ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #104 : Cloth Road ชุดที่ดีไม่ได้อยู่ที่เนื้อผ้าแต่อยู่ที่จิตใจของคนสวม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.38K
      5
      28 ก.พ. 54


    Cloth Road เป็นการ์ตูนผจญภัยแฟนตาซีที่เนื้อหาโดยรวมไม่ได้แตกต่างจากการ์ตูนเรื่องอื่นๆ สักเท่าไหร่ แต่กระนั้นc,hเนื้อหาจะเป็นสูตรสำเร็จแต่ก็น่าอ่านสำหรับผมอยู่ดี เพราะว่าภาพออกมาอลังการงานสร้าง(แต่ภาพออกมาไม่รกรุงรัง) และโลกของการ์ตูนเรื่องนี้ช่างน่าหลงใหลชวนมองเหลือเกิน

     

      

    Cloth Road

    แฟนตาซี, แอ็คชั่น, ผจญภัย

    ดูได้ที่ http://www.mangafox.com/manga/cloth_road/

     

    Cloth road หรือ “ถนนผ้า” เป็นการ์ตูนมังงะเนื้อเรื่องโดย Hideyuki Kurata (ผลงานที่ผ่านมา Read or Die, HandxRed, Train + Train อนิเมชั่นก็เช่น Kamichu!) ภาพโดย Okama (ผลงานมังงะที่ผ่านมา Food Girls,  หนังสือรวมภาพประกอบ Okamarble แต่ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นโดจินโป๊มากกว่า  เช่น School, Hanafuda, Megurikuruharu นอกจากนี้ยังมีส่วนรวมสร้างอนิเมชั่นบางเรื่องอย่าง Getsumento Heiki Mina, Rebuild of Evangelion, Kamichu!, Diebuster) ปัจจุบันการ์ตูนออกมาแล้ว 8 เล่มยังไม่จบ(ออกตั้งแต่ปี 2003) ลงในนิตยสาร Ultra Jump(นิตยสารที่การ์ตูนส่วนใหญ่เป็นแนวแฟนตาซี วิทยาศาสตร์โดยมีหนุ่มสาวดำเนินเนื้อเรื่อง เรื่องดังๆ เช่น Battle Angel Alita : Last Order(2001), Needless, Steel Ball Run(2004) ส่วนในประเทศไทย การ์ตูนมังงะเรื่อง Cloth Road  ได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยาม ตอนนี้ออกมา 2 เล่มแล้วก็ถือว่าออกเร็วพอสมควร

    Cloth road เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนดาวแห่งหนึ่งที่แฟชั่นมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ อุตสาหกรรมสิ่งทอได้เปลี่ยนวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างใหญ่หลวง สิ่งทอกลายเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกของมนุษย์ เช่น เคเบิ้ลกลายเป็นด้าย เมนบอร์ดกลายเป็นเนื้อผ้า รวมไปถึงคอมพิวเตอร์กลายจักรเย็บผ้าที่ใช้นาโนเทคโนโลยีที่พัฒนาถึงขีดสุด แค่กดปุ่มคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างเสื้อผ้าในพริบตา นอกจากนั้นบุคคลที่ทรงอิทธิพลบนดาวแห่งนี้ก็กลายเป็น แบรนด์แฟชั่นชื่อดัง, โปรแกรมเมอร์กลายเป็นนักตัดเย็บเสื้อผ้าหรือดีไซเนอร์ และนายแบบนางแบบคือดารา แต่กระนั้นโลกแห่งนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรกับโลกแห่งความจริงเท่าใดนัก ท่ามกลางโลกแห่งแฟชั่นที่สวยงามนี้ก็ยังมีบางมุมที่เสื่อมโทรมที่เต็มไปด้วยปัญหาสังคมที่ยังไม่ได้รับแก้ไข ช่องว่างคนจนคนรวยยังเหมือนเดิม ซ้ำยังหนักกว่าเสียด้วยซ้ำ

    บนโลกแห่งนี้มีเกมส์นิยมเกมส์หนึ่งเรียกว่า “War King” เป็นเกมต่อสู้แข่งขันทัวร์นาเมนต์แฟชั่น ที่นายแบบนางแบบแฟชั่นของแต่ละฝ่ายต้องต่อสู้กันด้วยเสื้อผ้าของตนเองที่ออกแบบให้ต่อสู้โดยเฉพาะ เสื้อแต่ละคนมีคุณสมบัติและความสามารถแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับดีไซเนอร์(คู่หูและคนวางแผน)ออกแบบ(เช่นเพิ่มพลังโจมตี, เพิ่มพลังกระโดด, ปล่อยอาวุธลับ เป็นต้น) นอกจากชุดจะดีแล้ว นางแบบนายแบบต้องมีสถานะทางร่างกายสูงด้วยถึงจะสามารถอยู่รอดบนเวทีแห่งนี้ได้ โดยกติกาเกมส์ขึ้นอยู่กับล่ะเมือง เช่น ทำลายกระดุม(แกนกลางของชุด)ของฝั่งตรงข้ามหรือทำให้คู่ต่อสู้ตกเวทีเป็นอันชนะ

       

    Cloth Road เป็นเรื่องราวของตัวละครตัวหนึ่งชื่อ “ฟากัส” เด็กกำพร้าที่ต้องอยู่กับ “กุสสตาฟ” ดีไซเนอร์ฝีมือดีคนหนึ่งที่กำลังผจญกับโรคร้ายในชุนชนอัดยากจนในเมืองคโลเน็ต ฟากัสนั้นมีความปรารถที่อยากจะออกจากเมืองที่สิ้นหวังนี้ไปสู่โลกกว้างที่สดใส เขาพยายามหาเงินพร้อมกับฝึกฝนฝีมือไปด้วย โดยทำอาชีพดีไซเนอร์ฝึกหัดออกแบบเสื้อให้นายแบบชั้นต่ำในทีม 8,823 เพื่อใช้ในการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แฟชั่น แม้นายแบบที่เขารับผิดชอบจะได้รับชัยชนะมากมายก็ตาม แต่เขาก็ได้รับการปฏิบัติราวกับขี้ข้า แถมได้เงินตอบแทนไม่ครบจำนวนอีก แต่เขาก็ต้องอดทนเพื่อความฝันของเขา

    ฟากัสนั้นเป็นหนุ่มน้อยที่หลงใหลเรื่องแฟชั่น และอยากเป็นดีไซเนอร์ฝีมือดี เขาแอบหลงรัก “เพอร์ลิน” โสเภณีที่เป็นลูกค้าประจำของกุสสตาฟ ทำให้เขาเจ็บปวดทุกครั้งเวลาเห็นเพอร์ลีนไปกับชายคนอื่น ทำให้ฟากัสยิ่งอยากออกจากที่แห่งนี้เร็วยิ่งขึ้น(จะได้ไม่เห็นภาพบาดตานี้อีก)

    จนกระทั้งวันหนึ่งความฝันของเขาก็สลาย เมื่อทีม 8,823 ได้พ่ายแพ้การแข่งขันให้กับคู่ต่อสู้ที่เก่งกว่า ทำให้เขาทะเลาะกับนายแบบจนโดนไล่ออก ประกอบกับกุสสตาฟคนเลี้ยงดูเขาก็มาล้มป่วยอีก เพราะนาโนแมนชีนหมดอายุ จำเป็นต้องผ่าตัดด่วนและต้องใช้เงินจำนวนมากด้วย แล้วฟากัสจะเอาเงินที่ไหนมาช่วยได้ล่ะ ในเมื่อเขาพึ่งโดนไล่ออกมาหยกๆ และท่ามกลางปัญหามากมายนั้นเอง ฟากัสก็ได้พบเจนนิเฟอร์สาวน้อยที่อ้างตัวว่าเป็นพี่น้องฝาแฝดของเขาเป็นครั้งแรก และเธอได้อาสาจะเป็นนางแบบเพื่อประลอง เพื่อชิงเงินรางวัลชนะเลิศเพื่อรักษากุสตาฟ

      

    ฟากัส(Fergus)หนึ่งในตัวละครเอกของเรื่องเป็นดีไซเนอร์ฝึกหัดที่อดีตได้รับการเลี้ยงดูจากกุสตาฟ  มีนิสัยเงียบๆ แต่เวลาโกรธแล้วก็แรงพอดู ชอบวางแผน คิดรอบคอบ  ปากไม่ตรงกับใจเท่าไหร่ ชอบเรื่องแฟชั่นมากๆ และชอบมองโลกแง่ร้าย มักทีอาการท้อเสมอ หลังจากเสร็จธุระของกุสตาฟเขาเริ่มออกเดินทางพร้อมกับเจนนิเฟอร์พี่น้องฝาแฝดของเขาเพื่อตามหาพ่อแม่ เงื่อมงำมีอย่างเดียวคือผ้าห่อทารกที่ถูกทักขึ้นโดยเทคนิคพิเศษชนิดที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถทักได้

      

    เจนนิเฟอร์(Jennifer) เด็กสาวที่อ้างตัวว่าเป็นฝาแฝดของฟากัส ที่ถูกแยกกันเลี้ยงดู หลังผู้เลี้ยงดูของเธอตายเธอก็มาหาฟากัส เป็นเด็กสาวอารมณ์ดี มองโลกแง่ดี ไร้เดียงสา และเป็นตัวเอกคนที่สอง มักพูดประจำว่าตนเองเป็นพี่สาวของฟากัส แต่กระนั้นการกระทำเหมือนน้องสาวมากกว่าทำให้ทะเลาะกับฟากัสประจำในเรื่องใครอายุมากกว่า เธออาสาเป็นนางแบบให้ฟากัสทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีสิ่งทอ (เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในคริสตจักร) แต่ด้านพลังกายและความเร็วเต็มเปี่ยม และนิสัยไม่ยอมแพ้คนอื่น เธอเป็นเพื่อนร่วมทางของฟากัสเพื่อดูโลกและตามหาพ่อแม่ไปด้วย

    ในด้านลายเส้นนั้น Cloth Road รู้สึกจะเน้นฉากมากกว่าตัวละครเนื่องจากเป็นแนวถนัดของคนเขียนคนนี้ ใครที่ได้ดูการ์ตูนโป๊ของเขาอย่าง Hanafuda, Megurikuruharu, School ก็จะรู้ว่าคนเขียนนี้ชอบแฟนตาซีเสียจริงขนาดเป็นการ์ตูนโป๊ยังไม่ลืมใส่ความเป็นแฟนตาซี กล่าวคือภาพเหมือนภาพวาดง่ายๆ โล่งๆ แต่คนเขียนกลับวาดประยุกต์ฉากให้ดูเหมือนกว้างใหญ่สวยงาม หรูหรา ทิวทัศน์ที่เหมือนภาพวาดในโลกนิทาน บางฉากนี้อลังการเหมือนอยู่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งทีเดียว แม้ว่าฉากอลังการแต่กระนั้นความรู้สึกที่ได้ดูคือมันเงียบๆ เหงาๆ เหมือนกับว่าโลกแฟนตาซีที่ดูยิ่งใหญ่เป็นของสองเรา(พระเอก นางเอก) 

     

    โลกของ Cloth Road ไม่ใช้แฟนตาซีแบบเก่าโบราณจำพวกเวทมนต์หรือเกี่ยวกับตำนานต่างๆ หากแต่เป็นแฟนตาซียุคใหม่ที่มีส่วนผสมไซไฟ วิทยาศาสตร์เข้าไป(ในขณะที่บ้านเรือนและผู้คนส่วนใหญ่แต่งชุดแบบยุคกลาง)

    ในด้านการออกแบบตัวละคร การออกแบบจะเหมือนตัวละครนิทานภาพค่อนข้างมาก คือหน้าอาจไม่ใช่จุดเด่น แต่เน้นเรื่องชุดแฟชั่นแทน แถมชุดแฟชั่นแต่ละอย่างเลิศหรูอลังการมาก จึงไม่น่าแปลกที่มีหลายคนเอาชุดจากการ์ตูนเรื่องนี้เอามาเป็นแบบในการตัดคอสเพลย์โชว์ตัวตามงานต่างๆ

    แม้ตัวละครพระเอกกับนางเอกหรือตัวละครอื่นๆ จะไม่ค่อยมีจุดเด่นหรือแปลกใหม่เอาใดนัก แต่ผมกลับชอบการออกแบบตัวละครเหล่านี้ในเรื่องมาก ในความเรียบง่ายนี้กลับใส่ความดราม่ามาช่วยเพิ่มน้ำหนักมิติสมจริงสมจังของตัวละครมากยิ่งขึ้น


              จะว่าไปเรื่องสูตรพระเอกเก่งขึ้นระหว่างการเดินทางนั้นก็ถือว่าเป็นสูตรสำเร็จแฟนตาซีผจญภัยอยู่แล้ว(ประเภทเก็บเกี่ยวเลเวลประสบการณ์เจอคู่ต่อสู่เก่งขึ้นเนี้ย) ยิ่งการดำเนินเรื่องช่วงแรกก็มาแบบสูตรสำเร็จของแฟนตาซีผจญภัยดั้งเดิม คือตอนแรกตัวเอกอยู่อาศัยในโลกแคบๆ เหมือนกบในกะลา(เช่น บนเกาะเล็กๆ หมู่บ้านเล็กๆ สังคมเล็กๆ) และมีความใฝ่ฝันที่อยากจะท่องโลกกว้าง(แต่ไม่มีโอกาสได้ออกไปสักที) จนกระทั้งวันหนึ่ง เหตุการณ์หนึ่งชีวิตของตัวเอกก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อการมาของบุคคลหนึ่ง(นางเอก อาจเจอสิ่งของ หรือศัตรูบุก) พระเอกได้รู้ความสามารถ(ปราบศัตรู หรือหนีมาได้) ได้ออกผจญภัยร่วมกับนางเอกเพื่อท่องโลกกว้าง นี้แหละคือสูตรสำเร็จที่มังงะญี่ปุ่นมาเล่นกัน แต่กระนั้นของจริงอยู่ที่การดำเนินเรื่องหลังจากนี้ว่ามันจะประสบผลสำเร็จหรือไม่เป็นที่นิยมของคนอ่านหรือไม่ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับคนเขียน(และบรรณาธิการ)แล้วว่าจะวางแผนออกมาเป็นอย่างไร ถ้าดำเนินเรื่องดี(
    ??) การ์ตูนก็ดังไป อย่างเช่น วันพีช, ดราก้อนบอล, เรฟ, ฮันเตอร์Xฮันเตอร์ ฯลฯ แม้ว่าการ์ตูนแฟนตาซีผจญภัยบางเรื่องเนื้อหาจะออกทะเลไปบ้าง(ปานกลางจนถึงมาก) แต่กระนั้นเรตติ้งกลับดี(มีคนอวยให้)ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ สูตรใครสูตรมัน แต่กระนั้นก็มีการ์ตูนหลายเรื่องเหมือนกันที่ตอนแรกดำเนินแบบสูตรสำเร็จแต่เมื่อถึงดำเนินเรื่องหลังจากนั้นก็จบลงใน 2 เล่มจบเท่านั้น(ส่วนตัวอย่างมีอะไรนั้นก็ลองคิดดูเอาเองเถอะ)

    แม้ว่า Cloth Road จะดำเนินเรื่องแบบสูตรสำเร็จแฟนตาซีผจญภัยแท้ๆ แต่ผมดูแล้วอร่อยไม่เบา เพราะว่าการ์ตูนวางพล็อตวางดราม่าได้ดี ที่นำเสนอพระเอกที่ออกแบบแสนจะธรรมดามากกว่า ซึ่งปกติแล้วพระเอกในแฟนตาซีผจญภัยจะเป็นพวกสดใสร่าเริง บ้าพลัง หรือรักความยุติธรรม และก็เก่งเทพ(ไม่ก็ฝึกวิชาสองวันเป็นเก่งเวอร์) แต่พระเอก Cloth Road หรือก็คือฟากัสกลับตรงกันข้าม เนื่องจากวางบทตัวละครนี้อยู่ในสลัมทำให้ติดนิสัยไม่ไว้คนอื่น มองโลกในแง่ร้าย และมีคาแร็คเตอร์แบบขี้แพ้ จิตใจอ่อนแอ ที่มักทำตัวสิ้นหวังทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่ได้สู้

      

     จุดเด่นของการ์ตูนเรื่องนี้(หรือเนื้อหาส่วนใหญ่)คงจะเป็นฉากการแข่งเกม War King” นั้นแหละ เพราะแค่ฉากนี้กินหน้ากระดาษประมาณ 3/1 เล่ม ปกติผมชอบอยู่แล้วนะครับการ์ตูนประเภทต่อสู้กันโดยฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายสู้ส่วนฝ่ายชายเป็นฝ่ายสนับสนุน(อย่างเรื่อง Kurokami)ฉากต่อสู้นี้จะตื่นตาตื่นใจเต็มไปด้วยความแปลก เพราะการต่อสู้นี้ใช้เสื้อผ้าสู้กัน ไม่ว่าจะเป็นฉากเสื้อผ้าเปลี่ยนไปใบมีด เปลี่ยนเป็นหมัด เปลี่ยนเป็นเชือกรัดคอคู่ต่อสู้ เห็นได้ชัดเลยว่าคนเขียนได้ใช้วัตถุในชีวิตประจำวันไม่น่าจะเป็นมาเป็นอาวุธ  แต่กระนั้นภาพรวมการต่อสู้นี้ไม่รู้ทำไมผมนึกถึงการ์ตูนมังงะชื่อสมองกลนักสู้(Angelic Layer) ของ CLAMP ยังไงบอกไม่ถูก หรืออาจเป็นจำพวกการ์ตูนหุ่นยนต์แข่งขันต่อสู้ในอดีตรุ่นพ่อรุ่นแม่คงรู้จักกันดี

     แม้การต่อสู้บนเวทีอาจจะเป็นสูตรสำเร็จอย่างที่ผมบอกเอาไว้ แต่กระนั้นมันก็น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผมอยู่ดี อาจเป็นเพราะสาวๆ สู้กันมากกว่าจะเป็นตัวผู้สู้กัน(ฮ่า) แถมมีฉากเสื้อผ้าฉีกขาดได้เห็นเรืองร่างอีก(ฮ่าอีก) หรืออาจเป็นเพราะความสะใจในเรื่อง แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ เมื่อฝ่ายตัวเอกที่ฝีมืออ่อนด้อยกว่าสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือเก่งกว่าได้ทั้งทีฝ่ายพระเอกไม่ได้มีชุดดีเลิศมากมาย พระเอกดีไซเนอร์ฟากัสก็ไม่ได้เก่งอะไรแถมยังมองโลกแง่ร้ายอีก เห็นอะไรนิดหน่อยก็สิ้นหวัง จ้องจะยอมแพ้ท่าเดียว นางเอกเจนนิฟอร์ก็ไม่ได้เก่งอะไร แทบไม่รู้จักเรื่องแฟชั่นด้วยซ้ำ แต่กลายเป็นว่าเมื่อทั้งสองอยู่บนเวทีกลับเข้ากันอย่างน่าประหลาด แม้จะมีเรื่องขัดแย้งกันบ้างแต่ความขัดแย้งนั้นกลับเป็นจุดแข็งของการร่วมงานกันได้ เมื่อฟากัสวางแผนแบบเสี่ยงๆ บ้าระห่ำ โดยไม่สนความสวยงามหรือคนฉลาดทำกัน ส่วนเจนนิฟอร์ต่อสู้แบบมวยวัดที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ใช้ลูกฮึดของบวกกับดวง จนเกิด “หมูกัด  เอาได้ สุดท้ายคนทั้งสองกลายเป็นผู้ชนะในการต่อสู้แต่ละครั้ง

    ส่วนข้อคิดของการ์ตูน Cloth Road มาคิดๆ ดูสิ่งที่การ์ตูนพยายามจะสื่อ “ชุดดีไม่ได้อยู่ที่เนื้อหากหากแต่อยู่ที่ผู้สวม”

       

    เช่น ฉากที่นายแบบของทีมที่ฟากัสรับผิดชอบเกิดแพ้การแข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่เก่งกว่า แต่แทนที่จะโทษตนเองที่ทำตนให้แพ้เอง กลับโทษฟากัสหาว่าออกแบบชุดต่อสู้ไม่ดี วางแผนไม่ดี ด่าว่าโง่ จนฟากัสเหลืออดจนต้องสวนกลับว่า “นายก็เหมือนกันแหละ ตรงไหนฟ่ะที่เป็นนายแบบ อ้วนก็อ้วน พึ่งแต่ยา ไม่ยอมฝึกซ้อมอีก” แต่แทนที่นายแบบคนนั้นจะสำนึกกลายเป็นว่าฟากัสโดนต่อยซะงั้น สถานการณ์นี้เข้าข่ายได้ดีกับสุภาษิต “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” ซะเหลือเกิน สำนวนนี้หมายความว่า ทำไม่ดีหรือทำผิดไม่ยอมรับกลับโทษคนอื่นในการฟ้อนรำ  ลีลาท่ารำต้องให้เข้ากับปี่กลอง  บางคนเมื่อ มนุษย์เราเวลาทำผิดพลาดมักจะโทษคนอื่นแทนที่โทษตนเอง หาสาเหตุที่แท้จริงในการแก้ไข อยากจะนายแบบ แต่หุ่นไม่ให้ และไม่ให้ความสำคัญแก่คู่หู ถึงชุดจะดีเลิศขนาดไหนถ้าผู้สวมไม่ได้เรื่องมันก็เท่านั้น

    นอกจากเสื้อผ้าและจิตใจแล้ว การ์ตูนได้นำเสนอปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าด้วย นั่นคือสลัมที่ฟากัสอยู่ แม้ว่าสลัมนั้นจะมืดมนและเสื่อมโทรมก็ตาม แต่กระนั้นคนที่อยู่ในสลัมไม่ได้จิตใจเสื่อมโทรมไปด้วย ฟากัสได้เห็นคนดีในที่แห่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพอร์ลีนแรกรักของฟากัสแต่เป็นโสเภณีที่เป็นอาชีพที่น่ารังเกียจของสังคม แต่จิตใจนั้นกลับดีงามเป็นห่วงฟากัสยิ่งกว่าน้องชายแท้ๆ เสียอีก สังคมก็เปรียบเสมือนเสื้อแม้ว่าเสื้อนี้จะสกปรกน่ารังเกียจ หากแต่เมื่อผู้สวมมีจิตใจที่งดงาม ทั้งคนและเสื้อก็จะงดงามไปด้วย(ผมชอบประโยคหนึ่งของฟากัสที่พูดกับเด็กชาวไร่คนหนึ่งที่กระท่อมแห่งหนึ่งตอนหลบฝนว่า "ต่อให้คนรวยใส่ชุดหรูยังไง แต่จิตใจขอขอทานอยู่ดี" ซึ่งประโยคนี้ผมเห็นด้วยครับ)

       

    สรุป ตอนนี้ผมได้อ่านการ์ตูน Cloth Road แค่เล่ม 2 เลยไม่มีเรื่องอะไรจะเขียนสักเท่าไหร่ ส่วนเนื้อหาโดยรวมการ์ตูน Cloth Road อาจเป็นการ์ตูนแฟนตาซีสูตรสำเร็จเสียหน่อย แต่ก็กระนั้นก็มีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจต้องติดตามอ่านพอสมควร ไม่ว่าการใช้ผู้หญิงสู้กันบนเวที(การ์ตูนนี้ผู้หญิงเก่งผู้ชาย) ภาพทิศทัศน์ที่ดูยิ่งใหญ่อลังการ ชุดเสื้อผ้าที่หลายชุดแหวกแนวชุดถึงขั้นมีคนเอาไปเป็นแบบตัดเพื่อคอสในโลกแห่งความจริง และใครที่ชอบการ์ตูนสูตรสำเร็จที่ดำเนินเรื่องไม่ซับซ้อนมาก การ์ตูนเรื่องนี้น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณไม่มากก็ไม่น้อย

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×