ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิจารณ์นิยาย

    ลำดับตอนที่ #105 : AelZen ปริศนา มายาภูติ

    • อัปเดตล่าสุด 21 พ.ย. 56


    AelZen ปริศนา มายาภูติ
    http://my.dek-d.com/cherry_kcn/writer/view.php?id=548866

     

    นวนิยายแฟนตาซีเรื่อง  AelZen ปริศนา มายาภูติ  ของ Winterlake  เรื่องนี้น่าจะเป็นนวนิยายขนาดยาวอีกเรื่องหนึ่ง  เพราะขณะนี้เพิ่งโพสต์ถึงบทที่  11 เท่านั้นเอง   เป็นเรื่องราวของเฟอร์ริก  เด็กหนุ่มผู้ถูกเลือกและต้องใช้ชีวิตของตนเป็นผู้แบกรับชะตากรรมซึ่งผูกพันอย่างใกล้กับซิลไคล์น  ราชาภูติแห่งความมืดที่รอคอยมากว่าห้าพันปีเพื่อที่จะทำลายกำแพงมายาลง    ขณะเดียวกันก็มีไวเวิร์กเพื่อนสนิทของเฟอร์ริกเป็นผู้ติดตามและจดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นไว้

    นวนิยายเรื่องนี้อยู่ในช่วงเปิดเรื่องเท่านั้น  จึงเป็นแค่เพียงการปูให้ผู้อ่านทราบถึงประวัติความเป็นมาของตัวละคร 3 ตัวหลัก นั่นคือ เฟอร์ริก  ไวเวิร์น  และ ซิลไคล์น  ซึ่งในขณะนี้เน้นที่เฟอร์ริกเป็นหลัก  นับว่า  Winterlake  เปิดเรื่องได้น่าสนใจ และกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจที่จะติดตามเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นกับตัวละครกลุ่มนี้ต่อไป  

    นวนิยายเรื่องนี้ที่ยังคงอยู่ในช่วงเปิดเรื่องอยู่นั้น   ความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องจึงมีเพียงข้อสังเกต 2-3 ประการที่พบเท่านั้น  ประเด็นแรก คือ  ยังไม่พบการนำเสนอโครงเรื่องหลัก (main plot) และแก่นเรื่องหลัก (theme) ว่านวนิยายเรื่องนี้ต้องการจะนำเสนอสิ่งใด และอะไรคือแก่นของเรื่องอย่างแท้จริง  เพราะการนำเสนอเรื่องมาจนถึงขณะนี้ (11 บท)  เรื่องเน้นไปที่เฟอร์ริกเป็นหลัก   แต่ในความเป็นจริงแล้ว  ผู้ที่ควรจะเป็นผู้ดำเนินเรื่องหลักก็คือ  ซิลไคล์น  เพราะซิลไคล์นดูจะเป็นผู้กุมความลับทั้งหมดในเรื่องไว้ด้วยตนเอง  และเป็นผู้กำหนดและวางแผนทั้งหมดว่าใครควรทำอะไร   ขณะเดียวกันยังเป็นผู้ออกคำสั่งให้ทั้งเฟอร์ริกและไวเวิร์นทำตามความต้องการของตนเป็นหลักด้วย   แต่ในเรื่องก็ยังไม่เปิดเผยว่าการที่ซิลไคล์นกลับมาและเลือกเฟอร์ริก  เพราะเฟอร์ริกเป็นผู้ปลดปล่อยเขาออกมาก่อนเวลาอันควรนั้น  มีวัตถุประสงค์หรือมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่อันใดที่ต้องกระทำ

    ด้วยเหตุนี้  การดำเนินเรื่องจึงดูเหมือนจะเป็นการเล่าไปเรื่อยๆ โดยขาดจุดเน้นที่จะให้ผู้อ่านร่วมคาดเดาไปด้วยว่าเรื่องราวจะดำเนินไปในทิศทางใดต่อไป  แม้ว่าผู้เขียนจะเปิดปริศนาหรือปมต่างๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องมาแล้วหลายครั้ง  นับตั้งแต่ในช่วงแรกๆ ที่บอกไว้อย่างชัดเจนว่า  เฟอร์ริกจะเป็นผู้ปิดตำนาน และไวเวิร์กจะเป็นผู้จดบันทึกเรื่องราวเหล่านี้  แต่ตลอดมาผู้เขียนก็ยังไม่เฉลยว่าตำนานที่ว่านั้นคืออะไร  แต่ผู้อ่านพอจะคาดเดาได้แต่เพียงว่าตำนานที่เกิดขึ้นจะต้องเกี่ยวกับกับซิลไคล์นอย่างแน่นอนเท่านั้น  

    ประการต่อมาพบว่า  นวนิยายเรื่องนี้ยังคงเดินตามสูตรสำเร็จของนวนิยายแนว
    แฟนตาซีแนวโรงเรียนอยู่  เพราะว่ายังเน้นให้โรงเรียนเวทมนต์เป็นฉากหลักสำคัญของเรื่อง และให้ทั้ง
    เฟอร์ริกและไวเวิร์กเป็นอดีตศิษย์เก่าและกลายมาเป็นครูใหม่ของโรงเรียนแห่งนี้ด้วย  ทั้งๆ ที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นก็มิได้ให้ความสำคัญกับทั้งการเรียนหรือแม้แต่การสอนของคนทั้งคู่เท่าไรนัก     แม้ว่าผู้เขียนจะบอกใบ้ไว้เป็นนัยถึงความสำคัญของว่าปราสาทเอลเซน  ซึ่งกลายเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กโต และป่าศักดิ์สิทธิ์บริเวณโรงเรียนมีความสำคัญก็ตาม  แต่ในเรื่องก็ยังไม่เน้นให้เห็นความสำคัญของสถานที่ทั้งสองแห่งในโรงเรียนนี้เท่าใดนัก   แต่ฉากสำคัญของเรื่องกลับอยู่นอกบริเวณโรงเรียนทั้งสิ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉากที่บ้านของเฟอร์ริก  มักจะเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ  ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในชีวิตของเฟอร์ริก  ซิลไคล์  และของนวนิยายเรืองนี้ด้วย  ไม่ว่าจะเป็น การตามล่าแก้วผลึกแห่งจิตวิญญาณในตัวของฟริน น้องชายของเฟอร์ริกก็เริ่มจากบ้านของเฟอร์ริกก่อน และค่อยจบลงที่ถนนละแวกบ้าน   หรือการที่เฟอร์ริกกลายเป็นอมตะในวันเกิดครอบ 10 ขวบของฟริน  เพราะต้องการช่วยชีวิตฟรินน้องชายเข้าไว้  ก็เกิดขึ้นที่บ้านอีกเช่นกัน  จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับโรงเรียนมากนักก็ได้    ดังนั้น  หากผู้เขียนยังคงยืนยันที่จะใช้โรงเรียนเป็นฉากสำคัญในเรื่องก็ควรจะต้องสร้างเรื่องโดยเน้นโรงเรียนให้มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น  หรือใช้โรเรียนเป็นแกนกลางในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่สำคัญเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

    ข้อสังเกตประการต่อไปคือ การที่ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความเก่งกล้าของพลังอำนาจของซิลไคล์นที่ไม่มีใครเทียบได้นั้น  จึงเกิดคำถามว่าเมื่อเขามีพลังอำนาจมากเช่นนี้แล้ว  เหตุใดเขาจึงไม่ปฏิบัติภารกิจให้เสร็จในเร็ววัน  ทั้งๆ ที่มันก็ล่าช้ามานานกว่า 5 พันปีแล้ว   เหตุใดจะต้องรอเวลากว่า 3 ปี ในช่วงที่เฟอร์ริกหายไป  และเมื่อเฟอร์ริกกลับมาเป็นครูที่โรงเรียนเวทมนตร์เหมือนเดิมแล้ว  ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเริ่มปฏิบัติภารกิจสำคัญของเขาสักที 

    ในประเด็นเรื่องการเขียนนั้น  พบว่าผู้เขียนมีความสามารถในการสร้างบทบรรยาย ทั้งการบรรยายลักษณะของตัวละคร และการบรรยายสถานที่ต่างๆ เรื่องได้เป็นอย่างดี  ทำให้ผู้อ่านสารมารถสร้างจินตนาการและอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครได้   ในการสร้างบทสนทนานั้น  ผู้เขียนก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน เพราะบทสนทนาเหล่านี้ช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับตัวละคร และสร้างให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างลื่นไหล ชวนติดตาม  แต่สิ่งหนึ่งที่ลดทอนความสมบูรณ์และความน่าอ่านไปอย่างน่าเสียดาย  คือ  คำผิดที่พบบ้างประปราย  จึงเห็นว่าหากผู้เขียนสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้ก็จะช่วยให้เรื่องราวสมบูรณ์ และน่าอ่านมากขึ้น  คำผิดที่พบ เช่น   กะทันหัน  เขียนเป็น  กะทันหัน  อนุญาต  เขียนเป็น  อนุญาติ  กะพริบ เขียนเป็น  กระพริบ  เกล็ดหิมะ  เขียนเป็น  เกร็ดหิมะ  ฮะ  หรือ หา  เขียนเป็น ห๊า  ปะทุ  เขียนเป็น  ประทุ  จ้อกแจ้กจอแจ  เขียนเป็น จอกแจกจอแจ  สัญชาตญาน เขียนเป็น  สัญชาติญาณ  ว้าก เขียนเป็น  ว๊าก  อณู  เขียนเป็น  อนู  ซี้ดซ้าด   เขียนเป็น  ซี๊ดซ๊าด   พุ่ง  เขียนเป็น  พุ้ง  เป็นต้น

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×