ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามพม่าอิสระ และการก่อการร้าย

    ลำดับตอนที่ #1 : กรุ่มของผู้ต่อสู้

    • อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 53


    นักรบกะเหรี่ยง


                    นักรบกระเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มแรก ๆ และเป็นกองกำลังที่ เข้มแข็งที่สุด ในบรรดาชนกลุ่มน้อย ที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่า องค์กรของกะเหรี่ยง ที่ต่อสู้มาตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงทุกวันนี้ คือ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ
    KNU ซึ่งมีนายพลโบเมียะ เป็นผู้นำสูงสุดยาวนานถึง 26 ปี และเพิ่งเปลี่ยน ผู้นำคนใหม่เป็นนายซอ บาติน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

    นักรบกะเหรี่ยง เริ่มสู้รบกับ ทหารพม่า มาตั้งแต่สมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสองเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ที่ทำให้ชาวกะเหรี่ยง โกรธแค้นชาวพม่า อย่างฝังรากลึก คือเหตุการณ์ เมื่อครั้งทหารพม่า แอบซุ่มโจมตีหมู่บ้านกะเหรี่ยง บริเวณ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี เป็นเหตุให้ชาวกะเหรี่ยง เสียชีวิตจำนวนมาก และไม่กี่ปีต่อมา ทหารพม่าก็สังหารหมู่ ชาวกะเหรี่ยงขณะทำพิธีในโบสถ์ คืนก่อนวันคริสต์มาสอีก 200 คน ทั้งสองเหตุการณ์ ผลักดันให้ หนุ่มสาวชาวกะเหรี่ยง จำนวนมาก สมัครเข้าเป็นทหาร จับปืนต่อสู้กับศัตรู เพื่อปกป้องพี่น้องของตน และจนถึงวันนี้ นักรบกะเหรี่ยง ก็ยังคงทำการสู้รบ อยู่ตลอดชายแดน ไทย-พม่า ตรงข้ามกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปจนถึงจังหวัดราชบุรี

     

    นักรบคะเรนนี


                    นักรบคะเรนนี หรือนักรบกะเหรี่ยงแดง เป็นกลุ่มนักรบที่ เริ่มต่อสู้กับรัฐบาลพม่า หลังจากพม่าได้รับเอกราช จากอังกฤษในปี 2491 นักรบคะเรนนี ทำการต่อสู้อยู่ใน รัฐคะเรนนี (ตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน) ภายใต้ชื่อ พรรรคก้าวหน้าแห่งชาติ คะเรนนี หรือ
    KNPP รัฐคะเรนนี มีทรัพยากรธรรมชาติ อยู่หนาแน่น โดยเฉพาะแร่ธาตุ และไม้สัก รัฐบาลพม่า จึงต้องการรัฐคะเรนนี ไว้ในครอบครอง แต่ถึงแม้พม่า จะส่งกองทัพเข้ามาตั้งฐานทัพ อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในรัฐคะเรนนี และทำการอพยพ ประชาชน เข้าไปอยู่ ในเขตควบคุมของ ทหารพม่า แต่รัฐบาลพม่า ก็ยังไม่สามารถครอบครอง แผ่นดินคะเรนนีได้ดังหวัง เพราะนักรบคะเรนนี ทำการสู้รบแบบกองโจร ดักซุ่มยิงตามจุดต่าง ๆ ที่มีทหารพม่า พร้อมทั้งกระจายกำลัง ลาดตระเวน ไปทั่วรัฐคะเรนนี ครั้งหนึ่ง รัฐบาลพม่าได้ยื่นข้อเสนอ เจรจาหยุดยิงกับ นักรบคะเรนนี แต่ข้อตกลงดังกล่าว ต้องมีอันสิ้นสุดลง ภายในเวลาสามเดือน เนื่องจากพม่าละเมิดสัญญา ปัจจุบันการสู้รบ ในรัฐคะเรนนี จึงยังคงดำเนินต่อไป

     

    นักรบมอญ


                     นักรบมอญ ภายใต้การนำของ พรรคมอญใหม่ หรือ
    NMSP เป็นกลุ่มนักรบ ที่เริ่มต่อสู้ ด้วยอาวุธพร้อมกับ ๆ นักรบคะเรนนี จนกระทั่งเมื่อปี 2538 สเว จิน บุรุษเหล็ก แห่งพรรคมอญใหม่ จึงได้ตัดสินใจ ยุติการต่อสู้ด้วยกำลัง หันมาใช้การเจรจา แบบสันติวิธีแทน นับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน (หรือตราบเท่าที่ ยังไม่มีใครละเมิดสัญญา) เสียงปืนในพื้นที่มอญ จำนวน 12 หมู่บ้าน ตรงข้าม ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี จึงยุติลงชั่วคราว ส่วนพื้นที่นอกเขตดังกล่าว ยังมีการสู้รบอยู่เป็นระยะ เนื่องจาก นักรบมอญบางส่วน ไม่เห็นด้วยกับการเจรจาหยุดยิง จึงแยกตัวออกไป ตั้งกองกำลังเป็นของตัวเอง ทำการรบอยู่ในป่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี ตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า

                  

    นักรบไทยใหญ่

     สำหรับนักรบไทยใหญ่นั้น เพิ่งเริ่มจัดตั้ง กองกำลังของตนขึ้น ภายหลังครบกำหนด สนธิสัญญาปางโหลง เมื่อปี 2501 เนื่องจาก สนธิสัญญาดังกล่าว ระบุให้รัฐฉาน แยกการปกครอง เป็นรัฐอิสระได้ หลังจากอยู่ร่วมกับ รัฐบาลพม่าเป็นเวลา 10 ปีนับจากได้รับ เอกราชจากอังกฤษ ชาวไทยใหญ่ รอจนครบกำหนดเวลา ตามสนธิสัญญา แต่เมื่อพบว่า รัฐบาลพม่า เพิกเฉยต่อข้อตกลง ทั้งยังส่งกองกำลัง เข้ายึดแผ่นดินไทยใหญ่ ในปี 2501 ชาวไทยใหญ่จึงลุกขึ้นต่อสู้ แต่เนื่องจาก ตลอดระยะกว่า 40  ปีที่ผ่านมา องค์กรของไทยใหญ่ ขาดเอกภาพในการสู้รบ ไม่มีองค์กรใด อยู่ได้ยาวนาน และเป็นตัวแทน ชาวไทยใหญ่ อย่างแท้จริง การต่อสู้ของชาวไทยใหญ่ จึงไม่มีประสิทธิภาพมากนัก แม้ช่วงเวลาหนึ่ง ทั่วโลกจะรับรู้ว่า กองทัพเมืองไต ภายใต้การนำ ของขุนส่า เป็นกองกำลังติดอาวุธ ที่ทันสมัยที่สุด แต่ถึงที่สุด กองทัพเมืองไต ก็ได้ล่มสลายลง เมื่อขุนส่า ราชาเฮโรอีน หันไปมอบตัว และมอบอาวุธทั้งหมด ให้แก่รัฐบาลพม่า ปัจจุบัน กองกำลังไทยใหญ่ ที่ยังต่อสู้กับรัฐบาลพม่า เหลือเพียงหนึ่งองค์กร คือ SSA South ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก มีพื้นที่ปฏิบัติการ อยู่ตอนกลางรัฐฉาน ตรงข้ามกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

     

    นักรบว้าแดง

    นักรบกลุ่มสุดท้าย ที่ขึ้นชื่อว่าดุร้าย กล้าหาญ และมีกองกำลัง ติดอาวุธทันสมัย และเกี่ยวข้องกับ ยาเสพย์ติดมากที่สุด ในขณะนี้คือ นักรบว้าแดง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักรบว้าแดง เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์ จะล่มสลายไม่นาน นักรบว้าแดง ก็ได้จัดตั้งกองกำลัง เป็นของตนเองภายใต้ชื่อ สหพันธรัฐว้า หรือ UWSP เพื่อทำการ ต่อสู้เรียกร้องเอกราช เหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เมื่อรัฐบาลพม่ารู้ว่า นักรบว้าแดง แยกออกมาตั้งกองกำลัง เป็นของตัวเอง เพื่อต่อสู้กับตน รัฐบาลพม่าจึงรีบเจรจาหยุดยิง โดยยื่นข้อเสนอ เอาใจนักรบว้ามากมาย แลกเปลี่ยนกับข้อตกลงที่ว่า กองกำลังว้าแดง จำนวน ๓ หมื่นคน จะต้องไม่ทำการต่อสู้ กับกองทัพพม่า แต่ให้หันไปจัดการกับ กองกำลังชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่เป็นศัตรูกับ รัฐบาลพม่าแทน

    แม้ว่าปัจจุบัน กองกำลังชนกลุ่มน้อย บางกลุ่ม ยุติการต่อสู้ด้วยกำลัง โดยหันมาใช้วิธีเจรจาหยุดยิง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เสียงปืนแห่งการสู้รบ ตลอดแนวชายแทนไทย - พม่า จะสงบลงตลอดไป ตราบใดที่ชนกลุ่มน้อย ยังไม่อาจไว้วางใจ รัฐบาลทหารพม่า (สลอร์ก) และพม่ายังไม่มีการแก้ไขปัญหา ทางการเมือง ตราบนั้นเสียงแห่งการสู้รบ ก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป

     

    แล้วก็อตอาร์มี่อยู่ตรงไหนเหรอ..............เออ

     

    ก็อตอาร์มี่ (God's Army)


                    กลุ่มก๊อดอาร์มี่ เป็นกลุ่มติดอาวุธกลุ่มๆ เล็ก และไม่ใช่นักรบมืออาชีพด้วย เป็นเพียงนักศึกษากะเหรี่ยงคริสต์ สัญชาติพม่า ครับ ไม่ใหญ่เท่ากลุ่มในต้นเรื่อง มีหน้าที่ต่อสู้กับทหารพม่า โดยกลุ่มก็อตอาร์มี่นั้นเป็นกะเหรี่ยงคริสต์ โดยมีเด็กแฝดลิ้นดำ จอนนี่กับลูเธอร์ เป็นผู้นำสูงสุด ซึ่งพวกเค้าเชื่อกันว่า เป็นคนรับบัญชาจากสวรรค์  ทำให้ทราบว่า กองกำลังก๊อด อาร์มี่ นี้ มีผู้นำเป็นเด็กผู้ชายฝาแฝดอายุเพียง 12 ขวบ ชื่อ อาร์เธอร์ กับ จอห์นนี่ ฮะทู

                    แม้ก็อตฮาร์มี่จะเป็นกลุ่มเล็กๆ อาศัยในชายแดนไทยพม่าในหมู่บ้านกระเหรี่ยงคริสต์แห่งหนึ่ง แต่กลับกลายว่ากลุ่มก็อตอาร์มี่เป็นกลุ่มที่คนไทยรู้จักมากที่สุดในกลุ่มต้นๆ ของเรื่องเสียอีก

                    อันนั้นก็เพราะกลุ่มก็อตอาร์มี่ไปสร้างเหตุการณ์สำคัญในไทย 2 เหตุการณ์ด้วยกัน โดยเรื่องแรกคือ เหตุการณ์ก๊อด อาร์มี่ บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และเรื่องสองคือบุกยึด ร.พ.ศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศไทยที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกัน 2 เหตุการณ์ในช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงไม่กี่เดือน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×