่นก็ตาม แต่มังงะดูเหมือนคนเขียนจะสร้างตัวละครในนิยายไลท์โนเวลไม่ค่อยโมเอะสักเท่าไหร่

                    ผมรู้จักการ์ตูนเรื่องนี้จากคนแนะนำการ์ตูนในบทความนี้แหละครับ(ขอบอกน้อยมากๆ ที่คนขอมาแล้วผมจะดูนี้ หากไม่สนใจจริงๆ ผมแทบไม่ดูเลยแหละ) เปิดมาครั้งแรกเห็นชัดเลยคือโลกโหดร้ายของการศึกษาเล่าเรียน เมื่อโรงเรียนเอาใจใส่คนที่เรียนดีกว่า ส่วนคนโง่ดักดานนั้นถูกปฏิบัติอย่างต่ำด้อย ทั้งที่พวกเขาเหล่านี้(ห้อง F )ไม่ใช้เด็กเลว เด็กมีปัญหาอะไรทั้งสิ้น

                    แต่เรื่องเหล่านี้จบลงเมื่อหมดตอน 2 จากนั้นมหกรรมความฮ่าก็บังเกิด เพราะตัวละครมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองปล่อยมุกฮ่าแบบชนิดไม่ยั้ง ทั้งมุกเอกลักษณ์ และล้อเลียน

                    ดูเหมือนว่าตลกล้อเลียนโดยใช้มุกจากการ์ตูนเรื่องต่างๆ นั้น จะเป็นเรื่องธรรมดาเสียแล้วสำหรับการ์ตูนอนิเมชั่น ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนที่อุดมด้วยมุกตลก เคโรโระ, ลักกี้สตาร์, ฮารุฮิ, โดคุโระจัง ที่ทุกเรื่องนั้นล้วนมีส่วนผสมของมุกตลกล้อเลียนอยู่มาก ดังนั้นสำหรับผมแล้ว การ์ตูนมุกตลกล้อเลียนสำหรับการ์ตูนเรื่องนี้ก็ขำพอสมควร หากแต่ในใจก็นึกกลัวคนดูคนอื่นที่ดูการ์ตูนเรื่องนี้แล้วไม่ขำ เพราะงงมุกที่การ์ตูนเหล่านี้เสนอ  เพราะว่าหลายมุกนั้นค่อนข้างดักแก่พอสมควร เพราะบางมุกมาจากการ์ตูนเก่าโบราณ หรือบางมุกก็เอามาจากเกมส์ เช่น ล้อเลียนตัวละครโกคิจากสตรีทไฟเตอร์, หรือลิลลี่ในแวมไพร์ไฟติ้ง ของค่ายเกมส์แคปคอม ซึ่งสำหรับคนไทยที่ชอบเล่นแต่วิงนิ่ง(มั้ยสาด)นั้นยากจะเข้าใจจุดรายละเอียดมุกเหล่านี้ได้ แต่จะถามว่าแล้วคนที่ไม่ใช่คอการ์ตูนหรือเกมส์ มาดูอนิเมชั่นเรื่องนี้จะตลกหรือเปล่า  ผมก็ตอบว่าก็สนุกอยู่ดี เพราะว่าซับที่ผมดูนั้นได้บอกรายละเอียดที่มาของมุกนั้นด้วยๆ ก็อยากจะขอบคุณคนทำซับเหมือนกันว่าเขาแปลได้เยี่ยมมาก เก็บรายละเอียดทุกมุกได้แจ๋วจริงๆ ลืมบอกไปผมแนะนำให้ไปหาซับของ[Seishinsei-i&Loliyuri] ครับ โดยเขามักสอดแทรกความรู้ในแต่ละมุกลงไปด้วย โดยเขาตั้งใจทำซับเพื่อให้ผู้ชมได้เรียนรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของภาษาและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ปรากฏในอนิเมชั่นไปด้วย

                  

                    เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกแห่งความจริงนั้นมีโรงเรียนบางแห่งที่มีระบบการจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนแบบนี้อยู่จริงเหมือนกับในการ์ตูนเรื่องนี้  เมื่อโรงเรียนปฏิบัติเด็กนักเรียนเกรด A อย่างกับเทวดา ส่วนเด็กกลุ่ม F ถูกปฏิบัติอย่างดูถูกดูแคลน อุปกรณ์และเครื่องอำนวยการเรียนย่ำแย่ ทั้งๆ ที่จุดประสงค์ดั้งเดิมการจัดแบ่งห้องแบบนี้มีไว้เพื่อจัดกลุ่มนักเรียนให้เหมาะสมในการรับการศึกษา เช่นกลุ่มหัวช้าควรเรียนร่วมกันเพื่อเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนพร้อมๆ กัน โดยแต่ละกลุ่มนั้นต้องมีอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกการเรียนให้เหมาะสมและเท่าเทียมกัน หากแต่ว่าปัจจุบันหลายโรงเรียนเริ่มไม่สนจุดประสงค์ดังกล่าว เนื่องจากเด็กกลุ่มหัวช้า(หรือโง่)นั้นไม่ได้สร้างชื่อเสียงแค่โรงเรียนอีกทั้งยังเป็นภาระแก่ครูบาอาจารย์ผู้สอน ทำให้มีปล่อยปะละเลย เด็กหัวช้าเหล่านั้น ส่งผลทำให้เด็กเหล่านั้นขาดการพัฒนาในที่สุด

    ในความรู้สึกที่ผมเห็นห้อง F ที่อยู่เบื้องหน้าอากิฮิสะในตอนแรก คือ “เด็กนักเรียนในห้องนี้มันจะมีนักเลงหรือเปล่าเนี้ย” เพราะว่าสิ่งที่เราเข้าใจในเกี่ยวกับห้องท้ายๆ ในห้องต่ำสุดในโรงเรียนในโลกแห่งความจริงคือ ที่นั้นมีแต่เด็กมีปัญหา(อันเนื่องจากแม่ผมมักบ่นๆ เรื่องลูกศิษย์ห้องท้ายๆ ที่แม่เป็นอาจารย์ประจำชั้นที่สอนห้องเหล่านั้น ว่า นักเลง ครอบครัวมีปัญหา ขาดเรียนบ่อย ฯล) แต่ปรากฏว่าห้อง  F ที่อากิฮิสะเรียนนั้นไม่มีตัวละครใดที่เป็นนักเลงหรือครอบครัวมีปัญหาเลยสักคน อีกทั้งหลายคนต่างลงความเห็นเดียวกันว่าเด็กกลุ่ม F นั้นไม่โง่เง่าเต่าตุ่นเลยสักคน แต่ละคนมีความฉลาดและความถนัดแตกต่างกันออกไป อีกทั้งแต่ละคนก็มีจิตใจดีงามมีคุณธรรม(โคตะ สึจิมะชอบหื่นแต่เป็นธรรมดาของวัยรุ่น) ตรงกันข้ามกับตัวละครบางตัวที่อยู่ห้องที่สูงกว่าอย่าง เคียวจิ เนโมโตะ(ห้อง B) หรือ ยูโกะ คิโนชิตะ(ห้อง A) ที่สิ่งที่ตัวละครสื่ออกมานั้นไม่ได้บ่บอกเลยว่าตัวละครนี้ได้รับการศึกษาสูง (หรือ IQ ดีแต่ EQ แย่) เคียวจิใช้สมองแสวงหาการโกงข้อสอบโดยไม่ต้องอ่านหนังสือถึงขั้นแฮกคอมโรงเรียน หรือยูโกะที่ชอบดูถูกคนอื่น ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีข้อบกพร่องเหมือนกัน ผิดจากตัวละครบางตัวที่ในห้องที่ระดับสูงกว่าที่คบหานักเรียนในระดับชั้นที่ต่ำกว่า เหมือนคนปกติ เช่น โชวโกะ

      

    จุดเด่นของการ์ตูนเรื่องนี้คือการพัฒนาการพระเอกที่ชื่อ โยชิ อากิฮิสะ ที่โง่ แต่ไม่ดักดานอย่างที่หลายคนดูถูก  หากเขาได้รับแรงกระตุ้น ตั้งใจอ่านหนังสือหน่อย เขาก็มีโอกาสพัฒนาความสามารถได้เหมือนกัน

    แน่นอนหากจะเปรียบเทียบโยชิ อากิฮิสะเหมือนตัวละครโง่ไม่เอาไหนแห่งตำนาน อย่างโนบิตะ ในเรื่องโดเรมอน แต่โยชิ อากิฮิสะนั้นแตกต่างจากโนบิตะตรงที่ เขาไม่ได้แย่ไปเสียทุกเรื่อง อย่างน้อยเขาก็ยังมีอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการกลั่นแกล้ง สามารถอาศัยอยู่ตัวคนเดียวได้ และเก่งงานบ้าน(แม้จะยากจนในเรื่องอาหารไปหน่อยก็เถอะ) อีกทั้งยังเป็นมองโลกในแง่ดี ใครๆ ต่างรักใคร่ ในขณะโนบิตะนั้นแทบไม่ได้เรื่องอะไรสักอย่าง

    แต่จุดเหมือนกันของสองตัวละครต่างเรื่องต่างยุคสมัยนี้คือ ทั้งคู่ประสบผลสำเร็จในชีวิตครับ

    เคยมีหนังสือหนึ่งที่ตีพิมพ์ในบ้านเรา ชื่อเรื่อง วิถีโนบิตะ-ชัยชนะของคนไม่เอาถ่านโดย  คนที่เขียนหนังสือเล่มนี้ชื่อโยโกยาม่า ยาสุยุกิ อุตส่าห์ลงทุนศึกษาวิจัยค้นคว้าเรื่องราวของการ์ตูนโดราเอม่อนแบบจริงๆ จังๆ แบบเจาะลึก โดยหัวข้อวิจัยคือ ทำไมคนไม่เอาไหนอย่างโนบิตะ ที่แย่ไปเสียทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เล่นกีฬา แถมยังช่วยตัวเองไม่ได้ วันๆ ถูกแต่กลั่นแกล้ง แต่เหตุใดจึงสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้

    คำตอบที่คนเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ

    เพราะมองโลกแตกต่างไปจากคนอื่นๆ  เช่นโนบิตะเป็นคนที่อยากเห็นและต้องการให้คนอื่นมีความสุข, โนบิตะมีวิธีการพัฒนาตนเองที่แตกต่างจากคนอื่นที่เรียนรู้อย่างช้าๆ แต่มั่นคง เป็นต้น ฉากที่เห็นเด่นชัดที่อากิฮิสะต้องการให้คนอื่นมีความสุข คือการพยายามช่วยเหลือ ฮิเมจิ มิซึกิ ให้อยู่ห้อง A ทั้งๆ ที่เจ้าตัวไม่ต้องการก็ตาม แสดงให้เห็นว่าเขาอยากให้เธอมีความสุขต้องการให้เธอเรียนอยู่ในที่เหมาะสมมากกว่าจะเป็นห้อง F ที่ขาดแคลนอุปกรณ์  หรือแม้กระทั้งการเอาใจช่วยโชวโกะกับยูกิก็ถือว่าต้องการให้เพื่อนมีความสุขเหมือนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติที่หาได้ยากมากในโลกปัจจุบันที่มีแต่คนริษยาคนอื่นและคอยกลั่นแกล้งไม่ให้คนนั้นประสบผลสำเร็จ

    ไม่กลัวความล้มเหลว โนบิตะไม่อายที่จะลงมือทำความฝันให้เป็นจริง(โดยใช้เครื่องมือโดเรมอน) แต่ตอนท้ายจะล้มเหลวเสียทุกครั้ง แต่โนบิตะก็กล้าทำ ส่วนอากิฮิสะก็กล้าที่จะสู้กับห้อง A ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นในชัยชนะก็ตาม(ในตอน 2 และตอนจบของภาคแรก)

    เพราะเป็นเด็กดี ทั้งโนบิตะและอากิฮิสะนั้นเป็นเด็กดี ไม่เคยโกรธหรือเจ้าคิดเจ้าแค้น ไม่เคยอิจฉาริษยาใครๆ ทั้งสิ้น ไม่เคยโกงข้อสอบ ไม่เคยทำเรื่องไม่ดีในโรงเรียน ฯลฯ

    รู้วิธีการจัดการชีวิตตนเอง แม้จำนวนบากะฯ และโดเรมอนจะมีจำนวนตอนไม่เท่ากัน ซึ่งโดเรมอนมีกว่า 582 ตอน(ในขณะที่ บากะฯ มีเพียง 13 กว่าตอน) แต่สิ่งที่เหมือนกันคือปัญหาที่พระเอกทั้งสองต้องเผชิญนั้น นั้นไม่ได้อยู่ที่การศึกษาในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะการศึกษาเหล่านั้นรวมไปถึงการศึกษาในโลกภายนอกด้วย นั่นคือการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเพื่อน, ปัญหาตนเอง, ครอบครัว, ความรัก หรือแม้แต่เรื่องเงินๆ ทองๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่พระเอกทั้งสองต้องเผชิญเท่านั้น เพราะคนอื่นๆ ในโลกแห่งความจริง ต้องเผชิญด้วย ซึ่งไม่มีทางหลีกหนีได้ และมีหลายคนสอบได้ ในขณะที่บางคนสอบไม่ได้ เพราะการทำข้อสอบการเข้าสังคมนั้นไม่ได้ใช้ความฉลาดทางสมอง แต่ต้องใช้ทัศนคติ, การมองโลก และอารมณ์

    เราคงเคยเห็น คนฉลาดหลายคนที่ฆ่าตัวตายออกข่าว หลายข่าวใช่เปล่าครับ โดยคนฉลาดเหล่านี้เลือกการจบชีวิตของตนด้วยเหตุผลอันไร้สาระที่เกี่ยวกับศึกษาและชีวิตส่วนตัว เช่นเครียดพ่อแม่ด่า, ผลสอบไม่ดี, ยากจน,  สอบเข้าที่โรงเรียนที่ต้องการไม่ได้ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ก็เพราะพวกเขาไม่รู้วิธีการจัดการชีวิต ขาดการมองโลก ขาดการเข้าสังคม ขาดการเรียนรู้ในการจัดการปัญหา ไม่เหมือนกับอากิฮิสะที่แม้เขาสอบได้ที่ย่ำแย่ หลายคนดูถูก อีกทั้งอาหารการกินก็ฝืดเคือง แต่เขาก็ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และใช้ชีวิตแบบฉบับตัวเขาในแต่ละวัน

      

    ในการ์ตูนนี้มีตัวละครสองตัวที่แสดงทัศนะคติที่น่าชื่นชม คนแรกคือ ยูจิ ซาคาโมโตะ ที่แสดงทัศนคติว่า “เกรดไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต” หรือนัยสำคัญก็คือคนโง่ไม่มีในโลก จะฉลาดหรือโง่นั้นมันขึ้นอยู่กับการจะใช้ความรู้ความสามารถตนยังไงให้เหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ มากกว่า ซึ่งยูจิก็แสดงให้เห็นแล้วว่า บางครั้งความรู้ในวิชาการก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะยูจิได้ใช้ความสามารถเฉพาะตัวของสมาชิกในห้อง F แต่ละคนนำมาใช้ประโยชน์ด้วย เช่นการเลียนเสียงของฮิเดโยชิ, การหาข้อมูลของโคตะ นอกจากนี้ยูจิยังศึกษาลักษณะเฉพาะของฝ่ายศัตรูมากกว่าจะสู้เพราะบ้าพลังสถานเดียว ดังสำนวนที่ว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ซึ่งทำให้ห้อง F ประสบผลสำเร็จหลายครั้ง(หากแต่ยูจิน่าจะคิดแผน 2 และ 3 ด้วย เพราะว่าบางครั้งแผนใช้อาจไม่ประสบผลสำเร็จเสมอไป จนเป็นเหตุทำให้ห้อง F ไม่ชนะห้อง A เสียที)

                    แต่ที่เจ็บแสบคือเมื่อห้อง F แพ้แต่ละครั้ง คุณภาพในเครื่องมืออำนวยความสะดวกในด้านการเรียนก็ลดน้อยถอยลงอย่างนาเวทนาลงไปด้วย มันบ่บอกให้เห็นว่า “ไม่มีที่สำหรับผู้แพ้ในโลกการศึกษา”

                    เอาเถอะแม้ห้อง F จะเป็นผู้แพ้ในโลกแห่งการศึกษา แต่ใช้ว่าพวกเขาจะแพ้ในโลกแห่งการดำเนินชีวิตเสียเมื่อไหร่ละ จงดูบุคคลสำคัญของโลกต่อไปให้ดี นี้ที่พวกเขาได้แสดงให้พวกเราได้เห็นแล้วว่า “การศึกษานั้นไม่ใช้ทุกอย่างในชีวิต”

                    อับราฮัม ลินคอล์น (ประธานาธิบดีคนที่ 16) ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้แพ้มาทั้งชีวิต 40 กว่าปี  ตอนเด็กเรียนด้วยตนเองไม่เคยเข้าโรงเรียน สอบได้ทนาย  แต่ทั้งชีวิตแพ้มาโดยตลอด ทำกิจการก็เจ๊ง สมัครการเมืองก็เจ๊ง พึ่งมาเอาชนะจนได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อ 7 ปีสุดท้ายของชีวิตนี้เอง

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (นักฟิสิกส์) เป็นคนที่เรียนรู้ได้ช้า มีความพิการทางการอ่านหรือเขียน(เนื่องจากโครงสร้างสมองผิดปกติ) เขาเรียนไม่จบมัธยม และสอบเข้ามหาลัยไม่ได้ แต่เขาสามารถเป็นนักฟิสิกส์ระดับโลกได้

    โทมัส อัลวา เอดิสัน (นักประดิษฐ์) เรียนโรงเรียนขั้นต้นได้เพียง 3 เดือน เท่านั้นก็ไม่ยอมไปเรียนอีก เพราะโดนครูดุด่าหาว่าเขาเป็นคนโง่ ทำให้มารดาต้องรับหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือ และชั่วชีวิตของเขาไม่เคยไปโรงเรียนหรือรับการศึกษาจากสถานศึกษาใดๆ ทั้งสั้น และไม่เคยออกกำลังกาย แต่เขาได้กลายเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟและผลงานต่างๆ มากมายที่มีสำคัญต่อโลก

    บิลล์ เกตส์(เจ้าพ่อคอมพิวเตอร์) ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ต้องพักการเรียนไปโดยไม่จบการศึกษา

    ฯลฯ

    บุคคลทั้งหมดมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ประสบผลสำเร็จเพราะเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ในข้อผิดพลาดและเปลี่ยนข้อด้อยเหล่านั้นเป็นจุดแข็งของตน

    แต่กระนั้นดูเหมือนประเทศญี่ปุ่นนั้นจะไม่มีที่สำหรับเด็กหัวไม่ดี  เพราะว่าการจะได้งานดีนั้นวัดที่ความสำเร็จทางการศึกษา ……

      

    ตัวละครต่อมาที่มีทัศนคติที่ชื่นชมคือฮิเมจิ มิซึกิ ที่แสดงทัศนคติว่า “ไม่ว่าที่ไหนเธอก็เรียนได้” แม้ห้อง F จะห่วยแต่สภาพแวดล้อมแย่ๆ อุปกรณ์การเรียนเวทนา เธอก็สามารถเรียนอย่างมีความสุข สิ่งเหล่านี้บ่บอกว่า การเรียนนั้นมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ระบบการศึกษา

    คุณเคยเห็นโรงเรียนในประเทศที่ 3 ไหมครับ เช่นโณงเรียนชายแดนประเทศไทย, โรงเรียนในจีน(บางแห่ง), โรงเรียนในแอฟริกา หรือโรงเรียนอัฟกานีสฯ ฯลฯ สภาพโรงเรียนที่นั้นแย่ยิ่งกว่าห้อง F ในการ์ตูนเรื่องนี้อีกครับ แต่กระนั้นเหล่าเด็กๆ ต่างพยายามขวัญขวายที่จะไปเรียน แม้โรงเรียนจะมีสภาพแย่ แต่ขอให้มีหลังตาคลุมหัวมีอาจารย์สักคนพวกเขาก็พอใจแล้ว

    มาคิดๆ ดูนึกถึงเด็กไทยสมัยนี้ครับ ที่ชอบหลบหนีโรงเรียนมาเที่ยวห้างสรรพสินค้าบ่อยๆ เมื่อถูกจับได้พวกเขามักแก้ตัวว่า “โรงเรียนน่าเบื่อ, ไม่ชอบระบบการศึกษาที่เรียนเอาเอง อาจารย์แจกชีทก็จบ, อาจารย์ไม่ดี, อุปกรณ์การเรียนแย่” นี้คือข้อแก้ตัวที่แย่มาก ทำไมพวกเขาไม่ลองไปดูโรงเรียนในโลกที่ 3 บ้าง เด็กที่นั้นเขาอยากไปโรงเรียนทุกคน ขนาดบางคนอยากเรียนก็ไม่สามารถเรียนได้(เช่นบางประเทศห้างเด็กผู้หญิงเรียนเพราะกฎหมายอิสลามศักดิ์สิทธิ อย่างอัฟกานีสถานในช่วงกลุ่มตาลีบานยึดครองอยู่) โรงเรียนประเทศไทยนั้นโชคดีกว่าประเทศเหล่านี้มาก เพราะมีโรงเรียนหลายแห่งเปิดรับนักเรียน มีอาจารย์ มีอุปกรณ์การเรียนครบครัน แล้วแบบนี้ถือว่าแย่เหรอ?

      

                    สรุปเลยละกัน การ์ตูนเรื่องนี้ทั้งสนุก ทั้งฮ่า ทั้งประทับใจ โดยเฉพาะ 3 ตอนสุดท้ายในศึกอัญเชิญอสูรนี้ลุ้นจนติดเก้าอี้เลยที่เดียวนอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยแง่คิดดีๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นความสามัคคี, ความพยายาม เพื่อนำการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ จึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดที่ไลท์โนเวลเรื่องนี้โด่งดังในญี่ปุ่น ผมแนะนำให้ดูอมิเนชั่นมากกว่าในมังงะ แต่หากจะดูมังงะให้ได้ก็ขอให้เป็นโดจิน(ที่ไม่โป๊) เพราะผลงานโดจินที่ว่านั้นวาดดีกว่าของที่มีลิขสิทธิ์เสียอีก...... (ปล. ผมเลิกดูภาค 2 ซะงั้น เพราะไม่ค่อยชอบคู่รองยูจิมั้ง นับจากนั้นมาผมเลยชอบฮาเร็มแบบอวยพระเอกคนเดียว ไม่มีคู่รองอีกเลย.....) 

     

                    http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A8498351/A8498351.html

     

     

     

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×