ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #253 : สะท้อนสังคมในการ์ตูนตาหวาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.88K
      5
      14 ก.ค. 60

                    ละครหลังข่าวของประเทศไทยถูกนำมาตั้งปัญหากันมาตลอด ถึงเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความรุนแรง น่าเบื่อ ไม่สร้างสรรค์ เนื้อหาวนเวียนการแช่งชิงพระเอกที่ร่ำรวย (ขอบอกว่าการ์ตูนฮาเร็มยังไม่ถึงขนาดนี้เลยครับ), นางอิจฉาที่มีแต่กริ๊ดลั่นบ้านจะตบตี, นางเอกปากจัด, พระเอกข่มขืนนางเอกแต่สุดท้ายก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บลาๆ บลาๆ

                    ไม่ว่าจะโดนวิจารณ์อย่างไร ผู้ผลิตและไม่เกี่ยวข้องก็ไม่วันเปลี่ยนเนื้อหา พร้อมอ้างว่าละครเหล่านี้สะท้อนสังคม อ้างว่าสะท้อนถึงค่านิยมของคนสมัยนี้ สะท้อนถึงจิตสำนึกของมนุษย์

                    แน่นอนว่า นี้เป็นแก้ตัว เหตุผลจริงๆ ก็คือเพราะแนวนี้มันขายได้ (ขายได้จริงดิ?) เรื่องอะไรจะเปลี่ยน สร้างเรตติ้ง การดึงสปอนเซอร์สนับสนุน นั้นสำคัญกว่า

                    คำถามต่อมา สะท้อนสังคม หมายถึงอะไรกันแน่? ตามความคิดของคนทั่วไปก็คือสะท้อนสังคมคือเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่าง ที่เป็นตัวมองเห็นภาพของสังคมนั้นๆ อย่างชัดเจน ความเป็นจริงที่เกิดในสังคมนั้นๆ โดยส่วนมากมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว หรือบุคคลใดคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับด้านมืดสังคม เช่น คนจน, โสเภณี, ยาเสพติด, เด็กเกเร ฯลฯ ถ้าเช่นนั้นละครไทยเข้าข่ายหรือเปล่า

                    ละครไทยไม่ใช่สะท้อนสังคม เพียงแต่มันมีนัยยะอะไรบางอย่าง กล่าวคือนางเอกคนจนหากได้แฟนรวยนั้นจะถูกใจคนดูเป็นอย่างมาก ส่วนนางอิจฉาเป็นตัวแทนของไฮโซความเอาแต่ใจซึ่งคนดูจะเกลียด อยากถีบพวกคนรวยแบบนี้ลงเหวให้รู้แล้วรู้รอด

                    พูดง่ายๆ ดูเอาสะใจเข้าว่า....

                    แต่บทความนี้ไม่ได้มาพูดเกี่ยวกับละครไทย แต่มาพูดถึงแนวการ์ตูนสั้นๆ หนึ่ง เป็นการ์ตูนแนวสะท้อนสังคม ที่แปลกคือเป็นการ์ตูนสะท้อนสังคม ในการ์ตูนผู้หญิง ซึ่งหากพูดถึงการ์ตูนผู้หญิงแล้ว เรามักจะคิดว่าเป็นการ์ตูนที่มีแต่ความรักที่สวยงามกันมาตลอด หากแต่มาคราวนี้จะเป็นการ์ตูนผู้หญิงที่มีความรักที่ไม่สวยงามกันบ้าง

     

     

    Kyokou Shinwa ~Sekando Reipu~ (Made-up Myth ~Second Rape~)

     

                    ก่อนอื่นก็ขอบอกว่าผมไม่ถนัดการเขียนแนวการ์ตูนตาหวานสักเท่าไหร่ หากผมเขียนอะไรผิดไป ก็ช่วยเตือนอะไรหน่อยก็จะขอพระคุณมาก..

                    อย่างที่หลายคนรู้ ปกติผมไม่ได้ดูการ์ตูนผู้หญิง การ์ตูนตาหวานมากนัก ด้วยเหตุผลนาๆ นับประการ ไม่ว่าจะเป็นผมเป็นผู้ชายที่อายุมาก รสนิยมที่แนวการ์ตูนผู้หญิงแต่ละเรื่องนั้นผมไม่สามารถเข้าถึงได้ และที่สำคัญผมไม่ถูกกับตัวละครพระเอกหนุ่มหล่อในเรื่อง (ผมกลัวหนุ่มหล่อ) อีกอย่างผมมักไม่ถูกกับโลกหวานๆ อย่างฉากจูบ ฉากขึ้นเตียง ฉากแต่งงานในการ์ตูนตาหวานสักเท่าไหร่ ดังนั้นส่วนมากผมมักเสพการ์ตูนตาหวานสยองขวัญจบในตอน หรือพวกรักกึ๊กกิ๊กที่พระเอกเป็นคนธรรมดาเสียมากกว่า

                    สาเหตุที่เอาเรื่องนี้มาเขียน พอดีผมไปเจอชื่อและเนื้อหาจากการ์ตูนเรื่องจากกระทู้หนึ่ง

    http://www.dek-d.com/board/view/3058632/

    ดังนั้นเนื้อหากระทู้นี้อาจยกเม้นในกระทู้มาเขียนบ้าง ก็ขออภัยด้วย....

     Kakene Nashi no LOVE Torihiki เป็นการ์ตูนแนวโชโจะจบในเล่ม (โชโจะ การ์ตูนสาวน้อยที่มีเป้าหมายเด็กวัยรุ่นหญิงเป็นหลัก และมักมีตัวละครเอกเป็นเด็กผู้หญิงที่ม่จิตใจเข้มเข็ง ลาส่วนใหญ่เป็นเรื่องความรักชายและหญิง ลายเส้นส่วนใหญ่เป็นเส้นคม ดูเบา ตาตัวละครทมีประการและมีขนาดใหญ่กว่าปกติ)  โดยนักเขียน Kanan Minamiวาดเอาไว้เมื่อปี 2001

                    Kanan Minami เป็นนักเขียนที่มีชื่อในวงการโชโจะพอสมควร มีผลงานมากมาย บ้านเรามีลิขสิทธิ์ เช่น กฎเหล็กของหัวใจ, เมื่อความรักมาทักทาย และวายร้ายนายแสบ  ซึ่งทั้งหมดลิขสิทธิ์โดยบงกต (ขอใช้ชื่อไทยนะครับ) ซึ่งเกือบทุกเรื่องเป็นแนวโชโจะ ความรัก โรแมนติก เป็นส่วนใหญ่

                    Kakene Nashi no LOVE Torihiki เป็นเรื่องราวของผู้หญิงสามเรื่อง สามรส โดยเรื่องหลักคือ ตอน 1-3) Kakene Nashi no LOVE Torihiki (A Love Transaction without Overcharging) เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ “เอมิ” ซึ่งเสียพ่อไป ทำให้เธอต้องหางานเลี้ยงตนเอง โดยทำทุกอย่างเพื่อเงิน และนั้นทำให้เขารู้จักหนุ่มหล่อร่ำรวยคนหนึ่ง ที่จ้างเธอให้เป็นคู่แต่งงาน  (ออกไปทางหนังไทย แต่ขาดนางอิจฉา)

                    ตอน4) Kokoro Goku Ama-jitate (Very Sweetly Cut Heart) เป็นเรื่องราวของสาวน้อย “ซากุระ” ที่พยายามทำช็อกโกแลตวาเลนไทน์ให้หนุ่มหล่อคนหนึ่ง หากแต่ต้องมีอุปสรรค์เมื่อแฟนคลับของหนุ่มหล่อคนนั้นไม่พอใจ เลยหาทางขัดขวาง  (อารมณ์เหมือนนางอิจฉาหนังไทย)

                    หากใครได้ดูจะพบว่าทั้งสองเรื่องข้างต้นนั้นคือการ์ตูนโชโจะตาหวานที่พบเห็นทั่วไปสองรสสองชาติ เรื่องแรก ออกไปผู้หญิงที่ดูเป็นผู้ใหญ่ (แต่ตัวละครดูเด็ก) ที่เป็นความรักที่คล้ายละคร   ส่วนเรื่องที่สองนั้นออกไปทางรักในมัธยมปลายซึ่งพล็อตเห็นทั่วไปในการ์ตูนแนวตาหวานอยู่แล้ว

                    แม้ว่าพล็อตสองเรื่องแรกจะเป็นแนวพบเห็นทั่วไปในแนวโชโจะการ์ตูนตาหวาน หากแต่ว่าในเรื่องแรกนั้นมีฉากมีเพศสัมพันธ์ อยากชายหญิงกอดกันบนเตียงด้วย ซึ่งก็ไม่ได้แปลกใหม่อะไร เพราะการ์ตูนแนวนี้ฉากอย่างว่าพบเห็นประจำอยู่แล้ว (บางเรื่องพระเอกก็ลวนลามนางเอก จับโน้นจับนี้บ้าง)

                    ฉากมีเพศสัมพันธ์ในการ์ตูนตาหวานนั้น จะเป็นฉากที่ไม่ได้โจ้งครึมแบบการ์ตูนโป๊สายมืด แต่จะมีแบบปิดบัง แต่ดูก็รู้ทันทีว่าตัวละครทำอะไรกัน เช่น กอด จูบกัน ลูบไล้โลม หรือผู้หญิงทำหน้าเคลิ้ม ซี่งความรู้สึกโดยรวมคือเรตอยู่ดี

                    หากสอบถามผู้หญิง (บางกลุ่ม, บางคน)ที่ให้ความคิดเห็นกับฉากเพศสัมพันธ์ในการ์ตูนตาหวานนั้น จะให้ความเห็นว่า มันมีความสวยงาม เพราะทวงท่าของตัวละคร สีหน้าตัวละคร แบล็คกราวน์ที่เป็นลายตอนไม้  ล้วนทำออกมาดูแล้วไม่น่ากลัว ดูแล้วเกิดอารมณ์ (ภาษาสแลงง่ายๆ คือ ฟิน) มันเหมือนนิยายโรมานต์ ดราม่าโรแมนติก

    ครึ่งหนึ่งผมเคยเขียนไว้ว่าการ์ตูนที่มีเนื้อหาความรักที่ฐานคนอ่านชายและหญิงมีความตรงกันข้ามที่น่าสนใจ การ์ตูนแนวรักๆ ของผู้ชายนั้นตัวเอกจะเป็นผู้ชายธรรมดาที่ไม่มีอะไรโดดเด่น หากแต่เขากลับถูกสาวที่ทั้งสวยและสถานะดีกว่าชายทุกอย่างมาชอบ (บางเรื่องต้องจีบหลายตลบกว่าจะได้มา) ส่วนการ์ตูนแนวรักๆ ของผู้หญิงก็ตรงกันข้ามคือ ตัวเอกเป็นผู้หญิงธรรมดา ที่มีความรักกับผู้ชายที่หล่อ รวย และมีเสน่ห์ แม้ว่าจะมีอุปสรรค์บ้าง ไม่ว่าจะเป็นฐานะครอบครัวแตกต่างกัน โดนสาวอื่นอิจฉาและพยายามขัดขวาง แต่สุดท้ายพระเอกคนนั้นก็กลับมาหาเรา รักเราปานจะกลืนกิน ได้ขึ้นเตียง ได้แต่งงานจบอย่างมีความสุขในที่สุด  

    เรามักเห็นหลายคนชอบแขวะถึงการ์ตูนแนวรักๆ ผู้ชายว่า พระเอกกากๆ ทำไมสาวสวยคนนี้ถึงชอบว่ะ การ์ตูนผู้หญิงไม่แตกต่างกันหรอก เพราะการ์ตูนแนวนี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความเฟ้อฝันเป็นหลัก ไม่ว่าชายหรือหญิงก็อยากได้แฟนที่เลิศทุกด้าน ใครเห็นแล้วอิจฉา ชีวิตโลกแห่งความจริงไม่มี ขอเป็นโลกในการ์ตูนก็ได้  มันเป็นที่รสนิยม หากคนอ่านไม่ชอบกันจริง การ์ตูนก็คงไม่นิยมวางเนื้อหาแบบนี้หรอก

     

     

    “ทาคุ” ในเรื่อง Kyokou Shinwa ~Sekando Reipu~

     

     หากอ่านถึงตรงนี้จะเห็นว่าภาพรวมการ์ตูนตาหวานนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความรักของสาวน้อยคนหนึ่ง กับพระเอกที่หล่อเลิศ ตอนแรกพระเอกคนที่ว่าไม่ได้สนใจสาวน้อยคนนี้หรอก หากแต่สาวน้อยคนที่ว่าทำทุกอย่างให้เขาให้มาสนใจ ก่อนที่ความตั้งใจของเธอก็ประสบความสำเร็จได้พระเอกมาครองในที่สุด จบอย่างมีความสุข  (ส่วนเรื่องชื่อคนเขียน หรือประเด็นเนื้อหาแรงๆ นั้นไม่ขอพูดถึง)

    อย่างไรก็ตาม ใน Kakene Nashi no LOVE Torihiki มีเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ทำลายแนวการ์ตูนรักๆ ตาหวานโดยสิ้นเชิง คือเรื่อง Kyokou Shinwa ~Sekando Reipu~ (Made-up Myth ~Second Rape~) หรือแปลเป็นไทยคือ “ตำนานที่สร้างขึ้น ข่มขืนรอบที่สอง”

    เนื้อหาของตอนที่ว่าเป็นตอนท้ายของการ์ตูน Kakene Nashi no LOVE Torihiki โดยกล่าวถึงสาวน้อยขี้อายคนหนึ่งชื่อ “วากานะ” ที่ต้องการมีความรักที่หวานชื้นเหมือนเพื่อนสนิทของเธอบ้าง เธอเลยใช้หาคู่ทางโทรศัพท์ โดยวิธีส่งข้อความไปหาชายที่น่าสนใจอยากเป็นแฟนกับเธอด้วย จนได้รู้จักชายหนึ่งคน “ทาคุ” ทางวิธีที่ว่า (เพื่อนสนิทของวากาเนะก็ใช้วิธีดังกล่าวจนได้แฟนหล่อ เธอเลยคิดว่าวิธีนี้ปลอดภัย)

    วากานะรู้จักและเริ่มสนิทกับทาคุทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน ที่ผ่านมาก็ใช้วิธีส่งข้อความทางโทรศัพท์ไปตลอด  จนกระทั่ง 3 เดือนต่อมา วากาเนะและเพื่อนสนิท (และแฟนเพื่อนสนิท) ได้นัดทารุมาเจอที่งานเทศกาล (ของญี่ปุ่น) ซึ่งเมื่อถึงเวลานัดก็พบว่าทาคุที่เธอรู้จักทางโทรศัพท์มาตลอดนั้นเป็นชายหนุ่มหล่อเลิศ นิสัยดี

    วากานะรู้สึกปลื้มสุดขีดที่ได้รู้จักแฟนทางโทรศัพท์ที่หล่อแบบนี้ หลังจากนั้นทั้งหมดก็ไปเที่ยวงานเทศกาลด้วยกัน หากแต่เวลานั้นคนในงานพลุ่นพล่านมากส่งผลทำให้วาเนะต้องพลัดหลงกับเพื่อนๆ เหลือเพียงวากาเนะกับทาคุสองต่อสองเท่านั้น

     


    ฉากข่มขืนในเรื่อง

     

    เมื่อทาคุเห็นว่าวากานะอยู่คนเดียว เขาก็พาเธอไปที่ป่ามืดๆไร้ผู้คน  และที่นั้นทาคุก็เปลี่ยนหน้าจากพระเอกหน้าตาดีตอนแรกกลายเป็นวายร้าย จับกดวากานะ จับกดไม่พอ ยังตบหน้า เอามีดออกมาขู่อีกต่างหาก โดยบอกว่าหากเธอไม่ยอมเขา จงเตรียมเป็นศพหมกในป่าได้เลย

    จากนั้นทาคุก็ข่มขืนวากานะ ในเวลานั้นเป็นเวลาโชว์โอกไม้ไฟพอดี ทุกคนกำลังมีความสุข แต่สำหรับวากานะนั้นเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายมาก

    หลังจากที่ทาคุจัดการข่มขืนวากานะอย่างเสร็จสมอารมณ์หมายแล้ว  วากานะลากสังขารได้พาร่างกายมอมแมมนี้ไปแจ้งความที่สถานตำรวจที่อยู่ใกล้ๆ

    หากแต่ตำรวจที่รับแจ้งความนั้นไม่ได้สนใจหรือเห็นใจกับวากานะแม้แต่น้อย และแทนที่จะตั้งคำถามว่านายคนนั้นชื่ออะไร? อยู่ที่ไหน? ไหนเบอร์โทรที่ติดต่อ?  นายตำรวจคนนั้นได้บอกให้วากานะเตรียมใจอย่างหนึ่งในการที่จะดำเนินคดีกับทาคุ

    “ผมก็เห็นใจคุณน่ะ ว่าแต่คุณเตรียมออกสื่อ (เปิดเผยชื่อจริง) อะไรหรือเปล่า?

    “ออกสื่อ?” วากานะสงสัยว่ามันศัพท์อะไร?

    “ใช่ คดีการข่มขืนเป็นคดีความผิดร้ายแรง แต่ตำรวจไม่สามารถดำเนินคดีได้ จนกว่าคุณจะยินดีเปิดเผยชื่อจริง

    “แล้ว.... ฉันต้องทำอย่างไร?” วากานะ งง สุดขีด (นี้ฉันโดนข่มขืนมาหมาดๆ เอ็งจะให้ฉันทำอะไรยุ่งยากฟ่ะเนี้ย)

    ตำรวจทำหน้านิ่งแล้วพูดต่อว่า “คุณต้องเขียนรายงายรายละเอียด เรื่องที่เรา..... แต่ผมคิดว่ามันจะดีที่สุดหากเธอจ้างทนายความสำหรับครั้งแรก”

    “ทนายความ!?

    การสนทนาของวากานะและนายตำรวจยังดำเนินต่อไป

     ตำรวจยังพูดต่อไป “แต่ค่าทนายความมันแพง.....ดังนั้น....”

    “และ “รายงานละเอียด” ก็หมายถึง เธอจะต้องเล่าเรื่องที่เธอโดนข่มขืนมาให้หมดอย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ” (มันลวนลามเธอยังไง มันสอดใสยังไง  ทำกันกี่ครั้ง เวลานั้นสภาพรอบข้างเป็นอย่างไร? เนื่องจากคดีนี้ไม่มีพยาน มีแต่ผู้เสียหายกับคนร้ายดังนั้นวากาเนะจำเป็นต้องเปิดเผยทั้งหมด)

    “แต่ฉันไม่ต้องการที่จะคิดถึงในสิ่งที่เกิดขึ้น...!” วากานะยืนยัน เพราะเวลานั้นเลวร้ายมาก เธอไม่อยากคิดถึงมันเลย

    ตำรวจนายหน้านิ่งคนนั้นก็พูดต่อ  “ถ้าอย่างนั้นก็ยากพิสูจน์ละ ถ้าคนร้ายเป็นเพื่อนทางจดหมาย แสดงว่าเขาเป็นคนใกล้ชิด แถมเรื่องของเธอก็จุดขัดแย้งเยอะ ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกายของคุณเผยให้เห็นผิวกาย (ล่อตะเข้) แล้วคุณก็บอกว่าเขาพาคุณไปยังสถานที่มืดไม่มีคน คุณก็ไปด้วยตัวของคุณเอง  โดยไม่ขัดขืนอะไรทั้งสิ้น ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะความยินยอมของคุณด้วยซ้ำ”

     

    ตำรวจไม่ได้ใส่ใจเรื่องของวากานะเลยแม้แต่น้อย

     

                   “ถึงแม้ว่าคุณจะพูดว่าตนถูกคุกคามด้วยมีด แต่ตัวคุณไม่มีบาดแผลดังนั้นจึงไม่มีหลักฐาน อีกทั้งเวลานั้นคุณสามารถเรียกคนอื่นมาช่วยได้ทันทีแต่คุณไม่ทำ” (ตอนนั้นวากานะตื่นตกใจกลัวจนไม่กล้าส่งเสียงร้อง อีกทั้งเวลานั้นมีเสียงดอกไม้ไฟกลบหมดทำให้ไม่มีใครได้ยิน)

                    วากานะรู้เลยว่าตำรวจคนนี้ไม่เชื่อเธอแน่นอน

                    และเมื่อตำรวจนายนั้นพูดว่า “พูดตามตรงน่ะ คุณถูกข่มขืนจริงหรือเปล่า?” วากาเนะก็ทนไม่ไหว วิ่งออกจากสถานีตำรวจ ตรงกลับบ้านเลย วากาเนะทั้งเจ็บใจ ทั้งอาย โดนผู้ชายข่มขืนยังไม่พอ ยังโดนตำรวจพูดจาโหดร้ายใส่อีกต่างหาก

                    เมื่อกลับมาบ้าน เธอก็แอบเข้าบ้าน เพื่อไม่ให้แม่เห็นว่าลูกของเธอไปทำอะไรมาถึงเนื้อตัวมอมแมมแบบนี้ เพื่อไม่ให้แม่เป็นห่วง (หรือไม่อยากให้แม่รู้เรื่อง) จากนั้นวากาเนะจัดการอาบน้ำล้างตัวเอาคราบแห่งความอัปยศออก

                    จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วากานะไม่ออกจากบ้านถึง 3 วัน ในใจก็กลัวเจอทาคุข้างนอก หรือมีเมล์เข้า จนกระทั่งวากานะจำเป็นต้องไปโรงเรียน เพราะขาดเรียนนานไป  หากแต่เธอก็ยังไม่หายหวาดระแวง จนกลายเป็นโรคกลัวผู้ชาย ถึงขั้นอยากจะเป็นลมเมื่ออยู่ใกล้เพื่อนผู้ชายไปเลย

     

     

    ความทุเรศของทารุ

     

                    และระหว่างที่วากาเนะกำลังทรมานที่อยู่ในเอง โทรศัพท์ก็มีสัญญาเตือนว่ามีคนส่งข้อความมา และเมื่อพอเปิดดูข้อความก็พบว่ามันเป็นของทาคุที่เขียนมาเยอะเย้ย ประมาณว่าเรื่องที่ข่มขืนวันก่อนมันสนุก อยากทำอีก และนั้นเองทำให้วากานะเป็นลมทั้งยืนกลางแถวนักเรียนนั้นเอง (ทำไมคุณเธอไม่เปลี่ยนซิมการ์ดว่ะ!?)

     

     

    เพื่อนมาปลอบวากานะ
     

                    วากาเนะก็ตื่นขึ้นมาอยู่ในห้องพยาบาลกับเพื่อนสนิทของเธอ หลังจากนั้นเธอก็ระบายความอัดอั้นทั้งหมดว่า ในคืนวันเทศกาลดอกไม้ไฟ เธอโดนทารุข่มขืน ซึ่งสาเหตุที่มาบอกจนถึงปานนี้ก็เพราะว่ากลัวเพื่อนจะรังเกียจเธอ ไม่เชื่อใจเธอ และเลิกคบกับเธอ

                    เมื่อเพื่อนสนิทของอากานะได้ยินก็กอดเธอและให้กำลังใจเธอ อยากให้เธอเข้มแข็ง และด้วยกำลังใจจากเพื่อน ทำให้วากานะเยียวยาจิตใจ จนจิตใจเข้มแข็ง สามารถกลับมาลุกขึ้นได้อีกครั้ง

     

     

    หน้าสุดท้าย

     

                     และเวลาผ่านไปสักพัก วากานะก็ตัดสินทำสิ่งที่เธออยากทำมาโดยตลอด เธอสารภาพกับแม่ว่าโดนผู้ชายล่อลวงไปข่มขืน และหลังจากนั้นเธอกับแม่และเพื่อนสนิทพากันไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีเอาเรื่องกับทาคุ ข้อหาข่มขืน จนถึงที่สุด 

                    เสียดายที่เรื่องจบแต่เพียงเท่านี้ โดยเรื่องไม่ได้เล่าต่อว่าสรุปทาคุเข้าคุกหรือไม่

    Kyokou Shinwa ~Sekando Reipu~ (Made-up Myth ~Second Rape~) ได้ทำให้ความคิดเกี่ยวกับเรื่องบนเตียง (ฉากเอากัน) ของการ์ตูนตาหวานโชโจะเปลี่ยนไป เมื่อเรื่องบนเตียงการ์ตูนตาหวานไม่ได้จบดีแฮปปี้เอนดิ้ง ดูแล้วงดงามเสมอไป

    ปกติแล้วการมีฉากเพศสัมพันธ์ของการ์ตูนสายสว่างทั่วไป เป็นการแสดงถึงการผูกมัดตัวละคร ในการ์ตูนตาหวานโชโจะแสดงถึงผู้หญิงตัวเอกสามารถพิชัยหนุ่มหล่อได้ แม้ว่าอดีตหนุ่มหล่อคนนั้นจะนิสัยไม่ดี (อวดรวย, เพลย์บอย, ข่มเหงคนอื่น) หากแต่เมื่อรักตัวเอกหญิงก็รักจนหมดใจ เพราะตัวเอกหญิงพิเศษกว่าคนอื่น 

    ที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงแค่การ์ตูนเรื่องนี้มีฉากข่มขืน เพราะคนเขียนเรื่องนี้ก็ชอบวาดแนวนางเอกเกือบโดนข่มขืนอยู่เหมือนกัน และการ์ตูนตาหวานโชโจะหลายเรื่องที่มีฉากดังกล่าวด้วย (เอาง่ายๆ เรื่องดังๆ มาเฟียที่รัก ของสำนักพิมพ์บงกช)

    น่าสังเกตคือตัวเอกชายที่ข่มขืนตัวเอกหญิงนั้นส่วนมากเป็นพระเอกที่มีสถานะเหนือกว่านางเอก ถูกเชิดชูว่ามีฐานะทางสังคมเหนือกว่า หล่อเลิศ เป็นมหาเศรษฐี ร่ำรวย (ไม่มีพวกอ้วน โอตากุ เฒ่าหัวงูเลยแม้แต่น้อย)  

    แน่นอนเรื่องข่มขืนผู้หญิงนั้นควรถูกประณาม แต่กลับกลายเป็นว่าคนดูกลับให้อภัยตัวเอกชายในเรื่อง เพราะหล่อรับได้ (บางคนกลับบอกว่าฟิลด้วยซ้ำ) อีกทั้งถึงอย่างไรเนื้อเรื่องก็จะกลายเป็นว่า ตัวเอกหญิงเกิดหลงรักตัวเอกชายอย่างแท้จริง แต่งงาน จบอย่างมีความสุขเอง

    นอกเหนือจากการ์ตูนตาหวานโชโจะแล้ว พล็อตอารมณ์นี้เราพบเห็นได้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นละครหลังข่าวไทย พวกพล็อตแนวมนต์รักอสูร พระเอกตบจูบ จับกดบนเตียง ล้วนไม่แตกต่างกัน และได้รับความนิยมคนดูล้นหลามเช่นกัน



    หน้าปก
    Kakene Nashi no LOVE Torihiki

     

    น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือบทบาทตัวละครในเรื่อง ที่ค่อนข้องวางบทละครเหมือนชีวิตจริงอย่างน่าประหลาด  “ทาคุ” ตัวละครที่หลายคนเชื่อว่าเป็นพระเอก ความจริงแล้วเขาเป็นเพียงตัวเอก แต่ไม่ใช่พระเอก หรือพูดง่ายๆ ก็คือตัวโกงนั้นเอง ปกติแล้วการ์ตูนตาหวานโชโจะ (และการ์ตูนบางเรื่อง) ก็มีพระเอกข่มขืนนางเอกเหมือนกัน แต่กรณีของทาตุนั้นข่มขืนก็หายไปเลย ไม่ได้โผล่ให้เห็นหน้าอีก (นอกจากส่งข้อความมาหา) ทาคุเปรียบเสมือนนักข่มขืนที่อาศัยความเป็นรูปงาม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “High-mating-effort rapists” นักข่มขืนเจ้าเสน่ห์ แม้ว่านักขมขืนนี้จะมีความก้าวร้าว แต่มีความภาคภูมิใจสูง มักหาเหยื่อโดยไม่ลำบากนัก เพราะมีเสน่ห์ที่หน้าตาดี ในตอนแรกจะทำเป็นนิสัยดีเพื่อให้ผู้หญิงประทับใจ หากเมื่อติดกับดักก็เผยสันดานใช้กำลังจัดการข่มขืนเหยื่อ

    ก็น่าแปลกหากมีเพศสัมพันธ์อย่างเต็มใจและมาจากความรักนั้นทำให้เรามีความสุข หากแต่ในตรงข้าม หากขืนใจกลับนำความทุกข์อย่างใหญ่หลวงแก่ผู้ถูกข่มขืน ที่สุด ปกติแล้วสังคมมักมองไม่ดีกับเหยื่อที่ถูกข่มขืน อีกทั้งเหยื่อยังมีอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ ตายทั้งเป็น เจ็บทั้งกายและใจ

    หลังวากานะถูกข่มขืนจะเห็นว่าเธอเครียดอย่างรุนแรง ช็อกกลัว รู้สึกกระวนกระวาย ชา ตื่นกลัว ถูกตัดขาด ในสมองก็เริ่มคิดแต่เรื่องความฝัน พยายามที่จะหลีกหนีความจริง ไม่สามารถจำรายละเอียดถูกข่มขืนได้  ยิ่งนานวันยิ่งทวีความรุนแรงต่อภาวะจิตใจมากยิ่งขึ้น

     ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คดีผู้หญิงข่มขืนส่วนใหญ่ มักต้องให้เจ้าทุกข์ทำใจเสียก่อน ค่อยแจ้งความ เพื่อเตรียมใจ และ เพื่อที่จะลำดับเรื่องราวได้ถูก (และนั้นเองทำให้ไม่สามารถเก็บคราบอสุจิเพื่อระบุคนร้ายได้)

    เมื่อวากานะมีเรื่องทุกข์ใจ หากเป็นในการ์ตูนทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่การปลอบใจและให้กำลังใจนางเอกนั้น จะเป็นหน้าที่ของพระเอก หรือชายที่นางเอกไม่ให้ความสำคัญในตอนแรก  หากแต่ในเรื่องวากานะไม่มีเพื่อนสนิทชาย ทำให้หน้าที่นี้ตกเป็นของเพื่อนสนิทหญิง (ชิโอริ) ของวากานะแทน

    ตรงจุดนี้ก็สื่อสะท้อนเกี่ยวกับวัยรุ่นได้อย่างหนึ่ง นอกเหนือจากเรื่องแฟนแล้ว สิ่งที่ผู้หญิงให้ความสำคัญที่สุดยิ่งกว่าก็คือการคบเพื่อนเพศเดียวกันนั้นเอง จากเรื่องจะเห็นได้ว่าวากานะนั้นไม่กล้าบอกเรื่องตนถูกทาคุข่มขืนกับแม่  แต่กลับเปิดใจระบายความอัดอั้นเรื่องเหล่านี้ให้แก่เพื่อนสนิทของเธอได้แทน แสดงให้เห็นว่าเพื่อนสนิทมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรืออิทธิพลต่อสังคมของวัยรุ่นผู้หญิงในวัยเรียนมากพอสมควร หากเธอมีปัญหาคาใจ มีเรื่องทุกข์ใจจะต้องปรึกษาเพื่อน หากเพื่อนให้ความคิดเห็นดีก็จะไปกปรึกษาผู้ปกครองเป็นรายถัดไป

    โชคดีที่วากานะมีเพื่อนดี ดังนั้นเธอสามารถเยียวยาจิตใจ กลับมาเป็นปกติ หากเพื่อนไม่ดี ไม่ช่วยเหลือ วากานะอาจหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตายก็ได้

     แน่นอนว่าแม้ตอนจบจะไม่ชัดเจนว่าทาคุจะถูกลงโทษหรือเปล่า อีกทั้งวากานะไม่มีหลักฐานที่เป็นพยานวัตถุ (ปกติแล้วหากเหยื่อโดนข่มขืนจะต้องรีบเก็บน้ำเชื้อตามร่างกายหญิงสาว อย่างไรก็ตามตำรวจสามารถสอบสวนได้ตรงที่หาประวัติทาคุก็สามารถเอาผิดเขาได้ เพราะดูจากพฤติกรรมการก่อคดีแล้วดูเหมือนว่าทาคุน่าจะก่อคดีหลายคดี  เพียงแต่เหยื่อเหล่านี้ไม่กล้าแจ้งความเพราะกลัวอับอาย ซึ่งมีเพียงวากานะที่ลุกขึ้นสู้ เรียกร้องสิทธิสตรีเท่านั้น

                    เรียกได้ว่าเป็นการ์ตูนสั้นที่มีสาระ โดยอิงพื้นฐานกับแลการสะท้อนสังคมของวัยรุ่นได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

    แน่นอนว่าเนื้อหาการ์ตูนไม่ได้กล่าวถึงขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะไม่งั้นอาจเป็นเรื่องยาวเพราะโลกแห่งความจริงนั้นคดีประเภทนี้หากพระเอกเป็นคนรวย หรือเป็นลูกมีอิทธิพลตำรวจจะไม่กล้าเข้าไปยุ่ง ส่วนมากคดีดังกล่าวมักจบลงโดยการให้ฝ่ายชายเสียเงินค่าเสียหายแก่ฝ่ายหญิงนิดหน่อยก็ถือว่าจบไป  

    Kyokou Shinwa ~Sekando Reipu~ (Made-up Myth ~Second Rape~) อาจไม่ใช่การ์ตูนที่มีความแปลกใหม่นักตามความรู้สึกหลายคน แต่กระนั้นมันก็เป็นการ์ตูนที่กล้าใส่ความจริงลงไปในการ์ตูนตาหวานโชโจะของตนเอง ทั้งๆ ตัวคนเขียนเองก็ทำฉากอย่างว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้ามาหลายเรื่อง แต่คนเขียนกล้าที่จะทำลายกฎตนเอง ภาพการข่มขืนเป็นเรื่องโรแมนติกของการ์ตูนตาหวานโชโจะ ให้ออกมาตามดูน่ารังเกียจ โรแมนติกกลายเรื่องเป็นมลทิน และความจริงที่ว่าผู้หญิงถูกข่มขืนก็ต้องฟ้อง

    การทำลายกฎของตนเองไม่ใช่เป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป การทำลายกฎบางครั้งก็เหมือนกับการคิดนอกกรอบ  กรอบที่คนอื่นๆ เขาทำการ กฎที่ซ้ำๆ ซาก คนเขานิยมกัน ลองมาทำแหวกกว่าชาวบ้าน ลองใส่อะไรในความเป็นจริง หรือสะท้อนดู ก็ไม่เลวเหมือนกัน   

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเนื้อหาการ์ตูนจะน่าตกใจไปบ้าง แต่โดยภาพรวมการ์ตูนก็ยังคงใส่ความเป็นตาหวานโชโจะ ที่ยังคงแสดงถึงตัวเอกสาวน้อยตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ผิดพลาดในชีวิต แต่ต่อมาก็ได้แรงหนุนจากเพื่อนๆ และครอบครัวให้มีจิตใจที่เข้มแข็งลุกขึ้นยืน สู้ต่อไปตราบเท่ามีลมหายใจตามสไตล์หญิงแกร่งของโชโจะ

    ต่อให้เนื้อหาจะแหวกแต่ก็ไม่ได้ทำลายรูปแบบของการ์ตูนตาหวานโชโจะที่มีอยู่เดิมไปเสียหมดซะเมื่อไหร่

    แน่นอนว่าการ์ตูนที่เนื้อหาสะท้อนสังคมนี้ไม่อาจทำให้สังคมของเราน่าอยู่ขึ้น หรือเปลี่ยนโลก หรือทำให้ผู้หญิงหลายคนเปลี่ยนทัศนคติการคบเพื่อนต่างเพศได้ แต่กระนั้นมันก็เป็นผลงานที่ทำให้บางคนตะหนักถึงภัยอันตรายใกล้ตัว ความทุกข์ใจของเหยื่อที่ถูกข่มขืน ไปจนถึงการเยียวยาจิตใจ ไม่มากก็ไม่น้อย

    สะท้อนสังคมไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด ขึ้นอยู่กับทำอย่างไรให้สร้างสรรค์ การนำไปใช้ ให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกอินและอยากติดตามต่อ  

    คำว่าสะท้อนสังคมอาจนำไปใช้ในกรณีใดก็ได้ โดยเฉพาะ ละครไทยสะท้อนสังคม แต่ที่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนดูได้อะไรจากเรื่องดังกล่าว เราดูแล้วได้ข้อคิดไหม ดูแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร ต่อให้เรื่องนี้สะท้อนสังคม แต่กลับเนื้อหากลับไร้ความสร้างสรรค์ วนเวียนอยู่กับเรื่องเดิมๆ ไร้ซึ่งการพัฒนา ละครไทยก็ยังคงถูกชาวบ้านถล่มเละอยู่ดี

    จะมีละครไทยสักกี่เรื่องที่นางเอกโดนพระเอกข่มขืน แล้วออกมาฟ้องร้องชดใช้ค่าเสียหายเหมือนวากานะบ้าง?

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×