ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    --G.ติวสอบกันเตอะ.G--

    ลำดับตอนที่ #3 : --มาติวกันเถอะ-- ภาษาไทย ม.2 --คำสรรพนาม--

    • อัปเดตล่าสุด 19 ก.ย. 52


    คำสรรพนาม

    คำสรรนาม คือ คำที่ใช้แทนนาม แบ่งออกได้ 7 ชนิด

    1.บุรุษสรรพนาม เเบ่งเป็น 3 พวก คือ
       1.1 บุรุษที่ 1 แทนผู้พูด เช่น ฉัน ดิฉัน กระผม ข้าพเจ้า อาตมา ข้า
       1.2 บุรุษที่ 2 แทนผู้ที่พูดด้วย เช่น ธอ คุณ ใต้เท้า โยม
       1.3 บุรุษที่ 3 แทนผู้ที่พูดถึง เช่า เขา มัน ท่าน

    2.นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามใช้ชี้ระยะ บอกความเเน่นอน ได้เเก่ นี่ นั่น โน่น เช่น
       -นี่บ้านฉัน
       -นั่นโรงเรียนเก่าของฉัน
       -โน่นที่ว่าการอำเภอ

    3.ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามใช้ถาม ได้เเก่ ใคร อะไร ไหน เช่น
       -ใครจะไปกับฉัน
       -อะไรอยู่ในตู้
       -ไหนบ้านที่เราจะไปพัก

    4.อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้ในความบอกเล่า 
       บอกความไม่เเน่นอน ได้เเก่ ใคร อะไร ไหน ใด ๆ เช่น
       -ฉันจะไม่ไปกับใครทั้งนั้น
       -อะไร ๆ ก็น่าสนใจ
       -ใคร ๆก็ไม่มีสิทธิ์เข้าบ้านได้ทั้งนั้น

    5.วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามเเบ่งพวกหรือรวมพวกหรือรวมพวก มักมีคำว่า
       "ต่าง บ้าง กัน" สรรพนามเหล่านี้จะเเทนนามซึ่งอยู่ข้างหน้า เช่น
       -นักเรียนต่างก็รีบกลับบ้าน
       -ชาวบ้านบ้างทำนาบ้างทอเสื่อ
       -นักมวยชกกัน

    6.ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามเชื่อมประโยค เป้นสรรพนามที่ใช้คำ "ที่ ซึ่ง อัน"
       เเทนนาม จะเรียงชิดติดกับคำนามซึ่งอยู่ข้างหน้าเสมอ เช่น
       -วารสารฉบับที่ฉันเป็นสมาชิกอยู่ให้ความรู้หลายด้าน
       -ความสุขอันประเสริฐ คือความสุขในทางธรรม

    7.สรรพนามใช้เน้าความรู้สึกของผู้พูด จะเรียงไว้หลังคำนาม เน้นความรู้สึกอย่างใดก็ได้
       เช่น
       -ครูท่านมีความเมตตาต่อนักเรียน
       -สุดาหล่อนจะกลับบ้านไหม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×