คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : Unit 2 : The Cells and Components
Unit 2 : The Cells and Components
ร่างกายของคนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของระบบต่าง ๆ และอวัยวะดังกล่าวเกิดจากเนื้อเยื่อ (Tissue) ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ ลงไปอีกหน่วยย่อยนี้เรียกว่า เซลล์ จึงกล่าวได้ว่า เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด
เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ถ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นมีกำลังขยายสูงก็จะพบรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการ สังเกตมากขึ้น เซลล์สิ่งมีชีวิตมีรูปร่างและโครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน
สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็สามารถดำรงชีวิต อยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนและแตกต่างกัน โครงสร้างที่พบในเซลล์ทุกชนิดที่ศึกษาได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาสซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป
Cell Theory
Ø พ.ศ.2381 มัตทิอัส ชไลเดน (Matthias Schleiden) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบว่า พืชทั้งหลายต่างเป็นสิ่งมีชีวิตทีมีหลายเซลล์
Ø พ.ศ.2382 เทโอดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ประกาศว่าสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ
Ø นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คน จึงได้ร่วมกันตั้ง “ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory)” มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์นั้นคือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบัน ครอบคลุมถึงใจความที่สำคัญ 3 ประการ
1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ซึ่งภายในมีสารพันธุกรรมและกระบวนการเมทาบอลิซึม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้
2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กทีสุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างของเซลล์
3. เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแงตัวของเซลล์เดิม แม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไม่มี ชีวิต แต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน
Cell Type
§ Prokaryotic cells เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ พวกแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน และไมโครพลาสมา ลักษณะเด่นคือ เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้ม แบ่งแยกต่างหาก ลักษณะเซลล์จะค่อนข้างเล็ก มีขนาด 0.2-10 ไมโครเมตร
§ Eukaryotic cells ได้แก่ เห็ด รา เซลล์ของพืช และสัตว์ทั่วๆไป มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร
ลักษณะ | เซลล์โปรคาริโอต | เซลล์ยูคาริโอต |
1. กลุ่มสิ่งมีชีวิต | แบคทีเรีย, สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย) | สาหร่าย, รา, โปรโตซัว, พืช, สัตว์ |
2. ขนาด | 1-2 ไมโครเมตร x 1-4 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่านี้ | เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมโครเมตร |
3. โครงสร้างนิวเคลียส | ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส, มีโครโมโซม เป็นวงกลมเส้นเดียว, โครโมโซม ไม่มีฮีสโตน ไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส | มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส, มีโครโมโซมมากกว่า 1 เส้น, ฮีสโตน มีการแบ่งนิวเคลียส แบบไมโตซิส |
4. การไหลเวียน Cytoplasm | ไม่มี | มี |
5. ฟิโนไซโตซิส | ไม่มี | มี |
6. Gas Vacuole | มีในบางพวก | ไม่มี |
7. Mesosome | มี | ไม่มี |
8. Ribosome | 70 S กระจายใน cytoplasm | 80 S เกาะตามเยื่อหุ้ม เช่น ER, 70 S ใน Mitochondria และ Chloroplast |
9. Mitochondria | ไม่มี | มี |
10. Chloroplast | ไม่มี | มีในเซลล์บางชนิด |
11. Golgi body | ไม่มี | มี |
12. Endoplasmic Reticulum | ไม่มี | มี |
13. Vacuole มี membrane | ไม่มี | มี |
14. Cell membrane | โดยทั่วไปไม่มีสเตอรอล เป็นองต์ประกอบ , บางส่วนทำหน้าที่ เกี่ยวกับการหายใจ , เซลล์บางชนิด ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง | มีสเตอรอลเป็นองค์ประกอบ , ไม่ทำหน้าที่หายใจ และสังเคราะห์แสง |
15. Cell wall | ประกอบด้วย เปปติโดไกลแคน | ไม่มี เปปติโดไกลแคน เป็นองค์ประกอบ , ราส่วนใหญ่มีไคติน , พืชส่วนใหญ่มีเซลล์ลูโลส , สัตว์ไม่มี |
16. อวัยวะในการเคลื่อนที่ | เส้นใยไฟบริลสานกันง่ายๆ ประกอบด้วย แฟลกเจลลิน (flagelin) | ประกอบด้วยไมโครทิวบูล มาเรียงกันในลักษณะ 9+2 |
17. เท้าเทียม | ไม่มี | เซลล์บางชนิดมี |
18. อัตราส่วนของเบส ของ DNA เมื่อเทียบเป็นโมล % ของเบส กวานีน + ไซโตซีน (G+C%) | 28-73 | ประมาณ 40 |
The Cells and Components
องค์ประกอบของเซลล์ประกอบด้วย
§ Cell wall
§ Cell membrane
§ Nucleus
§ Cytoplasm
Animal Cell
Plant Cell
ความแตกต่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืช | เซลล์สัตว์ |
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม | 1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี |
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก | 2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก |
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ | 3. ไม่มีคลอโรพลาสต์ |
4. ไม่มีเซนทริโอล | 4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์ |
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน | 5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน |
6. ไม่มีไลโซโซม | 6. มีไลโซโซม |
Cell wall: ผนังเซลล์
§ โครงสร้างที่แข็งแกร่ง ห่อหุ้มเซลล์ ป้องกันไม่ให้ของเหลวต่างๆ ภายในเซลล์ได้รับอันตราย
§ Plant / Algae cell wall : พืชและสาหร่าย
o Primary cell wall : Cellulose, Pectin มีทุกเซลล์
o Secondary cell wall : Lignin มีเฉพาะบางเซลล์(สร้างเพิ่มเติมภายหลัง)
o Plasmodesmata เป็นช่องหรือรูของผนังเซลล์ ทำหน้าที่ให้สารผ่านเข้าและออก
§ Fungus cell wall : Chitin
§ Bacterial cell wall : Peptidoglycan
Plasma Membrane: เยื่อหุ้มเซลล์
Ø มีความหนาประมาณ 8.5-10 นาโนเมตร
Ø กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์และรักษาสมดุลของสารภายในเซลล์
Ø ควบคุมการผ่านเข้าออกของเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
Phospholipid โมเลกุลแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนหัวมีขั้วและส่วนหางไม่มีขั้ว
o เป็นโครงสร้างหลักของ membrane จะมีการจัดเรียงตัวกันจำนวนสองชั้น
o เรียกการจัดเรียงว่า Phospholipid bilayer โดย หัวที่มีขั้ว(polar head) มีสมบัติชอบน้ำออกด้านนอกและ หางที่ไม่มีขั้ว(non pola tail) มีสมบัติไม่ชอบน้ำเข้าด้านในโดยมีโปรตีนแทรกอยู่
§ Cholesterol
o แทรกปะปนบน Phospholipid
o ทำหน้าที่เกี่ยวกับการไหลลื่น (Fluidity) ของ membrane
o ป้องกันไม่ให้ membrane เป็นของเหลวเมื่อได้รับความร้อน
§ Protein
o วางตัวอยู่บน membrane
o ทำหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆ, เป็นเอนไซม์, เป็นที่เกาะของ Cytoskeleton, นำสัญญาณทางชีวภาพ, เชื่อมต่อกับเซลล์ข้างเคียง
§ Carbohydrate
o วางตัวอยู่บนโปรตีนในรูปของ Glycoprotein
o ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจำกันของเซลล์
::: ติดตาม Unit 2 : The Cells and Components (Part II) เร็วๆนี้ :::
ความคิดเห็น