ลำดับตอนที่ #5
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่1
เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ขึ้นนั้น ประเทศไทยยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด การสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย -ฮังการี
เมื่อ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่ง ไปช่วยสงครามยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้ เมื่อเสร็จสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซายด้วย ผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่าง ๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีย่อมสิ้นสุดลง
ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่น ๆ แต่ ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟรานซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกาซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยา ณ ไมตรี ในที่สุด ประเทศต่าง ๆ 13 ประเทศรวมทั้ง อังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. ๒๔๖๘ และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๗ ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมี เงื่อนไขบางประการ เช่น จะ ยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และ ยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอาการ ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่าง ๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และ เปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ไทยได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และ ภาษีอากร คืนมา โดย สมบูรณ์
ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีความสำคัญดังนี้
1. เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง
2. ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์
3. เมื่อสงครามสงบได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ เป็นหลักประกันเอกราชและความปลอดภัยของประเทศ
4. ได้แก้ไขสัญญาที่ทำไว้แต่รัชกาลที่ 4 เป็นผลสำเร็จ ยกเลิกสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยทำกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ ใหม่
5. ได้ยึดทรัพย์จากเชลย
6. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์ เพื่อนำไปใช้ในกองทัพไทยที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
7. สร้างอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา
วงเวียน 22 กรกฎา สมาคมสหายสงคราม เป็นต้น
8. มีการจัดทหารแบบยุโรป และเริ่มจัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก
อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1
สร้างเมื่อรัชกาลที่ 6 กรุงเทพมหานครของเรานั้น นอกจากจะมีอนุสาวรีย์ของอดีต พระเจ้าอยู่หัว และเชื้อพระวงศ์แล้ว อนุสาวรีย์ของไพร่ฟ้าประชาชนก็เป็นอนุสรณ์สถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเข้ามาเยี่ยมดูได้ไม่น้อย และบนเกาะรัตนโกสินทร์ของเรามีอนุสาวรีย์ที่ก่อสร้างด้วยรูปแบบทางศิลปอันงดงามอยู่ไม่น้อย ทุกวันนี้เรามีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอันเป็นสัญลักษณ์แห่งระบอบการปกครองประเทศไทยในปัจจุบันอยู่หน้าถนน ดินสอ มีอนุสาวรีย์ของเหล่าปัญญาชน ซึ่งเป็นวีรชนเดือนตุลา และมีที่อยู่ก่อนหน้าตั้งนานแล้ว คือ อนุสาวรีย์ของทหาร ณ บริเวณที่เป็นเกาะกลางถนน ตรงหน้าโรงละครแห่งชาติที่หันหน้าเข้าหาสนามหลวงนั้น มีอนุสาวรีย์ของประชาชนตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ ที่ว่าเป็นอนุสาวรีย์ของประชาชนนี้เป็นเพราะที่ตรงนี้ เป็นที่เก็บอัฐิของเหล่าทหารอาสาชาวไทยที่พากันถวายตัวเข้ารับใช้ชาติต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในสงครามโลกครั้งที่ 1
ลักษณะของอนุสรณ์สถานแห่งนี้ ได้สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์มาออกแบบ และให้หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ณ อยุธยาเป็นนายงานก่อสร้าง หลังจากที่ก่อสร้างจนเสร็จแล้วออกมาเป็นเจดีย์ประยุกต์ตามแบบศิลปะศรีวิชัยที่เรียกว่า "จันฑิ" แล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 6 ก็ได้เสด็จฯ ไปประกอบพิธีบรรจุอัฐิที่ฐานอนุสาวรีย์นี้ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2462 และนับแต่นั้นมาสถานที่แห่งนี้ ก็ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ประจำของทหารอาสา โดยจะมีพิธีวางพวงมาลาในวันทหารอาสาที่นี่ เป็นเกียรติแก่ทหารอาสาทุกหมู่เหล่าในวันที่ 11 พฤศจิกายน ของทุกๆ ปีด้วย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น