คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : เสื้อผ้าของราชวงศ์ชิง
ปี 1644—ปี 1911
การปกครองสมัยชิงนั้นสถาปนาขึ้นโดยชนกลุ่มน้อยแมนจู เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่รอนมาเป็นระยะเวลานานกอปรกับสถานการณ์ทางสงคราม ดังนั้นเครื่องแต่งกายจึงต้องกระชับเข้ารูปเพื่อให้ง่ายต่อการขี่ม้าและยิงธนู ซึ่งกลายมาเป็นคุณสมบัติหลักของวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวแมนจูอันแตกต่างจากวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวฮั่นค่อนข้างมาก ผู้ปกครองในสมัยชิงมีความเข้าใจที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับการแต่งของเผ่าตัวเอง พวกเขาไม่เพียงคิดว่าเครื่องแต่งกายนี้เป็นสิ่งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเท่านั้น แต่ยังตระหนักว่าชุดเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมื่อออกรบแล้วไม่มีวันแพ้พ่าย ดังนั้นจึงได้ให้ความสำคัญกับการสืบทอดและพัฒนาชุดประจำเผ่าอย่างยิ่ง นอกจากนั้นเครื่องแต่งกายสมัยชิงก็ยังเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องแต่งกายที่สลับซับซ้อนและกระจุกกระจิกมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีนอีกด้วย ทั้งยังส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อการแต่งกายของชาวจีนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
套金护指的慈禧(北京故宫博物院藏《慈禧写真像》
พระนางซูสีไทเฮาเล็บทอง (พระสาทิสลักษณ์ของพระนางซูสีไทเฮาจากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง)
พระมาลาของพระจักรพรรดิ
พระมาลาขององค์พระจักรพรรดิแบ่งเป็นสองประเภทคือ冬朝冠เหมันตมาลา (หมวกสำหรับฤดูหนาว)และ 夏朝冠คิมหันตมาลา (หมวกสำหรับฤดูร้อน) ตัวเหมันตมาลามีลักษณะเป็นโดมลาดโค้งลงมา บริเวณขอบยกขึ้นสูงและบุด้วยขนมิงค์หรือขนจิ้งจอกสีดำ บนยอดประกอบเสามังกรสุวรรณเมฆาฝังมุก เสาทองคำนี้แบ่งเป็นสามชั้นด้วยกัน ชั้นล่างเป็นส่วนฐาน พาดลายมังกรสี่ตัว ประกอบด้วยไข่มุกสี่เม็ด ชั้นที่สองและสาม ก็ประกอบด้วยมังกรสี่ตัวเช่นกัน แต่ละชั้นมีไข่มุกสี่เม็ดหันไปทั้งสี่ทิศ เสามังกรมีไข่มุกรวมทั้งสิ้นสิบห้าเม็ด เรือนยอดมีไข่มุกเม็ดใหญ่หนึ่งเม็ด
คิมหันตมาลามีลักษณะเป็นทรงกรวยกลม ด้านล่างเป็นหมวกปากบาน โดยสานขึ้นจากหญ้าหยก เถาวัลย์เส้นเล็ก หรือไม้ไผ่ ด้านนอกสานเป็นตาข่าย ใช้ผ้าหงซา(ผ้าบางสีแดง)หรือดิ้นทองถักบนผ้าสีแดงบุไว้ด้านใน ขอบปากหมวกทั้งสองชั้นขลิบด้วยทอง ด้านหน้าประดับด้วยพระปฏิมาทองคำ โดยรอบองค์พระฝังมุกทั้งสิ้นสิบห้าเม็ด ด้านหลังประดับมุกอีกเจ็ดเม็ด บนยอดประดับด้วยเสามังกรสุวรรณเมฆาฝังมุกเหมือนกับเหมันตมาลา
(台北故宫博物院藏) จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ณ กรุงไทเป |
清高宗夏朝冠冠顶 (台北故宫博物院藏)
ยอดพระคิมหันตมาลาของจักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้ (จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ณ กรุงไทเป) |
ชุดคลุมมังกร
ในสมัยชิงมีเพียงพระจักรพรรดิเท่านั้นที่สามารถสวมเสื้อคลุมลายมังกรสิบสองตัวได้ ชุดคลุมมังกรมีลักษณะ คอกลม ปกคอเสื้อมีขนาดใหญ่ ตัวชุดพับไปทางขวา(ขวาทับซ้าย) แขนเสื้อและปลายมีขนาดเล็กเรียว ปลายแขนเสื้อรูปทรงกีบม้า มีลักษณะเป็นชุดคลุมแหวกสี่ทาง สีเหลืองสด ปักเป็นลวดลายมังกรเก้าตัว แล้วปักลายมงคลสิบสองแบบลงไป ตรงกลางเป็นลายเมฆห้าสี ด้านล่างปักเป็นลายน้ำกระเพื่อมแปดระรอก ที่หลังปกคอเพิ่มมังกรหนึ่งตัว ปกคอซ้ายขวาข้างละหนึ่งตัว ปลายแขนเสื้อรูปกีบม้าอีกข้างละหนึ่งตัว ปกเสื้อและแขนประดับโดยใช้หินสีเขียวหรือดำที่ฝังลงบนผ้าต่วนสีทอง ชุดมังกรนี้สามารถเปลี่ยนผ้าที่ใช้เย็บไปตามฤดูกาล อาจจะเป็น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้านวม ผ้าขนสัตว์หรือวัสดุอื่นๆ
清乾隆皇帝一式冬朝服(北京故宫博物院藏) เสื้อกันหนาวรูปแบบหนึ่งของจักรพรรดิเฉียนหลง (จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามปักกิ่ง) |
清康熙皇帝祈谷穿用的夏朝服 (国家博物馆藏) ชุดฤดูร้อนสำหรับเสด็จประภาสชมภูเขาของจักรพรรดิคังซี (จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน)
清太祖努尔哈赤朝服像 พระบรมสาทิสลักษณ์ของปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง ชิงไท่จู่นู๋เอ๋อร์ฮาชรื่อ
|
清乾隆二式皇后缂丝龙袍 (北京故宫博物院藏) |
|
清乾隆帝慧贤皇贵妃冬朝服像(北京故宫博物院藏) พระสาทิสลักษณ์ของพระนางฮุ่ยเสียนวรราชเทวี (หวงกุ้ยเฟย)ในพระจักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้ |
พระมาลาของสมเด็จพระบรมราชินี(ฮองเฮา)
พระเหมันตมาลาทำจากขนมิงค์องค์พระมาลาเป็นทรงครึ่งวงกลมคว่ำลักษณะเป็นโดมโค้งลาด ประดับด้วยไข่มุก ด้านข้างมีแผงสำหรับเป็นขอบ บนยอดมีลักษณะคล้ายยอดเจดีย์ แบ่งเป็นสามชั้น แต่ละชั้นฝังไข่มุกหนึ่งเม็ดพร้อมหงส์ทองคำชั้นละหนึ่งตัว ซึ่งประดับมุกด้วยไข่มุกตัวละ ๓ เม็ด รวมทั้งสิ้นใช้ไข่มุก ๑๗ เม็ด บนยอดของเสาหงส์ประกอบไข่มุกเม็ดใหญ่อีกหนึ่งเม็ด ด้านบนของพระมาลายังประกอบหงส์ทองอีก ๗ ตัว บนหงส์แต่ละตัวฝังมุกอีก ๙ เม็ด และ แก้วไพฑูรย์หรือเพชรตาแมวอีกหนึ่งเม็ด หางของหงส์แต่ละตัวก็จะประดับด้วยไข่มุกอีก ๒๑ เม็ด ด้านหลังของพระมาลาประดับด้วยหางไก่ฟ้าซึ่งถัดลงมาเป็นพวงระย้าจากสร้อยไข่มุก ๕ เส้น แต่ละเส้นใช้ไข่มุก ๖๔ เม็ด ลักษณะการร้อยแบบนี้เรียกว่า อู่หังเอ้อร์จิ้ว五行二就 (หมายถึงมีสายสร้อยห้าเส้น โดยแผงไข่มุกห้าเส้นจะแบ่งเป็นสองท่อน จึงเรียกว่าเอ้อร์จิ้ว นอกจากพระบรมราชินีแล้วพระมเหสีหรือพระราชเทวีองค์อื่นจะสามารถประดับแผงไข่มุกได้เพียง ๓ เส้น คือ 三行二就) นอกจากนั้น ด้านหลังบริเวณที่แขวนแผงสายสร้อยไข่มุกยังประดับด้วยแผงผ้าสีดำรูปน้ำเต้าคว่ำเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือกันกับพระศอและพระเกศา บริเวณด้านล่างของแผงผ้าประดับด้วยสายสร้อยไหมสีเหลืองทองอีกสองเส้น และตกแต่งด้วยอัญมณีมีค่า ด้านซ้ายและขวามีริบบิ้นสีนิลสองเส้น ส่วนพระคิมหันตมาลาทำจากผ้ากำมะหยี่สีดำและส่วนประกอบอื่นๆเหมือนกับพระเหมันตมาลาทุกประการ
清代皇后朝冠 (选自《大清会典图》) |
|||
ไก่ฟ้า |
เสื้อคลุมด้านนอกสำหรับสตรีตำแหน่งสูง (เสื้อกั๊กยาว)
เสื้อกั๊กยาวของสมเด็จพระบรมราชินีมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้ม สีน้ำเงินเข้ม หรือสีดำ ขลิบขอบด้วยผ้าแพรยกทองหรือผ้าไหมยกทอง ปักเป็นลวดลายต่างๆ ปกคอด้านหลังมีสายผ้าสีเหลืองทองผูกไว้ ประดับด้วยไข่มุก โดยปกติแล้วเสื้อกั๊กยาวนี้จะสวมไว้ด้านนอกของชุดคลุม(ผาว)อีกชั้น เวลาสวมใส่จะประดับด้วยพิมพาภรณ์(เครื่องประดับ)หลายหลาก ที่พระศอจะสวมสร้อยพระศอทรงกลม มีสายห้อย สร้อยประคำ บนพระเศียรสวมพระมาลา ที่พระบาทสวมร้องเท้ามีส้นที่อยู่ตรงกลาง ทรงพระสิริโฉมงดงามยิ่ง
清顺治孝康章皇后像 (北京故宫博物院藏) พระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีเสี้ยวกังจางฮองเฮาในองค์พระจักรพรรดิซุ่นจื้อฮ่องเต้ |
清乾隆皇后褂(北京故宫博物院藏) เสื้อกั๊กของพระราชินีในจักรพรรดิเฉียนหลง |
朝褂(传世实物,原件现藏故宫博物院) |
หมวกขุนนาง
บนส่วนที่สูงที่สุดของหมวกขุนนางของราชสำนักชิงจะประดับยอดก้อนอัญมณีหรือวัสดุมีค่าสีต่างๆ อาทิเช่น แดง น้ำเงิน ขาว ทองเป็นต้น ยอดอัญมณีเหล่านี้ใช้แสดงความแตกต่างและตำแหน่งหน้าที่ในราชสำนัก จากกฎประเพณีในสมัยชิง
ขุนนางขั้น ๑ ใช้พลอยทับทิมประดับยอดหมวก
ขุนนางขั้น ๒ ใช้กัลปังหา
ขุนนางขั้น ๓ ใช้พลอยไพลิน
ขุนนางขั้น ๔ ใช้แก้ววิฑูรย์
ขุนนางขั้น ๕ ใช้แก้วผลึกใส
ขุนนางขั้น ๖ ใช้หินมือเสือ
ขุนนางขั้น ๗ ใช้ทองคำขาว
ขุนนางขั้น ๘ ใช้ทองโปร่งแกะสลักลายด้านสีดำ(ลวดลายเป็นสีดำ)
ขุนนางขั้น ๙ ใช้ทองโปร่งแกะสลักลายด้านสีขาว(ลวดลายเป็นสีขาว)
ไม่มียอดคือไม่มีตำแหน่ง
พู่ประดับหมวก
เวลาที่สวมหมวกในช่วงสมัยชิง โดยปรกติแล้วด้านล่างของยอดหมวกจะมีพู่หนึ่งเส้นยาวประมาณ 6-7cm ติดอยู่ ใช้หยกขาวหรือมรกตทำเป็นส่วนยอดก้าน โดยหลักๆยอดก้านเหล่านี้มีหน้าที่ยึดตำแหน่งของพู่นั่นเอง ในสมัยชิงมีพู่ลายและพู่สีน้ำเงิน ซึ่งพู่ลายจะเป็นพู่ที่มีค่า พู่ลายเหล่านี้ทำจากขนหางนกยูง มีตาสีน้ำเงิน หนึ่งดวงบ้าง สองดวงบ้าง สามดวงบ้าง จึงเรียกว่า“ดวงตา” ซึ่งก็เป็นการบ่งบอกถึงลวดลายและสีสันบนหางนกยูง บนขนหางนกยูงนั้น หากก้านใดมีดวงตาสามดวงจะถือว่ามีค่ามากที่สุด สวนพู่สีน้ำเงินนั้นทำมากจากขนของนกกระสา ไม่มีตา วิธีการห้อยพู่ประดับหมวกในสมัยชิงนั้นจะผูกพู่ยึดกับยอดหมวกแล้วหันปลายไปทางด้านหลัง
|
|
清单眼、双眼、三眼孔雀花翎 (北京故宫博物院藏) |
冠帽上的顶子(传世实物) |
凉帽(传世实物) |
穿补服的官吏 (清人《关天培写真像》) |
暖帽(传世实物) |
เสื้อคลุมปักลายมงคล (补服)
เสื้อคลุมปักลายสัตว์มงคล (ปู่ฝู) ในสมัยชิงนั้น ทั้งรูปแบบและตัวลวดลายล้วนได้รับการถ่ายทอดมาจากสมัยหมิงโดยตรง เสื้อคลุมปู่ฝูเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องแต่งกายที่สำคัญๆของเหล่าขุนนางทั้งฝ่ายบุ๋น (วิชาการ) และฝ่ายบู๊ (ทหาร) ทั้งยังเป็นเครื่องแต่งกายที่สุภาพของสมัยชิง เสื้อคลุมปู่ฝูใช้ลายปักด้านหน้าอกและด้านหลังเป็นเครื่องมือในการแยกแยะตำแหน่งสูงต่ำของข้าราชการ พระบรมวงศานุวงษ์ใช้ลายปักทรงกลม ขุนนางข้าราชการกรมการต่างๆใช้ลายปักทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะที่สำคัญๆของเสื้อลายปักเหล่านี้ก็คือ คอกลม มีกระดุม แขนเรียบ ส่วนแขนและข้อศอกเล็ก ส่วนลำตัวยาวคลุมเข่า มีรางดุมสำหรับใส่กระดุม ๕ เม็ด เสื้อปู่ฝูเป็นเสื้อคลุมชนิดหนึ่งมีลักษณะหลวมโพลก สีเข้ม สมัยนั้นถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เสื้อนอก
ลายปักบนชุดคลุมปู่ฝูแบ่งเป็นกลุ่ม ๒ กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มพระบรมวงศานุวงษ์และกลุ่มขุนนางข้าราชการ
กลุ่มพระบรมวงศานุวงษ์แบ่งเป็น มังกรห้าเล็บและมังกรสี่เล็บ
กลุ่มขุนนางข้าราชการฝ่ายเสนาธิการ(การเมือง) แบ่งเป็น
– ขุนนางระดับ ๒ ปักลายไก่ฟ้าสีทอง |
– ขุนนางระดับ ๓ ปักลายนกยูง |
|
- ขุนนางระดับ ๔ ปักลายห่านป่า |
- ขุนนางระดับ ๕ ปักลายไก่ฟ้าสีเงิน |
- ขุนนางระดับ ๖ ปักลายนกกระยาง |
- ขุนนางระดับ ๗ ปักลายเป็ดหงส์ |
- ขุนนางระดับ ๘ ปักลายนกขมิ้น |
- ขุนนางระดับ ๙ ปักลายนกกระทา |
กลุ่มขุนนางข้าราชการฝ่ายกลาโหม แบ่งเป็น
สร้อยประคำประดับ
สร้อยประคำประดับมีที่มาจากสร้อยประคำในพุทธศาสนา เนื่องจากปฐมกษัตริย์ของพระราชวงศ์มีศรัทธาเลื่อมในศาสนาพุทธ ดังนั้นเสื้อผ้าอาภรณ์และพิมพาภรณ์จึงเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ระบบการแต่งกายในสมัยชิงนั้น เวลาสวมชุดทางการก็จะสวมสร้อยประคำไว้ด้านหน้าด้วย สร้อยประคำเหล่านี้ทำจากลูกปัด ๑๐๘ เม็ดที่ร้อยเข้าด้วยกัน แบ่งเป็นชุดละ ๒๗ เม็ด โดยลูกปัดแต่ละชุดจะมีอยู่หนึ่งเม็ดที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โฝโถว ห้อยไว้กลางหน้าอก โดยลูกปัดเม็ดใหญ่ เรียกว่า โฝโถวถ่า ร้อยด้วยเชือกสีเหลือง ด้านหลังห้อย “เป้ยยวิ๋น” ส่วนปลายห้อยน้ำเต้าเรียกว่า โฝจุ่ย เป้ยยวิ๋นและโฝจุ่ยจะถูกห้อยไว้ด้านหลัง บนส่วนโฝโถวถ่ายังแตกแขนงเป็นพวงลูกปัดเล็กอีกสามเส้น แต่ละเส้นมีลูกปัด ๑๐ เม็ด โดยเส้นแขนงเหล่านี้ถูกแขวนไว้ฝั่งหนึ่ง ๒ เส้น อีกฝั่งหนึ่งแขวนเส้นเดียว ซึ่งผู้แขวนที่เป็นผู้ชายจะนำสองเส้นเล็กๆนี้ชี้ไปทาง ซ้าย ส่วนผู้หญิงจะนำไว้ทางขวา วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์สร้อยประคำที่ถือว่ามีค่ามากที่สุดคือ ไข่มุกจากแม่น้ำซงฮวา นอกจากนั้นยังมี มรกต หินโมรา หยกขาว เป็นต้น
穿朝服、佩三串朝珠的清朝皇后 (北京故宫博物院藏《清代帝后像》) |
清代朝珠(根据传世实物绘制,高春明绘) |
ตุ้มหู
ตุ้มหูยุคชิงแบ่งเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือแบบที่มีพู่และแบบที่ไม่มีพู่ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อๆกันมาของหญิงสาวชาวแมนจูคือ ใบหูหนึ่งข้างจะเจาะหู ๓ รูสำหรับใส่ตุ้มหู ๓ วง ๓ รูปแบบ เครื่องประดับใบหูในยุคชิง วัสดุที่ใช้ไม่เพียงแต่มีค่าเท่านั้น สีสันยังสวยงาม รูปแบบและสไตล์ไม่ซ้ำแบบ
清银嵌珊瑚松石大耳坠, 台北故宫博物院藏 |
以绿松石及孔雀石 制成的串饰(云南晋宁 石寨山西汉墓出土) |
戴耳环的清代妇女 (清无款人物堂幅) |
金镶珠宝耳环(传世品) |
หมวกครอบ(เตี้ยน)
สตรีชั้นสูงในสมัยชิง โดยปกติแล้วจะทำผมทรงฉี (ทรงที่เห็นได้บ่อยในหนังจีนที่ดำเนินเรื่องอยู่ในยุคชิง) นอกจากนั้นยังทำผมทรงที่มีหมวกครอบไว้อีกทรงหนึ่งด้วย เรียกว่า หมวกเตี้ยน ในความเป็นจริงแล้วหมวกเตี้ยนนี้ก็คือหมวกที่ประดับตกแต่งด้วยอัญมณีต่างๆนั่นเอง อาทิเช่น ทอง หยก ทับทิม ไพลิน ไข่มุก ปะการัง อำพัน หินโมรา หินมูลนกการะเวก (ทอยคอส) หรือขนนกกระเต็น เป็นต้น
ผมทรงฉี |
清点翠嵌宝石福寿绵长钿子 |
清光绪镶珠翠碧玉双喜字青钿子 (北京故宫博物院藏) |
ปิ่น กิ๊บหนีบ ปิ่นพวง ปิ่นปลายไม้แคะหู แถบสำหรับจัดทรงผม
ปิ่น กิ๊บหนีบ ปิ่นพวง ปิ่นปลายแหลม ล้วนเป็นเครื่องประดับที่ใช้ประดับบนศีรษะ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกคือส่วนที่ติดประดับอยู่บนศีรษะ มักเป็นดอกไม้ต่างๆมักทำมาจาก ไข่มุก มรกต อัญมณี ขนนกกระเต็น เป็นต้น ในสมัยชิงนิยมความงดงามแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องประดับซึ่งมีความซ้อบซ้อน เช่นเครื่องประดับเงินทองประกอบขนนกกระเต็น กิ๊บดอกไม้เงินดอกไม้ทองฝังมุกซึ่งประกอบด้วย “ดอกไม้ ๙ ชนิด” “ผีเสื้อล้อวสันต์” “มังกรคู่เล่นแก้ว” “ห้าค้างคาว(สื่อถึงความสุข)ล้อมอักษรโซ่ว(อายุยืน)” สวนกลางของก้านกิ๊บรูปไม้แคะหูจะประดับตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ มีทั้งฝังอักษร 安如 ที่ทำจากกัลปังหา ขนนกกระเต็นประดับทองและไข่มุกรูปอักษร 寿喜 เป็นต้น ส่วนที่สองคือแถบสำหรับจัดทรงผมมักมีรูปร่างยาวและเป็นเหลี่ยม บนแถบนี้มักประดับด้วยไม้กฤษณาฝังพลอยสามสีและไข่มุกสีเขียวโดยตกแต่งเป็นรูปนกและดอกไม้ ยังมีกระดองเต่าฝังทองคำ หงส์และดอกไม้ไข่มุก และเครื่องประดับที่สวยงามอีกหลายหลาก นอกจากนั้นแผ่นจัดทรงผมที่ยาวและเรียบ หรือแบบที่ทำมาจากหยกสีเขียวซึ่งสวยงามเป็นมัน แลมีค่าเป็นอย่างยิ่ง
清银镀金点翠嵌珠宝花蝶簪 (台北故宫博物院藏) |
清珊瑚珠玉步摇(台北故宫博物院藏) |
清白玉嵌珠 翠碧玺扁方 (台北故宫博物院藏) |
银耳挖簪(山东嘉祥元曹元用墓出土) |
金镶玉步摇 |
ที่ครอบนิ้วมหาธำมรงค์และแหวน
การใช้ดอกบอลซัมสำหรับทาเล็บนั้น เป็นที่นิยมในหมู่สตรีชาวแมนจูมาช้านาน สตรีชั้นสูงชาวแมนจูมักจะไว้เล็บยาว แล้วใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงินขึ้นรูปเป็นเล็บปลอมสวมซึ่งมีลวดลายที่งดงามมากไว้สำหรับป้องกันนิ้วมือ
มหาธำมรงค์นั้นมีที่มาจากการยิงธนูในสมัยโบราณ แหวนหินในยุคชิงเป็นเครื่องประดับนิ้วซึ่งสวมไว้ที่หัวแม่มือขวาของบุรุษชั้นสูงแมนจู (บ้างก็สวมไว้ทางซ้าย) ส่วนมากทำมากจากมรกต ทัวมาลีน(พลอยสามสี) หินโมรา กัลปังหา คริสตัล ทอง เงิน ทองแดง เหล็ก หรือเซรามิกเป็นต้น บ้างก็แกะสลักบทกวีไว้ข้างบน บ้างก็สลักเป็นลวดลายต่างๆ
แหวนในสมัยชิง ทำมาจากวัสดุมีค่าที่แตกต่างกันไป ทั้งแหวนมังกรคาบแก้ว แหวนหงส์เล่นมุก แหวนฉลุลายดอกเหมยฝังมุก แหวนฉลุลายดอกไม้และแมลง แหวนผิงอันและหรูอี้ หรือแหวนลวดลายที่สวยงามอื่นๆ
清慈禧太后着色照片 |
江苏扬州市郊清墓出土金护指 |
清玳瑁嵌珠宝花蝶指甲套 (台北故宫博物院藏) |
|
清翠玉搬指/清翠玺搬指 |
清开金镂空古钱纹戒指 |
ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวแมนจูนั้น เวลาออกเดินทางไกลๆจะผูกถุงอาหารสำหรับประทังความหิวไว้ที่บั้นเอวด้วย ต่อมาก็ได้เลียบแบบชาวฮั่นที่ใช้ผ้าไหม ผ้าซาตินหรือสิ่งทออื่นๆทำเป็นถุงเงิน ถุงหอม แถบผ้าปักลาย ถุงเครื่องมือสำหรับจุดไฟ อัน เล็กๆ(คล้ายๆไฟแช็กในสมัยปัจจุบัน) ถุงใส่พัด เป็นต้น ซึ่งต่างก็มักจะประดับด้วยพู่หรือจี้เล็กๆเพื่อความสวยงาม แล้วผูกไว้ที่สายรัดเอวทั้ง ๒ ด้าน บรรดาผู้หญิงก็จะแขวนถุงเงิน ถุงหอมไว้ที่รังดุมเป็นต้น ภายหลังก็มีแขวนถุงแว่น ถุงไพ่ ถุงนาฬิกาหรือของเย็บปักถักร้อยอื่นๆ
彩绸荷包(传世品) |
着便服、挂什件的男子 |
清香囊(北京故宫博物院藏) |
清烟荷包(北京故宫博物院藏) |
หมวกรูปแตงโม
หมวกรูปแตงโมเป็นหมวกที่ประกอบจากผ้า ๖ ชิ้น บ้างก็เรียกว่า หมวกน้อย หมวกนี้แฝงความหมายว่า “หกรวมเป็นหนึ่ง” ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง หมวกรูปแตงโมนี้ หากใช้ใส่ในฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วงจะถูกเย็บจากผ้าบาง(ผ้าซา) ส่วนหมวกสำหรับฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิจะใช้ผ้าต่วนในการเย็บขึ้นรูป หมวกชนิดนี้ส่วนมากใช้สีดำ ภายในเป็นสีแดง หากพิถีพิถันหน่อยก็จะขลิบขอบด้วยผ้าไหมตาด รูปร่างของหมวกชนิดนี้มีอยู่หลากหลาย ทั้งยอดแบน ยอดแหลม และ แบบแข็ง แบบอ่อน ชนิดยอดแบนส่วนใหญ่เป็นเป็นหมวกแบบแข็ง ภายในบุผ้าฝ้าย ส่วนยอดแหลมก็มักจะเป็นหมวกอ่อน เพื่อความสะดวกเวลาที่ไม่ได้สวมใส่ ก็สามารถพับเก็บไว้ในกระเป๋าได้ ที่ยอดของหมวกก็จะมีจุก เรียกว่า เจ๋ย์จึ ยอดจุกนี้โดยปกติทำมาจากเชือกไหมสีแดง หากที่ใช้เวลามีงานศพ ก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีขาว ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับความนิยม แล้วก็จะไม่ใช้พวกของมีค่าเช่น กัลปังหา คริสตัล หรือไข่มุกต่างๆมาทำเป็นยอดจุก
戴小帽的男子(传世图照)
เสื้อหม่ากว้า (แจ็คเก็ตแบบจีน)
เครื่องแต่งกายของผู้ชายยุคชิงโดยปกติแล้วจะเป็นเสื้อคลุมยาวหรือไม่ก็เป็นกระโปรงกับเสื้อหม่ากว้าและเสื้อกั๊ก คาดเข็มขัดยาว เสื้อหม่ากว้ามีความยาวถึงสะดือ ด้านข้างสองข้างและด้านหลังจะมีช่องแหวก(คล้ายกระโปรงแหวกข้าง) แขนเสื้อตรงและไม่มีปลายรูปเกือกม้า บ้างมีความยาวกว่ามือ บ้างก็ยาวพอดีมือ แบบที่ไม่มีปกเสื้อ มีแบบรังดุมตรง รังดุมใหญ่ รังดุมรูปผีผา เสื้อหม่ากว้าของผู้หญิงจะมีปลอกแขน (แขนเสื้อยาวกว่าข้อมือ)
琵琶襟马褂(传世实物) |
穿对襟马褂及行袍者 |
晚清刺绣对襟女衫 |
晚清天青纱大镶边右衽女马褂(传世品,国家博物馆藏) |
เสื้อกั๊กของผู้ชายในสมัยชิงมีรูปแบบต่างๆ เช่น สาบเสื้อขวาง สาบเสื้อรูปผีผา สาบเสื้อตรง สาบเสื้อทางขวา และรูปแบบของสาบเสื้ออื่นๆที่หลากหลาย นอกจากรูปแบบที่ไม่มีปกคอซึ่งมีรูปแบบสาบเสื้อลักษณะต่างๆแล้ว ก็ยังมีแบบที่มีปกคอด้วยเช่นกัน รังดุมและสาบเสื้อของเสื้อกั๊กนั้นจะอยู่ด้านหน้า สาบเสื้อแนวขวางจะสะดวกต่อการสวมใส่และถอดออก ทุกด้านของตัวเสื้อและส่วนปกคอต่างขลิบด้วยผ้า
เสื้อกั๊กของผู้หญิงแมนจู มีแบบ สาบเสื้อขวาง สาบเสื้อรูปผีผา สาบเสื้อข้าง สาบเสื้อแหวกสองข้าง ส่วนใหญ่จะสวมเสื้อกั๊กไว้ด้านนอก ปักลวดลายสวยงาม ลวดลายที่อยู่บนเสื้อกั๊กนั้นก็มีลายดอกไม้บาน กิ่งก้านต่างๆ ดอกตูม ผีเสื้อ นกกระเรียนเป็นต้น ต่างเป็นลวดลายที่สื่อความหมายมงคลทั้งสิ้น ในช่วงกลางและช่วงปลายของสมัยชิงยังเพิ่มลายยอดก้านหรูอี้เข้าไป ตกแต่งหลายชั้นซับซ้อน นอกจากการปักดอกไม้แล้ว ยังมีการขลิบริมด้วยผ้าซาตินสีทอง บ้างก็เพิ่มพู่หรือลูกปัดเพิ่มเข้าไปด้วย
清慈禧太后竹子纹样紧身小样四种 (北京故宫博物院藏) |
清琵琶襟女马褂小样 (北京故宫博物院藏) |
ทรงผมสตรีชาวแมนจู
ทรงผมของหญิงชาวแมนจูแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1.ทรงสองแกละ 2.ทรงหมวกปีกกว้าง ทรงสองแกละนั้นเริ่มจากการหวีผมไปไว้ด้านหลัง จากนั้นแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนล่างถึงลำคอ แล้วแบ่งผมออกเป็นสองช่อยกสูง ตอนที่พับนั้นชโลมน้ำยาจัดทรงผมพร้อมกับจัดให้เรียบ ยกสูงขึ้นเล็กน้อย แล้วพับ จากนั้นรวมกันเป็นช่อเดียว แล้วย้อนกลับไปด้านหน้า ใช้เชือกมัดให้แน่นจากโคนผม จากนั้นสอดแถบเหล็กสำหรับจัดทรง แล้วนำเส้นผมพันรอบแถบเหล็กนั้นไว้ ให้เป็นรูปตัว T แล้วค่อยประดับด้วยดอกไม้ ลูกปัด และพู่ห้อยหรือตุ้งติ้ง ภายหลังในสมัยเสียเฟิงฮ่องเต้ (ก่อนสมัยซูสีไทเฮา) ผมทรงนี้ก็ค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้น แกละทั้งสองข้างก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงนำแถบรูปพัดสีดำมาประดับให้ปีกผมทั้งสองข้างกว้างขึ้น แล้วเรียกว่า ฉีโถว หรือ กวนจวง ซึ่งเรารู้จักกันในนาม ต้าลาเช่อ
ฉนั้น เครื่องแต่งกายในหนังเรื่ององค์หยิงกำมะลอภาคก่อนจึงผิดอย่างมหันต์เลยครับ เพราะต้าลาเช่อสมัยนั้นยังไม่มี
梳旗髻的满族妇女 (清人《贞妃常服像》) |
一字头 |
大拉翅 |
เกี๊ยะแบบแมนจู
จากการรับอิทธิพลจากบรรพบุรุษที่นิยมใช้ไม้มาทำรองเท้า ผู้หญิงชาวแมนจูจึงสวมรองเท้าส้นไม้ เรียกว่า “เกี๊ยะแมนจู” จุดเด่นคือรองเท้าจะมีส้นอยู่ตรงกลางสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกระถางดอกไม้ จึงเรียกว่า “รองเท้ากระถางดอกไม้” บ้างก็มีลักษณะคล้ายกีบม้า จึงเรียกว่า “รองเท้ากีบม้า” ส้นเท้าบุด้วยผ้าสีขาว ตัวรองเท้าปักลวดลาย อาจเพิ่มลูกปัดหรือเครื่องตกแต่งอื่นๆ ผู้หญิงชาวแมนจูสวมเกี๊ยะชนิดนี้เนื่องจากพวกนางไม่ต้องการมัดเท้าเหมือนชาวฮั่น ผู้หญิงที่มัดเท้า เวลาเดินจะต้องเกร็งสะโพก ซึ่งมีผลเวลาร่วมรักที่ทำให้สามีมีความพึงพอใจมากขึ้น สาวๆชาวแมนจูที่ไม่ต้องการมัดเท้าจึงประดิษฐ์รองเท้าชนิดนี้ขึ้นมา ในสมัยนั้นผู้หญิงที่ไม่มัดเท้าอาจไม่มีผู้ชายมาสู่ขอพวกนาง สตรีชาวฮั่นส่วนใหญ่จึงต้องมัดเท้า ซึ่งนี่มีความเกี่ยวข้องกับหลักคำสอนของขงจื่ออีกด้วย
缎钉绫凤戏牡丹纹高底旗鞋 (北京故宫博物院藏) |
เสื้อคลุมยาวฉ่างอี
เสื้อคลุมยาวมีความคล้ายคลึงกับเสื้อเชิ้ต แต่เสื้อเชิ้ตไม่มีการแหวกข้าง ซึ่งเสื้อคลุมฉ่างอีมีการแหวกข้างซ้ายขวายาวขึ้นไปถึงหน้าอก ซึ่งจุดปลายของเส้นแหวกนี้จะต้องประดับลายเมฆ และบนผืนเสื้อคลุมก็ประดับลายที่หรูหรามาก และจะต้องมีการกุ๊นขอบริบทุกด้าน ทั้งคอเสื้อ ปลายแขนเสื้อ ปกเสื้อ ช่องแหวกและชายกระโปรงที่กุ๊นสีไม่เหมือนกัน เทคนิคก็ต่างกัน ลายลูกไม้ ลายไม้เลื้อย ลายฟันสุนัขก็ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เจียงหนานซึ่งมีเทคนิคการปักลายที่สวยงามยิ่ง
穿旗袍的满族妇女
กระโปรง
กระโปรงในสมัยชิงนี้ได้แก่ กระโปรงร้อยจีบ กระโปรงหน้าม้า กระโปรงตาชั่ง กระโปรงหางหงส์ กระโปรงจันทราทรงกลด กระโปรงดอกไม้ดำ เป็นต้น
กระโปรงร้อยจีบ ชายกระโปรงด้านหน้าและด้านหลังมีความกว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ชายกระโปรงส่วนครึ่งล่างเป็นพื้นที่หลักสำหรับประดับตกแต่งซึ่งปักเป็นลวดลายดอกไม้หลายหลากรูปแบบ ซึ่งลายดอกไม้ ลายนก และลายผีเสื้อถือเป็นลายที่แพร่หลายมากที่สุด ด้านข้างขลิบริม นอกจากนั้นยังมีการตีเกล็ดทั้งสองข้างของแถบผ้า บนแถบผ้านั้นก็ยังปักลายบุปผาชาติอย่างละเดียดสวยงาม สวนเอวมีการเพิ่มสายรัด ส่วนชายกระโปรงด้านล่างก็มีการขลิบขอบเช่นกัน
กระโปรงหางหงส์ มีสามแบบด้วยกัน แบบแรกเป็นการปักลายดอกไม้และหางหงส์ไว้ที่ส่วนเอว แบบที่สองเป็นการปักลายหางหงส์บนส่วนเนื้อผ้าของกระโปรง ซึ่งแต่ละปลายหางห้อยระฆังจิ๋วไว้ แบบที่สามคือส่วนเสื้อและส่วนกระโปรงปักลัยสัมพันธ์กัน และหางหงส์ห้อยระฆังจิ๋วคล้ายชนิดที่สอง
清代女裙样式(传世品) |
晚清红绸百褶裙
清白暗花绸彩绣人物花草马面裙 (中央工艺美术学院藏) |
红裙(传世实物) |
|
穿鱼鳞百褶裙的清代妇女 (天津杨柳青晚清年画)
|
กรองคอ
กรองคอเป็นชิ้นส่วนประดับที่ผู้หญิงสวมไว้บนไหล่ สาวๆสมัยชิงส่วนมากนิยมสวมกรองคอในพิธีแต่งงาน สตรีเจียงหนานช่วงปลายสมัยชิงไว้ผมทรงซูตี่ซุ่ย ซึ่งกลัวว่าน้ำมันที่ใส่ผมจะมาเปื้อนเสื้อผ้า จึงสวมกรองคอนี้กันเปื้อน กรองคอที่หญิงมีสกุลสวมใส่นั้นประดิษฐ์อย่างประณีต มีสายริบบิ้นทำเป็นทรงดอกบัว หรือจะใช้เชือกทำเป็นพู่แขนง และมีบางรูปแบบที่ทำมาจากสายไข่มุก
云肩(传世实物) |
披云肩的清代妇女 (清禹之鼎《女乐图》局部 |
清道光刺绣云肩(私人收藏)
|
清刺绣云肩(私人收藏) |
เสื้อคลุมระฆังอี้โขวโจ่ง
อี้โขวโจ่งก็คือเสื้อคลุมชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีแขน ไม่มีการแหวกข้างอะไรทั้งสิ้น เสื้อคลุมระฆังในสมัยชิงนั้นแบ่งเป็นแบบสั้นแบบยาวสองประเภท ส่วนปกเสื้อก็มีแบบปกใหญ่ แบบปกสูง และแบบปกสั้น สวมได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เวลาแสดงความเคารพจะต้องถอดมันออก มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการไม่สุภาพ (คล้ายการถอดหมวก) เสื้อคลุมระฆังที่ผู้หญิงสวมจะทำมาจากผ้าซาตินสีสดใส ปักลวดลายสวยงาม ในฤดูหนาวอาจเพิ่มแถบขนสัตว์ไว้สวมใส่เพื่อความอบอุ่น
缎地盘金龙斗篷(传世实物) |
|
穿斗篷的妇女 (清胡锡《梅花仕女图》) |
ชุดเกราะ
ชุดเกราะสมัยชิงแบ่งเป็นเสื้อและกระโปรง และสวมหมวก เสื้อเกราะยุคชิงนี้มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด จุดเด่นของมันก็คือไม่ได้ทำมาจากโลหะ แต่ทว่ากลับใช้ลวดทองทอเป็นลายบนผ้าซาตินสีเหลืองแทนการใช้แผ่นเหล็กอย่างที่เคยใช้ในอดีต ส่วนหมวกนั้นทำมากจากหนังวัวทาสีฝังไข่มุกและทองสันสกฤต ส่วนเสื้อเกราะบริเวณ คอ ไหล่ รักแร้ หน้าอก หลัง ส่วนป้องกันด้านหน้า และปลายแขน ต่างมีการปักลายและฝังมุกเป็นปักลายมังกร เมฆสีรุ้ง ภูเขาอักษรโซ่ว และทะเลอักษรฝู (คำมงคล) ส่วนกระโปรงทั้งสองฝั่งปักเป็นลายมังกรเล่นมุข มีแถบทองอยู่ตรงกลาง บริเวณขอบก็ขลิบลายด้วยแถวมังกรและมังกรผงาด ส่วนรอบๆแผ่นเหล็กปกป้องหัวใจก็ยังมีลายเมฆและมังกรล้อมรอบ และดูโอ่อ่าตระการตาอยากจะหาไหนมาเปรียบเทียบได้
清意大利画家郎世宁绘乾隆帝南苑阅兵的 《大阅铠甲骑马像》 (北京故宫博物院藏) |
清乾隆金银珠云龙甲胄(北京故宫博物院藏) |
ลวดลาย
ลายที่ปักลงบนผ้าสมัยชิงส่วนมากเป็นการร่างโดยมือก่อนแล้วจึงค่อยปัก ลายมังกร สิงโต กิเลนและสัตว์สี่เท้าต่างๆ หงส์ กระเรียนและปักษานานาพันธุ์ ดอกเหมย กล้วยไม้ ไผ่ เบญจมาศ และดอกไม้อีกหลายหลากชนิด ทั้งยังมีของมงคล ๘ ชนิด โป๊ยเซียน ฮกลงซิ่ว เป็นต้น ลายต่างๆที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นลายที่มักใช้บ่อยๆ ซึ่งมีสีสันสดใสซับซ้อน ลวดลายสลักเสลาอย่างละเอียด มีลวดลายหลายชั้นลดหลั่นกันมากมาย
补子 |
清道光刺绣十二章龙袍料及十二章纹样特写 (维也纳奥地利国家博物馆藏) |
ฮว๋างซ่างว่านฝูจิ้นอัน
ความคิดเห็น