ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

    ลำดับตอนที่ #17 : องค์กรสหประชาชาติ

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ย. 52


    องค์กรสหประชาชาติ
     
    องค์กรสหประชาชาติ
    สำนักงานใหญ่   สหรัฐอเมริกา
    สมาชิก 192 ประเทศเมื่อนับรวมไปถึง มอนเตเนโกร ซึ่งเข้ามาหลังสุด
    ภาษาที่ใช้เป็นทางการ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสสเปน รัสเซีย จีน และอาหรับ
    สหประชาชาติ
             
    เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหประชาชาติมีจุดประสงค์คือการนำทุกชาติทั่วโลกมาทำงานร่วมกันเพื่อสันติภาพและการพัฒนาโดยอยู่บนหลักพื้นฐานของความยุติธรรม ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความกินดีอยู่ดีของทุกคนนอกจากนี้ยังให้โอกาสประเทศต่าง ๆ สร้างดุลแห่งการพึ่งพาอาศัยกันและรักษาผลประโยชน์ชาติในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน และเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ
     
    สหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 5 องค์กรหลัก (ไม่นับคณะมนตรีภาวะทรัสตีซึ่งยุติการปฏิบัติงานไปในปี ค.ศ. 1994) ได้แก่
    · สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
    · คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
    · คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
    · สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ
    · ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
     
    สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
    สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติคือการประชุมของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จะต้องมีการลงมติโดยประเทศสมาชิกจำนวนอย่างน้อยสองในสามเพื่อให้มีการผ่าน ไม่ว่าประเทศใดจะมีสิทธิออกเสียงได้เพียงเสียงเดียว สมัชชาใหญ่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตขององค์การสหประชาชาติ
     
    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
              คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ดำรงรักษาสันติภาพและความปลอดภัยแก่ประเทศสมาชิก ขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของสหประชาชาติสามารถเพียงให้คำแนะนำแก่รัฐบาลของประเทศสมาชิก แต่คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจที่จะผูกมัดประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตามการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
          คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาและสมาชิกไม่ถาวรอีก 10 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย ออสเตรีย บูร์กินาฟาโซ คอสตาริกา โครเอเชีย ญี่ปุ่น ลิเบีย เม็กซิโก ตุรกี ยูกันดา และเวียดนาม สมาชิกถาวรทั้งห้าประเทศมีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจยับยั้งการนำไปใช้ แต่ไม่ใช่การยับยั้งมติโดยรวม ส่วนสมาชิกไม่ถาวรทั้งสิบประเทศจะอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ซึ่งได้รับเลือกจากสมัชชาใหญ่โดยใช้เกณฑ์ตามภูมิภาค
     
    คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
             
    คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติมีส่วนช่วยเหลือสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในการให้ความสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
     
    เลขาธิการสหประชาชาติ
            
     เลขาธิการทำหน้าที่เป็นโฆษกและเสมือนเป็นผู้นำขององค์การสหประชาชาติ เลขาธิการคนปัจจุบันขององค์การสหประชาชาติ คือ นาย ปัน กี มุน ตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติมีสองบทบาท คือบริหารสหประชาชาติ และนักการทูตหรือผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก และหาข้อยุติให้กับประเด็นของโลก เลขาธิการสหประชาชาติมีหน้าที่ที่จะควบคุมปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การควบคุมองค์กรสากล การรวบรวมข้อมูลจากข้อตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและพูดคุยกับผู้นำรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ
     
     
    ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
              ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังสันติภาพ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการตัดสินปัญหาของสหประชาชาติ มีจุดประสงค์เพื่อพิจารณาความขัดแย้งระหว่างรัฐ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมสงคราม การเข้าไปสอดแทรกกิจการภายในรัฐ และการล้างชาติพันธุ์ เป็นต้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1945 จากผลของกฎบัตรสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเริ่มทำหน้าที่ในปี ค.ศ. 1946
     
     
    วัตถุประสงค์ขององค์กร  
     1. ธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของโลกโดยการร่วมมือกัน
    2. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยกันคลี่คลายและแก้ปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิทธิด้านมนุษยชน
    3. เป็นศูยน์กลางพัฒนาความสัมพัน์อันดี และประสานงานกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมาย                                                 
     
    ผลการปฏิบัติงาน
    ด้านความขัดแย้ง
              องค์กรสหประชาชาติได้จัดการเจรจาแก้ไขปัญหา หือบางครั้งก็ใช้กองกำลังเข้าไปสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาในกรณีพิพาท หรือความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ ลัทธิทางการเมืองหรือดินแดนภายในประเทศได้หลายกรณี เช่น ปัญหาสงครามในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอล ปัญหาสงครามกลางเมืองในไซปรัสปัญหาสงครามแคว้นคาตังกาในคองโก ปัญหาสงครามอิรักยึดครองคูเวต
     ด้านเศรษฐกิจและสังคม 
             ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งด้านเงินทุน และบุคลากร เกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาคุณภาพประชากร การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
     
    ด้านการลดอาวุธ
              เพื่อการทำลายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอื่นที่สามารถก่อการทำลายล้างสูงได้โดยกระทู้หลักของประเด็นการลดอาวุธอยู่ที่คณะกรรมการการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรก คณะกรรมาธิการการลดอาวุธของสหประชาชาติ และการเจรจาลดอาวุธ การควบคุมอาวุธอวกาศ การห้ามใช้อาวุธเคมี และกับระเบิด การลดอาวุธและระเบิดนิวเคลียร์ การกำหนดเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การลดงบประมาณทางการทหารและความพยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงสากล

    ด้านสิทธิมนุษยชน
              องค์กรพยายามที่จะต่อสู้และรักษาไว้ซึ่งสิทธิและอิสรภาพขั้นพื่นฐานของมนุษย์การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

    ด้านกฎหมาย
             องค์กรได้ร่างกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นไว้หลายฉบับเพื่อ รักษาความยุติธรรม ความเข้าใจอันดี และการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เช่น กฎหมายทางทะเล กฎหมายว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
     
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×