คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : FO :: ความสำคัญของอาหารต่อชีวิต
ความสำคัญของอาหารที่มีต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโตมีสุขภาพที่สมบูรณ์ เมื่อได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ถูกลักษณะ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่มีสารพิษหรือสิ่งเจือปนที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นอาหารและโภชนาการจึงเป็นรากฐานของมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา
ดั่งคำกล่าวที่ว่า “กินอย่างไร เป็นเช่นนั้น (You ate what you eat)” เป็นคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอาหารที่มีต่อสุขภาพแต่ละบุคคลได้ใกล้เคียงที่สุดแล้ว
ความสำคัญของอาหาร
ผลทางร่างกาย
1. ขนาดของร่างกาย ปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อขนาดของร่างกาย มี 2 ปัจจัยคือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เด็กแต่ละคนจะเติบโตได้สมบูรณ์ตามขอบเขตของเผ่าพันธุ์ของตนได้มากน้อยเพียงได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็กนั้นคือ อาหารและโภชนาการ เพราะโภชนาการเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถกำหนด ดัดแปลงแก้ไขได้ แต่พันธุ์กรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
2. การตั้งครรภ์และสุขภาพของทารก โภชนาการที่ดีจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่ออันตรายอันเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด ทั้งยังช่วยให้มารดามีสุขภาพโดยทั่วไปดีอีกด้วย สำหรับทารกในครรภ์ ถ้าภาวะโภชนาการดีตลอดการตั้งครรภ์ ทารกจะแข็งแรงสมบูรณ์มีอวัยวะครบถ้วน และจะเติบโตได้อย่างปกติ มีสติปัญญาดี และสารถสร้างภูมิคุ้มกันได้
3. ความสามารถในการต้านทานโรค ร่างกายของผู้ที่มีภาวะโภชนาการดีจะมีความสามารถในการต้านทานโรคได้ดีกว่าผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ และเมื่อมีการติดโรคจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและสารมารถหายป่วยได้เร็วมากกว่า
4. ความมีอายุยืน ผลนี้สามารถเห็นได้ชัดในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เนื่องจากการมีภาวะทางโภชนาการที่ดี รู้จักการเลือกรับประทานสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อร่างกาย อย่างเพียงพอไม่มากหรือน้อยเกินไป
5. การให้พลังงานและความอบอุ่น คนเราจำเป็นต้องมีพลังงานสะสมเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวประจำวัน และปฏิบัติงานในการประกอบอาชีพ แม้แต่การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ก็ต้องใช้พลังงาน หากร่างกายจะทำงานได้ดีจะต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ทั้งหมดนี้ล้วนได้มาจากการเผาผลาญพลังงานซึ่งมากจากการบริโภคอาหาร
ผลทางอารมณ์และสติปัญญา
1. ผลทางการเจริญเติบโตของสมองและสติปัญญา การขาดสารอาหารมีผลทำให้การเจริญเติบโตของเด็กชะงักทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เด็กที่ขาดสารอาหารจะมีความเข้าใจช้า ขาดการริเริ่ม ขาดความกระตือรือร้น ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาผิดปกติ สมองเสื่อม กลายเป็นบุคคลไร้สมรรถภาพ
2. ประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้ที่มีสุขภาพทางโภชนาการที่ดี ย่อมสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ซึ่งช่วยให้มีความอดทนต่อการทำงานมากกว่าผู้ที่อ่อนแอ หากภาวะโภชนาการไม่ดีแม้ในระยะเวลาอันสั้นก็ก่อให้เกิดโทษได้ เช่น ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดลดลง
ความคิดเห็น