ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #297 : เหล่าสเมิร์ฟกับลัทธินาซี และโจนส์ทาวน์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.46K
      1
      17 ส.ค. 57

    เดอะ สเมิร์ฟ (The Smurfs) อาจไม่ใช่การ์ตูนที่ดังมากนักได้บ้านเรา แต่คงคุ้นหน้าคุ้นตาหลายคนบ้าง ในฐานะการ์ตูนที่เก่าแก่ ที่ปรากฏตัวสู่สายตาคนบนโลกรู้จักครั้งแรกในปี 1958 ในฐานะตัวละครในหนังสือการ์ตูนชื่อ The Schtroumpfs  ที่สร้างสรรค์โดย ปีแยร์ เปโย กุลลิฟอร์ด จิตรกรชาวเบลเยียมและต่อมาได้ตีพิมพ์เยอรมัน และใช้ชื่อเดอะ สเมิร์ฟ ทำให้ชื่อนี้เป็นที่รู้สึกทั่วโลก

    เรื่องราวของสเมิร์ฟเกิดขึ้นในยุคกลาง ที่นั้นมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่ประหลาด เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่สูงเท่าเห็ด โดยมีประชากรที่เรียกว่า “สเมิร์ฟ” ซึ่งมีรูปร่างเหมือนคน ตัวสีฟ้า สวมกางเกงสีขาวทั้งแบบมีสายเอี๊ยมและไม่มีสายเอี๊ยม ตัวการ์ตูนผู้หญิงจะใส่ชุดกระโปรงแขนกุดติดระบายที่ปลายแขนและชายกระโปรง มีผมสีขาวยาวประบ่าเป็นลอน ทุกตัวจะสวมหมวกผ้าสีขาวทรงสามเหลี่ยมนิ่มๆ ปลายหมวกพับลงไปด้านข้างบ้างด้านหลังบ้าง ตัวการ์ตูนเหล่านี้มีหลายวัยตั้งแต่สูงอายุ มีเครายาวสีขาว ขนคิ้วหนาสีขาว มีตัวละครวัยเด็กทั้งหญิงชายล้วนเป็นวันรุ่นท่าทางแสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละตัว ตัวที่สุขุมคงแก่เรียนจะสวมแว่น ตัวที่ดื้อดึงจะมีคิ้วขมวดยุ่งอยู่เกือบตลอดเวลา สเมิร์ฟเป็นสิ่งมีชีวิตอายุนับร้อยปีทีเดียว (ลอกจากวิกิพีเดีย)

     

     

    สเมิร์ฟ

     

    แน่นอนว่าเรื่องของสเมิร์ฟคงจะขาดสีสันไปไม่น้อย หากขาดตัวละครคลาสสิกตัวหนึ่ง นั่นคือ การ์กาเมล (Gargamel ) เป็นพ่อมดชั่วร้ายที่เป็นศัตรูคู่แค้นของพวกสเมิร์ฟ ที่ต้องการทำลายสเมิร์ฟก็คือต้องการเอาพวกมันไปเป็นผสมยาเพื่อเล่นแร่แปรธาตุเป็นทองคำ(จนมุกนี้บิลลี่กับแมนดี้ต้องเอามาแซว) อย่างไรก็ตามเขาต้องล้มเหลวทุกครั้งและสร้างอับอายจนแค้นมากจนสาบานว่าทำลายสเมิร์ฟถึงขั้นจะจับพวกสเมิร์ฟกินเป็นอาหารเลยทีเดียว

    แต่เดิมสเมิร์ฟปรากฏในนิตยสาร เนื้อหาเน้นชีวิตประจำวันและการผจญภัยของเสมิร์ฟที่ดูสนุกสนาน ไร้พิษภัย หลังจากนั้นก็ถูกนำไปสร้างเป็นการ์ตูนซีรีย์ทางทีวี ตามด้วยโฆษณา ภาพยนตร์ ละครทีวี วีดีโอเกม สวนสนุก และตุ๊กตาจนเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

    ปัจจุบัน เดอะ สเมิร์ฟก็ยังปรากฏต่อสายตาของคนทั้งโลกบางโอกาส อย่างล่าสุดก็ปรากฏในภาพยนตร์ถึง 2 ภาค (แม้เนื้อหาภาพยนตร์จะไม่ได้สนุกมากนักก็ตาม) และได้รับเกียรติให้ไปพิมพ์ลายมือ-ลายเท้า ลงบนแผ่นซีเมนต์ บนถนนฮอลลีวูด วอล์ค ออฟ เฟม หน้าโรงภาพยนตร์ กรอแมน'ส ไชนีส เธียเตอร์ ของนครลอสแองเจลิส แสดงให้เห็นว่าเดอะ สเมิร์ฟกลายเป็นตำนานการ์ตูนของโลกไปแล้ว

                    ดูจากภายนอกแบบเผินๆ เดอะ สเมิร์ฟจะเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าภายใต้การ์ตูนที่ดูน่ารักสดใสนี้แอบสอดแทรกเรื่องของคอมมิวนิสต์ และลัทธินาซีเข้าไปด้วย!!

                    อย่าหลงกลความน่ารัก ภายนอกตัวเล็กๆ สีฟ้าที่ดูไร้เดียงสานั้น ยังมีความน่ากลัวแอบแฝงอยู่!??

     

    เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิชาการสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ อองตวน โบเอโน (Antoine Buéno) แห่งมหาวิทยาลัยปารีสได้สังเกตอะไรบางอย่าง จากการ์ตูนตัวละครๆ สีฟ้านี้ว่า ,มีเนื้อหาแนวคิดสังคมแบบสตาลิน, เหยียดผิว, นาซีต่อต้านยิว ซึ่งเขาได้กล่าวข้อสังเกตนี้ในหนังสือ ,Le Petit Livre Bleu หรือ The Little Blue Book 

    เท่าที่ดูประวัตคนแต่ง ปิแอร์ คูลิฟอด์ (หรือ เพโย) คนแต่งเกิดในปี 1928 ในกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งหมายความว่าเขาใช้เวลามรวัยเด็กอยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมัน  บางทีอาจมีคนเขียนได้รับอิทธิพลไม่มากก็ไม่น้อย จากสังคมที่หล่อหลอมเขามาแบบไม่รู้ตัว

    โดยข้อสังเกตที่นักวิชาการชาวฝรั่งเศสนั้นมีมากมาย เริ่มจาก “ปาปาสเมิร์ฟ” ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านในป่าเห็ด เป็นตัวแทนของผู้ปกครอง อำนาจเผด็จการ ใส่กางเกงสีแดงไม่เหมือนสเมิร์ฟตัวอื่นๆ อันเป็นสีแห่งคอมมิวนิสต์ และสตาลิน

    สังคมของหมู่บ้านเห็ดเอง ชาวสเมิร์ฟก็ใช้ชีวิตในสังคมที่ไม่มีใครมีทรัพย์สินส่วนตัว ใช้ระบบเศรษฐกิจที่ทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน เหมือนระบบสังคมนิยมไม่มีผิด

    นอกจากนี้ยังสอดแทรกความคิดนาซีด้วย ไม่ว่าจะเป็น “สเมิร์ฟเฟต” สเมิร์ฟหญิงที่เป็นหมายปองของสเมิร์ฟชายทุกคน ก็เป็นตัวแทนสมบูรณ์ของแนวคิดนาซี

     

     

    การ์กาเมล

     

    ตัวละครตัวร้าย “การ์กาเมล” พ่อมดที่รังควานหมู่บ้านพวกสเมิร์ฟ” มีลักษณะภายนอกเหมือนชาวยิวชัดเจน และเป็นลักษณะของชาวยิวที่ชั่วร้าย อีกทั้งกาเมลยังเลี้ยงแมวชื่อ “อาซราเอล” ซึ่งเป็นชื่อตรงกับทูตแห่งความตายของชาวยิว และมุสลินด้วย

     

     

    สเมิร์ฟดำ

     

    ส่วนการเหยียดสีผิว โบเอโนได้กล่าวถึง สเมิร์ฟดำที่ปรากฏตัวในตอนที่พวกสเมิร์ฟป่วย ซึ่งเมื่อป่วยพวกเขาจะไม่ได้กลายเป็นตัวสีม่วง, แดง หรืออะไรทั้งนั้น แต่จะกลายเป็นสีดำ พร้อมกับเปลี่ยนนิสัยให้ชาวสเมิร์ฟคนนั้นมีนิสัยก้าวร้าว บ้าคลั่งแบบไร้เหตุผล ตีความไปได้ว่าเป็นเนื้อหาที่มีความคิดเรื่องเหยียดผิว  หรือสายเลือดบริสุทธิ์ ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับ "สเมิร์ฟดำ" ยังสร้างปัญหาให้ สเมิร์ฟ เล่มแรก ๆ จนไม่สามารถตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาด้วย กระทั่งต่อมาจึงมีการเปลี่ยนผิวของสเมิร์ฟที่ป่วยให้มีสีม่วงแทน

    แน่นอนว่าข้อสังเกตของบูเอโนนั้นได้ถูกต่อว่าอย่างหนักจากแฟนๆ ของสเมิร์ฟ และญาติของเพโย ว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสีย ที่ทำให้ตำนานวัยเด็กของพวกเขาต้องแปดเปื้อนด้วยการเสนอแนวคิดที่น่ารังเกียจนี้

    แน่นอนว่าบูเอโนก็ออกมาอธิบายว่า เขาไม่ได้เกลียดสเมิร์ฟ หรือด่าเพโยเป็นพวกเหยียดสีผิวแต่อย่างใด หากแต่เขาต้องการให้ทุกคนเห็นงานของคนเขียนสเมิร์ฟว่ามีทัศนคติอะไรบางอย่างจากสังคมในยุคนั้นเข้าไปสอดแทรกด้วย


     

    จิมส์ โจนส์

     

    เรื่องของเหล่าสเมิร์ฟกับการเชื่อมโยงที่น่าตกใจยังไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อยังมีผู้เชื่อมโยงการ์ตูนเด็กที่ไร้พิษภัยนี้มาเชื่อมโยงกับเจ้าลัทธิเพี้ยนอย่างจิมส์ โจนส์เข้าไปด้วย

    จิมส์ โจนส์ เป็นศาสดา The People’s Temple และเป็นผู้ก่อตั้ง "โจนส์ทาวน์" ในกีอาน่าของอเมริกา ซึ่งเขาและสาวกที่เข้ามาอาศัย โดยหวังว่าจะเป็นสังคมอุดมคติแบบยูโทเปีย  แต่สุดท้ายเมืองอุดมคติที่หลายคนคิดว่าเป็นเมืองแห่งสันติสุข ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากเมืองเผด็จการของจิมส์  และสุดท้ายวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1978 จิมส์และสาวกต่างพากันฆ่าตัวตายหมู่ ส่งผลมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 900 คน และถูกบันทึกประวัติศาสตร์ว่าเป็นการฆ่าตัวตายหมู่โดยเจตนามากที่สุดในโลก!!

    ว่ากันว่า สเมิร์ฟ กับจิมส์ถูกเชื่อมโยงอย่างแปลกประหลาด ตรงที่ทั้งสองเรื่องกล่าวถึงโลกคอมมิวนิสต์เป็นสังคมแบบยูโทเปียเหมือนกัน ในสเมิร์ฟปรากฏผู้นำ ปาปาสเมิร์ฟ ที่สวมหมวกสีแดง เคราสีขาว และกางเกงขายาวสีแดงและรองเท้าสีแดง ในขณะที่สเมิร์ฟตัวอื่นๆ สวมหมวกสีขาวและกางสีขาว และรองเท้าขาว ไม่มีหนวดเคราอย่างเห็นได้ชัด

    ทั้งจิมส์และปาปาสเมิร์ฟ เหมือนกันคือเขาเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน และพวกเขาใช้ประโยชน์ผู้คนในชุมชนเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจิมส์นั้นวางกฎระเบียบที่เข้มงวด หากใครทำผิดอะไร ก็จะลงโทษรุนแรงเพื่อไม่ให้คนเอาเยี่ยงอย่าง

    ในขณะที่การ์กาเมล พ่อมดที่เป็นศัตรูกับพวกสเมิร์ฟ ที่ต้องการจับ-กินพวกสเมิร์ฟ หรือจับพวกสเมิร์ฟมาสร้างทอง ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นตัวแทนของระบบทุนนิยมที่ชั่วร้าย ที่ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นชาวยิว และถ้ามองลึกไปกว่านั้นก็ถูกเปรียบเป็นเกย์ด้วยซ้ำ

    สุดท้าย ไม่ว่าคนเขียนสเมิร์ฟจะตั้งใจสอดแทรกลัทธินาซี สตาลิน การเหยียดผิวจริงหรือไม่ เรื่องนี้ไม่สำคัญอีกแล้ว เมื่อเด็กหลายคนดู สเมิร์ฟด้วยความสนุกสนานอยู่ดี ประเด็นเรื่องความดีและความชั่ว ผลลัพท์ของการกระทำ ก็ยังถูกนำไปใช้ในการ์ตูนประเภทนี้อย่างไม่มีเสื่อมคลาย

     

    “ไม่มีการปกครองไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับตัวเราต่างหาก ว่าจะอยู่แบบมีความสุขแบบไหน!?

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×