ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดาราศาสตร์^v^

    ลำดับตอนที่ #2 : ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteors shower)

    • อัปเดตล่าสุด 26 ส.ค. 51


    ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteors shower)  
        กลับมาอีกครั้งกับ ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteor Showers) ในเดือนสิงหาคมตรงกับวันที่ 11 หรือ 12 ของทุกปี จนเราคนไทยมักเรียกฝนดาวตกนี้ว่า "ฝนดาวตกวันแม่" เพราะเป็นฝนดาวตกที่มีช่วงสูงสุดอยู่ราววันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับ วันเฉลิมพระชนน์พรรษา หรือ วันแม่ ของเราชาวไทยนั่นเอง แต่ฝนดาวตกเปอร์เซอิคเกิดขึ้นช่วงฤดูฝนของเมืองไทยทุกที จนเราชาวไทยไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นฝนดาวตกนี้กันเลย แต่สำหรับทางฝั่งยุโรปและอเมริกา เป็นช่วงฤดูร้อนท้องฟ้าโปร่ง จึงกลายเป็นฝนดาวตกยอดนิยมของชาวตะวันตกไป และภาพถ่ายที่ได้ก็จะมากจากทางอเมริกาเป็นส่วนมาก  ถึงกระนั้นเราก็ควรจะทำความรู้จักกับฝนดาวตกเปอร์เซอิคไว้บ้าง  
      
     
    ภาพไฟร์บอลของฝนดาวตกเปอร์เซอิค ซึ่งถ่ายไว้โดย Rick Scott และ Joe Orman ใน  Arizona เมื่อปีค.ศ.1997  ด้วยฟิล์มโกดัก P1600 เลนซ์มุมกว้าง  21 มม. F/2 เปิดหน้ากล้องนาน 8 นาที

     


    ภาพฝนดาวตกเปอร์เซอิด เมื่อปี คศ.1993

       ประวัติความเป็นมา ชื่อ Perseid ถูกตั้งขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี  Giovanni V.Schiaparelli เมื่อปี คศ.1866 โดยให้ชื่อนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มดาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับจุด radiant หรือจุดเสมือนแหล่งกำหนดของดาวตก นั่นก็คือกลุ่มดาวเจ้าชายเปอร์เซอุส (Perseus) โดยที่ Schiaparelli สังเกตว่าจุด radiant ของฝนดาวตกนี้ใกล้เคียงกับ แนวการเคลื่อนที่ของดาวหาง 109P/ Swift-Tuttle ซึ่งเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในเมื่อปี คศ.1862 โดยมีคาบการโคจรทุกๆ 130 ปี มีวงโคจรเลยดาวพลูโตออกไปอีก ครั้งหนึ่งนักดาราศาสตร์เคยวิตกกังวลว่าดาวหางนี้จะชนโลก แต่ข้อมูลปัจจุบันและการคำนวนใหม่พบกว่า ดาวหางดวงนี้ไม่มีอะไรต้องห่วงแล้ว อย่างน้อยก็อีกก็หลายร้อยปี  การกลับมาเยือนของดาวหาง Swift-Tuttle ล่าสุดเมื่อปี คศ. 1992 ก็มาช่วยเพิ่มอนุภาคให้กับ ฝนดาวตกนี้ ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับฝนดาวตกนี้น่าสนใจขึ้น ซึ่งมีรายงานว่า ฝนดาวตกเปอร์เซอิดเพิ่มขึ้นราว 200-500 ดวงต่อชั่วโมงในปี คศ.1993 
     อนุภาคเศษฝุ่นผงของดาวตกเปอร์เซอิดนี้ มีขนาดใหญ่ไม่เกินเม็ดทราย (ดังรูปด้านซ้ายมือ) ซึ่งจะเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วประมาณ 132,000 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 59 กิโลเมตรต่อวินาที จะช้ากว่าของฝนดาวตกลีโอนิด ซึ่งเร็วประมาณ 72 กิโลเมตรต่อวินาที 
            ฝนดาวตกเปอร์เซอิดเป็นหนึ่งในฝนดาวตกประจำปีที่น่าสนใจของประเทศแถบยุโรป และอเมริกา เพราะเป็นฝนดาวตกฤดูร้อน แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะ Peak สูงสุดในช่วงฤดูฝนที่ให้ฝนดาวตกเปอร์เซอิดไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรในบ้านเรา เหมือนอย่างฝนดาวตกลีโอนิด
            จุดเด่นของฝนดาวตกเปอร์เซอิดคือมีไฟร์บอลที่โดดเด่นสวยงามเหมือนกับฝนดาวตกเจมินิดในเดือนธันวาคม

     
       
        การสังเกตฝนดาวตกเปอร์เซอิด  
             ฝนดาวตกนี้ มีจุดเรเดียน (Radiant) หรือจุดกำเนิดอยู่ในกลุ่มดาวเปอร์เซอุส ใกล้กับดาวแกมม่าเปอร์ซี่ ซึ่งในวันที่ 11-12 สิงหาคม กลุ่มดาวนี้จะเริ่มขึ้นจากขอบฟ้าหลังเที่ยงคืนไปแล้ว ดังนั้นช่วงการสังเกตดีที่สุดต้องราวๆ ตี2- ตี3  แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลา Peak สูงสุดของฝนดาวตกในปีนั้นๆ การสังเกตให้มองไปทางฟ้าซีกเหนือ ดังรูป (เพราะกลุ่มดาวเปอร์เซอุสเป็นกลุ่มดาวฟ้าซีกเหนือ) แล้วมองท้องฟ้ามุมกว้างๆ ซึ่งดาวตกจะปรากฏห่างจากจุดเรเดียนประมาณ 30-40 องศาโดยรอบ ซึ่งดาวตกจะมีทิศทางผ่านกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย  กลุ่มดาวสารถี  และกลุ่มดาวแอนโดรเมด้า เป็นส่วนใหญ่

           ฝนดาวตกเปอร์เซอิค ปี 2551
           สำหรับปี 2551 นี้ ตรงกับขึ้น 11 ค่ำ ดวงจันทร์ครึ่งดวงกว่าๆ ซึ่งหลังเที่ยงคืนไปแล้ว ดวงจันทร์อยู่ทางขอบฟ้าตะวันตก ทำให้ไม่มีอุปสรรคจากแสงจันทร์มารบกวนมากนัก  แต่ตรงกับฤดูฝนของประเทศไทยพอดี ทำให้วันนั้นเราต้องมาเสี่ยงลุ้นกับสภาพอากาศว่าจะเป็นใจหรือไม่มากกว่า   
          ฝนดาวตกเปอร์เซอิคนี้ปกติจะเริ่มมีตั้งแต่วันที่ 17 กรกฏาคม บ้างเล็กน้อย จนถึง วันที่ 24 สิงหาคม  แต่วันที่เกิดขึ้นมากที่สุดจะตรงกับช่วงต่อของวันที่ 12 สิงหาคม ถึง รุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม

     



    Credit  By  :  http://www.darasart.com/solarsystem/meteor/perseid.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×