คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : วัฒนธรรมร่วมสมัย ในสงครามโลกครั้งที่ 1
วัฒนธรรมร่วมสมัย
ความขัดแย้งใน 4 ปีนี้ ได้กำหนดนิยามใหม่ในการมองตนเอง มองผู้อื่น และมองความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยี ซึ่งปรากฏมาในงานศิลปะ วรรณคดี ภาพยนตร์ และภาพถ่ายในชีวิตประจำวัน อิทธิพลของสงครามส่งผลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยม การมองโลกแนวใหม่นี้ผลักดันให้เกิดงานศิลป์ชั้นแนวหน้า เช่น ศิลปะสามมิติแบบสมัยนิยม เช่น บทกวีอาร์ต เดโค (Art Deco) นวนิยาย และอัตชีวประวัติต่างๆ ขณะที่เทคโนโลยีภาพยนตร์และกล้องถ่ายภาพช่วยให้เกิดยุคฮอลลีวูด (
การวาดภาพสงคราม
มหาสงครามทำให้ศิลปะเปลี่ยนไป จิตรกรคิดว่าพวกเขาไม่สามารถถ่ายทอดงานในแบบก่อนปี 1914 ได้อีก จึงมีการพัฒนาแนวทางใหม่ขึ้น ศิลปินในอังกฤษ เช่น ซีอาร์ดับเบิลยู เนวินสสัน (CRW Nevinson) วินด์แฮม ลูวิส (Wyndham Lewis) และพอล แนช (Paul Nash) เป็นแบบฉบับของศิลปะแนวใหม่นี้ ปี 1919 The Menin Road ของแนช แสดงความหายนะของภูมิทัศน์ทั้งปวงในสงคราม จิตรกรชาวฝรั่งเศสหลายคนผลิตงานที่ผสมผสานระหว่างแนวเก่าและใหม่ในภาพที่มีชื่อเสียงที่d’Epinal ทำให้สงครามครั้งนี้ดูยิ่งใหญ่ขึ้นในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ภาพ The End of the War ของ ราอูล ดูฟี (Raoul Dufy) ในปี 1915 เป็นภาพปะติดที่รวมเอาสัญลักษณ์ของไก่ฝรั่งเศส (Gallic) ภาพ Joan of Arc ภาพนายพล จอฟฟรี และภาพโบสถ์ไรมห์ส (Rheims) กำลังไหม้จากการยิงของเยอรมนี ต่างก็มีชื่อเสียงขึ้นในเยอรมนี ออตโต ดิกซ์ (Otto Dix) วาดภาพความวิปลาสของสงครามจากประสบการณ์ของเขา ภาพ Flanders ของเขา เป็นการผสมผสานระหว่างจินตนาการแบบฝันร้ายของเฮโรนิมัส บอส์ซ (Hieronymus Bosch) กับผลของสงครามอุสาหกรรมที่มีต่อมนุษย์
การถ่ายภาพและภาพยนตร์
การถ่ายภาพและภาพยนตร์พัฒนาอย่างมากช่วงสงครามและหลังสงคราม ช่างภาพของทางการถ่ายภาพสงครามเพื่อโฆษณาชวนเชื่อภาพถ่ายทางอากาศเพื่อแผนการรบ ผู้คนต่างถ่ายภาพส่วนตัว ส่วนภาพยนตร์มี 3 ชนิด คือ ภาพยนตร์จากเหตุการณ์จริง ภาพยนตร์สงครามที่รัฐบาลอนุมัติ เช่น The
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา
ในโลกที่ปราศจากโทรทัศน์และวิทยุ ข่าวของสงครามมาจากสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และป้ายโฆษณา รายงานข่าวส่วนใหญ่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ เจ้าหน้าที่จะตัดทอนสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่าสร้างความอ่อนไหวต่อการทหารหรืออาจทำให้ความรักชาติลดลง นิตยสารในช่วงสงครามเต็มไปด้วยภาพถ่ายและภาพวาดจากความรู้สึกของจิตรกร ซึ่งมักทอนความหายนะทางการทหารและจำนวนคนตายลง หนังสือพิมพ์ The Illustrated War News ในอังกฤษ Le Miroir และ L’Illustration ในฝรั่งเศสและ Illustrierte Zeitung ในเยอรมนี ล้วนตัดแต่งภาพของเรื่องเพื่อให้ตรงกับข้อจำกัดของรัฐบาล ในเขตสมรภูมิเหล่าทหารผลิตหนังสือพิมพ์ของตนเองที่สนามเพลาะ เช่น British Wipers Times เป็นคำแสลงที่ทหารใช้เรียกอิปร์ส
กวีนิพนธ์ บันทึกเหตุการณ์สงคราม
กวีนิพนธ์และบันทึกเหตุการณ์สงครามเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแสดงความรู้สึกถึงประสบการณ์จากสงคราม วัฒนธรรมสมัยนิยม แม้ส่วนใหญ่จะเขียนโดยทหารชนชั้นกลางที่ได้รับการศึกษา แต่กวีนิพนธ์ของ วิลเฟรด โอเวน (Wilfred Owen) อิวอร์ เกอร์เน (Ivor Gurney) ไอแซค โรเซนเบิร์ก (Isaac Rosenberg) ก็เล่าเหตุการณ์และความรุนแรงของสงครามได้ดี หนึ่งทศวรรษหลังจากปี 1918 มีบันทึกเหตุการณ์ดีเด่นปรากฏขึ้นมากมาย มักเขียนโดยผู้ที่เขียนกวีนิพนธ์มาก่อน ซิกไฟร์ด แซสซูน ตีพิมพ์นวนิยาย 3 ฉบับ เป็นอัตตชีวประวัติในสงคราม คือ Memoirs of a Fox-Hunting Man, Memoirs of an Infantry officer และ Sherston’s Progress ส่วนโรเบิร์ต เกรฟส์ (Robert Graves) เขียน Goodbye to All That เอ็ดมุนด์ บันเดน (Edmund Blunden) เขียนเรื่อง Understones of War กวีนิพนธ์และบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามสร้างและแก้ไขความทรงจำเกี่ยวกับสงครามในจิตสำนึกของสาธารณชน และยังเปี่ยมไปด้วยพลังปลุกเร้าให้เห็นความขัดแย้งมาจนถึงทุกวันนี้
ศิลปะสนามเพลาะ (Trench)
ความสนใจใหม่ด้านโบราณคดีเกี่ยวกับมหาสงครามคือ การศึกษา “ศิลปะสนามเพลาะ” ชื่อนี้อธิบายถึงสิ่งของที่ทหาร เชลยศึกและพลเรือนทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในระหว่างและหลังสงคราม ส่วนใหญ่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในสงคราม เช่น เศษโลหะและลูกปืน บางครั้งก็ตกแต่งด้วยเหรียญหรือกระดุมเครื่องแบบ มีคำจารึกส่วนตัว ชิ้นที่รู้จักกันดี คือ กล่องใส่ลูกกระสุนปืนใหญ่ที่ตกแต่งแล้ว ของเหล่านี้พบได้ในพิพิธภัณฑ์ บ้านคน และพบในอุโมงค์ ซึ่งแสดงถึงแง่มุมด้านมานุษยวิทยาของสงคราม
ภาพยนตร์สงครามโลกครั้งที่ 1
All Quiet on the Western Front (1930)
Flyboys (2006)
Hell's Angels (1930) ของ Howard huge
The Lighthorsemen (1987)
Paths of Glory (1957)
The Lost Battalion (2001)
The
Wings (1927)
Westfront (1931)
A Farewell to Arms (1932)
Paths to Glory (1957) ของสแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubricks)
Oh! What a Lovely War (1969) ของริชาร์ด แอทเทนโบโรห์
ความคิดเห็น