คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : 5 เรื่องที่ขำไม่ออกในสงครามโลกครั้งที่ II (ตอนที่ 2) ทำไมมันดวงแข็งจังฟ่ะ!
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)
ผู้นำนาซีเยอรมนี (ฟือเรอร์)
ประธานาธิบดีคนที่ 3 แห่ง สาธารณรัฐไวมาร์
ดำรงตำแหน่ง
30 มกราคม ค.ศ. 1933 30 เมษายน ค.ศ. 1945
ถ้าเอ่ยถึง "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" เชื่อว่าคงมีเพียงน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักผู้นำพรรคนาซี ผู้รวบอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และนำเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองสูงสุด และเขาผู้นี้เองที่เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของการทำลายล้างเผ่ามนุษย์อย่างโหดร้ายทารุณ นั่นคือ การฆ่าสังหารหมู่ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน
และเชื่อหรือไม่ก่อนที่ฮิตเลอร์จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำเยอรมนี เขาต้องเผชิญหน้าการลอบสังหารหลายรูปแบบ จากคนหรือหลุ่มคนที่จะพยายามปลิดชีพเขาเพื่อ
ไม่มีใครในบรรดาผู้นำบนโลกอีกแล้ว ที่ลอบสังหารบ่อยครั้ง และรอดมาได้ทุกครั้งราวกับปาฏิหาริย์ดั่งเช่นดอล์ฟ ฮิตเลอร์
โดยระหว่างที่ฮิตเลอร์ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีเหตุการณ์ลอบสังหารเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น
ในปี ค.ศ.1921 มีกลุ่มคนพร้อมอาวุธระดมยิงเข้าใส่ฮิตเลอร์ระหว่างที่เขากำลังกล่าวสุนทรพจน์อยู่ แต่กระสุนพลาดเป้าหมายทั้งหมด(ยิงแม่นจังวุ้ย....)
ในปี ค.ศ.1929 ทหารหน่วยเอสเอสคนหนึ่ง(กองกำลังรักษาความปลอดภัยฮิตเลอร์)ได้วางระเบิดไว้ใต้เวทีที่ฮิตเลอร์จะต้องกล่าวคำปราศรัย ส่วนตัวคนวางระเบิดซ่อนอยู่ในห้องน้ำ เสียดายระเบิดที่วางไว้เกิดด้านทำให้ฮิตเลอร์รอดไปได้อีกครั้ง
ในปี ค.ศ.1932 กลุ่มคนติดอาวุธพร้อมกันยิงใส่ฮิตเลอร์ขณะที่เขาเดินทางโดยรถไฟจากนครมิวนิคไปยังไวมาร์ แต่เขาไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
ในปีเดียวกัน รถยนต์ของฮิตเลอร์ถูกกลุ่มคนไม่ทราบจำนวนลอบโจมตีและยิงเข้าใส่ใกล้เมืองสตราสลุนด์ แต่ฮิตเลอร์ก็รอดไปอีกครั้ง.....
และเมื่อฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี(ค.ศ.1933) แม้โอกาสการลอบสังหารจะยากขึ้นก็ตาม แต่กระนั้นมันก็เกิดจนได้
ค.ศ.1939 ฮิตเลอร์ถูกวางระเบิดที่โรงเบียร์(The Beer Hall Bombing) ผู้ก่อการคือ โยฮันน์ เกออร์ก เอลเซอร์(Johann Georg Elser) ช่างไม้วัย 36 ปีและสมาชิกสหภาพช่างไม้ เอสเซอร์ได้ลักลอบนำระเบิดหนักถึง 110 ปอนด์ ไปซุกซ่อนไว้เสาต้นหนึ่งของโรงเบียร์เลอเว่นบรอย ที่นครมิวนิคซึ่งฮิตเลอร์จะต้องขึ้นกล่าวปราศรัยในช่วงค่ำของวันที่ 8 พฤศจิกายน ปรากฏว่าฮิตเลอร์เลิกปราศรัยเร็วกว่าหมายกำหนดและเดินออกมาจากโรงเบียร์ก่อนที่จะระเบิดจะทำงานขึ้น แรงระเบิดนี้นสังหารคนที่มาฟังคำปราศรัยตายไป 8 คน และอีก 63 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส โต๊ะที่ฮิตเลอร์นั่งลงก่อนหน้าที่เขาจะลุกขึ้นถูกเพดานอิฐและปูนถล่มทับลงมากอง
ส่วนตัวเอลเซอร์ถูกตำรวจเยอรมันจับได้ที่พรมแดนระหว่างสวิส และถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันนาซี และเขาเสียชีวิตในค่ายกักกันระหว่างกองทัพฝ่ายพันธมิตรโจมตีเยอรมนีอย่างหนักในปี ค.ศ.1945
ในช่วงที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจอยู่นั้น เกิดกลุ่มต่อต้านนาซีมากมายและต่างหมายชีวิตฮิตเลอร์ หนึ่งในนั้นคือ ฟาเบียน ฟอน ชลาเบรนดอร์ฟ(Fabian von Schlabren dorff)ทนายความที่มีความรู้ด้านการวางระเบิดและหาโอกาสวางระเบิดสังหารฮิตเลอร์หลายครั้งแล้วแต่ไม่มีโอกาสเสียที จนกระทั้งเขาได้ลอบวางระเบิดบนเครื่องบินส่วนตัวของฮิตเลอร์ที่สนามบินสโมเลนสก์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1943 โดยใช้ชื่อแผนนี้ว่า "ปฏิบัติการสายฟ้าแลบ(Operation Flash)" เขาดัดแปลงระเบิดให้เหมือนขวดบรั่นดี 2 ขวด และตั้งเวลาโดยอนุภาพของมันนั้นสามารถระเบิดเครื่องบินพังทั้งลมพร้อมทั้งตัวฮิตเลอร์ก็ได้ ไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มสายลับอังกฤษก็เริ่มคิดวางแผนลอบสังหารผู้นำนาซีผู้นี้
แต่ปรากฏว่าระเบิดนี้เกิดขัดข้อง เครื่องบินส่วนตัวของฮิตเลอร์ร่อนลงสู่สนามบินอย่างปลอดภัย ทั้งๆ ที่ฮิตเลอร์ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเครื่องบินของเขาถูกลอบวางระเบิด
ฟาเบียน ฟอน ชลาเบรนดอร์ฟถูกตำรวจลับเกสตาโปจับตัวในฐานะสมาชิกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลนาซีในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1944 เขาถูกทรมานปางตายและถูกนำไปขัง แต่กระนั้นเขาก็มีชีวิตรอดมาได้และถูกปล่อยตัวโดยกองทัพพันธมิตรในช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมา
และนี้คือการสังหารฮิตเลอร์ที่โด่งดังที่สุด
แผนการวัลคีรี(Valkyrie Plan)
แผนการนี้ถูกสร้างเป็นหนังเรียบร้อย โดยสร้างจากเรื่องจริงของนายพันเอก เคานท์ เคลาส์ ฟอน ชเตาเฟนแบร์ก(Claus Schenk Graf von Stauffenberg) เป็นผู้นำกลุ่มต่อต้านนาซีที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก โดยเขาวางแผนสังหารฮิตเลอร์เมื่อวันที่20 กรกฎาคม 1944 โดยซุกซ่อนระเบิดน้ำหนักกว่า2 ปอนด์(บางเว็บว่า 4 ปอนด์) ไว้ในกระเป๋าเดินทางของเขาเองและไปวางห้องแผนที่ที่ฮิตเลอร์กำลังประชุมวางแผนการทหารอยู่ในเมืองราสเทนเบบิร์กในดินแดนปรัสรัสเซียตะวันนออก
ในช่วงที่เขาวางแผนนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังตึงเครียดถึงขีดสุด ถ้าฮิตเลอร์ตายสงครามโลกจะจบเร็วขึ้น และคนนับล้านจะไม่ตายอีก และกลายเป็นหน้าหนึ่งที่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ แม้ว่าปฏิบัติการในครั้งนั้นจะไม่เสร็จสมบูรณ์ตามที่หวังก็ตาม(เรื่องจริงมันพอๆ กับหนัง)
เช้าตรู่วันนั้นพันเอกชเตาเฟนแบร์กและนายทหารคนสนิท แวร์เนอร์ เฮฟเทน เดินทางออกจากสนามบินทหารแห่งหนึ่งนอกกรุงเบอร์ลิน พร้อมกับระเบิดหนัก 2 ปอนด์ อาวุธที่จะใช้ในการสังหารฮิตเลอร์
ช่วงสายฮิตเลอร์ก็ตื่นขึ้นเพื่อมารับฟังรายงานการทิ้งระเบิดในช่วงคืนที่ผ่านมา ก่อนที่ ดร.ธีโอดอร์ มอเรลล์ แพทย์ประจำตัวจะฉีดยากระตุ้นประจำวันให้
หลังจากนั้นไม่นานพันเอกชเตาเฟนแบร์กก็เดินทางมาถึงสนามบินทหารใกล้กับกองบัญชาการรบฝั่งตะวันออก ที่เรียกว่า โวล์ฟส์ ไลร์
พันเอกชเตาเฟนแบร์กขอตัวที่จะไม่เข้าร่วมประชุมกับผู้บัญชาการสนามรบวิลเฮล์ม ไคเทล หลังจากเขามาแจ้งเรื่องการประชุมที่ถูกร่นให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมงให้ทราบ ก่อนจะขอให้ห้องพักผ่อนเพื่อร่วมกับแวร์เนอร์ ฟอน เฮฟ เทน นายทหารคนสนิทประกอบลูกระเบิดที่ลักลอบนำ เข้ามา
แต่ขณะที่ระเบิดลูกที่สองกำลังได้รับการประกอบขึ้นนั้น ทหารรับใช้ได้เข้ามาขัดจังหวะจนทำให้ทั้งคู่ประกอบระเบิดเสร็จสมบูรณ์เพียงลูกเดียว และนั่นคือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปฏิบัติการครั้งนี้ไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
ฟอน เฮฟเทน เอาระเบิดลูกที่สองใส่ไว้ในกระเป๋าของเขาแทนที่จะใส่มันไว้ในกระเป๋ากับระเบิดลูกแรก ซึ่งจะถูกนำไปไว้ในที่ประชุมของฮิตเลอร์
แม้ว่าจะไปเข้าร่วมประชุมกับฮิตเลอร์ตามปกติ แต่พันเอกชเตาเฟนแบร์กก็ฉลาดพอที่จะไม่เป็นผู้วางระเบิดนั้นด้วยตัวเอง เพราะเขามีนายทหารคนสนิทอีกคนที่จะทำหน้าที่ในการนำมันไปวางไว้ใกล้ ๆ กับฮิตเลอร์ แผนการครั้งนี้คงจะสมบูรณ์หากว่าพันเอกไฮนซ์ บรันท์ไม่นำกระเป๋าปริศนาใบที่ว่าเคลื่อนย้ายไปจากที่ทางที่มันควรจะอยู่
ไม่กี่อึดใจหลังจากพันเอกชเตาเฟนแบร์กถูกฟอน เฮฟเทน เรียกออกมาจากกระท่อมประชุมสถานการณ์ ก็มีเสียงระเบิดดังขึ้นสัญญาณเตือนภัยถูกเปิดเพื่อแจ้งการก่อการประทุษร้ายในค่าย พันเอกชเตาเฟนแบร์กพร้อมฟอน เฮฟเทน รีบรุดกลับไปยังสนามบินทหารและขึ้นเครื่องกลับทันที โดยไม่อยู่รอดูผลงานของตัวเองก่อน
ระเบิดทำงานตรงตามเวลาที่กำหนดคือเวลา 12.42 น. แรงระเบิดทำให้ห้องกระจัดกระจายถล่มเละหมด ส่วนฮิตเลอร์ล้มลงหมดสติไป แต่เขาโชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส มีแต่แผลไฟไหม้และหูดับไปชั่วขณะเนื่องจากเสียงระเบิดดังสนั่นใกล้ตัวเขา และฮิตเลอร์ยังสามารถกล่าวปราศรัยทางวิทยุต่อหน้าประชาชนได้หลังเกิดเหตุการณ์นั้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น
ส่วนคนอื่นๆ ในห้องนั้นล้วนได้รับบาดเจ็บสาหัส
ความเชื่อมั่นของพันเอกชเตาเฟนแบร์กที่ว่า ฮิตเลอร์ตายแล้ว กับข้อความที่ถูกแจ้งมาว่า "มีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้น ฟูห์เรอร์ยังมีชีวิตอยู่" โดยไม่มีอะไรยืนยัน ทำให้พันเอกชเตาเฟนแบร์กตัดสินใจออกคำสั่งไปยังผู้บัญชาการกองทัพระดับภูมิภาคทุกนายว่า "ฮิตเลอร์ตายแล้วและกองทัพบกกำลังเข้ายึดอำนาจควบคุมรัฐ เจ้าหน้าที่พรรคนาซีและผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสทุกคนต้องถูกจับกุม"
นั่นเท่ากับเป็นการแสดงตัวว่าเขาคือผู้วางระเบิดลูกนั้น ขณะที่ฮิตเลอร์โทรฯ ไปหาโยเซฟ เกิบเบลส์ รัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาการพร้อมกับบอกว่าเขายังมีชีวิตอยู่ เมื่อพันเอกสเตาเฟนแบร์กส่งนายพลแอร์นสท์ เรเมอร์มาจับกุม เกิบเบลส์จึงแจ้งคำสั่งของฮิตเลอร์ที่ให้เรเมอร์ควบคุมกรุงเบอร์ลินและนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา โดยตั้งไฮน์ริค ฮิมเลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสเป็นผู้บัญชาการกองทัพชั่วคราว
พันเอกชเตาเฟนแบร์กถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในเย็นวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1944 เย็นวันเดียวที่เกิดการก่อวินาศกรรมนั่นเอง คำพูดสุดท้ายที่เขาตะโกณก้องออกมาก่อนที่กระสุนปืนจะปลิวว่อนทะลุร่างเขาคือ
“ขอให้เยอรมนีที่ศักดิ์สิทธิ์จงเจริญ”
หลังจากนั้นรัฐบาลนาซีก็ตามจับและกวาดล้างบรรดากลุ่มที่ร่วมขบวนการนี้ถึง 7,000 คน ในจำนวนนั้นมี 2,000 คนถูกตัดสินประหารชีวิต โดยบางคนถูกแขวนคอตายอย่างช้าๆ โดยใช้สายเปียโน และมีการถ่ายหนังเก็บให้ฮิตเลอร์ดูด้วย และการกวาดล้างกลุ่มต่อต้านยังดำเนินต่อไปจนกระทั้งเยอรมันีแพ้สงครามในอีกเก้าเดือนต่อมา
จากหนังสือลอบสังหารผู้นำ โดยผศ.ดร.บรรพต กำเนิดศิริ
ความคิดเห็น