ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ......................ไม่ต้อง

    ลำดับตอนที่ #3 : ส่งงานวิทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 49
      0
      2 ก.ย. 58

    โครงงานเรื่อง

    สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

    จัดทำโดย

    จัดทำโดยนักเรียนมธัยมศึกษาปีที่ 1/2

    1. ด.ญ.รัตติกาล จิรเบญจวนิช        

    2. ด.ญ. เยาวเรศ อิ่มพลา               

    3. ด.ญ.บัณฑิตา ใจตั้ง                    

    4. ด.ญ.กุลสตรี เครือสิงห์

    5. ด.ช.ศิวะกร รอดกระจ่าง

    6. ด.ช.ณัฐพล นิโคลาส

    7. ด.ช.พงศธร อุ่นบรรจง

    8. ด.ช.ณัฐภูมิ ชุนรัมย์

    9.  ด.ช.ธเนศพล สายเนตร

    10. ด.ช.เทวัญ ฉาบสูงเนิน

    11. ด.ช.วัฒนา คงคล้าย

    เสนอ

    คุณครู แก้วเกล้า ขานแสง

    ที่มาและความสำคัญ

                  ปัจจุบันนี้ สังคมของเรามักประสบปัญหากับมลภาวะที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น ภายในห้อง ในรถยนต์ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ที่ ผู้คนอาศัยกันอย่างแออัด ซึ่งมีปัญหาขยะเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นให้กับ ชุมชน และโรงเรียน มีการใช้ห้องน้าร่วมกันของนักเรียนแล้วขาดความ รักษาความสะอาด ทาให้ห้องน้ำนักเรียนมีกลิ่นเหม็น ขาดความน่าใช้ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้คนหันมาซื้อสเปรย์ปรับอากาศ ตามท้องตลาดมาใช้ซึ่งจะมีราคาแพง และมีสารประกอบส่วนใหญ่จากสารเคมีทำให้เกิด อันตรายต่อสภาพแวดล้อมคณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม คือ ต้นตะไคร้ ซึ่งต้นตะไคร้มีสรรพคุณช่วยดับกลิ่นคาวหรือ กลิ่นเหม็นได้ แถมกลิ่นของตะไคร้ยังสามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้ เป็นอย่างดี ทำให้สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศที่จะจัดทำขึ้น มีประโยชน์ 2 ต่อ และมีผลิตภัณฑ์ที่ราคาไม่แพง ต้นทุนต่ำเพราะทามาจากสมุนไพร พื้นบ้าน  โดยสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศได้ประยุกต์มาจากหลักเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งโครงงานนี้ได้ประยุกต์ใช้ กับแนวคิด คือ ความพอประมาณ การรู้จักเลือกใช้สมุนไพรให้พอดีกับ สัดส่วนที่จะทำ ความมีเหตุผล การรู้จกเลือกใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่มี สรรพคุณและประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์ การมีภูมิคุ้มกัน สามารถนำมาใช้ เอง ประหยัดค่าใช้จ่ายหรือนาไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว  จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีคือ อัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 20 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 200 มิลลิลิตร และสมุนไพรที่กำจัดกลิ่นได้ดีที่สุดคือสารสกัดจากผิวมะกูด

     

     

     

     

    จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
                    1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัด ใบเตย ผิวมะกูด และใบตะไคร้หอม ในอัตราส่วนที่แตกต่าง
                    2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัดจากใบเตย ผิวมะกูดและใบตะไคร้
                    3. เพื่อเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น

    สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
                    สมุนไพรได้แก่ ใบมะกรูด ผิวมะกรูด ตะไคร้  สามารถกำจัดกลิ่นและไล่ยุง

    ตัวแปร
                    ตัวแปรต้น          สารสกัดจากสมุนไพร
                    ตัวแปรตาม        ความสามารถในการกำจัดกลิ่น
                    ตัวแปรควบคุม   ปริมาณของสมุนไพร และแอลกอฮอล์ 


    ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

                            1.เพื่อศึกษาการทำสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

                            2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นอับ



     

    แนวทางการดำเนินงาน
                    1. คิดหัวข้อโครงงาน
                    2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
                    3. จัดทำโครงร่างงาน
                    4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
                    5. ปรับปรุงทดสอบ
                    6. การทำเอกสารรายงาน
                    7. ประเมินผลงาน
                    8. นำเสนอโครงงาน
                   

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                            1. การเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น

                            2. การลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม

                            3. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์

    นิยามศัพท์เฉพาะ

                    สารสกัด หมายถึง การเอาชิ้นส่วนของพืชมาบดหรือโขลกแล้วใส่น้ำ หรือสารเคมีลงไป

    แล้วจึงกรองแยกเอากลากออก จากนั้น นำมาระเหยตัวทา ละลายออก

     

     

     

     

     

    วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง


    อุปกรณ์และสารเคมี

    อุปกรณ์

                            1. หม้อ

                            2. กรวย

                            3. ขวดสเปรย์

                            4. ภาชนะตวง

     

     

    วัสดุและสารเคมี

                            1.ตะไคร้ 30 กรัม

                            2.ใบมะกรูด 30 กรัม

                            3.ใบเตย 30 กรัม

                            4.แอลกอฮอล์ 600 มิลลิลิตร (เจือจาง 70%)

     

     

     

     

    วิธีการทดลอง

                            1.    นำใบเตย ตะไคร้ ใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ(เพื่อให้สมุนไพรสามารถออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น)

                                        2. ต้มแอลกอฮอล์แล้วนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดลงไปต้ม

                   3.   ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก จากนั้นสามารถบรรจุลงขวดสเปรย์ได้ทันที 


     



     

     




                       จากการทดลองสรุปได้ว่า สเปรย์ปรับอากาศกลิ่นตะไคร้สามารถดับกลิ่นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีดสเปรย์ เพราะขณะสกัดสารคลอโรฟิลล์จากต้นมะกรูด  มะกรูดใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด แล้วยังมีกลิ่นที่มีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด





    สรุปผลการทดลอง

     

    สรุปผลการทดลอง
                    จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าเมื่อนำสมุนไพรจากผิวมะกรูด  ใบเตย  และตะไคร้  มาหั่น  และต้มสมุนไพรแต่ละชนิด  ในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ่งผสมกับแอลกอฮอล์ด้วย  ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก  และเมื่อนำไปทดสอบล้างห้องน้ำ ปรากฏว่า  มะกรูดกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้ดีที่สุด



    อภิปรายผลจากการวิเคราะห์
                    จากการทดพบว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลุกบาศก์เซนติเมตรกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้และสามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีกลิ่นอับทำให้อากาศสดชื่นกำจัดกลิ่นเหม็นได้ เพราะความเข้มข้นของสารมากจะกำจัดกลิ่นได้มา

     


    ข้อเสนอแนะ
                    - การทดลองในครั้งนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบ  ควรมีการทดลองเปรียบเทียบในอัตราส่วนอื่นๆ และควรศึกษาสมุนไพรชนิดอื่นๆ ด้วย
                    - ในการสกัดคลอโรฟิลล์ควรระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เพราะเป็นสารติดไฟได้ง่าย


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×