ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #429 : รีวิวแบบแมวๆ Winter Anime 2016 – 2017 กำลังรอดูไบโอ 7 แบบใจจดจ่อ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3K
      5
      26 เม.ย. 60

    และแล้วก็มาถึงรีวิวแบบแมวๆ อนิเมะ Winter Anime 2016 2017 รับลมหนาว (?)  แม้ว่าโลกของเรา ไปจนถึงประเทศของเราจะมีเหตุการณ์น่าปวดหัวตลอด แต่อนิเมะการ์ตูนญี่ปุ่นแล้วต้นปี 2017 ถือว่าใช้ได้ เพราะมีหลายแนว ไม่ได้โอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เหมือนซึซั่นช่วงปลายปี 2016 และก็มีอนิเมะที่หลายคนติดตาม (แม้บางเรื่องจะได้รับการวิจารณ์ไปในด้านลบ แต่หลายคนก็ซึนเดเระดูอยู่ดี)

    อย่างที่บอกว่าอนิเมะ Winter Anime 2016 2017 ค่อนข้างมีหลายแนว มีทั้งดราม่าปวดตับ-น่าปวดหัว (ฟูกะ), คอเมดี้, ฮาเร็ม, แฟนตาซี, โมเอะ ฯลฯ รวมไปถึงแนว จิ้นวาย ไอดอล แนวที่หลายคนที่ไม่ตระหนักว่ามันเยอะขึ้นด้วย

    อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายแนว แต่เรื่องที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกอนิเมะจากต้นฉบับ (มังะ และนิยาย) เสียมากกว่า ส่วนออริจินอลนั้นไม่ค่อยหวืดหวาอะไรมากนัก อีกทั้งต้นปีก็แบบนี้แหละ อนิเมะน่าสนใจเยอะ หลายแนว แต่พอมากลางปี ท้ายปี ค่อนไปทางอื่นหมดเลย ทำเอาผมเซ็ง

    บ่นมาเยอะแล้ว ต่อไปนี้ก็ขอรีวิวอนิเมะที่ดูแล้วละกัน โดยอนิเมะซีซั่น Winter Anime 2016 2017 มีดังต่อไปนี้

    (ปล. สีเหลืองคืออนิเมะที่ผมดูและไม่ผิดหวัง, สีน้ำเงินดูผ่านๆ ดูเรื่อยๆ  และ สีแดงเหม็นขี้หน้า)

    (ปล. เรื่องสียังไม่สมบูรณ์เพราะกำลังไล่ดูอนิเมะอยู่ บางเรื่องยังไม่ได้ดูเลย อาจใช้เวลาสักนิด)

     

    3-gatsu no Lion – Shaft

    ACCA: 13-ku Kansatsu-ka – Madhouse Studios – TV – 10 มกราคม 2017

    AKIBA’ S TRIP: THE ANIMATION – Gonzo – TV – 4 มกราคม 2017

    ALL OUT!! – Madhouse Studios – TV – 16 ธันวาคม 2016

    Ao no Exorcist: Kyoto Fujouou-hen – A-1 Pictures – TV – 7 มกราคม 2017

    BanG Dream! – Xebec – TV –

    Chaos;Child – Silver Link – TV – 11 มกราคม 2017

    Chiruran: Nibun no Ichi – LandQ studios – TV Short – 10 มกราคม 2017

    Choboraunyopomi Gekijou Dai Ni Maku ai mai mi: Surgical Friends – Seven – TV Short – 3 มกราคม 2017

    ClassicaLoid – Sunrise – TV – 17 ธันวาคม 2016

    Demi-chan wa Kataritai – A-1 Pictures – TV – 8 มกราคม 2017

    ēlDLIVE Studio Pierrot TV

    Fuuka – diomedea – TV – 6 มกราคม 2017 (ล่าสุดจะซ้ำรอยหญิงโฉด ชายชั่วอีกแล้ว)

    Gabriel DropOut – Dogakobo – TV – 9 มกราคม 2017

    Gintama (2017) – TV – 9 มกราคม 2017

    GRANBLUE FANTASY The Animation – A-1 Pictures – TV –

    Hand Shakers – GoHands – TV – 11 มกราคม 2017

    Idol Jihen – MAPPA – TV – 8 มกราคม 2017

    Kemono Friends – TV – 11 มกราคม 2017

    Kidou Senshi Gundam: Tekketsu no Orphans 2 – Sunrise – TV – 18 ธันวาคม 2016

    Kobayashi-san Chi no Maidragon – Kyoto Animation – TV – 12 มกราคม 2017

    Kono Subarashii Sekai ni Shukufuku wo! 2 – – TV – 12 มกราคม 2017

    Kuzu no Honkai – Lerche – TV – 13 มกราคม 2017

    Little Witch Academia (TV) – Trigger – TV – 9 มกราคม 2017

    Marginal#4 KISS Kara Tsukuru Big Bang – J.C. Staff – TV – 12 มกราคม 2017

    Masamune-kun no Revenge – Silver Link – TV – 5 มกราคม 2017 (ยอมรับ ว่าผมเหม็นขี้หน้าเรื่องนี้มากๆ)

    Minami Kamakura Koukou Joshi Jitensha-Bu – J.C. Staff – TV – 7 มกราคม 2017

    Monster Hunter Stories: RIDE ON – David Production – TV – 18 ธันวาคม 2016

    Nyanbo! – Shirogumi – TV Short – 20 ธันวาคม 2016

    nyanko-days – EMT Squared – TV Short – 8 มกราคม 2017

    One Room – Typhoon Graphics – TV Short –

    Onihei – Studio M2 – TV – 10 มกราคม 2017

    Piace: Watashi no Italian – Zero-G – TV Short – 11 มกราคม 2017

    Reikenzan: Eichi e no Shikaku – Studio Deen – TV – 12 มกราคม 2017

    Rewrite / 2nd Season Moon-Hen/Terra-Hen – 8bit – TV

    SCHOOLGIRL STRIKERS Animation Channel – J.C. Staff – TV – 7 มกราคม 2017

    Seiren – Studio Gokumi – TV – 6 มกราคม 2017

    Sengoku Choujuu Giga – ILCA – TV Short – 18 ธันวาคม 2016

    Sentai Heroes SUKIYAKI FORCE – Studio 4°C – TV Short – 9 มกราคม 2017

    Shouwa Genroku Rakugo Shinjuu: Sukeroku Futatabi-hen – Studio Deen – TV – 7 มกราคม 2017

    SUPER LOVERS 2 – Studio Deen – TV – 12 มกราคม 2017

    Tales of Zestiria the X 2 – ufotable – TV – 8 มกราคม 2017

    Tiger Mask W – Toei Animation – TV – 18 ธันวาคม 2016

    TRICKSTER: Edogawa Rampo “Shounen Tantei-dan” yori – TMS Entertainment – TV – 20 ธันวาคม 2016

    TRINITY SEVEN Movie – Movie – 25 กุมพาพันธ์ 2017

    Urara Meirochou – J.C. Staff – TV – 6 มกราคม 2017

    Yami Shibai 4 – ILCA – TV Short

    Yasamura Yasashi no Yasashii Seikai – DLE – TV Short

    Youjo Senki – – TV – 6 มกราคม 2017

    Yowamushi Pedal: NEW GENERATION – TV – 10 มกราคม 2017

     

    Youjo Senki 

    เริ่มต้นก็ขอพูดถึงอนิเมะประจำซีซั่น (ว่าไปนั้น) ที่หลายคนรอคอย และผมโครตติดตาม อย่าง Youjo Senki  เป็นผลงานที่สร้างมาจากต้นฉบับนวนิยายไลท์โนเวลที่แต่งด้วยนักเขียนผู้ใช้นามปากกาว่า Carlo Zen และวาดภาพประกอบโดย Shinobu Shinotsuki ตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มภายใต้เครือของ Enterbrain ครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมปี 2013 จนถึงปัจจุบันออกมาแล้ว 7 เล่มด้วยกัน นอกจากนี้ยังถูกนำมาเขียนเป็นต้นฉบับมังงะที่วาดโดยอ.Chika Toujou จนกระทั่งผลงานเรื่องนี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมชั่นทีวีซี่รี่ส์โดยได้ทางสตูดิโอ NUT เป็นผู้อำนวยการสร้าง ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 6 มกราคมปี 2017

    โดยเนื้อหาเรื่องราว เกิดที่ต่างโลก แต่โลกที่ว่าไม่ใช่แฟนตาซี หรือโลกยุคกลาง หากแต่เป็นโลกที่เทคโนโลยีเหมือนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่กำลังเกิดสงคราม (ซึ่งมันก็คล้ายๆ สงครามโลกครั้งที่ 1 ) โดย รัฐที่เรียกว่าฝ่ายจักรวรรดิ (The Imperial) เป็นรัฐที่ขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยทรัพยากรและบุคคล (เอาง่ายๆ เหมือนเยอรมนี สงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงแต่คราวนี้ไม่ได้รุกรานใครเฉยๆ ) กำลังถูกรัฐเพื่อนบ้านที่อยู่รอบข้าง รอบทิศรุมโจมตีอย่างต่อเนื่อง ทำให้สงครามชายแดนดุเดือด ผู้คนล้มตายไปจำนวนมาก

    การรบของต่างโลกนั้น คล้ายๆ กับสงครามโลกครั้งที่ 1 มีปืนใหญ่ มีปืนไรเฟิล มีสนามเพลาะ เพียงแต่สิ่งที่แตกต่างจากโลกของเราคือ สงครามต่างโลก มีคนเหาะลอยได้ ใช้ปืนเวทมนต์จโจมตี โดยพวกเขาเรียกว่า “จอมเวทย์” ที่ใช้พลังเวทย์มนต์ที่มีตั้งแต่กำเนิดมาผสานกับเทคโนโลยีทางการทหาร ทำให้กลายเป็นทหารที่เก่งกาจ เก่งกว่าคนทั่วไป สามารถทำภารกิจหลายอย่าง เช่น สอดแนมศัตรู ยิงปืนทำลายฝูงข้าศึก (พลังอำนาจมากกว่าปืนใหญ่ธรรมดา)  ทำให้เป็นกำลังสำคัญที่ขาดไม่ได้สนามรบ

    แม้ว่าฝ่ายจักรวรรดิจะโดนประเทศรอบข้างรุกรานแบบไม่ให้พักหายใจ  แต่ท่ามกลางสงคราม ก็ได้มีวีรสตรีคนหนึ่งชื่อทาเนีย เดอกูเรเชฟฟ์เด็กผู้หญิงตัวเล็กไต่ตำแหน่งในกองทัพไปตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 15  จนได้เป็นหน่วยจอมเวทย์เวหาแห่งจักรวรรดิ (Imperial Army Aerial Sorcerer) ที่ได้เข้าร่วมรบในสงคราม แนวหน้าจนสามารถสร้างผลงานเอาชนะหลายครั้ง

    แท้จริงเนื้อในของทาเนียเป็นเพียงมนุษย์เงินเดือนที่เป็นหัวหน้าแผนกในบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ตัวเขานั้นพวกที่ทำตามตรรกะ ไม่สนเรื่องจิตใจของคนอื่น ทำทุกอย่างเพื่อองค์กร  และนั้นเป็นเหตุทำให้เขาเสียชีวิตจากการถูกผลักให้ตกไปบนรางรถไฟจนถูกรถไฟทับตาย เพราะลูกน้องที่เจ็บแค้นเพราะถกเขาไล่ออก  จากวิญญาณของเขาขึ้นไปสู่สวรรค์และได้พบกับ พระเจ้าที่มีหน้าที่ส่งวิญญาณไปเกิดใหม่ หากแต่พนักงานเงินเดือนคนนั้นไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าซ้ำยังดูถูก ทำให้พระเจ้าโกรธ จึงส่งวิญญาณเขาไปกำเนิดใหม่เป็นเด็กผู้หญิงในโลกยุคสงครามปี 1914 เพื่อสั่งสอนเขาให้รู้ซึ้งว่าโลกโหดร้ายเป็นยังไง

    อย่างไรก็ตาม พนักงานคนนั้นยังคงเกลียดพระเจ้า ซ้ำยังเรียกว่า “สิ่งมีชีวิตX” และพยายามใช้ชีวิตแบบสบายในโลกสงครามนี้ ด้วยการเป็นทหาร (เพราะเป็นอาชีพที่ดีที่สุดในโลกนี้) และต้องเป็นทหารแบบนั่งโต๊ะสบาย  จึงพยายามสร้างผลงาน เพื่อได้ตำแหน่งสบายๆ แต่กลายเป็นว่ายิ่งสร้างผลงาน ผลออกมามันดีเกินกว่าจะให้มานั่งทำงานบนโต๊ะเฉยๆ ทำให้หลายฝ่ายเห็นว่าสมควรเป็นแนวหน้าสนามรบซะงั้น 

      ครับ อย่างที่บอกเอาไว้ Youjo Senki คือหนึ่งอนิเมะที่หลายคนติดตามในซีซั่นนี้ ซคางหลายคนเรียกเรื่องนี้แบบจำง่ายๆ ว่านาซีโลลิ ทั้งๆ ที่จริงแล้วในเรื่องไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับนาซีเลยแม้แต่น้อย เพราะเนื้อหาอิงมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนตรากางเขนที่เป็นเครื่องแบบทหารนั้นไม่ได้เป็นตรสวัสดิกะของนาซี แต่เป็นตรากางเขนเหล็กที่มีมานาน (ก่อนนาซีด้วยซ้ำ) แถมปัจจุบันตรานี้ยังเอามาเป็นเหรียญกล้าหาญอยู่

    หากพูดถึงต่างโลกแล้ว หลายคนอาจนึกถึงแฟนตาซี หากแต่เรื่องนี้ตรงกันข้ามเพราะเนื้อหาเป็นยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกเครื่องแบบทหาร แถมพระเอก (ที่เป็นตาลุง) เกิดใหม่ในร่างของเด็กสาวตัวเล็กๆ อีกต่างหาก แถมเนื้อหาเกี่ยวกับนิสัยของพระเอก (หรือนางเอก) ออกไปทางเทาๆ  (ไม่ดาร์กมาก) ที่พยายามสร้างผลงานในสนามรบ แตกต่างจากพระเอกแนวเดียวกัน   ทำให้เนื้อเรื่องแปลกใหม่ น่าสนใจ น่าติดตาม กว่านิยายต่างโลกแนวอื่นๆ ที่ช่วงนี้มีแต่ซ้ำซาก น่าเบื่อ ไลฟ์สไตล์กันเข้าไป (แต่บางเรื่องผมโครตชอบนะ อย่าง อ่านมังงะออกก็เทพแล้ว)

    คนที่ติดตามนิยาย และมังงะมาก่อนหน้า พอได้ยินข่าวอนิเมะจะออกนี้ โครตดีใจ หากแต่เมื่อเห็นลายเส้นอนิเมะแล้ว หลายคนแทบรับไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้นออกแบบตัวละครโครตเผา โดยเฉพาะสองสาวตัวหลักของเรื่อง ทันย่าปากเป็ด และ วิซ่า (ผู้ช่วยของทันย่า) หน้าตาคล้ายปลาดุกมากๆ (คือไม่น่ารักนั้น) ทั้งๆ ที่ภาพประกอบและ

    อย่างไรก็ตาม  แม้จะมีคนบ่นเรื่องหน้าตาตัวละครที่ออกแบบมาได้ปลาดุกมากๆ แต่ถึงอย่างนั้นเนื้อเรื่องหลังจากที่ฉายไป ก็สนุก น่าติดตามมาก โดยเฉพาะการสร้างบรรยากาศความโหดร้ายของสงคราม รวมไปถึงฉากต่อสู้รบกลางเวหา (ที่ตอนแรกๆ คิดว่ามันเป็นสิ่งดูแล้วไม่เข้ากับเรื่องสุด)  ก็ทำได้ออกมาอย่างสนุก  ทั้งรวดเร็ว ตื่นเต้น แอบโหด (เลือดสาด หัวขาด ระเบิดเป็นจุล)

     ส่วนในเรื่องความแตกต่างรายละเอียดระหว่างอนิเมะกับต้นฉบับนิยายนั้น ก็เข้าใจว่าตัดรายละเอียดไปเยอะ (ตัวนิยายนี้บรรยายเยอะและยาวมาก )   ซึ่งคนทำอนิเมะก็เข้าใจดี จึงทำอนิเมะให้กระชับ  ตัดรายละเอียดที่ซับซ้อนออกไป เน้นเอาส่วนที่สนุกเข้ามา  และก็ทำตรงกับเป้าหมายของอนิเมะคือ การจูงใจให้คนดูมาสนใจติดตามนิยาย (และมังงะ) มากขึ้น หรืออ้อมๆ ว่า ดูอนิเมะแล้วขัดใจรายละเอียด ก็ให้ไปอ่านนิยายซะ ประมาณนั้น ซึ่งมันก็ได้ผล เพราะทำให้ผมที่ตอนแรกไม่สนใจนิยาย และไม่คิดจะซื้อแม้แต่นิดเดียว   หันมาสนใจนิยายจนได้ หยองจริงๆ

    สรุปว่า Youjo Senki แม้ตัวละครออกแบบปากเป็ดหน้าปลาดุก  แต่เนื้อหาก็ทำออกมาเข้าใจง่าย น่าติดตาม ไม่ซับซ้อนเหมือนในนิยาย  เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้อ่านนิยายมาก่อน และมีความสนใจที่จะเริ่มต้นอ่านนิยายเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ที่สำคัญทันย่าแสยะยิ้มที่เป็นจุดขายเรื่องนี้ ก็ยังดูดีกว่าที่คิดไว้

     

    Kono Subarashii Sekai ni Shukufuku wo 2

    หลังจากภาคแรกประสบความสำเร็จแบบมึนๆ Kono Subarashii Sekai ni Shukufuku wo ซีซั่น 2 ก็ตามมา ซึ่งคราวนี้ก็ยังคงวุ่นวายเหมือนเดิม

    Kono Subarashii Sekai ni Shukufuku wo เป็นนิยายตลกแฟนตาซี ผลงานของ Natsume Akatsuki และวาดภาพประกอบโดย Kurone Mishima ซึ่งตอนแรกเป็นนิยายเน็ต ต่อมาได้ตีพิมพ์รวมเล่มเป็นนิยายและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จนมีภาคแยก ภาคเสริม และทำเป็นอนิเมะในปี 2016 โดยเป็นเรื่องเรื่องราวของนีทคนหนึ่งชื่อ ซาโต้ คาซึมะ  เป็นเด็กติดเกมที่เก็บตัวอยู่บ้าน แล้ว ตายลงอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทว่า เทพธิดาองค์หนึ่งผู้มีชื่อว่าอควอก็มาปรากฏตัวและถามเขาว่า ต้องการไปเกิดใหม่ที่โลกแฟนตาซีไหม?” และให้เขาเลือกของวิเศษติดตัวไปได้หนึ่งอย่าง คาซึมะจึงเลือก เทพธิดาหรืออควอเป็นของติดตัวไปต่างโลกแทน และคาซึมะก็ได้พบว่าเทพธิดาองค์นี้โครตไร้ประโยชน์มากๆ

    อย่างที่หลายคนได้ดูภาคแรก ดูยังไงก็ไม่น่าจะดัง เพราะภาพโครตเผา ตัวละครหน้าตา รูปร่างบิดเบี้ยว นมอย่างกับสไลม์ แต่ด้วยเนื้อเรื่องที่จิกกัดนิยายต่างโลก บวกกับตัวละครที่โครตโดดเด่น ตัวพระเอกไม่ต้องสูตรโกง (แต่ฉลาดแกมโกง) และบวกกับเนื้อหาของอนิเมะแม้จะตัดตอน แต่ไม่ได้เนื้อหา ก็ทำให้อนิเมะเรื่องนี้ประสบความสำเร็จเกินคาด

    กลายเป็นว่าดังเพราะเผา  และการเผากลายเป็นจุดขายของอนิเมะไปแล้ว  ก็ไม่แปลกที่ภาคสองจะใช้ลายเส้นแบบเดิมอีกครั้ง ไม่มีการปรับเปลี่ยนลายเส้น ไม่เลิกเผาแต่อย่างใด (เอวัง)

    ใช่ครับ ภาคแรกเผาสุดยอดแล้ว ภาคสองก็ยังคงเผาเหมือนเดิม (แถม 10 ตอนเหมือนเดิม)   ซ้ำยังเผาหนักกว่าด้วยซ้ำ ด้วยออฟชั่นเสริม โพสท่าตัวละครเหนือธรรมชาติ (ซึ้งไม่มีในนิยาย)  ความเละย้อยหนักกว่าเดิม แต่สิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้คนดูออกมาด่า มาสับ กลับรู้สึกชอบอกชอบใจ  ไม่สนเรื่องภาพให้หนักสมอง

    ที่น่าสังเกต อนิเมะภาคนี้มีการเพิ่มฉากที่ไม่มีในนิยายลงไปด้วย แต่การเพิ่มนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่รับได้ และทำได้น่าสนใจด้วยซ้ำ

    ยอมรับว่าตอนอ่านนิยายนี้ผมไม่รู้สึกขำกับมุกตลกที่นิยายเรื่องนี้นำเสนอหรอก แต่กลับมาขำอนิเมะซะงั้น ที่ขำไม่ได้ขำที่มุก แต่ขำเพราะลายเส้นบวมๆ มากกว่า ถ้าลายเส้นไม่ย้วย เทพธิดาไม่ใส่กางเกงในนี้ ผมคงไม่ขำแน่นอน ถือว่าเป็นอนิเมะที่ติดตามเพราะลายเส้นโครตเผานี้แหละ

     

    Akiba's Trip The Animation 

    Akiba's Trip The Animation  เป็นอนิเมะจากเกมดัง แนว Action ผลงานของสตูดิโอ Acquire ซึ่งลงบนเครื่อง PSP ก่อนที่จะออกภาคต่อแล้วลงบน PS3 และ PS VITA เรื่องราวของเกมจะเกี่ยวข้องกับเมือง Akihabara ซึ่งถูกยึดครองโดยเหล่าแวมไพร์ หน้าที่ของเราคือต้องจัดการพวกมันด้วยถอดเสื้อผ้ามันทิ้งให้ตัวมันล่อนจ้อนตายไปเอง โดยอนิเมะจะสร้างโดยสตูดิโอ Gonzo และยังเป็นอนิเมะสร้างในวาระครบรอบ 25 ปีของสตูดิโอ Gonzo ด้วย 

    Akiba's Trip ทำหลายภาคแล้ว (รวมภาคเสริม ก็ประมาณ 4 ภาคได้) แต่ผมไม่เคยเล่นเกมนี้ หรือดูคนอื่นแค เลย ก็ไม่รู้จะมันเป็นเกมอะไร เล่นยังไง มีระบบยังไง  ถ้าให้ดูจากภาคตัวประกอบก็คงเป็นเกมแอ็คชั่น ลูกเล่นแปลกๆ มีเรื่องตลก โรแมนติก แน่นอนว่าเนื้อเรื่องเกิดที่อากิฮาบาระ ก็ต้องมีประเด็นจิกกัดวงการโอตาคุเข้ามาด้วย

    อย่างไรก็ตาม ตัวอนิเมะนั้นเอาเข้าจริง เนื้อหากับเป็นออริจินอล กับตัวละครหลักในเรื่องไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเกมเลยแม้แต่น้อย  (อันนี้ผมไม่ทราบจริง หากตัวละครในอนิเมะตรงกับเกม ก็ช่วยบอกผมด้วยนะครับ) คือไม่ได้เอาภาค 1 และ 2 มาทำ แต่สร้างเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่สำหรับอนิเมะเลย ซึ่งก็เข้าใจว่าหากเอาเกมมาทำเป็นอนิเมะ ก็จะถูกตำหนิว่าตัดเนื้อหาอีก เลยทำออริจินอลไปเลย สร้างตัวละครใหม่หมด

    แม้จะสร้างตัวละครใหม่หมด แต่เนื้อหาก็ยังคงเป็น คือพระเอกเป็นโอตาคุธรรมดา ที่ไปช่วยผู้หญิง (นางเอก) ถูกแวมไพร์ทำร้าย หากแต่โดนฆ่าเสียเอง แต่ก็ได้นางเอกช่วยเอาไว้ด้วยการเปลี่ยนพระเอกเป็นแวมไพร์ (ด้วยการจูบ) แต่สิ่งที่ต้องแลกคือพระเอกต้องอยู่ในอากิฮาบาระตลอดกาล ไม่สามารถออกไปไหนได้ และมีหน้าที่ปราบแวมไพร์ (แต่พระเอกเรื่องนี้มันซิว ไม่มีดราม่า)

    หากดูเนื้อเรื่อง ก็เนื้อเรื่องธรรมดา ไปทางสูตรสำเร็จ แถมอนิเมะออกไปทางบั่นทอนปัญญา (ไร้เหตุผล) ด้วยซ้ำ  ความแปลกใหม่อาจจะเป็นการต่อสู้ที่พระเอกมีสกิลถอดผ้า (ศัตรูเรื่องนี้จะตายถ้าถอดผ้า) แน่นอนว่าคุณได้เห็นฉากเซอร์วิสแน่นอน  (แม้จะมีฉากผู้ชายโดนถอดผ้าล่อนจ้อง แต่เชื่อเถอะหลายคนไม่อยากดูหรอก)

    นอกจากนี้ ความน่าดูของเรื่องนี้อยู่ตรงที่ตัวละคร ที่พระเอกเป็นโอตาคุ รวมไปถึงประเด็นจิกกัดโอตาคุด้วย โดยส่วนตัวผมชอบประเด็นจิกกัดโอตาคุสายเปย์ (สายจ่ายเงินหนักๆ) ให้ไอดอล ในตอนที่ 3  ที่พระเอกมันเกิดไปบ้าไอดอลเข้า แต่ไอดอลที่ว่านอกจากหน้าตา อย่างอื่นนี้แทบยังสงสัยเลยพระเอกมันชอบได้ยังไง ร้องเพลงก็ไม่เก่ง การแสดงออกก็ไม่ได้น่ารัก แต่พระเอกมันดันบ้าเข้าเส้น หมดเงินเป็นแสนๆ เพื่อซื้อหูฟังเพื่อให้ฟังเสียงให้เข้าถึงอารมณ์มากที่สุด ให้ตายสิ ผมพูดเต็มปากเลยว่า มันจิกกัดโอตาคุจริงๆ

    สรุปว่าเป็นอนิเมะที่ผมตามเป็นอดันดับสามซีซั่นนี้ (ดูเต็มตอน ทุกตอน) มันอาจมีจุดตำหนิค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นงานภาพ (สวยน้อยกว่าเกมด้วยซ้ำ) ตัวละครที่มีน่ารำคาญ กับเนื้อเรื่องออกไปทางไม่สมเหตุสมผล ออกไปทางบั่นทอน แต่สิ่งที่ผมชอบคือ มันเป็นแนวโอตาคุ ที่จิกกัดโอตาคุ แม้มันจะไม่ได้แรงมาก แต่ดูแล้วก็....มันใช่เลย


    Demi-chan wa Kataritai 

    Demi-chan wa Kataritai แปลไทยง่าวๆ ว่า ให้คำปรึกษาแก่เหล่าเดมิ”  เป็นมังงะแนวคอเมดี้ชีวิตในโรงเรียน  วาดและภาพประกอบโดย Petos ตีพิมพ์ในนิตยสารโคดันฉะ  ในเดือนกันยายนปี 2014 และถูกสร้างเป็นอนิเมะโดย A-1 รูปภาพ เริ่มออกอากาศในวันที่ 7 มกราคม 2017

    การ์ตูนเกิดขึ้นในยุคสมัยที่โลกมีมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่ถูกเรียกว่า อาจิน” (อมนุษย์) หรือ เดมิซึ่งเป็นมนุษย์กลายพันธุ์ที่กลายเป็นปีศาจในตำนาน เช่น ซัคคิวบัส, ดูลาฮาน, แวมไพร์ หากแต่พวกเขาไม่ได้มีพิศภัยต่อโลก และสามารถอยู่ร่วมกับคนทั่วไปได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคม และนี่คือเรื่องราวของอาจารย์ผู้สอนวิชาชีววิทยาที่มีความสนใจในเดมิเป็นอย่างมาก และการเข้าไปพูดคุยแก้ไขปัญหา(สุดน่ารัก) ของเหล่า เดมิในโรงเรียนของเขา

    Demi-chan wa Kataritai เป็นการ์ตูนแนวคอเมดี้ ชีวิตในโรงเรียน (เพิ่มเติมคือโมเอะหน่อยๆ )  จบในตอน โดยภาพรวมก็ไม่แตกต่างอะไรกับการ์ตูนแนวเดียวกันนัก แต่ที่โดดเด่นคือคาแร็คเตอร์สาวเดมิในเรื่องโครตโดดเด่น น่ากอด  (โดดเด่นสุดๆ ก็คงดูราฮาน กับอาจารย์สาวซัคคิวบัส (เชื่อเถอะ อีกไม่นานเธอจะเป็นนางเอกโดจิน)  มีการเพิ่มฮาเร็มเล็กๆ ไปด้วย แม้จะมีดราม่าเรื่องชาติพันธุ์ ความแตกต่าง แต่ก็ไม่ได้เป็นดราม่าแรงอะไรมากมาย

    สรุป เป็นการ์ตูนดูได้เรื่อยๆ ที่โดดเด่นอยู่ที่คาแร็คเตอร์สาวๆ ในเรื่อง ส่วนลายเส้นอนิเมะแตกต่างจากของต้นฉบับค่อนข้างมาก แต่ก็ดูได้ ไม่ขัดใจแต่อย่างใด ไม่ภาพไม่ได้เผา


    Onihei Anime

    Onihei Anime เป็นอนิเมะที่ต้นฉบับมาจาก โอนิเฮฮังคาโจ" (Onihei Hankacho) ผลงานของอิเคนามิ โชทาโร่ ซึ่งตีพิมพ์ตอนแรกในนิตยสารนิยายออลโยมิโมโนะ ฉบับเดือนธันวาคม ค.ศ. 1967 ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ ละครเวที ภาพยนตร์ และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เป็นหนึ่งในตัวละครซามูไรที่เป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่น

    โดยเนื้อหาเกี่ยวกับ ฮาเซงาว่า โนบุทาเมะ" เป็นหัวหน้าหน่วยตำรวจพิเศษ อยจับกุมผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมาย รวมถึงคอยปราบปรามเหตุวางเพลิงและคดีปล้นทั้งหลายในยุคสมัยเอโดะ  เป็นคนขยัน เก่งเรื่องดาว ยุติธรรม แต่สิ่งที่หลายคนรู้สึกกับเป็นการสอบสวนที่เข้มข้นของเขา จนได้รับฉายาว่า "โอนิเฮ" (Onihei) หรือ "ปิศาจเฮโซ"

    Onihei Anime เป็นอนิเมะแนวย้อนยุค ซามูไร เอโด  ออกไปทางสืบสวน ซึ่งเป็นแนวที่หาดูได้ยากมากปัจจุบัน (หากเป็นแนวซามูไร พระเอกก็ต้องหย่อเวอร์ แม่ยกรุมตอม แบบดาบป่วย) เนื้อหาก็สไตล์ย้อนยุค เน้นความเรียล ทำให้เห็นภาพการสืบสวนสมัยนั้น ที่โครตฮาร์ดคอร์ โดยตอนแรกแค่สอบสวนหัวขโมย ต้องทรมานทุบ ตี เอาตะปูตอกเท้า โครตโหด (ดูแล้ว รู้สึกโชคดีที่อยู่ในยุคสิทธิมนุษย์ชนชิบ)  มีแน่นอนว่าที่ขาดไม่ได้ ฉากดวลดาบเลือดสาด แม้ว่าเนื้อหาจะสนุกดี แต่ก็ว่านะ มันอยู่ในยุคที่หลายคนบอกต่างโลกและฮาเร็มน่าเบื่อ แต่เราก็ดูอยู่ดี เพราะเราชอบตัวละคร และเนื้อเรื่องย่อยง่าย มาดูแนวตกยุค ไม่มีตัวละครโมเอะเลย ทำให้ผมไม่ค่อยสนใจอะไรมากมายสักเท่าไหร่


    Gabriel Dropout 

    Gabriel Dropout อนิเมะ ผลิตโดยสตูดิโอ Doga Kobo จากมังงะ มังงะ เขียนโดย Ukami ตีพิมพ์ในนิตยสาร Dengeki Daioh G ของสำนักพิมพ์ ASCII Media Works โดยเป็นเรื่องราวของlk;ohvp เทวทูต กาเบรียล ไวท์ ที่ผลการเรียนระดับท็อปของเหล่านางฟ้า ถูกส่งมาศึกษาต่อที่โลกเพื่อศึกษามนุษย์ (และช่วยเหลือมนุษย์) ตอนแรกๆ ก็เป็นนางฟ้างดงาม นิสัยดี หากแต่ดันไปรู้จักเกมออนไลน์ และเกิดเข้าสู่สายเติมเงินเข้า จนทำให้เธอกลายเป็นนางฟ้าไม่ได้เรื่อง ติดเกม ไม่ตั้งใจเรียน และ ขาดแรงจูงใจในการทำเรื่องอื่น จนทำให้เพื่อนของเธอซึ่งเป็นปีศาจต้องมาช่วยเหลือทุกครั้ง

                    อย่างที่รู้จัก มันเป็นเรื่องปกติแล้ว ที่ทุกซีซั่นจะมีแนวเหล่าสาวๆ ชีวิตประจำวันในโรงเรียนออกมา และในซีซั่นหนึ่งก็มีหลายเรื่อง ซึ่งก็มีทั้งดี และน่าเบื่อบ้าง ซึ่งซีซั่นนี้มีแนวสาวน้อยโมเอะชีวิตในโรงเรียน ที่น่าสนใจอยู่ 3 เรื่อง และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องนี้เอง

                    แม้ว่าเนื้อหาจะธรรมดา ตามสูตรชีวิตในโรงเรียนบ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือนิสัย และคาแร็คเตอร์ของตัวละครที่โดดเด่น เป็นต้นว่า ตัวเอกเป็นเทพธิดาที่ไม่ได้เรื่อง ขี้เกียจ มองโลกในแง่ลบ  แถมบางการกระทำก็ช่างกวนทีนอยากเขกกะโหลกเสียจริงๆ (แน่นอน ว่าตอนที่ 2 นางฟ้าโดนเขกสะใจผู้ดูยิ่งนัก), ปีศาจที่นิสัยจริงจังแสนดี, ปีศาจจูนิเบียวน่าแกล้ง (ที่กลายเป็นตัวละครที่โดดเด่นในเรื่อง) รวมไปถึงนางฟ้าสาย SM ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีสีสัน สนุกขึ้น  เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่เปลี่ยนความคิดว่านางฟ้ากับปีศาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ยางฟ้าไม่ได้มีนิสัยดีทุกคน กลับกันปีศาจยังนิสัยดีด้วยซ้ำ

                    สิ่งที่ชอบเรื่องนี้ ก็คือ มันมีฉากโครตโดนใจ หลายฉาก  ที่ชอบที่สุดคือฉากยัยนางฟ้าที่กำลังจะเข้าสายเติมเงินแล้วทำสีหน้าเหมือนจิตตกนี้มันเป็นอะไรที่โครตโดนใจเสียจริง ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งของซีซั่นนี้เลยทีเดียว

     

    Schoolgirl Strikers Animation Channel

    Schoolgirl Strikers Animation Channel เป็นอนิเมะ ผลิตโดยสตูดิโอ J.C.Staff ต้นฉบับมาจากเกมมือถือ Schoolgirl Strikers เป็นเกมแนว Visual Novel ผสม JRPG ของทาง Square Enix เปิดให้บริการในญี่ปุ่นปี 2014 ถึงปัจจุบัน มีการแบ่งตัวละครเป็นหลายทีม ทีมละ 5 คน ซึ่งภาคอนิเมะโฟกัสไปที่ทีม 6 Altair Torte โดยเป็นเรื่องราวของในอนาคตอันใกล้ โรงเรียนสตรีเอกชน โกริวคัง ได้มีหน่วยพิเศษที่คัดเลือกนักเรียนหญิงที่เรียกว่า Striker คอยรับมือจากศัตรู โอบุริ

    ยอมรับว่าเป็นอนิเมะที่ผมกลั้นใจดู แถมดูไม่เต็มตอนอีกต่างหาก กดข้ามฉากเยอะ คือมันมีอะไรให้น่าตำหนิไปหมด ที่ติไม่ใช่เรื่องภาพ เพราะภาพถือว่าใช้ได้ แต่เป็นเรื่องจุดน่าสนใจในเรื่อง  ให้คนดูเกาะติด นั้นไม่มีเลย ปกติแนวพวกผู้หญิงรวมตัวสู้กับพวกสัตว์ประหลาด สิ่งที่ขาย คือ คาแร็คเตอร์ต้องโดดเด่น ชุดคอสตูมต้องโมเอะ (หากคอสตูมคล้ายชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นในจะช่วยได้มาก) รวมไปถึงเอกลักษณ์นิสัยของสาวในกลุ่มว่ามันจะเข้าขากัน รุกรับดีไหม หรือบางเรื่องก็เน้นร้องเพลง จังหวะมันๆ สู้ไปร้องเพลงไป เหนื่อยสินดี (ส่วน เนื้อเรื่อง โดย ส่วนตัวเป็นเรื่องรองมากกว่า สิ่งสำคัญคือ การขายสิ่งที่คนดูชอบ

    แต่อนิเมะนี้ มันไม่สอบถามสิ่งที่ผมว่าทั้งหมดเลย คาแร็คเตอร์ก็แสนธรรมดา (จะว่าไปมันก็สไตล์เกมมือถือแหละ) เซอร์วิสก็ธรรมดา (มันไม่เหมือนบางเรื่องได้เห็นตูดเด็กไม่บรรลุนิติภาวะจนสดชื่นหัวใจ) ชุดคอสก็ไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง (ทีมสองยังดูมีเอกลักษณ์มากกว่าซะงั้น) ไม่เชื่อลองเปรียบเทียบดู 10 สุดยอดคอสตูมของผมว่าสู้ได้หรือเปล่า (บทความจะมาเร็วๆ นี้) เอกลักษณ์นิสัยพวกสาวตัวหลักก็ไม่โดดเด่นและไม่เข้าขากันเลย คือมันอารมณ์ปนกันมั่วไปหมด คือ สาวร่าเริงบ๊อง, ทวินเทลจืดๆ แบบตัวประกอบ, สาวมาดหัวหน้าห้อง, สาวไอดอลกีฬา, สาวหน้าตาย คือมันเป็นกลุ่มไม่เข้ากันครับ มันจะต้องมีลูกบ้าๆ  อีโก้ ทะเลาะกัน เกรียมหน่อยๆ  จะได้เป็นสีสัน แต่เรื่องนี้มันแทบไม่มีเรื่องดั่งว่าเลย แถมสีหน้า เสียงพากย์ การพูดก็ไม่เข้ากัน  แถมสองตอนยังดูไม่ออกว่าตัวเอกหลัก (ที่เป็นตัวยืน ตัวเล่าเรื่องราว) เป็นใครกันแน่

    ส่วนตัวเป็นอนิเมะแนวพวกสาวต่อสู้กับสัตว์ประหลาดที่ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เป็นเอกลักษณ์น่าจดจำนัก หากเรื่องนี้ดราม่า ตัวละครตาย ผมก็เชื่อว่ามันก็ไม่น่าจดจำ หรืออารมณ์ร่วมอยู่ดี คือสู้พวกรุ่นพี่แนวเดียวกันก่อนหน้าไม่ได้ด้วยซ้ำ


    Kobayashi-san Chi no Maid Dragon

    Kobayashi-san Chi no Maid Dragon อนิเมะของ Kyoto Animation  ดัดแปลงจากมังงะของ Cool Kyoushinja (Danna ga Nani o Itte Iruka Wakaranai Ken, Komori-san wa Kotowarenai!) ซึ่งผลงานก่อนหน้านี้ล้วนได้ทำเป็นอนิเมะทุกเรื่อง ตีพิมพ์ในนิตยสาร Monthly Action ของสำนักพิมพ์ Futabasha โดยเนื้อเรื่องกล่าวถึงสาวออฟฟิศธรรมดาคนหนึ่งชื่อ โคบายาชิ ที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวและน่าเบื่อในอพาร์ตเมนต์เล็กๆ จนกระทั่งเธอได้เจอมังกรตัวหนึ่งที่มีดาบปักที่หลัง แล้วพูดจาถูกคอกัน ภายหลังมังกรตนนั้นได้มาหาโคบายาชิแล้วเปลี่ยนร่างเป็นเด็กผู้หญิงในชุดเมดชื่อ “โทรุ” โดยเธอมาตอบแทนโคบายาชิถึงบ้าน ทำให้ชีวิตของโคบายาชิเปลี่ยนไปจากเดิม

    Kobayashi-san Chi no Maid Dragon  เป็นอนิเมะแนวชีวิตประจำวัน แต่ไม่ได้เป็นชีวิตในโรงเรียน เพราะตัวเอกหญิง (โคบายาชิ) เรื่องนี้เป็นหญิงวัยทำงาน บริษัทธรรมดา กับเหล่ามังกรที่พยายามใช้ชีวิตในสังคมมนุษย์ ทั้งๆ ที่ใจจริงแล้วเหล่ามังกรเกลียดชังมนุษย์ จนเกิดเป็นประเด็นในเรื่องนี้ขึ้นมา

    ถือว่าเป็นอีกผลงานของคนเขียน ที่แต่งผลงานหลายแนวดี ผมเห็นผลงานแรกๆ ที่วาดแบบไก่เขี่ย (แต่มีเอกลักษณ์) ที่ตัวเอกเป็นแม่มด เป็นน้องผี จนมีผลงานรูปเล่มอยากสามีเป็นโอตาคุ, คู่รัก, ชีวิตประจำวันในโรงเรียน ไปจนถึงฮาเร็มยูริ (เรื่องล่าสุดฮาเร็มยูริ) ส่วนเรื่องน้องมังกรนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สุดของคนแต่งเรื่องนี้แล้วมั้ง และเป็นเรื่องที่ดีที่สุดด้วย (ความจริงทุกเรื่องของคนเขียนเรื่องนี้ดีหมด แต่ของมังกรมันสอดแทรกปรัชญาชีวิตนิดๆ หน่อย เข้าไปด้วย มันเลยดีกว่า)

    แม้ว่าโดยภาพรวมก็ไม่ได้แตกต่างจากการ์ตูนที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันนั้น (แนวที่ตัวเอกธรรมดาอยู่ร่วมกับอมนุษย์อย่างมีความสุข) แถมออกไปทางยูริด้วยซ้ำ (ซึ่งตอนแรกผมก็นึกว่าโคบายาชินั้นเป็นผู้ชายเสียงอีก เพราะอกกระดานมากๆ) เพราะโทรุนั้นรักโคบายาชิมากๆ แต่สิ่งที่โดดเด่นกับเป็นที่ตัวละครที่ออกแบบได้อย่างมีเสน่ห์ น่ารัก น่ากอด มุกตลกก็พอประมาณ (แน่นอนว่ามุมแอบร้ายของมังกรนี้เป็นมุกที่ดีที่สุดในเรื่อง)นอกจากนี้ก็มีประเด็นเรื่องดราม่าเล็กๆ ระหว่างมังกรที่มองมนุษย์เป็นเพียงวิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่น่าขยะแขยง แม้แต่ตัวโทรุเองก็มองมนุษย์แบบนี้ แม้ว่าภายนอกจะเหมือนเป็นมิตร แต่ในใจจริงๆ ก็เพียงแค่เสแสร้ง มีเพียงโคบายาชิเท่านั้นที่โทรุรักแบบหมดหัวใจ ถือว่าเป็นการ์ตูนที่จิ้นวายแบบอ่อนๆ ผสมกับความน่ารักของตัวละคร เรื่องของมังกรเข้าไปด้วย ส่วนเรื่องงานภาพก็น่ารัก ทำให้ดูตั้งแต่ต้นจนจบได้

                   

                        ChäoS;Child 

                   

                     ChäoS;Child อนิเมะจากเกมแนว Visual Novel เคยลง Xbox One ในปี 2014 ก่อนลงเครื่องอื่นๆ ตามมา โดยซึ่งเป็นเกมแนวผจญภัยแบบวิทยาศาสตร์ลำดับที่ 4 ของทางบริษัท 5pb. ต่อจาก Chaos;Head, Steins;Gate และ Robotics;Notes แล้วยังถือเป็นภาคต่อของ Chaos;Head (2008) เพียงแต่ตัวเอกคนละคนกั

                    โดยก่อนที่อนิเมะจะฉายนั้น ก็มีตอนที่ 0 ออกมา ซึ่งเนื้อหาของตอน 0 จะเป็นการย้อนเป็นภาคแรก (เกิดในปี 2009) ที่นิชิโจ ทาคุมิเป็นพระเอก ที่ต้องผจญกับความหลอน พลังวิเศษ และเหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.8 ริคเตอร์ที่ย่านชิบูย่าในโตเกียว แม้ว่าทาคุมิกับพรรคพวกจะสามารถหยุดเรื่องเลวร้ายไว้ได้ แต่สิ่งที่ตามมาคือโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้คร่าชีวิตคนไป 3,851 คน และมีผู้บาดเจ็บ 30,927 คน

    เรื่องราวภาคแรกควรจบแบบนั้น หากต่อมาในปี 2015 ระหว่างฟื้นฟูย่านชิบูย่าได้เกิดการตายอย่างมีปริศนาขึ้น ผู้คนเริ่มสังเกตว่าเหตุการณ์คล้ายกับคดีฆาตกรรมต่อเนื่องในปี 2009 โดยตัวเอกเรื่องนี้คือ  มิยาชิโระ ทาเครุ ตัวเอกของเรื่อง เป็นนักเรียนมัธยมปลายปีสาม  ชมรมหนังสือพิมพ์  ซึ่งเสียครอบครัวจากแผ่นดินไหวเมื่อ 6 ปีก่อน ซึ่งเขาสนใจคดีฆาตกรรมต่อเนื่องนี้ และพยายามสืบหาความจริง โดยหารู้ไม่ว่าเขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับความเลวร้ายของคดีฆาตกรรมต่อเนื่องโดยไม่รู้ตัว

    อย่างที่บอกว่า ChäoS;Child  เป็นผลงานต่อจาก Chaos;Head ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าพระเอกภาคแรกคือ  ทาคุมิเป็นหนึ่งพระเอกที่หลายคนต้องยี้ที่สุดรองจากพระเอกมาโคโตะเลยทีเดียว คือทาคุมิ เป็นพระเอกที่โหลยโท่ย ล้มเหลว บ้าบอ ขี้แพ้อย่างแท้จริง ทำให้หลายคนไม่ชอบทาคุมิมากนัก

    โดยส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างชอบทคุมิ เห็นอะไรที่พระเอกกำลังจิตตก พระเอกอนาถมันเป็นอะไรที่บันเทิงมากๆ แต่อย่างไรก็ตามในตอนสุดท้ายทาคุมิได้ตัดสินใจให้เรื่องจบ จนทำให้เรื่องจบแบบแอปปิ้แอนดิ้งได้

    หลังจากที่ Chaos;Head จบลง ก็มีอนิเมะจากค่ายเกมนี้ตามมาสองเรื่อง ซึ่งเรื่อง Steins;Gate เป็นเรื่องดังที่สุด (แต่ผมไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่)  ส่วน  Robotics;Notes ค่อนข้างน่าเบื่อ ซึ่งทั้งสามเรื่องอยู่ในโลกเดียวกันและมีอะไรเชื่อมโยงกัน รวมถึง ChäoS;Child  ซึ่งเป็นเรื่องล่าสุดด้วย

    อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผมดู ChäoS;Child  ก็ไม่ได้รู้สึกประทับใจสักเท่าไหร่นัก สาเหตุไม่ใช่ตรงที่เนื้อเรื่องถูกตัด (ซึ่งเป็นเรื่องปกติจากการ์ตูนจากเกม และไม่รู้ว่ามันจะมีกี่ตอน เท่ากับภาคแรกหรือไม่)  แต่มันอยู่ตรงที่ตัวละครไม่ค่อยน่าดึงดูดสักเท่าไหร่ อย่างพระเอกนายแว่นทาเครุมันแตกต่างจากพระเอกทาคุมิ ตรงที่ดูเยือกเย็นกว่า มันเลยไม่มัน อยากเห็นพระเอกที่ขี้แพ้ ขี้แย อนาถ มากกว่า แต่มาเห็นพระเอกนายแว่นสุขุม ทำเป็นเก่งนี้ มันแตกต่างจากพระเอกเกมของค่ายนี้ชอบกล อย่างสตาร์เกตพระเอกมันมีลูกบ้า มีอนาถจิต  ส่วนพระเอกโรบอตก็น่าเบื่อ (มีปม แต่ไม่มีลูกบ้าเหมือนทาคุมิ) มันเลยขาดสีสันมาก

    ส่วนตัวละครอื่นๆ ก็เหมือนหลุดมาจาก  Chaos;Head ทำให้ขาดความเป็นตัวเอง  และที่ไม่ชอบคือเพื่อนสมัยเด็กพระเอกผมชมพู ตอนแรกนึกว่านิสัยเหมือนทอมบอย แต่นิสัยดันไปซ้อนภาพกับชิอินะ มายูริ (steins gate).ซะงั้น ทำให้ความน่าอย่างดูผมลบดอวบไปเลย (นี้ไม่นับ ช่วงที่พวกตัวเอกมีพลังวิเศษ ที่ปล่อยพลังตูมตามนะ นี้เป็นจุดที่เปลี่ยนแนว เปลี่ยนอารมณ์ ที่ผมไม่ค่อยชอบเลย ตั้งแต่  Chaos;Head แล้ว ยังกลับมาหลอนได้อีก)

    สรุปไม่ตามครับ


    One Room

    สตูดิโอ SMIRAL ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานอย่าง Ani Tore!, Makura no Danshi ร่วมมือกับ Typhoon Graphics ทำผลงานอนิเมะแบบสั้นชื่อเรื่องว่า One Room  โดยมีสามเนื้อเรื่อง ที่เกิดขึ้นในห้องของหนุ่มนักศึกษาคนหนึ่ง (หรือก็คือเป็นตัวแทนของคนดูนั้นเอง)  ซึ่งทั้งสามเนื้อเรื่องจะเป้นอีเวนส์นางเอกสามคน โดยคนแรกก็คือฮานาซากะ ยุย เด็กสาวที่ย้ายมาอยู่ห้องข้างๆ โดยอนิเมะได้อาจารย์ Kantoku ผู้วาดภาพประกอบ Light Novel เรื่อง Hentai oji to Warawanai Neko มาช่วยร่างตัวละคร

        One Room เป็นอนิเมะที่แปลกที่สุดในซีซั่นนี้อย่างแท้จริง เพราะเป็นการเล่าในมุมมองบุคคลที่หนึ่งของตัวเอก แต่แปลกคือเราจะไม่เห็นตัวเอกเลย  ไม่มีแม้แต่เสียง หรือปรากฏส่วนใดๆ  (มือ, เสื้อผ้า หน้าตา ตัวเอกเลย) จนมันดูเหมือนเกม Visual Novel เกมจีบสาว ที่ผู้หญิงพูดอยู่ฝ่ายเดียว (จนบางคนแอบคิดกับว่า ผู้หญิงในเรื่อง ถ้าจะบ้า เพราะมันคุยคนเดียวกับอากาศอย่างงั้นแหละ) ส่วนเนื้อหาออกไปทางเรียบๆ ไม่หวือหวา อีเวนส์ที่มีในเกมจีบสาวทั่วไป (เช่น ไปโรงอาบน้ำสาธารณะด้วยกัน, ช่วยติวหนังสือให้, สาวทำอาหารให้)  ซึ่งอีเวนส์เหล่านี้ทำให้ใจเต้นเล็กน้อย

     

    Yami Shibai 4

    การ์ตูนสั้นสยองขวัญที่มาจากตำนานประเทศญี่ปุ่นและตำนานเมือง เล่าเรื่องโดยใช้หุ่นตัวละครกระดาษ ซึ่งเป็นวิธีเล่าเรื่องแบบโบราณของญี่ปุ่น ซึ่งก็มาถึงภาค 4 แล้ว โดยภาคที่ 4ลุงใส่หน้ากากก็กลับมาเป็นตัวเล่าเรื่องอีกครั้ง แต่ที่แปลกคือมีการเปลี่ยนเสียงพากย์ของลุงหน้ากาก และยังให้ลุงหน้ากากเล่าเรื่องตลอดทั้งเรื่อง

    สำหรับภาค 4 เนื้อเรื่องก็เน้นเกี่ยวกับเรื่องผีหลอนๆ ที่ไม่ได้หวือหวาเท่าไหร่นัก แต่แปลกตรงที่ลุงหน้ากากจะเล่าเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ทำให้เหมือนเป็นการเล่านิยายภาพ (ซึ่งเข้าใจว่าการ์ตูนต้องการทำให้เหมือนนิทานหุ่นกระดาษมากที่สุด) หลายคนบอกว่ารำคาญ แต่ส่วนตัวผมชอบนะ ชอบตรงลุงหน้ากากเล่าบิวอารมณ์มาก แต่มาตกม้าตาย ตรงที่จุดผีปรากฏตัว มันไม่สมกับที่บิวอารมณ์เลยแม้แต่น้อย คือมันไม่น่ากลัว หรือหลอนพออะ แถมยังมุกซ้ำๆ กับภาคก่อนๆ อีกต่างหาก


    Nyanko Days

    Nyanko Days เป็นอนิเมะสั้นผลงานมังงะที่วาดโดย Tarabagani ที่ได้เป็นอนิเมะทีวีซีรี่ส์โดยฝีมือการสร้างของ EMT Squared ที่ว่ากันด้วยเรื่องราวของ “โทโมโกะ เด็กสาวที่มีนิสัยขี้อาย ที่พึ่งย้ายมาและไม่มีเพื่อนใหม่เลย หากแต่เธอมีสิ่งหนึ่งที่หลายคนต้องอิจฉา เพราะเธอมีแนว มีแมวน้อยสามตัวที่ชื่อ มา, โร, ชิที่ซึ่งเหมือนเด็กโลลิหูแมวที่โครตน่ารัก

    สั้นๆ คือเป็นอนิเมะที่สั้นมากๆ จุดเด่นคือ น้องแมวสาวตัวในเรื่องนี้โครตน่ารัก น่ากอด มากๆ แต่เนื่องจากเป็นอนิเมะสั้น เลยไม่จุใจ อิ่มใจน้องแมวน่ารักเลย

     

    Chou Shounen Tanteidan Neo

    เป็นอนิเมะสั้น ดัดแปลงจกจากนวนิยายสืบสวนของนักประพันธ์ชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง “เอโดกาว่า รันโป” ซึ่งเป็นเรื่องราวของลูกหลานของ โคบายาชิ” กับคดีปริศนา

    เป็นอนิเมะตลกแบบฉับไว แม้ว่าตัวละครจะเป็นนักสืบโคบาชิ (หากใครไม่รู้จัก ก็ลองไปอ่านการ์ตูนเรื่อง โคบาชิ นักสืบคดีเด็ด ของบงกต สามเล่มจบมาอ่านได้) แต่เนื้อหาเอาเข้าจริง แทบไม่มีอะไรเกี่ยวกับโคบาชิเลย ทั้งเนื้อเรื่องตลกอย่างเดียว กับฉากหลังเป็นโลกอนาคตด้วย จนเรียกว่าไม่ต้องเอาชื่อนักสืบโคบาชิมาใช้ก็ได้

     

    Idol Jihen

    สิ่งที่ขาดไม่ได้ในแต่ละซีซั่น ก็คืออนิเมะแนวไอดอล ทั้งไอดอลชาย และไอดอลหฐิง และ Idol Jihen ก็เป็น อนิเมะแนวไอดอลอีกหนึ่งเรื่องประจำซีซั่นนี้  เป็นเรื่องราวเหล่าไอดอลเด็กสาวที่ได้ก่อตั้ง พรรคการเมืองไอดอล เป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น  แล้วใช้บทเพลงของพวกเธอสร้างสรรค์เรื่องราวต่างๆ ขึ้นมา  ผลงานร่วมสร้างของทาง MAPPA และ Studio VOLN

                    ขอสรุปสั้นๆ ละก็ ก็เป็นอนิเมะแนวไอดอล ดูยังไงก็แนวไอดอล ไม่ว่าจะเป็นตัวเอกเป็นเด็กสาวร่าเริง มาตามล่าหาความฝัน ที่อยากเป็นไอดอลนักร้อง เจอเพื่อนที่ไม่ถูกกันในตอนแรก แล้วทำการฝึกฝน เต้นด้วยกัน ร้องด้วยกัน ขึ้นเวทีใหญ่ครั้งแรก  ชุดฟู่ฟ่อง (ชุดไอดอล) ร้องเพลง หากแต่สิ่งที่แปลกกว่าไอดอลอื่นๆ ก็คือมีเรื่องการเมืองเข้ามาเสริมด้วย คือไอดอลต้องมาเป็น “พรรคการเมือง” หาเสียง เจอฝูงชนที่กำลังเดือดการเมือง ไอดอลต้องร้องเพลงเพื่อสงบ (ถ้าง่ายแบบนี้ก็ดีสิ จะได้เอาไปใช้กับประเทศแถวๆ นี้)

    อย่างไรก็ตาม เนื้อหาก็ยังคงเป็นไอดอลอยู่ดี ส่วนตัวผมชอบแนวไอดอลแนวตลกเสียดสีมากกว่า จะดูแนวไอดอลบริสุทธิ์แบบนี้


    Little Witch Academia (TV)

                   

                  ครั้งหนึ่ง Little Witch Academia เคยถูกฉายเป็นจอเงิน เมื่อปี 2015  เพียงแค่ 53นาที (ความจริงก็มีอีกภาค แต่เป็นปี 2013 จำนวนแค่ 23 นาที)  แน่นอนว่าหลายคนที่ได้ดู ก็ต้องคิดว่าเรื่องนี้เหมาะจะทำเป็นทีวีซีรีย์เป็นอย่างยิ่ง หากแต่กว่าจะได้เป็นทีวีซีรีย์ก็ต้องรอยาวนานถึง 2 ปี จนในที่สุดอนิเมะเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นมาได้

                    สำหรับ Little Witch Academia ทีวีซีรีย์นี้มีจำนวน 25 ตอน โดยเป็นเรื่องราวของสาวน้อยสุดแสนธรรมดาอย่าง “อั๊กโกะ” ที่หลงใหลอย่างจะเป็น “แม่มด” ได้มาใช้ชีวิตในรั้วโรงเรียนสตรีเวทมนต์อย่าง Luna Nova Academy ได้พบเพื่อนใหม่ การผจญภัยที่พิลึกพิลั่น จนเกิดเป็นเรื่องราวในอนิเมะเรื่องนี้ขึ้น 

                    ถ้าถามว่าซีซั่นนี้มีอนิเมะม้ามืด การ์ตูนดี ที่หลายคนไม่พูดถึงหรือไม่ ผมก็ตอบว่า Little Witch Academia ก็คืออนิเมะเรื่องนั้น  เป็นการ์ตูนดีที่หลายคนไม่พูดถึง ซึ่งลายเส้นก็ยังคงเหมือนภาคหนังโรงที่ผ่านมา ลายเส้นมีเอกลักษณ์ ชีวิตชีวา เหมือนได้ดูภาพยนตร์การ์ตูนเลยทีเดียว

                    ส่วนตัวละครนั้นถือว่าทำได้มีเอกลักษณ์ เนื้อหาก็ถือว่าสนุกใช้ได้ (แต่อาจจบในตอน) ส่วนตัวแล้ว ผมอยากจะรอดูว่าคนทับแฟนซับจะทำตลอดรอดฝั่งจนจบหรือไม่ ก็จะดูรวดเดียว

                   



    สรุปคือซีซั่นนี้ผมตามจริงๆ สามเรื่อง คือ เทพธิดาไม่ได้เรื่อง, แถมไพร์ถอดเสื้อ, โลลิปากเป็ด นอกนั้นก็ดูผ่านๆ อย่าง นางฟ้าขี้เกียจ, เดมิ และมังกรสาวใช้

    ส่วนเรื่องที่ผมไม่รีวิวก็ขออภัยด้วย เพราะส่วนมากผมเลือกเรื่องที่มีซับไทย ส่วนที่มีซับไทยไม่เขียนก็เป็นเรื่องส่วนตัว (ซึ่งผมเหม็นขี้หน้าอยู่สองเรื่องด้วยกันในซีซั่นนี้)

    โดยภาพรวมแล้วซีซั่นนี้ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ได้เน้นไปทางใดทางหนึ่ง เหมือนซีซั่นก่อน หรือบางทีอาจเป็นเรื่องปกติของซีซั่นต้นปีใหม่ละมั้ง เพราะต้นปีนี้อนิเมะน่าติดตาม (สำหรับผม) เยอะ แต่พอช่วงกลางปี ท้ายปีนี้ ผมแทบไม่มีอนิเมะให้ตามเลย แม้ว่าจะไม่มีอนิเมะฮือฮ่าดังเวอร์ก็เถอะ

    ซึ่งก็ต้องตามต่อไปว่าปีนี้จะมีอนิเมะฮือฮ่า และจะเป็นตำนานหรือไม่

     

     

     

    นอกเหนือจากอนิเมะแล้ว ก็มีทีวีซีรีย์ก็มีให้ได้ดูกัน รวมไปถึงเกมอย่าง Resident Evil 7 ก็วางตลาดเดือนมกราคม 2017 พอดี (ออกวันที่ 24) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคที่ผมรอคอย (ดูแคสเกม ไม่ได้เล่น) เพราะว่าเป็นภาคที่กลับมาสู่รากเหง้าของเกมซีรีย์นี้อีกครั้ง หลังจากช่วงหลังๆ ออกทะเลดาวพลูโตไป จนไม่สยองขวัญอีก (ซึ่งตอนที่เขียนบทความนี้ เกมก็ได้วางแผง และบางคนเล่นจบ รู้เนื้อเรื่องกันแล้ว)

    แม้ว่าช่วงเกมไม่ออกมา หลายคนจะออกมาด่า ติ เกมนี้กันเยอะ แต่เมื่อเกมออกมา  เสียงวิจารณ์นี้ก็เงียบล พร้อมกับยอดขายที่ดีเกินคาด ทำให้เชื่อว่าอนาคตข้างหน้าหากมีเกมซีรีย์นี้ใหม่ก็คงอยู่ในรูปแบบนี้อีกแน่นอน (หากินยาวต่อไป)

     

    สำหรับการรีวิวแบบแมวๆ ต้นซีซั่น 2017 ก็จบลงเท่านี้ครับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×