คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : บุคคลสำคัญสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
บุคคลสำคัญสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Emperor Hirohito) ปี 1901-1989
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะขึ้นครองราชย์ในปี 1926 หลังการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซะกิ พระองค์ทรงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนน หลังสงครามยุติ พระองค์ทรงร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเปลี่ยนญี่ปุ่นให้เป็นประเทศประชาธิปไตยในปี 1946 พระองค์ทรงประกาศต่อสาธารณชนและปฏิเสธสถานภาพการเป็นเทพของตนเองในปี 1970 องค์จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีพระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ปี 1989
โตโจ ฮิเดกิ (Tojo Hideki) ปี 1884-1948
โตโจ เป็นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นระหว่างปี 1941-1944 ตั้งแต่ปี 1935 เขาเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพญี่ปุ่นขณะรบกับจีนที่แมนจูเรีย ในปี 1938 เขากลับมายังกรุงโตเกียวและมีส่วนร่วมในรัฐบาลทหารของญี่ปุ่น ในปี 1940 เขารับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีการสงคราม สองเดือนก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี 1941 เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น หลังจากที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยึดญี่ปุ่นได้แล้ว เขาถูกจับกุมในฐานะอาชญากรสงครามและถูกประหารชีวิตใน วันที่ 23 ธันวาคม ปี 1948
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ปี1879-1953
หลังจากเลนินเสียชีวิตในปี 1924 สตาลินกายเป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขามีอำนาจอยู่ 24 ปี ในช่วงเวลานั้น เขาปกครองโซเวียตอย่างน่าหวาดกลัว ผู้คนนับล้านเสียชีวิตเพราะการกระทำของเขา สตาลิน ควบคุมกองกำลังติดอาวุธด้วยตนเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเรียกร้องให้ชาวโซเวียตต่อสู้กับเยอรมนี เมื่อสงครามยุติ สตาลินมุ่งมันว่าประเทศของเขาจะต้องไม่ถูกคุกคามอีกต่อไป เขาจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่เป็นมิตรทั่วยุโรปตะวันออก ด้วยความที่เขาไม่ไว้ใจยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดสงครามเย็นขึ้น สตาลินเสียชีวิตในวันที่ 5 มีนาคม ปี 1953
วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) ปี 1874-1965
วินสตัน เชอร์ชิลล์ เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรถึงสองสมัย ที่มีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขายังได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. 2496 เชอร์ชิลล์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรกระหว่าง พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2488 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายกรัฐมนตรีหลังจากเยอรมนีบุกฝรั่งเศส เชอร์ชิลล์นำ สหราชอาณาจักรฝ่าวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นหนึ่งใน ผู้นำที่สำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมกับประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียต เชอร์ชิลล์กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งโดย นำพรรคอนุรักษ์นิยม เอาชนะพรรคแรงงาน เมื่อ พ.ศ. 2494 และ เขาได้ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2498
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ปี 1889-1945
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หัวหน้าพรรคนาซี และผู้นำสูงสุดของเยอรมนี ตั้งแต่ปี 1933-1945 ฮิตเลอร์ เป็นเผด็จการของเยอรมนี ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันและฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่นและอิตาลี) ได้ยึดครองยุโรปได้เกือบทั้งทวีป ฮิตเลอร์ได้ใช้นโยบายด้านเชื้อชาติฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปอย่างน้อย 11 ล้านคน ซึ่งนับเป็นชาวยิวถึง 6 ล้านคนฮิตเลอร์เปลี่ยนแปลงเยอรมนีจากประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาเป็นมหาอำนาจของโลก แต่ฝ่ายพันธมิตร นำโดยประเทศแกนนำได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน แคนาดา สเปน สาธารณรัฐโปรตุเกส ฟิลิปปินส์ สามารถเอาชนะเยอรมนีลงได้ใน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์จบชีวิตโดยการยิงตัวตายพร้อมภรรยาชื่อ อีวา บราวน์ซึ่งกินยาพิษเป็นการฆ่าตัวตาย ในหลุมหลบภัยเบอร์ลินเพื่อหนีการถูกจับเป็นเชลย
นายพลแมคอาร์เธอร์ (General Doughas MacArthur) ปี 1880-1964
นายพลแมคอาร์เธอร์บัญชาการกองทหารสัมพันธมิตรในแปซิฟิกและเอเชีย ในขณะที่เขาอยู่ในตำแหน่ง ประเทศฟิลิปินส์ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ถูกรุกรานและยึดครองโดยญี่ปุ่น แมคอาร์เธอร์ต้องถอยทัพไปอยู่ที่ออสเตรเลีย เขานำกองทัพผสมทหารอเมริกันและออสเตรเลียร่วมกับพลเรือเอกนิมิทส์ แล้วค่อยๆยึดเกาะในแปซิฟิกที่เคยถูกทหารญี่ปุ่นยึดไปคืนกลับมา เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนในเดือนกันยายน ปี 1945 เขาได้รับการแต่งตั้งให้บัญชาการฟื้นฟูญี่ปุ่น เขาช่วยญี่ปุ่นก่อตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยและทำให้ญี่ปุ่นไม่มีอำนาจทางการทหารอีกต่อไปในเดือนมิถุนายน ปี 1950 เขาเป็นผู้นำกองกำลังสหประชาชาติในเกาหลีใต้ในการขับไล่การรุกรานของเกาหลีเหนือ และเสียชีวิตในเดือนเมษายนปี 1964
ดไวน์ ไอเซนเฮาร์ (Dwight Eisenhower) ปี 1890-1969
ปี 1942 นายพล ไอเซนเฮาร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุโรปเดือนธันวาคมปี 1944 เขาควบคุมกำลังทหารกว่า 4ล้านนายในยุโรปเมือสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียตเริ่มขึ้นนั้น เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการองค์การสนธิสัญญาแอกแลนติกเหนือ (นาโต) ปี 1953 มีผู้ชักชวนให้เขาลงรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ความนิยมอย่างยิ่งในตัวเขาของคนอเมริกัน ทำให้เขาได้รับคะแนนเลือกตั้งอย่าท่วมท้น เขาเป็นประธานาธิบดีจนถึง ปี 1961 สงครามเกาหลียุติลงในขณะที่เขาดำรงอยู่ในตำแหน่ง ถึงแม้ว่าไอเซนเฮาร์ จะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นปรปักษ์กับสหภาพโซเวียต แต่เขาก็พยายามรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้นำโซเวียต เขาเสียชีวิตในปี 1969
พลเรือเอกเชสเตอร์ วิลเลียม นิมิทส์
(Admiral Chester William Nimitz) ปี 1885-1966
พลเรือเอกนิมิทส์ทำงานร่วมกับนายพลแมคอาร์เธอร์ ในการนำทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรทำสงครามกับญี่ปุ่นในเอเชียและแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเป็นผู้บัญชาการเรือดำน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างปี 1930 เขาได้เลื่อนยศในกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาขึ้นมาเป็นลำดับ เดือนธันวาคมปี 1941 หลังญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดประจำกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิก เขามีชื่อเสียงในฐานะเสนาธิการทหารผู้ยิ่งใหญ่ที่กล้าเสี่ยงตาย เขาปลดเกษียณจากกองทัพเรือปี 1947 และเสียชีวิตในปี 1966
จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Field marshal Erwin rommel) ปี 1891-1944
จอมพลรอมเมล เป็นผู้บังคับบัญชาทหารของเยอรมนีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ในตอนเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1เขาเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยรถถังซึ่งผลักดันทหารอังกฤษและฝรั่งเศสกลับสู่ช่องแคบอังกฤษ ผลจากการนี้ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นพลโทบังคับบัญชาทหารเยอรมัน “Afrika Korps” ซึ่งเป็นฐานทัพเยอรมนีในแอฟริกาเหนือ เดือนมิถุนายน ปี 1942 รอมเมลยังเป็นผู้นำความพ่ายแพ้มาให้อังกฤษในยุทธภูมิเอล อลาเมน ที่มีชื่อเสียง รอมเมลได้เลื่อนยศเป็นนายทัพ มีสมญานามว่า “จิ้งจอกทะเลทราย” รอมเมลบัญชาการรบหน่วยป้องกันของเยอรมนีทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ต้องเผชิญกับการจู่โจมของฝ่ายสัมพันธมิตรในวันดี-เดย์เดือนกรกฎาคม ปี 1944 เขามีบทบาทเล็กน้อยในแผนลับเพื่อสังหารฮิตเลอร์ แต่แผนการล้มเหลว รอมแมลต้องเลือกระหว่างการขึ้นศาลกับอัตวินิบาตกรรมซึ่งเขาเลือกอย่างหลัง
นายพลจอร์จี ซูคอฟ (General Georgy Zhukov) ปี 1896-1974
ซูคอฟ นำพากองทัพโซเวียตสู่ชัยชนะเหนือเยอรมนี โดยการยึดครองกรุงเบอร์ลิน ซูคอฟมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นเมื่อเขารับหน้าที่ปกป้องมอสโกจากการรุกรานของกองทัพทหารเยอรมนี เมื่อมอสโกปลอดจากการคุกคามแล้ว เขาเริ่มผลักดันเยอรมนีให้ถอยทัพกลับ เขาเป็นผู้นำการจู่โจมกรุงเบอร์ลินในปี 1945 และอยู่ต่อในเยอรมนีในฐานะผู้นำโซเวียตที่ครอบครองเยอรมนีฝั่งตะวันออก ซูคอฟกลับสหภาพโซเวียตอย่างผู้ชนะในปี 1946 สตาลินอิจฉาความโด่งดังของเขา จึงลดตำแหน่งและส่งตัวเขาออกจากมอสโกไป หลังสตาลินเสียชีวิตในปี 1953 ซูคอฟกลับมอสโกและได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกลายเป็นหนึ่งในผู้นำรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ เขาเสียชีวิตในปี 1974
แฟรงคลิน รูสเวลท์ (Franklin Roosevelt) ปี 1882-1945
แฟรงคลิน รูสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปี 1933 เขาได้รับเลือกในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก โดยชูนโยบาย “ปฏิบัติการใหม่” เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่ม สหรัฐอเมริกายังเป็นกลางอยู่ อย่างไรก็ดี รูสเวลท์เห็นว่าอังกฤษต้องการความช่วยเหลือในการต่อสู้กับเยอรมนี สภาคองเกรซผ่านกฎหมายของเขาเรื่องสัญญาการเช่าและยืม ที่ให้ความช่วยเหลืออังกฤษ รูสเวลท์เป็นผู้นำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์เมื่อมกราคมปี 1943 เขาเห็นพ้องกับเซอร์ชิลล์ว่า ทางเลือกเดียวสำหรับเยอรมนีและญี่ปุ่นคือ ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข รูสเวสท์เสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปี 1945
แฮร์รี เอส ทรูแมน (Harry S Truman) ปี 1844-1972
แฮร์รี ทรูแมน เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปี 1945 หลังจากรูสเวลท์เสียชีวิต ทรูแมนเป็นผู้ตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณู 2 ลูกในเมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น และนำชัยชนะเหนือเยอรมนีและญี่ปุ่นมาสู่ชาวอเมริกัน เขายังเป็นผู้นำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต ความข้องใจของเขาทำให้เกิด “ลัทธิทรูแมน” ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตไปทั่วโลก วิธีหลักที่ทรูแมนทำคือผ่านทางแผนมาร์แชลและการก่อตั้งนาโตในปี 1949 เขาเป็นผู้ส่งกองทหารเพื่อสู้รบกับคอมมิวนิสต์ในเกาหลีและให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เวียดนามอีกด้วย ทรูแมนเกษียณอายุในปี 1952 และเสียชีวิตอีก 20ปี หลังจากนั้น
ความคิดเห็น