ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กลอน<<ส่งงาน>>

    ลำดับตอนที่ #3 : รายงาน ยางพารา

    • อัปเดตล่าสุด 12 ก.พ. 51


    ยางพารา

    ยางพารา เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย มีมูลค่ารวมกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้อง กับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคน หากได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะส่งผลดีต่อประเทศ และเกษตรกร ชาวสวนยาง อย่างมหาศาล ซึ่งหากพิจารณาด้านต่างๆแล้ว ยางพารายังเป็น พืชเศรษฐกิจ ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็น ในการ ส่งเสริมอาชีพ และมีโอกาสในการพัฒนา ดังนี้

    1.       ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
    ยางพารามีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ 3 ด้าน คือ
    1.1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากยางพาราเป็นพืชที่ทำรายได้ให้ประเทศจำนวนมาก กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2543 มีมูลค่ารวม 134,143 ล้านบาท เฉพาะการส่งออกยางซึ่งเป็นวัตถุดิบ 60,743 ล้านบาท เป็นสินค้าที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของการส่งออก
    1.2 การกระจายรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางที่มีอาชีพทำสวนยางพารามีกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ ยางพารา จึงเป็นพืชที่ทำให้ทีการกระจายรายได้ให้เกษตรกร เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    1.3 เกษตรกรมีรายได้แน่นอนและเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาจากสถิติยางพาราตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ซึ่งผลผลิตเฉลี่ย 60 กก./ไร่/ปี เมื่อมีการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดีจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2543 ผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 268 กก./ไร่/ปี เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว ในช่วง 35 ปี ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้จากการทำสวนยางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นพืชที่ปลูกแล้ว มีรายได้สม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี ราคาผันผวน ไม่มากนักจึงสร้างรายได้ที่แน่นอน ให้แก่เกษตรกร ผู้ปลูกยางมากกว่าปลูกพืชชนิดอื่นๆ

    2.        ความสำคัญทางสังคม

    ยางพาราเป็นพืชที่ทำให้เกิดการสร้างงานในชนบทหลากหลายมากขึ้น ทำให้มีการใช้แรงงาน ในครัวเรือน อย่างมีประสิทธิภาพตลอดปี จึงสามารถตรึงแรงงาน ให้อยู่ในพื้นที่ได้ ลดการเคลื่อนย้าย แรงงานจากชนบทสู่เมือง ทำให้สังคม ครอบครัวอบอุ่น จากการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า เมื่อมีการปลูกยาง ในภาคตะวันออกเฉลียงเหนือ สามารถลดการเคลื่อนย้าย แรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร้อยละ 41 เป็นร้อยละ 28

     

     

     

    การผลิต การส่งออก และการใช้ยางธรรมชาติของประเทศไทย

    ปี พ.ศ.  

      ผลผลิต

      การส่งออก

     ใช้ในประเทศ

    หน่วย : เมตริกตัน

    เกิน/ขาด(+/-)

    การนำเข้า

    2515

    324,408

    11,272

    2516

    368,204

    16,778

    2517

    365,198

    14,301

    2518

    334,737

    15,296

    2519

    372,952

    19,514

    2520

    430,885

    404,009

    22,979

    3,897

    2521

    466,963

    441,780

    25,671

    - 488

    2522

    534,343

    517,803

    29,038

    - 12,498

    2523

    499,372

    456,801

    28,063

    14,508

    -

    2524

    502,001

    476,042

    28,913

    - 2,954

    -

    2525

    562,210

    546,690

    28,999

    - 13,479

    -

    2526

    587,975

    552,485

    32,056

    3,434

    -

    2527

    629,189

    595,585

    31,653

    1,961

    10

    2528

    721,871

    684,851

    32,738

    4,282

    -

    2529

    782,120

    755,158

    39,550

    - 12,530

    58

    2530

    921,558

    876,188

    47,091

    - 1,613

    108

    2531

    974,879

    906,420

    57,339

    11,278

    158

    2532

    1,178,388

    1,100,580

    77,601

    265

    58

    2533

    1,275,105

    1,150,790

    99,131

    25,380

    196

    2534

    1,340,596

    1,231,946

    103,659

    5,079

    88

    2535

    1,530,941

    1,412,904

    118,371

    - 322

    12

    2536

    1,553,384

    1,396,783

    130,236

    26,501

    136

    2537

    1,717,861

    1,604,964

    132,195

    - 19,015

    283

    2538

    1,804,788

    1,635,533

    153,159

    16,484

    388

    2539

    1,970,265

    1,762,990

    173,671

    34,638

    1,034

    2540

    2,032,714

    1,839,149

    182,020

    11,545

    2541

    2,075,950

    1,839,407

    186,379

    50,164

    2542

    2,154,560

    1,886,339

    226,962

    41,259

    2543

    2,346,487

    2,166,153

    242,549

    - 62,215

               

     

    น.ส. ชนาภา เผือกลิขิต          ม.5/4      เลขที่ 18

    น.ส. วณิศรา ก่องตาวงศ์        ม.5/4      เลขที่ 19

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×