วุฒิธรรม 4
หลักธรรม วุฒิธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงได้เป็นอย่างดี
ผู้เข้าชมรวม
6,587
ผู้เข้าชมเดือนนี้
22
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เกี่ยวกับผู้จัดทำ
สวัสดีผู้เขามาชมเว็บบล็อกไดอารี่ทุกคนค่ะ หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเว็บบล็อกนี้ดูแปลกๆ ทำเกี่ยวกับหลักธรรม เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ขอบอกก่อนเลยนะค่ะว่า...พวกเราจัดทำเว็บบล็อกนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่หลักเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ แต่มีหลักการการเรียนรู้โดยอาศัยหลักธรรม “วุฒิธรรม
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากปัจจุบันหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยและมีผู้สนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงหลักที่แท้จริงของเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลักธรรม “วุฒิธรรม
จุดประสงค์
1. เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อเรียนรู้การดำเนินหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้อง
3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
ทางกลุ่มหวังว่าเว็บบล็อกนี้จะมีประโยชน์ต่อใครหลายๆคน ให้ดำเนินชีวิตอย่างไม่ขัดสนและฟุ้งเฟ้อเกินสถานะของตนเอง เพื่อความพออยู่พอกิน และมีชีวิตที่มีความสุขค่ะ หากข้อมูลที่ทางกลุ่มผิดพลาดประการใด ยินดีรับคำติชม และจะเร่งปรับปรุงให้ถูกต้องค่ะ
ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้าชมค่ะ
กลุ่ม ซื่อสัตย์
ก่อนอื่นเราควรศึกษาหลักธรรม “วุฒิธรรม4” เพื่อให้เข้าใจหลักกระบวนการคิดและขั้นตอน เพื่อการศึกษาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” จะได้นำไปปฏิบัติให้เกิดผลสูงสุด
วุฒิธรรม 4 คือ คุณธรรมที่จะสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ
1. สัปปุริสสังเสวะ คือ การเสวนากับผู้รู้ รู้จักคบหาผู้รู้ ผู้ทรงคุณ
2. สัทธัมมัสสวนะ คือ การฟังคำสอน เอาใจใส่สดับรับฟังคำบรรยาย คำแนะนำสั่งสอนแสวงหาความรู้ ทั้งจากตัวบุคคลโดยตรงและจากหนังสือแหล่งความรู้อื่นๆ
3. โยสิโสมนสิการ คือ การคิดให้แยบคาย ฟังสิ่งใดแล้วพิจารณาไตร่ตรอง แยกแยะให้ละเอียดถี่ถ้วน แสวงหาคำตอบ หาเหตุผลให้ถูกต้อง
4. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ คือ การปฏิบัติให้ถูกหลัก นำสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟังมาแล้ว ตริตรอง พิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ชัดจริง แล้วลงมือปฏิบัติตามที่เรียนมานั้น
สัปปุริสสังเสวะ คือ การเสวนากับผู้รู้ รู้จักคบหาผู้รู้ ผู้ทรงคุณ
- การที่ได้เข้ามาอ่านและศึกษาความรู้ในเว็บนี้ก็แสดงได้ว่าผู้เข้าชมได้ปฏิบัติหลักธรรมข้อแรกแล้วค่ะ
ข้อมูลที่ควรศึกษา
หลักของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ ที่มีการแข่งขันสูง
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
สัทธัมมัสสวนะ คือ การฟังคำสอน เอาใจใส่สดับรับฟังคำบรรยาย คำแนะนำสั่งสอนแสวงหาความรู้ ทั้งจากตัวบุคคลโดยตรงและจากหนังสือแหล่งความรู้อื่นๆ
- เมื่อมีความรู้แล้ว เราก็ควรศึกษาแง่คิดจากผู้รู้ ว่าเขามีแนวความคิดเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่าอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ต่อไป
ข้อมูลที่ควรศึกษา
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่แต่เราอยู่ อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วม ให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”
พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาแต่พระพุทธศักราช 2517
“การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
โยสิโสมนสิการ คือ การคิดให้แยบคาย ฟังสิ่งใดแล้วพิจารณาไตร่ตรอง แยกแยะให้ละเอียดถี่ถ้วน แสวงหาคำตอบ หาเหตุผลให้ถูกต้อง
- หลักธรรมข้อนี้เป็นหลักธรรมที่เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เราได้รับมาไตร่ตรอง เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลที่ควรศึกษา
เช่นข้อมูลที่ได้รับมาข้างต้นว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน ยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นเด่นชัดคือ เงินเดือนๆหนึ่งที่เราได้รับมา ลองคิดคำนวณดูว่าเดือนหนึ่งเราต้องใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นมาก-น้อยเท่าไร เหลือไหม? ถ้าเหลือก็ควรเก็บไว้ใช้เมื่อจำเป็นต่อไปในอนาคต ใช้เงินเท่าที่มีอย่ากู้หนี้ยืมสิน
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ คือ การปฏิบัติให้ถูกหลัก นำสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟังมาแล้ว ตริตรอง พิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ชัดจริง แล้วลงมือปฏิบัติตามที่เรียนมานั้น
- เมื่อจัดกระบวนการคิดได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องลงมือปฏิบัติให้ได้ตามที่วางแผนไว้ จะได้ตามที่คิดไว้หรือไม่นั้น อยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น จงเข้มแข็งและอดทนค่ะ
อ้างอิง
http://th.wikipedia.org
ผลงานอื่นๆ ของ B145 ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ B145
ความคิดเห็น