คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : รายงาน เครื่องซักผ้าของยีน
เครื่องซักผ้า
ตั้งแต่มนุษย์เราเริ่มใส่เสื้อผ้ากันมา สตรีก็มีหน้าที่จะต้องซักทำความสะอาดเสื้อผ้าโดยการฟาดตีกับก้อนหินตามริมฝั่งแม่น้ำซึ่งนับเป็นงานหนักสำหรับตี และยังไม่เป็นผลดีต่อเสื้อผ้าด้วย ดังนั้น เมื่อล่วงมาถึงราวคริสต์ศรรษที่ 18 จึงได้ มีการประดิษฐ์เครื่องช่วยซักผ้าขึ้นในประเทศอังกฤษ เครื่องดังกล่าวนี้ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ พื้น ๆ และยังคงต้องใช้มนุษย์ในการทำให้เครื่องทำงานซึ่งเป็นเพียงช่วยบรรเทางานของการซักผ้าไว้เท่านั้น มิได้ปฏิบัติการซักผ้าเองทั้งหมด ในช่วงเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาการประดิษฐ์เครื่องซักผ้าให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จนเครื่องซักผ้าได้วิวัฒนาการมาเป็นเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนถึงขั้นที่เริ่มทำงานจากการปล่อยน้ำเข้าสู่เครื่อง จนกระทั่งถ่ายน้ำออก ซึ่งจะรวมถึงการซัก ปั่นผ้าให้แห้งหมาด ๆ ควบคุมอุณหภูมิของน้ำ ใส่ผงซักฟอง ฯลฯ และทั้งหมดนี้จะกระทำโดยอัตโนมัติ
เมื่อหมุนหน้าปัดของตัวตั้งเวลาการทำงาน (บางแบบอาจใช้กดปุ่ม) กระบวนการก็เริ่มต้นขึ้นด้วยการปล่อยน้ำร้อนหรือน้ำเย็น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือปล่อยเข้ามาพร้อมกันเพื่อผสมให้ได้น้ำอุ่นตามที่ตั้งไว้ ทั้งนี้จะควบคุมได้โดยลิ้นผสมน้ำ น้ำที่ถูกปล่อยเข้ามาจะบรรจุลงในถังน้ำภายในเครื่องซักผ้าซึ่งสามารถควบคุมระดับน้ำภายในถังน้ำได้โดยผ่านตัวตรวจจับความดัน และเมื่อระดับน้ำภายในถังน้ำสูงถึงระดับที่ตั้งไว้ตัวตรวจจับความดันก็จะส่งสัญญาณไปยังสวิตช์ความดัน เพื่อทำการปิดวาล์วมิให้น้ำเข้ามาได้ นอกจากนั้นตัวตั้งเวลาการทำงานยังควบคุมจังหวะและวัฏจักรการทำงานของมอเตอร์ที่หมุนใบตีผ้าและหมุนตะกร้ารับผ้าเพื่อเหวี่ยงน้ำออกจากผ้าด้วย
ปั๊มซึ่งถูกขับด้วยมอเตอร์จะทำหน้าที่หมุนเวียนน้ำในถังในขณะที่เครื่องทำการซักผ้า โดยน้ำหมุนเวียนนี้จะถูกนำมาผ่านตัวกรองเพื่อกรองเศษขุยผ้าและสิ่งสกปรกออกจากน้ำ แล้วจึงส่งน้ำสะอาดกลับเข้าไปในถังน้ำเพื่อใช้ซักต่อไปส่วนจังหวะที่ตะกร้ารับผ้าหมุนเหวี่ยงนั้น ปั๊มจะดูดน้ำออกจากเครื่องทิ้งสู่ภายนอก (ซึ่งในกระบวนการนี้จะเป็นการทำความสะอาดตัวกรองไปด้วยพร้อมกัน) สวิตช์คุมสภาพสมดุลของเครื่องจะหยุดเครื่องทันที เมื่อตรวจสอบพบว่าถังน้ำมีการแกว่งตัวมากเกินกำหนด อันเนื่องจากการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอของผ้าภายในตระกร้ารับผ้าในนั้นจังหวะที่กำลังปั่นอยู่
น.ส. อัจฉรา สามารถกิจ ม.5/3 เลขที่. 25
ความคิดเห็น