ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #519 : เซอร์เวนท์ทั้ง 7 ใน Hinmin, Seihitsu, Daifugou

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.1K
      14
      14 ก.พ. 62

    หลังจากที่ทาคาฮาชิ เคทาโร่ (Keitarou Takahashi) วาดแต่งการ์ตูนเนื้อหานักฆ่าเลือดสาดมาเยอะ และหลังได้ออกแบบตัวละคร Fate/Grand Order (จิงเคอไม่พ้นนักฆ่าอยู่ดี และไนติงเกล) เหมือนว่าคนวาดจะติดซีรีย Fate เลยวาดการ์ตูนแนวเฟทซะเลย จนเกิดเรื่อง Hinmin, Seihitsu, Daifugou ขึ้นมา

    Hinmin, Seihitsu, Daifugou เป็นผลงานของทาคาฮาชิ เคทาโร่ จากผลงานก่อนๆ เน้นไปนักฆ่า คราวนี้เป็นเรื่องของคนธรรมดากับเซอร์เวนท์กันบ้าง

     


    ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


    เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของ เซยะ ( Seiya หรือ เซย์ย่าอะไรนี้แหบะ) นักเรียนมัธยมปลายที่มีแม่ทำงานหนักคนเดียว ทำให้เธออยากจะทำอะไรบางอย่างเพื่อบรรเทาภาระของแม่บ้าง วันหนึ่งระหว่างทางไปโรงเรียน เธอได้พบว่าเธอเป็นผู้ถูกเลือกที่จะใช้เทวทูตคู่หูของตน ต่อสู้กับผู้รับเลือกคนอื่นๆ ที่มี 6 เทวทูตประจำตัวอยู่ (โดยเธอมีเทวทูตประจำตัวชื่อ "Aurelia de Medici" (เชื่อว่าน่าจะเป็น น้องสาวเมดีชีนั้นแหละ ประวัติเธอนี้โครตน่าเศร้ามาก เพราะแทบไม่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ ) 

    กติกาคล้ายๆ กับ Fate คือผู้ได้รับเลือก ( มาสเตอร์) จะมีทูตสวรรค์ ที่เป็นคนสำคัญในประวัติศาสตร์ พวกทูตมีอาวุธวิเศษ และต่อสู้ โดยรางวัลคนที่ชนะคือ "ความมั่งคั่ง" ทั้งเงินและชื่อเสียง

    ด้านการต่อสู้นั้นจะไม่ได้สู้ในโลกแห่งความจริง แต่จะสู้กันอีกมิติหนึ่งที่ทุกอย่างหยุดนิ่ง และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์และเครื่องยนต์หยุดนิ่ง ซึ่งเหล่าเทวทูตสามารถต่อสู้ได้เต็มที่ และไม่มีเลือดตกยางออก ความตาย หากเธอหรือเทวทูตประจำตัวได้รับบาดเจ็บแทนที่จะได้แผล กลายเป็นว่าเสีนแต่เงิน มี  (ทรัพย์สินส่วนตัว) เท่านั้น  ยิงโดนท่าไม้ตายมาก ยิงเสียเงินส่วนตัวของมาสเตอร์มาก

    เรียกว่าใครรวยกว่า เทวทูต (เซอร์เวนท์) ยิ่งเก่ง

    ประเด็นคือ นางเอกของเรานั้นแทบไม่มีเงินเลย ส่วนคู่ต่อสู้ของเธอเป็นเศรษฐีระดับพันล้าน ร่ำรวยเงินทอง ต่อสู้เพื่อชี้ชะตากรรมเศรษฐกิจของโลก (ในขณะที่เธอแค่อยากให้ครอบครัวมีความสุขเท่านั้น) และเธอก็อยากจะหลีกเลี่ยงสงครามครั้งนี้ แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แน่

    Hinmin, Seihitsu, Daifugou เป็นการ์ตูนที่ออกปี 2016 (น่าจะช่วงปลายปี เพราะตอนนี้มีไม่กี่ตอน) แต่ผมพึ่งมาอ่านปี 2017 นี่เอง ก็อย่างที่เห็นเนื้อหาอารมณ์คล้าย Fate เพียงแต่เรื่องนี้มันไม่มีฉากเลือดสาด เหมือนเรื่องที่ผ่านๆ มา สงสัยคนแต่งเขาเบื่อกลิ่นซากศพ กลิ่นเลือด มาเฟีย หันมาแต่งแนวลดความโหดอะไรบ้าง

    ส่วนตัวผมชอบเรื่องนี้ กว่าผลงานที่ผ่านมาของคนแต่ง แบบว่าตัวละครเรื่องนี้น่ารักดี โดยเฉพาะน้องฟันฉลามคู่หูนางเอกนี้เป็นอะไรที่โมเอะมาก จิกกัดเรื่องสังคมหน่อยๆ เกี่ยวกับสไตล์การต่อสู้ของแต่ละคร แน่นอนส่วนที่สนุกก็คือตัวละครวีรชนที่ปรากฏในเรื่อง ก็มานั่งเดาๆ ว่าเป็นใคร มีสกิลอะไร เรียกว่าเป็นตัวละครที่ไม่มีซีรีย์ Fate แน่นอน (ยกเว้นตัวละครหนึ่ง แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน-เพราะแปลจากญี่ปุ่นอีกที)

    อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยเรื่องนี้จำเป็นต้องแปลไทยอย่างเดียวจึงจะเข้าใจ และต้องรอลิขสัทธืโดยวิบูลย์กิจสถานเดียว ดังนั้นในบทความนี้คงจะเล่าเรื่องของมาสเตอร์และเซอร์เวนส์ประจำตังทั้ง 7 คู่ละกัน  ว่ามีใครคนไหนบ้าง (คำว่าเซอร์เวนท์ หรือคลาสนั้น ความจริงไม่ได้ปรากฏในเรื่องนี้หรอก เรื่องนี้ใช้เทวทูตแทน แต่เนื่องด้วยเนื้อหามันคล้ายๆ กัน เลยใช้ศัพย์ Fate ซะเลย)

     

     Seiya & Aurelia de Medici


    เซยะ (หรือเซย่า หว่า) นักเรียนมัธยมปลายที่มีแม่เป็นนักวาดการ์ตูนไม่ดังและทำงานหนักคนเดียว ทำให้เธออยากจะทำอะไรบางอย่างเพื่อบรรเทาภาระของแม่บ้าง ร่วมศึกครั้งนี้ด้วยเงินออม 3 ล้านเยนซึ่งเป็นเงินเข้ามหาลัย

    เซอร์เวนส์ (แอนซาซิน?) - ออเรลี เดอ เมดิชิ (Aurelia de Medici) น้องสาว (ไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์) ของลอเรนโซ เดอ เมดิชิ (Lorenzo de' Medici) ซึ่งเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญของฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลีในยุคเรอเนซองส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญในทางการปกครองเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะ การค้า และ เศรษฐกิจ

    ตระกูลเมดิซีเป็นตระกูลพ่อค้าร่ำรวยจากธุรกิจเงินตรา โดยเมดิซีตอนแรกเป็นเพียงเป็นกสิกรขายขนแกะในทางตอนเหนือ และสร้างตัวจนเป็นนายธนาคารผู้มั่งคั่งร่ำรวย และได้ก่อตั้งธนาคารเมดิซิ (The Medici Bank) ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป และตระกูลเมดิซิยังได้ขยายอิทธิพลและอำนาจทางการเมืองของพวกเขาจากอิตาลี...ไปจนทั่วยุโรปอีกด้วย อีกทั้งนิสัยชอบปถัมภ์นักปราชญ์/ศิลปินตามแนวเศรษฐียุคเรอเนสซองค์ มีอิทธิพลเทียบเท่ากษัตริย์ก็ว่าได้ ถึงขั้นส่งสมาชิกในตระกูลแต่งงานกับกษัตริย์ก็มี อีกทั้งคนในตระกูลจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา และมีชื่อเสียงจากมีการเป็นผู้อุปถัมภ์นักดาราศาสตร์คนสำคัญคือ กาลิเลโอ กาลิเลอี

    แต่ในขณะเดียวกันเมดิซียังเป็นตระกูลที่ฟาดฟันทางด้านการเงิน การเงิน และศาสนากับตระกูลคู่แข่งในยุคนั้นด้วย

    อย่างไรก็ตามเรื่องราวของพี่สาวออเรลี เดอ เมดิชิ มีไม่มากนัก หรือแทบไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์เลย (ถูกสมมุติขึ้น?) รู้แต่ว่าเป็นเพียงเงามืดในตระกูล แล้วพวกพี่ ๆ น้องๆ ญาติๆ เป็นคนสร้างความมั่งคั่งเท่านั้น และด้วยเป็นเพียงเงาประวัติศาสตร์เลยเป็นเซอร์เวนส์ที่อ่อนแอที่สุดในเรื่อง

     

    ฟูวะ & พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส


    มาสเตอร์-ฟูวะ เพื่อนของนางเอก รวยจากธุรกิจอสังหาริมทรัพยะห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง

    เซอร์เวนส์ (แลนเซอร์?) -พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (Philip IV of France l) ค.ศ. 1268 - ค.ศ. 1314) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตีย 

    พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ทรงได้รับพระนามว่า “le Bel” เพราะมีพระโฉมงาม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นกษัตริย์ที่ทะเยอทะยานและมีความชาญฉลาดในการปกครอง โดยเริ่มรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางของฝรั่งเศส จากที่เคยเป็นสังคมแบบขุนศึกศักดินา เลี้ยงดูข้าราชบริพารที่มีทักษะความสามารถสูง หลายคน การทำสงคราม การให้ญาติของพระองค์ได้ครองราชบัลลังก์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป ทำให้พระองค์ทรงมีอิทธิพลในการเมืองระหว่างประเทศสูง ทำให้ฝรั่งเศสขยายดินแดนมีเมืองอาณัติมากมาย 

    อัศวินเทมพลาร์ พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นหนี้เทมพลาร์จำนวนมากได้สั่งจับกุมมอแลและอัศวินเทมพลาร์ชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆ และทรมานให้สารภาพผิดในข้อหาเท็จถึง 7 ปี เมื่อมอแลกลับคำรับสารภาพในภายหลัง พระเจ้าฟิลิปจึงสั่งประหารโดยการเผาทั้งเป็นบนเกาะกลางแม่น้ำแซนในปารีสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1314 

    ก่อนที่จะตายมอแล สาปแช่งศัตรูของเขาว่าฟิลิปจะตายภายในหนึ่งปีและสายเลือดของเขาจะล่มสลายไปจากยุโรป และเป็นไปตามคำสาปแช่ง ฟิลิปเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ส่วน ลูกหลานและหลานชายของฟิลิปก็สิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควร ทำให้เชื้อสายของฟิลิปล่มสลายไปในที่สุด


    ฮิวตัน &พระนางอาร์เทมิเซียแห่งคาเรีย


    หนุ่มน้อยที่เป็นประธานบริษิทชั้นนำที่มีทั้ง โรงพยาบาล ประกันภัย เข้าร่วมศึกเพื่อความมั่งคั่ง

     เซอร์เวนส์ (อาเชอร์) -(พระนางอาร์เทมิเซียแห่งคาเรีย (Artemisia I of Caria) - หลายคนอาจรู้จักเธอจากเรื่อ300 ที่ประวัติว่าอาร์เทมีเชียเป็นชาวกรีก แต่ครอบครัวของเธอถูกทหารกรีกฆ่าตาย ส่วนเธอถูกส่งไปเป็นทาส ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากทูตชาวเปอร์เซียที่ฝึกให้เธอกลายเป็นนักรบและรับใช้กษัตริย์ดารีอัส และทำการรบเทมิสโตคริส (Themistocles) ในทะเลอีเจียน โดยเธอเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ เธมิสโตคลีสล่อทัพเรือเปอร์เซียเข้าไปติดกับแล้วทำลายทัพเปอร์เซียจนย่อยยับ อาร์เทมีเชียซึ่งประทับใจในความสามารถของเธมิสโตคลีสขอพบเขา ทั้งสองพบกันบนเรือเปอร์เซียและมีเพศสัมพันธ์กัน อาร์เทมีเชียพยายามโน้มน้าวให้เธมิสโตคลีสย้ายข้าง แต่เธมิสโตคลีสปฏิเสธ และทั้งสอฃก็สู้กัน ผลสุดท้ายเธมิสโตคก็ได้ฆ่าอาร์เทมีเชีย

    อย่างไรก็ตาม ประวัติแท้จริงของนางมีเกียรติกว่านั้น พระนางอาร์เทมิเซียแห่งคาเรีย เธอเป็นผู้ปกครองคาเรีย หรือ ฮาลิคาร์นัสซัส(ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของตรุกี) ต่อจากสามีนาง และได้เป็นพันธมิตรกับพระเจ้าเซอร์ซีสแห่งเปอร์เซีย ช่วงการรุกรานกรีกครั้งที่สอง ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีและผู้บัญชาการกองเรือรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิเปอร์เซีย ได้รับการยกย่องด้านอัจฉริยภาพและความสามารถด้านยุทธศาสตร์

    อาร์เทมีเชียไม่ได้รับบ้าคลั่ง บ้าพลังเหมือนในภาพยนตร์ เธอมักเป็นที่ปรึกษาเซอร์ซีสเกี่ยวกับทางรบทางน้ำ โดยเธอเน้นให้ออมกำลังฝั่งเรา ห้ามเสี่ยงโดยไม่จำเป็น (เธอยกย่องการรบในน้ำของเอเธนส์ว่าเหนือกว่าอยู่ตลอด) และนั้นทำให้การรบทางทะเลของเปอร์เซียแข็งแกร่งมาก เอาชนะหลายครั้ง แน่นอนเวลาออกรบเธอเป็นเหมือนเทพสงคราม สามารถฆ่าทหารที่เป็นผู้ชายแข็งแกร่งไปหลายคน

    นักประวัติศาสตร์ต่างยกย่องเธอว่าเป็นผู้นำที่เฉลียวฉลาด และมีอิทธิพลต่อเซอร์ซิส ซึ่งแม้แต่เซอร์ซิสต่างยกย่องความกล้าหาญของเธอ อีกทั้งเธอไม่จองหอง รู้จักการพูดจา

    กลยุทธ์ที่โดดเด่นของพระนางคือการสลับธงเรือของทั้งกรีกและเปอร์เซียขณะรบ เมื่อไล่ล่าเรือรบของกรีกพระนางจะสั่งให้ทหารติดธงของเปอร์เซีย แต่เมื่อเสียเปรียบธงจะถูกเปลี่ยนเป็นธงกรีกแทน เพื่อให้ทหารกรีกเข้าใจผิดว่าทัพเรือของพระองค์เป็นฝ่ายเดียวกัน (แถมกลยุทธ์นี้ทำให้เธอรอดตายด้วย)

    อย่างไรก็ตาม ในการรบแตกหักที่ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Battle of Salamis) ฝ่ายเปอร์เซียมีเรือรบมากกว่ากรีกเป็นเท่าตัว หากแต่ภูมิประเทศเป็นที่แคบทำให้อาร์เทมิเซียได้บอกว่ามันเสี่ยงเกินไปที่จะรบ แตเซอร์ซิสกลับเชื่อที่ปรึกษามากกว่า ทำให้จำใจต้องทำการรบ และผลก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ กองเรือขนาดใหญ่ของเปอร์เซียกลายเป็นอุปสรรคขวางกันเองในภูมิประเทศที่คับแคบไม่คล่องตัว กลายเป็นเป้าทหารกรีกรุมยำ 

    นอกจากนี้เธอไม่ได้ตายจากสงคราม เธอหนีมาได้ (จากการสลับธงนั้นแหละ) ต่อมาเธอตกหลุมรักชายคนหนึ่ง แต่เขาไม่ได้รักเธอ ก่อนที่เธอจะฆ่าตัวตายจากการกระโดดหน้าผา (บางตำนานบอกว่าชายคนนั้นท้าให้โดดพิสูจน์ความรัก)


    มาเรีย& คิงไมดาส


    เอาง่ายๆ คาแร็คเตอร์มาเรียแทบถอดแบบมาจาก อิลิยา เป็นราชินีผู้เอาแต่ใจ (เหมือนเด็ก) จากอาณาจักร Aquitaine ในประเทศเล็ก ๆ ที่มีอยู่ในสาธารณรัฐฝรั่งเศส แม้จะเป็นประเทศเล็กๆ แต่เป็นประเทศที่รวยมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเงิน การบริหาร ประชาชนก็อยู่ดีกินดี เอาง่ายๆ น้องๆ ประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นสงครามครั้งนี้ต้องการแสดงความยิ่งใหญ่ด้วยเงินทั้งหมดในประเทศ

    เซอร์เวนท์ (ไรเดอร์) คิงไมดาส -ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเซอร์เวนส์มังงะเรื่องนี้ ไม่ได้เน้นเซอร์เวนส์เน้นการต่อสู้ แต่เน้นเป็นบุคคลที่ประวัติศาสตร์ที่ฉลาด ไม่ก็ร่ำรวย มีอำนาจ มากกว่า จะเอาพวกจนๆ ก็ไม่ไหว (ไม่เอา แมนซา มูซาไปเลยละ) 

    ไมดาส เป็นชื่อของกษัตริย์ที่ปกครองนครไฟร์เกีย พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้ากลอดิอุส โดยไมดาสสืบทอดพระราชสมบัติต่อจากพระบิดา ซึ่งในเวลานั้นนครไฟร์เกียเป็นหนึ่งในนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองที่สุดนครหนึ่ง

    อย่างไรก็ตาม คิงไมดาสเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นคนโดนคำสาปเทพสองเด้ง คำสาปแรก ตอนแรกเป็นพร ที่พระองค์ได้ขอพรจากเทพไดโอนีซุสขอให้ทุกสิ่งที่ตนสัมผัสนั้นกลายเป็นทองคำทั้งหมด ตอนแรกๆ ไมดาสดีใจที่ได้พรนี้มาก หากแต่ เมื่อถึงเวลาที่จะเสวย คิงไมดาสก็ทรงพบว่า ทั้งอาหารและน้ำที่พระองค์สัมผัสกลายเป็นทองคำจนหมดสิ้น ทำให้พระองค์ไม่สามารถเสวยสิ่งใดได้เลย

    แต่เรื่องของไมดาสที่แสนน่าสงสารยังไม่จบเพียงเท่านั้น ต่อมาเทพอพอลโลเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้ขอให้พระองค์ทรงตัดสินการแข่งเล่นดนตรีระหว่างอพอลโลและแพน (บางตำนานบอกว่าอพอลโลดีดพิณ ส่วนแพนเป่าขลุ่ย) ว่าใครเก่งกว่า ซึ่งไมดาสได้ตัดสินเข้าข้างแพน

    ไม่รู้ไมดาสตัดสินยุติธรรมหรือไม่ก็ตาม แต่อพอลโลไม่พอใจไมดาสเป็นอย่างมาก อพอลโลจึงสาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที โทษฐานที่หูฟังไม่ได้เรื่อง ไมดาสจึงอับอายมากจึงได้สวมหมวกทรงสูงตลอดเวลามีคนเดียวที่รู้ว่าหูของไมดาสเป็นหูลา คือช่างตัดผมของไมดาสนั่นเอง ซึ่งช่างตัดผมคนดังกล่าวอึดอัดเรื่องนี้มากจึงระบายด้วยการ ขุดหลุม แล้วตะโกนว่า พระราชาไมดาสมีหูเป็นลาต้นอ้อบริเวณนั้นได้ยินจึงโอนเอนกระซิบบอกต่อกันไปเรื่อยๆจนข่าวกระจายทุกคนรู้กันไปทั่ว (บ้างก็ว่าตะโกนไปยังบ่อน้ำร้างและต่อมาเสียงสะท้อนก็ดังออกมาจนคนอื่นได้ยินไปทั่ว)

    กษัตริย์ไมดาสนั้นอับอายเป็นอันมากจึงได้สละบัลลังก์แล้วหนีไปซ่อนตัวในป่าไม่ให้ใครเห็นอีกเลย


    มาสเตอร์ คาซูยะ คาซุ และ เคียวจิ คาโดคุระ  & ฌักแห่งมอแล


    มาสเตอร์ คาซูยะ คาซุ และ เคียวจิ คาโดคุระ เป็นตัวแทนบริษัทที่เข้าร่วมแข่งเกม โดยสองคนถือว่าเป็นคนเข้าแข่งเกมคนเดียว  และเป็นคู่ต่อสู้แรกๆ ที่นางเอกต่อสู้ (และเป็นพันธมิตรด้วย)

    เซอร์เวนท์ (เซเบอร์)-ฌักแห่งมอแล (Jacques de Molay ) เป็นผู้นำคนที่ 23 และคนสุดท้ายของอัศวินเทมพลาร์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 20 เมษายน ค.ศ. 1292 จนกระทั่งภาคีถูกยุบโดยคำสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 5 ในปี ค.ศ. 1312

    อัศวินเทมพลาร์เริ่มต้นเป็นหน่วยรบที่มีฝีมือที่สุดในสงครามครูเสด และเริ่มมีชื่อเสียงจากการจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของศาสนจักร เริ่มก่อตั้งธนาคาร และสร้างป้อมปราการมากมายทั่วยุโรปและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

    องค์กรเทมพลาร์มั่งคั่งอย่างรวดเร็วจากการปล่อยกู้เงินจำนวนมากให้แก่ขุนนางและกษัตริย์ จนทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเป็นหนี้เทมพลาร์มหาศาลพยายามที่จะเบี้ยวหนี้ จึงจับกุมมอแลและอัศวินเทมพลาร์ชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆ และทรมานให้สารภาพผิดในข้อหาเท็จถึง 7 ปี เมื่อมอแลรับสารภาพในภายหลัง พระเจ้าฟิลิปจึงสั่งประหารโดยการเผาทั้งเป็นบนเกาะกลางแม่น้ำแซนในปารีสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1314 

    หลังการเสียชีวิตของมอแล สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 5 ได้สั่งสลายเทมพลาร์ในปี ค.ศ. 1312 แต่ถึงอย่างนั้นหลายคนเชื่อว่าอัศวินเทมพลาร์ยังคงหลบซ่อนอยู่ในเงามืด ก่อให้เกิดทฤษฏีต่างๆ มากมาย ถึงการคงอยู่ของ "เทมพลาร์" จนถึงทุกวันนี้


    ฮารุ อาเบะโนะ & พาราเซลซัส

                   

               มาสเตอร์ ฮารุ อาเบะโนะ เด็กสาวที่ร่ำรวยจากบริษัทยักษ์ใหญ่ สาวแว่น สาวแกร่ง (ซึ่งต้องเข้าใจว่าคนแต่งชอบสร้างตัวละครหญิงที่เป็นหญิงแกร่ง มีอำนาจเหนือกว่าผู้ชาย)

                    เซอร์เวนท์ (แคสเตอร์)  พาราเซลซัส (หรือ Theophrastus Bombastus von Hoehenheim; ค.ศ. 14931541) เป็นชาวเยอรมันในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ฉลาด เก่งทุกอย่างไม่ว้าจะเป็น นักฟิสิกส์, นักพฤกษศาสตร์, นักเล่นแร่แปรธาตุ, นักดาราศาสตร์ แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือเขาถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งพิษวิทยา ศาสตร์แห่งพิเศษ ที่สามารถใช้พิษรักษาคนได้ จนถูกยกย่องว่าเป็นผู้ใช้เวทมนตร์แห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

                    พาราเซลซัสเป็นคนค้นพบธาตุสังกะสี และพิสูจน์ว่ามันทำให้เกิดความเจ็บป่วยแก่คนงานเหมือง (และในขณะเดียวกันยังเป็นคนริเริ่มการใช้ธาตุในการรักษาโรคด้วย) และยังเชื่อเรื่องจิตวิทยามีผลต่อการเจ็บป่วยมากมาย เพื่อให้มนุษย์สุขภาพดีจะต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ นอกจากนี้เขายังศึกษาดาราศาสตร์จนคิดค้นเครื่องรางของขลังทางดาราศาสตร์สำหรับป้องกันโรคด้วยใช้สัญลักษณ์ 12 นักษัตรโดยแต่สัญลักษณ์ก็จะป้องกันโรคได้แตกต่างกัน และเขายังได้ประดิษฐ์อักษรเวทมนตร์เพื่อสลักชื่อเทพลงในเครื่องรางตามแบบฉบับของเขาด้วย

                    ด้วยความหยิ่งยโสของแพราเซลซัสเป็นที่เลื่องลืออย่างมากทำให้นักฟิสิกส์ทั่วทั้งยุโรปโกรธเกลียดเขา นั่นทำให้เขาดำรงตำแหน่งแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบาเซิลได้ไม่ถึงปี ในขณะที่มีเพื่อนร่วมงานของเขากล่าวหาว่าเขาเป็นคนเผาตำราแพทย์พื้นเมือง จากนั้นเขาก็ถูกขับไล่ออกจากเมือง หลังจากถูกขับออกจากเมืองแพราเซลซัสก็ได้ระเหเร่ร่อนไปยัง ยุโรป แอฟริกา และเอเชียบางส่วนเพื่อศึกษาความหาความรู้เพิ่มเติม เขาได้แก้ไขตำราและเขียนขึ้นใหม่ หลังเขาเสียชีวิต เขาก็ได้รับยกย่องว่าผู้บุกเบิกวงการแพทย์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน

     

    นายูกิ & โรลโลดยุกแห่งนอร์ม็องดี  


    มาสเตอร์ นากาสุมิ นายูกิ(ผู้ชายนะเออ) หนุ่มหน้าสวยนิสัยเหมือนเวเวอร์  คือขี้ขลาด โลกสวนตัวสูง และเก่งคอมพิวเตอร์

    เซอร์เวนท์ (เบอร์เซิร์เกอร์) โรลโลดยุกแห่งนอร์ม็องดี  หรือ รอลโล  (Rollo  ค.ศ. 846 – 930) เป็นชาวไวกิ้งที่กลายเป็นผู้ปกครองคนแรกของนอร์ม็องดี  และถูกบันทึกในฐานะผู้นำของผู้ตั้งรกรากชาวไวกิ้ง  ชื่อสแกนดิเนเวียของเขาคือ  กาอาง รอล์ฟ เนื่องจากเขามีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ม้าโตเต็มวัยจะแบกไหว เขาจึงต้องเดิน

    รอลโลปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะบุคคลที่โดดเด่นท่ามกลางชาวนอร์ส ที่มีฐานที่มั่นถาวรที่มั่นคงบนผืนแผ่นดินของชาวแฟรงก์นหุบเขาแม่น้ำเซนล่าง พระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่าย กษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย ยกดินแดนระหว่างปากแม่น้ำเซนกับเมืองรูอ็องในปัจจุบันให้เขา แลกกับการให้รอลโลยินยอมยุติการปล้นทรัพย์และให้การคุ้มกันชาวแฟรงก์จากการรุกรานของชาวไวกิ้งในอนาคต

    หลังจากการตายของโรลโล บุตรชาย วิลเลี่ยมผู้ดาบยาวได้สืบทอดต่อ และ ลูกหลานชายของเขายังคงปกครองนอร์มังดีจนกระทั่งปี ค.ศ. 1204


    สรุปตัวละครคร่าวๆ มีเพียงแค่นี้ แต่อย่าภามว่าเนื้อหาเป็นยังไง เราได้อะไรจากเรื่องนี้    ผมไม่รู้อะไรทั้งสิ้น เพราะว่า การ์ตูนเรื่องนี้กำลังรอแปลไทย อังกฤษแปลได้สองตอนแถมเป็นช่วงแนะนำตัวละครต่างๆ   และตอนนี้ตอนใหม่ออกเพียง 20 ตอน (รวมเล่มเพียง 4 เล่มเท่านั้น)  เลยว่าไม่รู้ว่าต้องสู้ยังไง กติกามีอะไรบ้าง และนางเอกจะเอาอะไรสู้   ตอนนี้ยังไม่รู้เลย สิ่งที่ผมต้องเขียนในบทความนี้ก็เพราะว่ามันน่าสนใจดีกับการนำ Fate มาดัดแปลงกลายเป็นเรื่องใหม่ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

    ยังคงรอลิขสิทธิ์เรื่องนี้อยู่......   

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×