ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

    ลำดับตอนที่ #8 : องค์การสันนิบาตชาติ

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ย. 52


    องค์การสันนิบาตชาติ ( League of Nations )
    หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวูดโรว์
    วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีได้มีการประชุมครั้งแรก ณ นครเจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    1) สมาชิกภาพ
    ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติโดยอัตโนมัติ ประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกขององค์การได้ ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มองค์การนี้ ก็ไม่ได้เป็นสมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน ซึ่งมีนโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวและแทรกแซงทางการเมืองของประเทศทางยุโรป
     
    2) วัตถุประสงค์
    การดำรงสันติภาพและป้องกันสงครามในอนาคตองค์การสันนิบาตชาติมีหลักในความร่วมมือกัน ดังนี้
    1. รักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
    2. เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาท
    3. ดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
    4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต
    3) การดำเนินงาน
    1. สมัชชา คือที่ประชุมใหญ่ขององค์การประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด มีวาระการประชุมปีละครั้ง เพื่อพิจารณาปัญหาต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก
    2. คณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การ ประชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคาม
    ต่อสันติภาพของโลก
     
    3. สำนักงานเลขาธิการ ได้รับเลือกจากคณะมนตรี มีหน้าที่เป็นสำนักงานจัดทำรายงาน รักษาเอกสารหลักฐาน
    4. คณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้านเศรษฐกิจและสังคม
    5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่างๆ และกรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดน
    4) ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติ
    ผลงานที่ประสบความสำเร็จ
    ผลงานที่ประสบความสำเร็จ กรณีหมู่เกาะอาลันด์ ที่สวีเดนและฟินแลนด์ต่างแย่งชิงกันจะเข้าครอบครององค์การสันนิบาตชาติตัดสินให้มอบหมู่เกาะอาลันด์อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของฟินแลนด์ แต่ต้องเป็นดินแดนปลอดทหารและมีสถานภาพกึ่งอิสระ

    ผลงานที่ไม่ประสบความสำเร็จ

    เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแคว้นแมนจูเรียของจีน องค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถใช้มาตรการใดๆลงโทษญี่ปุ่นได้

    เหตุการณ์รุนแรงที่เกาะคอร์ฟู อิตาลีใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟูของกรีซ ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถยับยั้ง

    หรือลงโทษอิตาลีได้ ทั้งๆที่กรีซและอิตาลีต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การ

    เยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย โดยการส่งทหารเข้าสู่เขตปลอดทหารไรน์แลนด์ของเยอรมนี

    สงครามอะบิสซิเนีย ที่อิตาลีส่งกองทัพบุกอะบิสซิเนีย (เอธิโอเปีย) โดยไม่ประกาศสงคราม และสามารถยึดกรุงแอดดิสอาบาบาได้ ซึ่งสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติได้ลงมติประณามอิตาลีว่าเป็นฝ่ายรุกราน และลงโทษอิตาลีโดยการงดติดต่อค้าขายกับอิตาลี แต่ไม่ได้ผลเพราะอิตาลีได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อีกทั้งอิตาลียังตอบโต้

    ด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติอีกด้วย

    การที่องค์การสันนิบาตชาติเกิดความอ่อนแอ

    เนื่องมาจากการมีความคิดที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยมองว่าทุกประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกัน

    แต่ความจริงแล้วในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ละประเทศคิดถึงแต่ผลประโยชน์เป็นหลักสำคัญที่สุด เหนือบทบาทขององค์การสันนิบาตชาติ ทำให้องค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้และประสบความล้มเหลวตลอดมา จนกระทั่งองค์การสันนิบาตชาติสิ้นสภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

    5) จุดอ่อนขององค์การสันนิบาตชาติ

    1. ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก กฎข้อบังคับขององค์การสันนิบาตชาติจะบังคับใช้ได้ผลเฉพาะกับประเทศสมาชิก

    2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมได้เข้ายึดครองเหมืองแร่ถ่านหินในแคว้นรูห์ของเยอรมนี ทั้งนี้เนื่องจากเยอรมนีซึ่งเป็นผู้แพ้สงครามไม่สามารถจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามตามกำหนดได้ เยอรมนีจึงตอบโต้โดยการนัดหยุดงานทั่วประเทศและก่อวินาศกรรม

    ดังนั้นแม้ว่าจะมีองค์การสันนิบาตชาติ แต่เมื่อประเทศมหาอำนาจต้องการผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์ มหาอำนาจเหล่านี้จะเพิกเฉยต่อบทบาทและหน้าที่ขององค์การสันนิบาตชาติ

    หรือลาออกจากการเป็นสมาชิก ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติก็ไม่สามารถปฏิบัติการใดๆอันเป็นการตอบโต้ต่อประเทศเหล่านั้นได้ หลังจากการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติมาได้ 20 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×