ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิจารณ์นิยาย

    ลำดับตอนที่ #100 : มนตราไซเบอร์

    • อัปเดตล่าสุด 26 มี.ค. 56


    ลิงก์นิยาย http://writer.dek-d.com/Zaizerrin/story/view.php?id=802307

    มนตราไซเบอร์ โดยคุณ
    Midnight เป็นนิยายแฟนตาซีผสมกับการสืบค้นคลี่คลายปมความลับ ความรัก มิตรภาพและความอยู่รอดของพวก “วอนเดอร์แบรส” Midnight ผู้เขียนได้โพสต์ไว้ถึงตอนที่ 47 ซึ่งการดำเนินเรื่องน่าจะไปถึงช่วงกลางของเรื่องแล้ว ผู้วิจารณ์มีข้อสังเกตว่าผู้เขียนโพสต์นิยายเรื่องนี้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ แต่อยู่ๆ ก็หยุดโพสต์เป็นเวลาที่นาน ผู้วิจารณ์เข้าใจว่าผู้เขียนอาจะกำลัง rewrite นิยายเรื่องนี้ ผู้วิจารณ์จึงจะขอแสดงความคิดเห็นเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนในการ rewrite ครั้งนี้

                มนตราไซเบอร์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพวก “วอนเดอร์แบรส” เป็นกลุ่มผู้ที่มีพลังเวทมนตร์อาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์โดยที่ไม่สามารถที่จะแสดงพลังเวทมนตร์หรือเปิดเผยตัวตนต่อหน้ามนุษย์ได้ ซึ่งมีผู้ปกครองและองค์กรที่ดูแลควบคุมอย่างลับๆ นิโคลัส สคินเทอร์รี่ หรือ นอร์สเด็กหนุ่มกำพร้าวอนเดอร์แบรสเลือดผสมที่ได้รับการอุปการะจากแบล็กวินด์เจ้าของพิพิธภัณฑ์ปีศาจใช้ชีวิตการเป็นนักเรียนและทำงานร่วมกับมนุษย์อย่างปกติ แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้นอร์สต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับแผนการร้ายของอาร์นาโดหนึ่งในสามของผู้ปกครองวอนเดอร์แบรส โดยมีชีวิตของโรซาน แมกคาดัมเพื่อนสาวชาวมนุษย์คนสนิท และแบล็กวินด์ผู้มีพระคุณเป็นเดิมพัน ปฏิบัติการช่วยเหลือโรซานและแบล็กวินด์ทำให้นอร์สและเพื่อนชาววอนเดอร์แบรสอีกสองคนคือ เมลโล่ เคย์เลและนาตาชา เบรธต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับแผนการร้ายของอาร์นาโด ทั้งนี้ผู้เขียนหยุดการไพสต์ไว้แค่นี้ ซึ่งต้องติดตามต่อว่าผู้เขียนจะให้เรื่องดำเนินการต่อไปอย่างไร

                ชื่อเรื่อง “มนตราไซเบอร์” ผู้วิจารณ์ขอยอมรับว่าเมื่ออ่านชื่อเรื่องครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องในโลกไซเบอร์หรือโลกเสมือนจริงที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ออนไลน์ เมื่ออ่านไปได้ระยะหนึ่งก็พยายามที่จะหาความเกี่ยวข้องของชื่อเรื่องกับการดำเนินเรื่องซึ่งก็ไม่พบว่าจะมีความเกี่ยวข้องโลกไซเบอร์แต่อย่างใด จนกระทั่งผู้เขียนกล่าวถึงหุ่นยนต์ “ไซบอร์ก” และใช้คำว่า “ไซเบอร์” ในความหมายของประเภทของหุ่นยนต์ที่มีพัฒนาการขั้นสูงกว่า   ไซบอร์ก ผู้วิจารณ์ขอแนะนำว่าควรที่จะใช้คำใหม่ หรือสร้างคำขึ้นมาใหม่ เพราะคำว่า “ไซเบอร์” เป็นคำที่มีความหมายอันที่เป็นที่รับรู้ทั่วไป การที่จะนำคำนี้มาใช้ในความหมายอื่นอาจจะทำให้เกิดความสับสนได้

                การดำเนินเรื่องนั้นผู้เขียได้วางโครงเรื่องไว้เป็นอย่างดี พล็อตเรื่องใหญ่คือปฏิบัติการที่นอร์สต้องช่วยเหลือ   โรซานและแบล็กวินด์ให้รอดพ้นจากอันตราย โดยๆด้รับความช่วยเหลือจากเมลโลและนาตาชาสองเพื่อนสนิทชาววอนเดอร์แบรส เมื่อทั้งสามสืบหาเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นกับโรซานและแบล็กวินด์ลึกมากขึ้นก็พบว่ามีความเชื่อมโยงกับแผนการชั่ววร้ายของอาร์นาโดที่จะใช้ไซบอร์กเป็นเครื่องมือในการการปฏิบัติแผนการร้ายในครั้งนี้ ผู้เขียนได้เปิดปริศนาต่างๆ ซึ่งเป็นพล็อตเรื่องย่อยที่จะสนับสนุนพล็อตใหญ่ของเรื่องตั้งแต่ต้นเรื่อง ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับไซบอร์ก หัวใจอสูร(หัวใจนางฟ้า) การตายของนักวิทยาศาสตร์อาวุโส การที่โรซานและพ่อถูกจับตัวไป การป่วยของแบล็กวินด์ การที่ จูลีน่าหนึ่งในผู้ปกครองวอนเดอร์แบรสถูกลอบสังหาร ซึ่งเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับแผนการชั่วร้ายของอาร์นาโด ผู้วิจารณ์ยอมรับว่าแม้ผู้เขียนจะสร้างพล็อตเรื่องย่อยซึ่งเป็นปริศนาที่ตัวละครเอกต้องสืบค้นและคลี่คลายซ้อนกันขึ้นมาหลายเรื่องพร้อมกัน ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านนิยายความสับสน แต่กลับสร้างความน่าติดตามให้กับนิยาย เนื่องจากผู้เขียนยังเขียนนิยายไม่จบผู้วิจารณ์จึงยังไม่เห็นการคลี่คลายปริศนาต่างๆ แต่มีแนวโน้มที่ผู้เขียนจะสามารถคลี่คลายปมปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะเปิดเผยปริศนาของโครงเรื่องหลักได้เป็นอย่างดี

                แม้ว่าผู้เขียนจะวางโครงเรื่องได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีข้อบกพร่องในความชัดเจนทั้งที่เกิดจากการเขียนและการที่ผู้เขียนยังไม่แน่ใจว่าจะให้เรื่องดำเนินไปอย่างไร ประเด็นการเขียนที่ขาดความชัดเจน เช่นบทแรกที่ผู้เขียนอธิบาย  ไซบอร์กที่มีความสับสนเป็นอย่างมาก แม้ว่าผู้เขียนต้องการที่จะเปิดตัวไซบอร์กซึ่งจะเป็นตัวละครสำคัญของเรื่อง ผู้เขียนพยายามอธิบายว่าไซบอร์กมีลักษณะรูปร่างเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป แต่ผู้เขียนได้แบ่งแยกระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์อย่างชัดเจนว่า “รูปปั้นหุ่นยนต์เก่า” หรือ “หุ่นตัวนี้พูดกับเขาได้จริงๆ” ผู้เขียนจึงควรระวังการใช้คำเรียกหุ่นยนต์ เช่น “รอบนี้จึงมั่นใจว่าร่างที่ไร้วิญญาณของคนที่อยู่บนเตียงสามารถส่งกระแสจิตของตนเองได้” “คน” ในที่นี่น่าจะหมายถึง “หุ่น” การใช้ลักษณะนามที่เรียกหุ่นยนต์ควรจะใช้คำว่า “ตัว” มากกว่า “คน” และสรรพนามที่เรียกแทนหุ่นยนต์ควรจะใช้ “มัน” ทั้งนี้ผู้วิจารณ์ยังมีความสงสัยว่าทำไมหุ่นยนต์จึงมีวิญญาณได้และตายได้ และวิญญาณของหุ่นนั้นสามารถที่จะติดต่อกับพวกวอนเดอร์แบรสได้อย่างไร (ซึ่งผู้เขียนอาจจะอธิบายในตอนที่ยังไม่ได้โพสต์) ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญกับบทแรกของนิยายเป็นอย่างยิ่ง หากตอนแรกมีความสับสนจะทำให้ผู้อ่านไม่ติดตามอ่านตอนต่อไป ข้อบกพร่องที่พบอีกประการหนึ่งคือ การที่ผู้เขียนสมมติประเทศโคแลนด์ว่าตั้งอยู่ในทวีปยุโรป โดยให้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษและทิศตะวันตกของประเทศโคแลนด์อยู่ใกล้กับฝรั่งเศส เมื่อผู้เขียนใช้ฉากประเทศที่มีอยู่ในความเป็นจริงจะต้องคงความถูกต้องตามภูมิศาตร์ ดังนั้นเมื่อประเทศโคแลนด์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอังกฤษ ทิศตะวันตกของประเทศโคแลนด์จะต้องไม่ใช้ประเทศฝรั่งเศส เพราะประเทศฝรั่งเศสตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอังกฤษ หรือมิฉะนั้นผู้เขียนต้องใช้ฉากหรือสถานที่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ส่วนประเด็นที่ผู้เขียนยังไม่แน่ใจที่พบในเรื่องของ “วอนเดอร์ แบรส” ที่ในช่วงต้น ผู้เขียนพยายามที่จะไม่ใช้คำว่า “พ่อมด แม่มด” เรียกวอนเดอร์แบรสซึ่งผู้วิจารณ์มีความเห็นว่าเป็นไปได้ เนื่องจากผู้ที่มีเวทมนตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อมดหรือแม่มดก็ได้ แต่ว่าในช่วงท้ายของการโพสต์ผู้เขียนกำหนดให้พวกวอนเดอร์แบรสเป็นพวกพ่อมดแม่มด ดังนั้รผู้เขียนควรที่จะกำหนดให้แน่ชัดถึงสถานภาพของวอนเดอร์แบรส นอกจากผู้วิจารณ์ยังมีความสงสัยเกี่ยวกับวอนเดอร์แบรสที่ผู้เขียนให้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมนุษย์โดยที่ไม่สามารถที่จะเปิดเผยตนเองและใช้เวทมนตร์ต่อหน้ามนุษย์ได้ และมีองค์กรลับของตนเองในการปกครอง โดยผู้คุ้มครองทั้งสามเป็นผู้ควบคุมเหล่าบรรดาวอนเดอร์แบรส ซึ่งผู้เขียนยังไม่ได้อธิบายถึงที่มาของวอนเดอร์แบรสว่าทำไมต้องดำเนินชีวิตเช่นนี้ (ซึ่งผู้แต่งอาจจะเฉลยในช่วงต่อไป) ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ผู้อ่านเกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่ง

                ความสมจริงของเรื่อง ผู้วิจารณ์มีข้อสังเกตว่าผู้เขียนยังขาดการให้รายละเอียดในเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ความสัมพันธ์ของนอร์สกับโรซาน นิยายเรื่องนี้มีการดำเนินเรื่องที่สำคัญคือการที่นอร์สพยายามที่จะช่วยโรซานเพื่อนสาวคนสนิทและแบล็กวินด์ผู้มีพระคุณแม้ว่าจะต้องเสี่ยงถึงชีวิตก็ตาม แต่ผู้เขียนปูพื้นความสัมพันธ์ของนอร์สกับโรซานไว้น้อยมาก ซึ่งต่างกับกรณีของแบล็กวินด์ที่ผู้เขียนอธิบายว่าเป็นผู้ที่มีบุญคุณและมีความสำคัญต่อชีวิตของนอร์ส ผู้เขียนจึงควรเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างนอร์สกับโรซานให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านเชื่อในการที่นอร์สยอมเสี่ยงชีวิตของตนเองที่จะช่วยเหลือโรซาน และยังจะเป็นการสร้างความประทับใจในตัวละครทั้งสองตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย กรณีที่แบล็กวินด์ต้องล้มป่วยจากอำนาจของภาพวาดเทพธิดาขาวแห่งวอส ทั้งที่แบล็กวินด์เป็นวอนเดอร์แบรสผู้เฒ่าที่มีพลังเวทมนตร์สูงเป็นผู้ที่ทรงภูมิความรู้อย่างมากและเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ปีศาจ ซึ่งต้องรู้เรื่องราวของวัตุโบราณในพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างดี การที่แบล็กวินด์พลาดเสียท่าให้กับปีศาจจนต้องลมป่วยหนักนั้นต้องมีเหตุผลที่ทำให้ผู้อ่านเชื่อได้มากกว่านี้ เนื่องจากทั้งสองเหตุการณ์จะนำไปสู่การสืบค้นและคลี่คลายปมเรื่องที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด

                การบรรยายตัวละคร ผู้เขียนสามารถที่จะบรรยายตัวละครทั้งลักษณะรูปร่าง บุคลิก นิสัย ความคิดของตัวละครได้เป็นอย่างดี แต่การบรรยายฉากและสถานนั้นยังไม่ละเอียดพอที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านเห็นภาพตามได้ โดยเฉพาะในการบรรยายสถาปัตยกรรมของเมือง ซึ่งผู้เขียนใช้คำที่กว้างมาก เช่น บ้านเรือนแบบยุโรป การตกแต่งภายในแบบอังกฤษ ปราสาทยอดแหลม การแก้ปัญหาการอธิบายรูปแบบสถาบัตยกรรมและศิลปะให้มีความสมจริงผู้เขียนควรที่จะศึกษาศิลปะยุคต่างๆ ของยุโรปแล้วเลือกลักษณะเด่นในยุคที่ผู้แต่งเลือกมาอธิบายจะได้ภาพฉากและสถานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ผู้เขียนยังเลือกใช้คำที่ไม่ตรงความหมาย เช่น “เสียงย่างย่องออกมาจากที่ไกลๆ เป็นเสียงฝีเท้าระวัง” คำว่า “ย่างย่อง” นั้นผู้วิจารณ์ไม่เข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงอะไร เพราะคำว่า “ย่องย่าง” เป็นการอธิบายการเต้นที่เงียบกริบ ดังนั้นไม่ควรที่จะนำมาใช้ขยายเสียงของฝีเท้าควรจะใช้คำว่า “เหงาะย่าง” “ของโบราณ” ควรใช้คำว่า “วัตถุโบราณ” “ผ้าคลุมกระเพื่อม” ควรใชเป็นผ้าคลุมปลิว,พลิ้ว,สะบัด,ไหว “กองทัพนับสิบ” ควรใช้ว่า “กลุ่มทหารนับสิบ”  พรุกพรวดเข้ามา” ควรจะเป็น “วิ่งพรวดเข้ามา” “พุ่งพรวดเข้ามา”

                ส่วนคำผิด พบว่าผู้เขียนพิมพ์ผิดน้อยมาก แต่จะมีที่ผู้เขียนเขียนผิดจริงๆ (คำแรกเป็นคำที่เขียนผิด-คำหลังเป็นคำที่ถูกต้อง) ปิ๊กนิ๊ก – ปิกนิก  แก็งค์โจร-แก็งโจร  โหมกระหนั่ม-โหมกระหน่ำ  ปิศาจ-ปีศาจ  เซ็งกระตาย-ซังกะตาย  ฟุตปาธ-ฟุตบาท  ง้ามือ-ง้างมือ  รถเกี่ยวข้างโพด-รถตัดข้าวโพด  เสื้อโค๊ช-เสื้อโคท เกลี่ยกล่อม-เกลี้ยกล่อม บิ๊กเบิ๊ม-บิกเบิ้ม  ตระกร้าทรงกรม-ตระกร้าทรงกลม  รวดราย-ลวดลาย  ช่างใจ-ชั่งใจ  สลัมป์-สลัม ขอโทษขอพวย-ขอโทษขอโพย ชุดกาวน์-ชุดกราวน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×